ทำไมห้างดอกบัว ถึงอนุญาตให้ร้านที่สินค้าเหมือนกัน(เครื่องดื่ม) เข้ามาขายใกล้ๆกัน และให้แข่งกันเอง ?
เช่น ขายชา ขายกาแฟ ขายเครื่องดื่ม ในโซนเดียวกันก็จะไม่ให้ซ้ำกัน ถ้าใกล้เคียงกัน เช่น ชาไข่มุก กับ ร้านผลไม้ปั่น ก็พอได้
แต่ทำไมห้างดอกบัวขนาดใหญ่ ใน ตจว. (ต่างอำเภอ) ถึงอนูญาติให้ ร้านชากาแฟ มาขายแข่งติดๆกัน ตัดราคากัน กับร้านชาไข่มุก
โดยอ้างว่า “มันเป็นธุรกิจ ที่ไหนก็ทำ ต้องแข่งขันกันเอาเอง และสินค้าก็เป็นคนละกลุ่ม”
และที่สำคัญ ร้านชากาแฟผลไม้ปั่น ที่เปิดแข่ง ก็เคยเปิดร้านผลไม้ปั่นขายในห้างนี้มาก่อน
แล้วเซ้งร้านให้คนอื่นไปเนื่องจากเป็นช่วงโควิด ยอดน่าจะตกแต่เจ้าของร้านอ้างว่าป่วย
ไม่ถึง 2 เดือน ก็กลับมาขายใหม่ เพราะใกล้ช่วงสงกรานต์ คงคิดว่าจะขายดี
โดยเปิดขายทั้งผลไม้ปั่นทั้งชากาแฟ แบบเหมากินรวบ
อยู่แบบหันหลังชนกันกับร้านเดิมของตัวเองอีก แล้วก็อยู่ติดกับร้านชาไข่มุกอีก
แถมตัดราคาขายถูกกว่าด้วย
ถ้าห้างให้ไปอยู่ คนละโซนกัน ก็ว่าไปอย่าง จะไม่สงสัยอะไรเลย
แบบนี้คนที่เซ้งร้านไปจะทำอย่างไร ?
แบบนี้ เรียกว่า “ไม่มีจรรยาบรรณ/ธรรมภิบาล กับคู่ค้า” ได้หรือไม่ ?
เพราะ นโยบายว่าด้วยการป้องกันการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม บอกว่า
-เราทำงานร่วมกันและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าของเรา
-เราเป็นบริษัทที่มีความยุติธรรมซื่อสัตย์
-เราปฏิบัติต่อคู่ค้าของเราอย่างยุติธรรมและถูกกฎหมาย
ปล.ขออนุญาติแท็ก “เจ้าของกิจการ” เพื่อจะได้แบ่งปันประสบการณ์ ที่เคยพบเจอกับห้างบัวดอกนี้ ?
ขออนุญาติแท็ก “ร้องทุกข์” “คุ้มครองผู้บริโภค” เพื่อขอข้อมูลว่า สามารถทำแบบนี้ได้หรือไม่ ?
ขออนุญาติแท็ก “เครื่องดื่ม” เพื่อขอความเห็นว่า ร้านชากาแฟ น้ำปั่นผลไม้ กับชาไข่มุก เป็นเครื่องดื่มคนละกลุ่มหรือไม่ ?
7 เมษายน เวลา 13:27 น.
ใครมีอวน ตกได้เยอะ ก็แล้วไปครับ อารมณ์เหมือนธุรกิจ รถยนต์ ต่อให้ไม่เปิดติดกัน ด้วยมูลค่าที่สูง คนก็ต้องคิดครับ คุณต้องแข่งกันเอง เช่น สร้างแบรนด์ แบบให้แข็ง ต่อให้อยู่ในที่ที่ ไม่ดี คนก็จะไปหาเอง
7 เมษายน เวลา 13:50 น.
