แกงไทยใส่มะเขือพวงพวกคุณทานมะเขือกันไหมครับ?
ตามหัวข้อกระทู้เลยครับ โดยส่วนตัวผมไม่ทานมะเขือพวงอะไรเลยจากแกงไทยทุกชนิดเช่น พะเเนง มัสมั่น และผมพึ่งมาสังเกตุว่าเพื่อนผมก็ไม่ทานกัน ไปร้านข้าวแกง ก็เคยคุยกับป้าเจ้าของร้าน เขาก็บอกว่าคนส่วนใหญ่ก็ไม่กินกัน ผมเลยสงสัยว่าถ้าไม่ทานจะใส่ไปทำไมครับ??
สมาชิกหมายเลข 2025938
16 มิถุนายน เวลา 08:08 น.
16 มิถุนายน เวลา 08:08 น.
แหล่งที่มา pantip.com
16 มิถุนายน เวลา 08:17 น.
16 มิถุนายน เวลา 08:23 น.
16 มิถุนายน เวลา 08:42 น.
16 มิถุนายน เวลา 08:48 น.
16 มิถุนายน เวลา 08:50 น.
16 มิถุนายน เวลา 09:03 น.
16 มิถุนายน เวลา 09:03 น.
16 มิถุนายน เวลา 10:05 น.
16 มิถุนายน เวลา 10:06 น.
16 มิถุนายน เวลา 10:28 น.
ส่วนตัวชอบกินในแกงเขียวหวาน
16 มิถุนายน เวลา 10:39 น.
16 มิถุนายน เวลา 11:21 น.
16 มิถุนายน เวลา 11:29 น.
16 มิถุนายน เวลา 12:32 น.
ไม่ได้ชอบ แต่ก็ไม่ได้ถือสา ถ้าในแกงเหล่านั้นจะมีมะเขือพวงอยู่ด้วย
16 มิถุนายน เวลา 13:22 น.
16 มิถุนายน เวลา 13:24 น.
ถ้าใส่ในแกงที่ควรใส่ก็กิน เช่น แกงเขียวหวาน แต่ถ้าใส่ในแกงที่ไม่ควรใส่ก็ไม่กิน เช่น แกงมัสมั่น
16 มิถุนายน เวลา 13:25 น.
แกงถ้าไม่ใส่มะเขือ ถือว่าผิด เพราะทานมะเขือ ก่อนเลย
16 มิถุนายน เวลา 13:30 น.
ดี ไม่ต้องแย่งกัน ผมกินเนื้อ เมียกินมะเขือ win win
16 มิถุนายน เวลา 14:14 น.
16 มิถุนายน เวลา 14:18 น.
16 มิถุนายน เวลา 14:37 น.
16 มิถุนายน เวลา 14:40 น.
16 มิถุนายน เวลา 15:07 น.
แกงกะทิของไทยบอกภูมิปัญญาชาวบ้านที่รู้จักนำเครื่องปรุงที่รสชาติตัดกันมาปรุงในชามเดียวกัน มะเขือพวงเป็นพืชพื้นบ้าน เด็ดเอามาลอยหน้าแกงกะทิเพิ่มสีสัน รสชาติตัดกันดี ใส่แกงเขียวหวาน แกงเนื้อมะเขือพวง น้ำพริกกะปิ พวกนี้ผมชอบกินมาก แต่ถ้าผิดที่ผิดทางเช่นเอาไปใส่แกงที่ไม่ควรต้องใส่ รสชาติไม่ไปด้วยกันก็ไม่กิน
ป.ล. ฝากจขกท. ช่วยบอกคุณป้าเจ้าของร้านด้วยนะครับว่าที่ลูกค้าไม่กินเป็นเพราะแกงมัสมั่นไม่ต้องใส่มะเขือพวง พะแนงเดิมโรยหน้าด้วยใบมะกรูดซอยเท่านั้น ปัจจุบันเห็นเพิ่มมะเขือพวงกับพริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบแบบเดียวกับแกงเผ็ด ด้วยว่าเอาพริกแกงเผ็ดมาทำพะแนงแค่เคี่ยวให้น้ำงวดหน่อย เลยเข้าใจว่าต้องโรยหน้าให้เหมือนแกงเผ็ด
16 มิถุนายน เวลา 15:13 น.
16 มิถุนายน เวลา 15:46 น.
16 มิถุนายน เวลา 18:20 น.
ส่วนทางเหนือยังมี “ต๋ำบ่าแคว้ง” (ตำมะเขือพวง) นี่อย่างชอบ
มีแต่มะเขือพวง ไม่มีผักอื่นๆปนเลย
16 มิถุนายน เวลา 21:59 น.
มันก็แปลกนะตอนนี้ ผักฉุนๆ เหม็นๆ ขิง ข่า กระชาย ใบมะกรูด หรือกระทั้ง มะระ กินได้หมด
มะเขือพวงหรอ สิวๆ ใส่ในแกงไม่ว่าจะแกงเขียวหวาน แกงป่า อร่อยดีค่ะตัดเลี่ยนได้ดีกินหมดไม่เหลือ
พยายามจะอัพเลเวลแต่ก็ยังทำไม่ได้คือ วาซาบิ กับ สะเดา 55555
17 มิถุนายน เวลา 09:16 น.
