1.หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก มีเมืองเอก 11 เมืองคือ เมือง นครจัมปาสัก (อยู่ในลาว) เมืองสีทันดอน (อยู่ในลาว) เมืองคําทองใหญ่ (อยู่ในลาว) เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เมืองเชียงแตง (อยู่ในเขมร) เมืองแสนปาง (อยู่ในเขมร) เมืองอัตตะปือ (อยู่ในลาว)เมืองสาละวัน (อยู่ในลาว) และเมืองเดชอุดม
แต่ละเมืองเอกมีเมืองขึ้นจํานวนไม่เท่ากัน รวมได้ 26 เมือง มี ที่ทําการอยู่นครจัมปาสัก ข้าหลวงคนแรกชื่อ พระยามหาอํามาตยาธิบดี
2.หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมืองเอก 12 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย เมืองศรีสะเกษ เมืองเขมราฐ เมืองสองคอนดอนดง (อยู่ในลาว) เมืองนอง (อยู่ในลาว) เมืองยโสธร และ เมืองภูแล่นช้าง
แต่ละเมืองเอกมีเมืองขึ้นจํานวนไม่เท่ากัน รวมได้ 30 เมือง มี ที่ทําการอยู่เมืองอุบลราชธานี ข้าหลวงคนแรกชื่อพระยาราชเสนา
3.หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีเมืองเอก 16 เมืองคือ เมืองหนองคาย เมืองเชียงขวาง (อยู่ในลาว) เมืองบริคัณหนิคม (อยู่ในลาว) เมืองคําม่วน (อยู่ในลาว) เมืองมุกดาหาร เมืองนครพนม เมืองสกลนคร เมืองขอนแก่น เมืองหล่มสัก เมืองบุรีรัมย์ เมืองคําเกิด (อยู่ในลาว) เมืองท่าอุเทน เมืองไชยบุรี เมืองโพนพิสัย เมืองกมุททาพิสัย และเมืองหนองหานใหญ่
แต่ละเมืองเอกมีเมืองขึ้นจํานวนไม่เท่ากัน รวมได้ 30 เมือง มีที่ทําการอยู่เมืองหนองคาย ข้าหลวงคนแรกชื่อพระยาสุริยเดชวิเศษ
4.หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง มีเมืองเอก 3 เมืองคือ เมืองนครราชสีมา เมืองชนบท และเมืองภูเขียว แต่ละเมืองเอกมีเมืองขึ้นจํานวน ไม่เท่ากัน รวมได้ 12 เมือง มีที่ทําการอยู่เมืองนครราชสีมา ข้าหลวงคนแรกชื่อพระพิเรนทรเทพ
ข้าหลวงที่ประจําอยู่ฝ่ายต่างๆ ขึ้นต่อข้าหลวงใหญ่ คือ พระยามหาอํามาตยาธิบดี ที่เมืองจัมปาสัก
พ.ศ. 2434 เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่ 1.หัวเมืองลาวกาว รวมเอาเมืองลาวฝ่ายตะวันออกกับเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือเข้าเป็นเขตเดียวกัน มีข้าหลวงใหญ่อยู่เมืองอุบลราชธานีคือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
2.หัวเมืองลาวพวน มีข้าหลวงอยู่เมืองหนองคายคือ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (เมื่อฝรั่งเศสได้ลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้วจึงย้ายไป ตั้งอยู่เมืองอุดรธานี)
3.หัวเมืองลาวพุงขาว รวมเอาเมืองหลวงพระบาง สิบสองพันนา สิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหกเข้าเป็นเขตเดียวกัน มีข้าหลวงอยู่ เมืองหลวงพระบางคือ พระยาฤทธิรงค์รณเดช
4.หัวเมืองลาวกลาง มีข้าหลวงอยู่เมืองนครราชสีมาคือ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์
พ.ศ. 2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตกเป็นของฝรั่งเศส ส่วนฝั่งขวายังอยู่ในพระราชอาณาจักรสยาม ประชาชนที่อยู่ฝั่งขวาถูกเรียกจากกรุงเทพฯ ว่า “ชาติลาวบังคับสยาม”