ใช่อยู่ ว่าเค้าจะจัดให้โซนเดียวกัน เช่น ฟู้ดคอร์สก็จะมีแต่ของกิน แต่เค้าจะมีการจำกัดจำนวน
ถ้าคนเคยเช่าพื้นที่ค้าขายจะรู้ดี แม้กระทั่งตลาดบ้านๆต่างๆ เค้าก็จะมีโควต้าร้านขายอันนี้เท่าไรร้านขายแบบนั้นเท่าไร
เช่น ร้านราดหน้า มีได้กี่ร้าน ร้านข้าวมันไก่มีได้กี่ร้าน ตามจำนวนลูกค้า
ยกตัวอย่างว่า ส้มตำมีได้ 2 ร้าน แล้วแถวนั้นมีแต่คนขายส้มตำ ถ้ามาขอเช่าอีกก็ไม่ได้ เป็นต้น
ไม่งั้น ฟู้ดคอร์สก็จะมีแต่ร้านส้มตำ ประมาณนั้น โควต้าร้านตามประเภทอาหาร ก็ต้องตามจำนวนลูกค้า
หรือแม้กระทั่งร้านบาร์น้ำ ก็ต้องมีโควต้า เช่น ตลาดกลางคืน มีร้านบาร์น้ำได้ 3 ร้าน เป็นต้น
ไม่งั้น ตลาดก็จะมีแต่ร้านขายน้ำ เป็นต้น
แต่อันนี้ คือ รับร้านเครื่องดื่มเข้ามาใหม่ ทั้งที่ร้านเครื่องดื่มก็มีอยู่โซนนั้น 3 ร้านแล้ว รับมาอีก 1 ร้าน ก็เป็น 4 ร้าน
7 เมษายน เวลา 14:33 น.
โซนเครื่องดื่ม อาหาร ขนม เสื้อผ้า และบลาๆ
ทีนี้ต้องมาแข่งกันที่รสชาติ แล้วก็โปรโมชั่น
7 เมษายน เวลา 14:22 น.
ถ้าคนเคยเช่าพื้นที่ค้าขายจะรู้ดี แม้กระทั่งตลาดบ้านๆต่างๆ เค้าก็จะมีโควต้าร้านขายอันนี้เท่าไรร้านขายแบบนั้นเท่าไร
เช่น ร้านราดหน้า มีได้กี่ร้าน ร้านข้าวมันไก่มีได้กี่ร้าน ตามจำนวนลูกค้า
ยกตัวอย่างว่า ส้มตำมีได้ 2 ร้าน แล้วแถวนั้นมีแต่คนขายส้มตำ ถ้ามาขอเช่าอีกก็ไม่ได้ เป็นต้น
ไม่งั้น ฟู้ดคอร์สก็จะมีแต่ร้านส้มตำ ประมาณนั้น โควต้าร้านตามประเภทอาหาร ก็ต้องตามจำนวนลูกค้า
หรือแม้กระทั่งร้านบาร์น้ำ ก็ต้องมีโควต้า เช่น ตลาดกลางคืน มีร้านบาร์น้ำได้ 3 ร้าน เป็นต้น
ไม่งั้น ตลาดก็จะมีแต่ร้านขายน้ำ เป็นต้น
แต่อันนี้ คือ รับร้านเครื่องดื่มเข้ามาใหม่ ทั้งที่ร้านเครื่องดื่มก็มีอยู่โซนนั้น 3 ร้านแล้ว รับมาอีก 1 ร้าน ก็เป็น 4 ร้าน
7 เมษายน เวลา 14:34 น.
คือตามปกติ ตลาดต่างๆเค้าจะมีโควต้าให้อาหารและเครื่องดื่มแต่ละชนิด ตามปริมาณจำนวนลูกค้า
เช่น ตลาดนี้ รับร้านเครื่องดื่ม 3 ร้าน รับ ร้านข้าวมันไก่ 2 ร้าน ร้านก๋วยเตี๋ยว 2 ร้าน ร้านขนม 3 ร้าน แบบนี้
ส่วนการจัดเป็นโซนอะ เค้าจัดเป็นโซนอยู่แล้ว
แต่บางโซน ก็สามารถขายเครื่องดื่มหรือขนมได้
จะสังเกตเห็นในห้าง ตามชั้นต่างๆ จะมีร้านน้ำ ร้านขนม กระจายอยู่ เป็นต้น
ส่วนที่เป็นโซน ก็จะมีการจำกัดประเภทของสินค้า
7 เมษายน เวลา 14:40 น.
7 เมษายน เวลา 14:46 น.
7 เมษายน เวลา 14:58 น.
7 เมษายน เวลา 15:11 น.
แต่ยุคนี้ แค่หาคนมาเช่าล็อคให้เต็มได้ก็แย่แล้ว ล็อคว่างมีเยอะ เพราะฉะนั้นคงไม่สนใจเรื่องร้านเป็นธุรกิจซ้ำกันค่ะ
ต้องเอาตัวเองอยู่รอดก่อน ไว้หมดโควิดค่อยบริหารจัดการให้หลากหลายอีกที
7 เมษายน เวลา 15:38 น.
