เรื่องน่ารู้ สารกันบูดในอาหาร อันตรายจริงหรือไม่?
👉🏻 กลุ่มกรดอ่อนและเกลือของกรดอ่อน
นิยมใช้กันมากในสินค้าอุตสาหกรรม เพราะมีความเป็นพิษน้อย มีประสิทธิภาพ และละลายน้ำได้ดี ได้รับอนุญาตให้ใส่ในอาหารหลายชนิด เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง น้ำหวาน และน้ำอัดลม เป็นต้น
ซึ่งหากได้รับสารกันบูดกลุ่มไนเตรต และไนไตรท์ในปริมาณที่ไม่เกินค่าที่กำหนด อาจไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ กับผู้ใหญ่ และเด็ก ที่ร่างกายสามารถขับสารออกมาได้ตามปกติ แต่อาจเป็นอันตราย กับทารกที่มีอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพราะร่างกายของทารก อาจไม่สามารถขับสารเหล่านี้ออกจากร่างกายได้
👉🏻 กลุ่มอื่น ๆ
เช่น สารพาราเบนส์ ที่มีประสิทธิภาพยับยั้งหรือทำลายเชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรีย หรือสารปฏิชีวนะที่มีประสิทธิภาพทำลาย หรือยับยั้งจุลินทรีย์ เป็นต้น
นิยมใช้กับอาหารประเภท เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เยลลี่ ขนมหวานต่างๆ เเละสารปรุงเเต่งกลิ่นเเละรส
แม้ผู้บริโภคอาจมั่นใจได้ว่า สารกันบูดแต่ละชนิดที่อนุญาตให้ใช้ในประเทศไทย มีความปลอดภัย และผ่านการตรวจสอบมาในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตอาหารแปรรูปบางราย อาจใส่สารกันบูด ในปริมาณที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมกับชนิดอาหาร ตามข้อกำหนด จนอาจส่งผลกระทบให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจากสารกันบูด แต่การบริโภคอาหารที่มีสารกันบูดติดต่อกันเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายขับสารเหล่านั้นออกมาไม่ทัน จนกลายเป็นสารพิษตกค้างสะสมที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยตามมาได้
โดยอาการเจ็บป่วย ที่อาจเกิดจากการบริโภคอาหาร ที่เจือปนสารกันบูดในปริมาณมาก มีดังนี้
👉🏻 วิงเวียนหรือปวดศีรษะ
👉🏻 คลื่นไส้ อาเจียน
👉🏻 ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร
👉🏻 ท้องเสีย
👉🏻 เป็นโรคที่เกิดจากอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
👉🏻 กลไกการดูดซึมสาร หรือการใช้สารอาหารในร่างกายเปลี่ยนแปลงไป
👉🏻 มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต
👉🏻 เป็นภาวะเมทฮีโมโกลบินนีเมีย (Methemoglobinemia) ที่อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ หายใจไม่ออก ตัวเขียว เป็นลม และหมดสติ ซึ่งอันตรายมากหากเกิดในเด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะซีด หรือผู้ที่เป็นโรคเลือด
ส่วนการรับประทานอาหาร ที่มีสารกันบูดในปริมาณน้อย แต่บริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจก่อให้เกิดพิษสะสมในร่างกายอย่างเรื้อรัง ซึ่งสารบางชนิดอาจเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
เพื่อป้องกันการสะสมสารกันบูดในร่างกาย ในปริมาณมากจนทำให้เกิดอันตราย ผู้บริโภคอาจหลีกเลี่ยง การรับประทานอาหารที่เจือปนสารกันบูด ได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
👍🏻 รับประทานอาหารที่ปรุงสดใหม่ และไม่ผ่านการแปรรูป หรืออาจเลือกซื้ออาหารสด มาปรุงอาหารรับประทานเอง
👍🏻 เลือกซื้ออาหารที่มีฉลากบรรจุภัณฑ์ ระบุรายละเอียดต่างๆ อย่างชัดเจน เช่น สถานที่ผลิต วันผลิต วันหมดอายุของผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายและเลขสารบบอาหารของ อย. เป็นต้น
👍🏻 เลือกผลิตภัณฑ์ อาหารออแกนิค โดยเฉพาะอาหารที่มีการรับรองว่า ปลอดสารกันบูด หรือเลือกซื้ออาหาร ที่ใช้สารกันบูดที่ไม่เป็นอันตราย
👍🏻 หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารประเภทเดิมซ้ำ ๆ และรับประทานอาหารอย่างหลากหลาย เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมสารพิษในร่างกาย
👍🏻 หลีกเลี่ยงการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่มีสีสดเกินไป เพราะอาจเจือปนสารตรึงสี ที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
15 กุมภาพันธ์ เวลา 14:59 น.
คนเลยไม่ค่อยเข้ามา
ถ้าเอาไว้ ท้ายๆกระทู้ คงจะดี
ส่วนเนื้อหา รายละเอียดดี
ควรมีสรุปสั้นๆให้ด้วย(ตามหัวข้อกระทู้)
16 กุมภาพันธ์ เวลา 16:51 น.