ก็ไม่ควรเอาไปลอยๆ ไว้ ควรบุบให้แตก จะทำให้รสกลิ่นพิเศษขึ้น การกินมะเขือพวงช่วย
เพศชายได้นะเออ…….
สรรพคุณของมะเขือพวง จากเว็บ https://medthai.com/
สารโซลาโซดีน (Solasodine) ในมะเขือพวงช่วยต่อต้านโรคมะเร็งได้
มะเขือพวงมีสาร ทอร์โวไซด์ เอ, เอช (Torvoside A, H) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 (Herpes simplex virus type 1) โดยมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งไวรัสได้มากกว่าอะไซโคลเวียร์ถึง 3 เท่า
มะเขือพวงมีสารทอร์โวนินบี (Torvonin B) ซึ่งเป็นซาโพนินชนิดหนึ่ง โดยเชื่อว่ามีฤทธิ์ในการขับเสมหะ
มะเขือพวงมีสารเพกติน (Pectin) ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่
สารเพกทินในมะเขือพวงมีคุณสมบัติช่วยดูดซับไขมันส่วนเกินและอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส ( Syphilis) หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อ Treponema pallidum (ใบสด)
สารต่อต้านอนุมูลอิสระในมะเขือพวงช่วยป้องกันความเสื่อมและช่วยชะลอความแก่
ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
ประโยชน์ของมะเขือพวงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
ช่วยลดความเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยเบาหวาน
ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ง่วงนอน
ใช้เป็นยาระงับประสาท (ใบสด)
ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
ช่วยทำให้เลือดในร่างกายหมุนเวียนได้ดียิ่งขึ้น
ช่วยยับยั้งการแข็งตัวของเลือด
ช่วยขับเหงื่อ (ใบสด)
แก้อาการชัก (ใบสด)
แก้อาการหืด (ทั้งต้น)
ช่วยแก้พิษในร่างกาย ด้วยการนำน้ำมะขามแช่รากมะเขือพวงแล้วนำมาต้มดื่ม (ราก)
ช่วยป้องกันภาวะเลือดแข็งตัว
ผลแห้งนำมาย่างกินแกล้มอาหารจะช่วยบำรุงสายตา
แก้อาการปวดฟัน ชาวมาเลเซียนำเมล็ดมะเขือพวงไปเผาให้เกิดควัน แล้วสูดเอาควันรมแก้ปวดฟัน (เมล็ด)
น้ำคั้นใบสดช่วยลดไข้ (ใบสด)
ช่วยบรรเทาและแก้อาการไอ รวมไปถึงอาการไอเป็นเลือด
ช่วยบรรเทาและรักษาอาการภูมิแพ้
สารสกัดจากมะเขือพวงมีผลยับยั้ง Platelet activating factor (PAF) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหอบหืด
ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากยิ่งขึ้น
ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของลำไส้ เพื่อป้องกันสารพิษที่เข้ามายังระบบทางเดินอาหาร
ช่วยในการย่อยอาหาร
ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมีสารเพกทินที่ทำหน้าที่ดึงน้ำไว้ได้จำนวนมาก เพื่อเพิ่มปริมาณของอุจจาระ จึงช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และทำให้อุจจาระนุ่ม ถ่ายง่ายขึ้นมาก
ช่วยป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร
ช่วยในการขับปัสสาวะ (ผล, ใบ)
มะเขือพวงช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยมีฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดจากการใช้ยา แอลกอฮอล์ และความเครียด
ช่วยบำรุงตับ
ช่วยบำรุงไต ช่วยป้องกันและรักษาอาการเป็นพิษต่อไตที่เกิดจากยาคีโมที่ใช้รักษามะเร็งได้
ใบสดใช้แก้ปวด ปวดข้อ (ใบสด)
ช่วยแก้อาการฟกช้ำ
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้น้ำสกัดจากลำต้นมะเขือพวง (ต้น)
ช่วยรักษาฝีบวมมีหนอง
ใบสดใช้พอกให้ฝีหนองแตกเร็วขึ้น ช่วยทำให้ฝียุบ (ใบสด)
ช่วยรักษาโรคกลาก เกลื้อนตามผิวหนัง (ต้น)
ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ใบสด)
ในแคเมอรูนใช้ใบสดในการช่วยห้ามเลือด (ใบสด)
ผลแห้งนำมาย่างกินแกล้มอาหารช่วยรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียได้
มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ป้องกันการอักเสบเฉียบพลัน
ช่วยรักษารอยเท้าแตก ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณรอบเท้าแตก (ราก)
ช่วยแก้โรคตาปลา ด้วยการนำรากสดมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นตาปลา (ราก)
17 มิถุนายน เวลา 11:28 น.
18 มิถุนายน เวลา 08:08 น.
21 มิถุนายน เวลา 15:22 น.