7 เมษายน เวลา 18:13 น.
เช่นศูนย์อาหารมี 10 ร้าน เปิดข้าวมันไก่ซะ 5 ร้าน เป็นรา้นน้ำ 5 ร้าน ศูนย์อาหารก็จะไม่มีความหลากหลายของอาหารให้ลูกค้าเลือกซื้อ
พ่อค้าแม่ค้า โดยเฉพาะเจ้าแรกๆที่ขายก็ลำบาก ต้องมาสู้ข้าวมันกัน 4 ร้านเป็นต้น
แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ศูนย์อาหารร้านว่างไปกันเยอะ ใครมาเช่าก็เปิดให้เช่าหมด พ่อค้าแม่ค้าก็ขายอาหารชนิดเดียวกันหมด แบบนี้มันก็ลำบาก
7 เมษายน เวลา 20:06 น.
7 เมษายน เวลา 21:15 น.
แต่ตอนนี้มันก็เร่ิมเปลี่ยนแล้ว คือ แผงเช่ามันเหลือเยอะ ร้านจะเปิดซ้ำๆ กัน ศูนย์อาหารก็เริ่มจะยอม เพื่อให้ได้ค่าเช่ามาก่อน
7 เมษายน เวลา 21:25 น.
7 เมษายน เวลา 19:12 น.
7 เมษายน เวลา 20:11 น.
ปล่อยให้ผู้เช่า ไปแข่งกันเอง คนรับภาระเลยกลายเป็นผู้เช่าไป
7 เมษายน เวลา 22:47 น.
8 เมษายน เวลา 15:46 น.
7 เมษายน เวลา 20:29 น.
7 เมษายน เวลา 21:27 น.
แล้วในสัญญามีมั้ยครับ ถ้าไม่มีก็ไม่ผิด
9 เมษายน เวลา 17:26 น.
ไม่ผูกขาด
และเราเลือกร้านที่บริการดี รสชาติอร่อยได้ด้วย
7 เมษายน เวลา 21:28 น.
7 เมษายน เวลา 21:36 น.
ช่วงนี้หาคนเช่าก็ยากแล้ว ยังเงื่อนไขเยอะห้างคงอยู่ลำบาก
แต่ร้านน้ำถ้าเจ้าของไม่ทำเอง ก็มีอยู่หลายร้านในทุกๆ ห้างนะ
เอาให้แน่ว่า คนที่ไม่ชอบคือ คนขาย หรือคนเดิน
7 เมษายน เวลา 22:39 น.
7 เมษายน เวลา 23:24 น.
9 เมษายน เวลา 11:34 น.
ป้องกันการผูกขาดของพ่อค้าแม่ค้าที่อยากขายแต่เพียงเจ้าเดียว แล้วทำให้คุณภาพสินค้าต่ำลง
8 เมษายน เวลา 09:14 น.
8 เมษายน เวลา 09:37 น.
ห้างซึ่งเป็นผู้ให้เช่าพื้นที่ เค้าโนแคร์ โนสน
เราะจะขายสินค้าชนิด A เหมือนกัน กี่ร้าน เค้าก็ได้ค่าเช่า
มุมมองของเจ้าของพื้นที่เค้าไม่ได้สนใจว่าใครจะขายอะไรมากกว่า
8 เมษายน เวลา 09:55 น.
สิ่งสำคัญที่ต้องถามคือตอนเซ็นสัญญาเช่าพื้นที่ ในสัญญาได้ระบุไว้มั้ยครับว่าห้างจะไม่ให้คนขายของคล้ายกันหรือเหมือนกันมาเช่าพื้นที่ใกล้เคียง ถ้าไม่ได้ระบุไว้ก็ทำใจอย่างเดียวครับ
8 เมษายน เวลา 13:08 น.
8 เมษายน เวลา 20:10 น.
เค้าไม่น่าจะสนว่า ยอดขายเจ้าของร้านจะดีจะเจ๊งหรอกครับ แต่ถ้าร้านอาหาร
โดนหักส่วนแบ่งไปด้วย เห็นว่าเค้าจะพยายามไม่ให้มีร้านซ้ำๆกัน
8 เมษายน เวลา 21:09 น.
9 เมษายน เวลา 09:55 น.
แต่ขายตามโรงเรียน หรือตลาดนัดบางแห่ง ก็มีห้ามขายสินค้าซ้ำกัน
9 เมษายน เวลา 12:04 น.