พ.ศ. 2437 เปลี่ยนเขตการปกครองเป็น “มณฑล” ปรับเปลี่ยนเป็น 3 มณฑลคือ 1.มณฑลลาวพวน 2.มณฑลลาวกาว 3.มณฑลลาวกลาง
พ.ศ. 2442 ยกเลิกคำว่า “ลาว” หลังจากสยามเสียดินแดนลาวทางฝั่งซ้ายให้แก่ฝรั่งเศสแล้ว 6 ปี รัชกาลที่ 5 จึงได้ปรับเปลี่ยนการปกครอง นอกจากนี้ยังได้มีการปรับเรื่องการลงสัญชาติในสํามะโนครัวด้วย
โดยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ข้าหลวงต่างพระองค์โปรดให้มีสารตราตั้งเป็น ทางราชการไปว่า
“แต่นี้สืบไป ให้เจ้าหน้าที่แต่ละแผนกทุกหัวเมืองใหญ่น้อย ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อจะมีการสํารวจสํามะโนครัว หรือหากว่ามีราษฎรมาติดต่อที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ของทางราชการ ให้ปฏิบัติใหม่โดยลงในของสัญชาตินั้นว่า ‘ชาติไทยบังคับสยาม’ ทั้งหมด ห้ามมิให้ลงหรือเขียนในของสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ส่วย ผู้ไทย ฯลฯ ดังที่ได้ปฏิบัติมาแต่ก่อนเป็นอันขาด”
มหาสิลาย้ำตอนท้ายว่า “เพียงคําสั่งของข้าหลวงต่างพระองค์ประจําหัวเมืองลาวเท่านั้น ชนชาติลาวที่อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงจึงได้ กลายเป็นชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 เป็นต้นมา ด้วยประการ ดังนี้”
26 กรกฎาคม เวลา 19:10 น.
26 กรกฎาคม เวลา 21:53 น.
สิ่งที่ต้องรู้และยอมรับโดยดุษฎี คือ
คนอีสาน….เป็นคนไทยเชื้อสายลาว ฉะนั้นวัฒนธรรมเรื่องอาหารการกินจึงเหมือนหรือคล้ายกัน
27 กรกฎาคม 2564 เวลา 06:44 น.
1.หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออก มีเมืองเอก 11 เมืองคือ เมือง นครจัมปาสัก (อยู่ในลาว) เมืองสีทันดอน (อยู่ในลาว) เมืองคําทองใหญ่ (อยู่ในลาว) เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เมืองเชียงแตง (อยู่ในเขมร) เมืองแสนปาง (อยู่ในเขมร) เมืองอัตตะปือ (อยู่ในลาว)เมืองสาละวัน (อยู่ในลาว) และเมืองเดชอุดม
แต่ละเมืองเอกมีเมืองขึ้นจํานวนไม่เท่ากัน รวมได้ 26 เมือง มี ที่ทําการอยู่นครจัมปาสัก ข้าหลวงคนแรกชื่อ พระยามหาอํามาตยาธิบดี
2.หัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมืองเอก 12 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย เมืองศรีสะเกษ เมืองเขมราฐ เมืองสองคอนดอนดง (อยู่ในลาว) เมืองนอง (อยู่ในลาว) เมืองยโสธร และ เมืองภูแล่นช้าง
แต่ละเมืองเอกมีเมืองขึ้นจํานวนไม่เท่ากัน รวมได้ 30 เมือง มี ที่ทําการอยู่เมืองอุบลราชธานี ข้าหลวงคนแรกชื่อพระยาราชเสนา
3.หัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีเมืองเอก 16 เมืองคือ เมืองหนองคาย เมืองเชียงขวาง (อยู่ในลาว) เมืองบริคัณหนิคม (อยู่ในลาว) เมืองคําม่วน (อยู่ในลาว) เมืองมุกดาหาร เมืองนครพนม เมืองสกลนคร เมืองขอนแก่น เมืองหล่มสัก เมืองบุรีรัมย์ เมืองคําเกิด (อยู่ในลาว) เมืองท่าอุเทน เมืองไชยบุรี เมืองโพนพิสัย เมืองกมุททาพิสัย และเมืองหนองหานใหญ่