สมมติ เค้าให้มีร้านขายของตามสั่งได้ 1 ร้าน เกิดร้านนั้นทำไม่อร่อย ก็จบเลยสิครับกลายเป็นบังคับลูกค้าให้ต้องกิน ลูกค้าไม่อยากกิน ก็ไม่มาเดินห้างเค้า จบเลยทีนี้
ร้านเครื่องดื่มก็เช่นกัน มีร้านเดียวแล้ว ใช้ของคุณภาพไม่ดี แล้วก็เกิดขายแพงอีกเพราะผูกขาดมีร้านเดียวบังคับต้องซื้อ ก็จบสิครับ ดังนั้นอยากเปิดกี่ร้านก็เปิดไป แข่งกันไป มีการแข่งขันจะได้เกิดการพัฒนาแล้วผู้บริโภคก็ได้ประโยชน์ด้วย
ในโลกธุรกิจ อ่อนแอก็แพ้ไป
9 เมษายน เวลา 15:28 น.
9 เมษายน เวลา 17:27 น.
ตลาดนัดมีการถ้อยทีถ้อยอาศัย เพื่อไม่ให้เกิดดราม่าผู้ค้าตีกันแล้วเจ้าของตลาดต้องรับเคราะห์ จึงจัดสรรว่าจะให้มีร้านนั้นร้านนี้ในจำนวนเท่านี้เท่านี้ ใครอยากได้ก็มาประมูลไป หลังจากได้ร้านผู้ชนะ ร้านนั้นจะทำตัวดีหรือชั่วกับลูกค้าอย่างไรก็ได้ เพราะยังไงก็มีร้านเดียว (ร้านประเภทเดียวกันก็ไม่ได้ขายของเหมือนกันเป๊ะ) ระบบนี้เอื้อประโยชน์ให้เจ้าของตลาดกับร้านค้ามากกว่าลูกค้า
แต่ห้างน่ะ การปล่อยให้ร้านแข่งขันกันแเอง ทำให้ห้างกับลูกค้าได้รับผลประโยชน์ พูดง่ายๆ ก็คือร้านรับภาระไป ร้านไหนพ่ายแพ้ก็ปิดตัว ห้างไม่เดือดร้อนหรอกถ้ามีแผงว่าง เขาคำนวณมาแล้วว่าตัวเองว่างได้กี่ช่อง ยิ่งร้านแข่งขันกันสูง มีตัดราคา ลูกค้าก็ยิ่งได้ประโยชน์ ยิ่งเข้าห้างเยอะขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลให้กำหนดว่ามีร้านประเภทไหนได้กี่ร้านหรือห้ามขายสินค้าซ้ำกันน่ะค่ะ
เรื่องที่ว่า ทำไมร้านที่ขายของเหมือนๆ กันถึงมักจะอยู่ใกล้ๆ กัน (ไม่ใช่แค่ร้านน้ำ แม้แต่ปั๊มน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ และอื่นๆ ก็ด้วย)
มันเป็นไปตาม ทฤษฎีเกม น่ะค่ะ การอยู่ใกล้ร้านคู่แข่งคือทำเลที่เป็นจุดสมดุล ไม่มีฝ่ายไหนได้พื้นที่ขายมากกว่าใคร ล้วนมีสิทธิ์แย่งชิงลูกค้าได้เท่ากัน เซเว่นบางที่อยู่ติดๆ กัน 3 สาขาก็มี ห่างกันแค่ตึกแถวห้องเดียวหรือประจันหน้ากันด้วยซ้ำ
เพราะการอยู่ใกล้กันคือทำเลที่ดีที่สุด ห้างจึงจัดโซนสินค้าต่างหาก เทียบกันแล้ว ร้านน้ำที่อยู่ในโซนร้านน้ำ ยอดขายจะดีกว่าร้านสแตนอะโลน ค่าเช่าแผงแยกถึงได้ราคาถูกกว่าในโซนไงล่ะ
ส่วนตลาดจะง่ายกว่านั้น ไม่เน้นแยกโซน แค่ไม่ให้กลิ่นจากร้านผัดข้าวมาโดนสินค้าร้านเสื้อก็พอ ดีไม่ดีไม่แคร์ สำหรับเจ้าของตลาด แผงค้าเต็ม ร้านค้าพอใจกับแผงคือดีที่สุด ส่วนลูกค้าทางหากันเองนะ
เรื่องร้านใกล้กัน จุดสมดุล ลองดูตัวอย่างตามคลิปนี้ เขาอธิบายแบบเข้าใจง่ายสุดๆ
สำหรับร้านน้ำตามเนื้อหาในกระทู้ เจ้าของเดิมก็อยากเปิดใกล้กับคู่แข่งล่ะค่ะ วิธีนี้พบเห็นได้บ่อยทีเดียว
ส่วนเรื่องที่ว่า ห้างเป็นธรรม/มีจรรยาบรรณ/มีธรรมภิบาลหรือไม่ คงต้องไปค้นดูในหนังสือสัญญาว่าตกลงอะไรกันไว้
เพราะในโลกธุรกิจ การเปิดร้านแข่งกับร้านเดิมที่ตัวเองให้คนอื่นเซ้งไป ดูเป็นเรื่องธรรมดาค่ะ กลยุทธโบราณด้วยซ้ำ มีมาตั้งแต่สมัยกรีก-โรมัน
ปกติแล้ว คนที่เซ้งกิจการต่อ คนที่ซื้อสูตรอาหาร หรืออะไรที่เจ้าของเดิมมีสิทธิ์มาขายแข่งเราได้ มักจะระบุไว้เป็นหนังสือสัญญาว่าจะไม่มาเปิดแข่งกับเรา เราเซ้งร้านน้ำมา เจ้าของเดิมก็ต้องสัญญาว่าในห้างนี้จะไม่มาเปิดร้านน้ำแข่งกับเรา เราซื้อสูตรอาหาร เจ้าของสูตรก็ระบุว่าห้ามเปิดร้านในจังหวัดเดียวกัน (ที่ฉันเคยเห็นกับตา เจ้าของร้านขอ 5 จังหวัดรอบทิศ ห้ามมาเปิดแข่ง) ซึ่งเอกสารนี้มีผลตามกฎหมาย ฟ้องร้องฐานผิดสัญญาได้ แม้มันเป็นแค่กระดาษลายเส้นและเขียนด้วยมือก็ตาม (พยานทั้งสองฝ่ายต้องลงชื่อด้วยนะ เป็นกิจจะลักษณะประมาณหนึ่งเลย)
ก็ทำนองนี้ล่ะค่ะ
หากคุณเป็นเจ้าของร้านน้ำที่เซ้งมา มันคงจะเซ็งสุดขีดที่เจ้าของเดิมเสือ*มาขายแข่ง เซ็งแบบอยากไปเผาบ้านเลยด้วยซ้ำ
แต่โลกธุรกิจมันโหดเหี้*มค่ะ มันเป็นโลกที่ถ้ากฎหมายไม่กำหนดไว้ก็คงไม่มีคำว่าศีลธรรมหรือมนุษยธรรมด้วยซ้ำ ผลประโยชน์มันยิ่งใหญ่นัก
คุณลองไปคุยกับห้างได้นะ แต่ความเป็นไปได้ที่อีกฝ่ายจะถูกยกเลิกสัญญามันน้อยค่ะ
ในกรณีที่ถูกขายตัดราคา ไม่แนะนำให้ตัดราคาตอบโต้ เพราะแป๊บเดียวเดี๋ยวก็ไปถึงจุดที่ไม่มีใครได้กำไรแล้วล่ะ มักจะสู้กันด้วยโปรโมชันและบริการมากกว่า ทำให้ร้านคุณดังกว่าร้านเขาให้ได้ มุกทั่วไปก็มี การสะสมแต้มแลกน้ำฟรี (ดึงลูกค้าให้มาซื้อของจากเราแทนที่จะเป็นร้านน้ำอื่น ลูกค้าเห็นแก่แก้วฟรีนั่นแหละถึงซื้อ) เมนูพิเศษ การปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ อะไรทำนองนี้
ก็ทำนองนี้ ลองพิจารณาดูค่ะ
9 เมษายน เวลา 19:49 น.
ศูนย์อาหารเดอะมอลล์บางแค ก็มี
ข้าวขาหมู 2 ร้าน
ผัดซีอิ๊ว 2 ร้าน
ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น 2 ร้าน
ขายข้าวแกง 2 ร้าน
ข้าวมันไก่ 2 ร้าน
ร้านน้ำดื่มและขนมหวาน 2 ร้าน
อยู่ไม่ห่างกัน เท่าไร
เหมือนกัน
10 เมษายน เวลา 20:52 น.