แต่ละเมืองเอกมีเมืองขึ้นจํานวนไม่เท่ากัน รวมได้ 30 เมือง มีที่ทําการอยู่เมืองหนองคาย ข้าหลวงคนแรกชื่อพระยาสุริยเดชวิเศษ
4.หัวเมืองลาวฝ่ายกลาง มีเมืองเอก 3 เมืองคือ เมืองนครราชสีมา เมืองชนบท และเมืองภูเขียว แต่ละเมืองเอกมีเมืองขึ้นจํานวน ไม่เท่ากัน รวมได้ 12 เมือง มีที่ทําการอยู่เมืองนครราชสีมา ข้าหลวงคนแรกชื่อพระพิเรนทรเทพ
ข้าหลวงที่ประจําอยู่ฝ่ายต่างๆ ขึ้นต่อข้าหลวงใหญ่ คือ พระยามหาอํามาตยาธิบดี ที่เมืองจัมปาสัก
พ.ศ. 2434 เปลี่ยนแปลงเขตการปกครองใหม่
1.หัวเมืองลาวกาว รวมเอาเมืองลาวฝ่ายตะวันออกกับเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือเข้าเป็นเขตเดียวกัน มีข้าหลวงใหญ่อยู่เมืองอุบลราชธานีคือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร
2.หัวเมืองลาวพวน มีข้าหลวงอยู่เมืองหนองคายคือ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (เมื่อฝรั่งเศสได้ลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแล้วจึงย้ายไป ตั้งอยู่เมืองอุดรธานี)
3.หัวเมืองลาวพุงขาว รวมเอาเมืองหลวงพระบาง สิบสองพันนา สิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหกเข้าเป็นเขตเดียวกัน มีข้าหลวงอยู่ เมืองหลวงพระบางคือ พระยาฤทธิรงค์รณเดช
4.หัวเมืองลาวกลาง มีข้าหลวงอยู่เมืองนครราชสีมาคือ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์
พ.ศ. 2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตกเป็นของฝรั่งเศส ส่วนฝั่งขวายังอยู่ในพระราชอาณาจักรสยาม ประชาชนที่อยู่ฝั่งขวาถูกเรียกจากกรุงเทพฯ ว่า “ชาติลาวบังคับสยาม”
พ.ศ. 2437 เปลี่ยนเขตการปกครองเป็น “มณฑล”
ปรับเปลี่ยนเป็น 3 มณฑลคือ
1.มณฑลลาวพวน
2.มณฑลลาวกาว
3.มณฑลลาวกลาง
พ.ศ. 2442 ยกเลิกคำว่า “ลาว”
หลังจากสยามเสียดินแดนลาวทางฝั่งซ้ายให้แก่ฝรั่งเศสแล้ว 6 ปี รัชกาลที่ 5 จึงได้ปรับเปลี่ยนการปกครอง นอกจากนี้ยังได้มีการปรับเรื่องการลงสัญชาติในสํามะโนครัวด้วย
โดยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ข้าหลวงต่างพระองค์โปรดให้มีสารตราตั้งเป็น ทางราชการไปว่า
“แต่นี้สืบไป ให้เจ้าหน้าที่แต่ละแผนกทุกหัวเมืองใหญ่น้อย ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อจะมีการสํารวจสํามะโนครัว หรือหากว่ามีราษฎรมาติดต่อที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ของทางราชการ ให้ปฏิบัติใหม่โดยลงในของสัญชาตินั้นว่า ‘ชาติไทยบังคับสยาม’ ทั้งหมด ห้ามมิให้ลงหรือเขียนในของสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ส่วย ผู้ไทย ฯลฯ ดังที่ได้ปฏิบัติมาแต่ก่อนเป็นอันขาด”
มหาสิลาย้ำตอนท้ายว่า “เพียงคําสั่งของข้าหลวงต่างพระองค์ประจําหัวเมืองลาวเท่านั้น ชนชาติลาวที่อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงจึงได้ กลายเป็นชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442 เป็นต้นมา ด้วยประการ ดังนี้”
27 กรกฎาคม 2564 เวลา 09:37 น.
27 กรกฎาคม 2564 เวลา 10:34 น.
29 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:02 น.