ถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการแล้วขายหมดก่อนเวลาทุกวัน จะเพิ่มปริมาณไหมครับ
ผมว่างมาก่อนร้านปิด 1.30 ชั่วโมงเสมอ ไม่เคยทัน
เลยสอบถามว่าถ้าคุณเป็นเจ้าของกิจการจะเพิ่มปริมาณสินค้าไหมครับ ถ้าหมดก่อนเวลาปิดร้าน 7 วันติดต่อกัน
เพื่อเพิ่มกำไรให้ร้าน
14 สิงหาคม เวลา 00:24 น.
แต่การขายของที่มีจำนวนจำกัด ก็เป็นทริคที่ทำให้ยอดขายเขาขายได้สูงตลอด เพราะคนจะให้ราคากับสินค้าร้านนั้นๆว่าดีจริง ถ้าไม่รีบซื้อเมื่อมีโอกาสจะพลาดโอกาสนั้นไป แต่หากความรู้สึกนี้หายไป เช่นจะซื้อเมื่อไรก็มีขาย กลายเป็นว่าหากวันไหนคนจำนวนมากไม่อยากกินพร้อมกัน แม้รู้ว่าตอนนี้มีของพร้อมขาย เขาก็จะไม่ซื้อ เพราะรู้ว่ามาซื้อตอนไหนก็มีของขายตลอด ก็กลายเป็นว่ากลายเป็นของค้างคืนไป แต่อาจจะไม่ซีเรียสมากสำหรับสินค้าที่เก็บได้หลายวัน
ในขณะที่ของมีน้อย แม้ว่าวันนั้นไม่อยากกิน แต่หากมีโอกาสได้ซื้อ มันก็เอาชนะความไม่อยากกินได้ครับ เรียกว่าถ้ากินตอนที่อยากกินจะอร่อยกว่านี้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องฝืนใจนักที่จะกินตอนที่ไม่ได้อยากกินมากมาย
เหมือนกับคุณตอนนี้ ไปเจอร้านที่มีของขายน้อย นั้นก็แปลว่าหากวันไหนคุณแวะไปแล้วมีของขาย แม้ตอนนั้นคุณไ่มได้อยากกินอะไรมากมาย แต่คุณจะควักเงินซื้อทันทีแบบไม่ต้องคิดครับ ซึ่งผมว่าเรื่องแบบนี้เจ้าของร้านนั้นเขายินดีที่จะให้เหตุการแบบนี้เกิดขึ้นคือสินค้าเป็นที่ต้องการ นั้นก็แปลว่ากิจการเขาดีไม่ต้องกลัวเจ๊งแล้ว เพราะงั้นเขาคงไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณสินค้าแล้วครับ สู้ขายแบบี้ไปกินเงินยาวๆดีกว่า ยังไงเสียจะหาของที่มาทดแทนสินค้าเขามันไม่ง่ายครับ
14 สิงหาคม เวลา 00:37 น.
แต่การขายของที่มีจำนวนจำกัด ก็เป็นทริคที่ทำให้ยอดขายเขาขายได้สูงตลอด เพราะคนจะให้ราคากับสินค้าร้านนั้นๆว่าดีจริง ถ้าไม่รีบซื้อเมื่อมีโอกาสจะพลาดโอกาสนั้นไป แต่หากความรู้สึกนี้หายไป เช่นจะซื้อเมื่อไรก็มีขาย กลายเป็นว่าหากวันไหนคนจำนวนมากไม่อยากกินพร้อมกัน แม้รู้ว่าตอนนี้มีของพร้อมขาย เขาก็จะไม่ซื้อ เพราะรู้ว่ามาซื้อตอนไหนก็มีของขายตลอด ก็กลายเป็นว่ากลายเป็นของค้างคืนไป แต่อาจจะไม่ซีเรียสมากสำหรับสินค้าที่เก็บได้หลายวัน
ในขณะที่ของมีน้อย แม้ว่าวันนั้นไม่อยากกิน แต่หากมีโอกาสได้ซื้อ มันก็เอาชนะความไม่อยากกินได้ครับ เรียกว่าถ้ากินตอนที่อยากกินจะอร่อยกว่านี้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องฝืนใจนักที่จะกินตอนที่ไม่ได้อยากกินมากมาย
เหมือนกับคุณตอนนี้ ไปเจอร้านที่มีของขายน้อย นั้นก็แปลว่าหากวันไหนคุณแวะไปแล้วมีของขาย แม้ตอนนั้นคุณไ่มได้อยากกินอะไรมากมาย แต่คุณจะควักเงินซื้อทันทีแบบไม่ต้องคิดครับ ซึ่งผมว่าเรื่องแบบนี้เจ้าของร้านนั้นเขายินดีที่จะให้เหตุการแบบนี้เกิดขึ้นคือสินค้าเป็นที่ต้องการ นั้นก็แปลว่ากิจการเขาดีไม่ต้องกลัวเจ๊งแล้ว เพราะงั้นเขาคงไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณสินค้าแล้วครับ สู้ขายแบบี้ไปกินเงินยาวๆดีกว่า ยังไงเสียจะหาของที่มาทดแทนสินค้าเขามันไม่ง่ายครับ
14 สิงหาคม เวลา 00:37 น.
16 สิงหาคม เวลา 18:26 น.
มีคนต่อแถวตั้งแต่ก่อนร้านเปิด 15-30นาที (ตอนแกเตรียมต้มน้ำอยู่)
ขายหมดภายในไม่ถึง2ชม. คิดว่าถ้ามีเพิ่มยังไงก็ขายได้
แต่สองคนทำกันเองคงเพิ่มกำลังการผลิตไม่ไหว
16 สิงหาคม เวลา 19:06 น.
16 สิงหาคม เวลา 22:02 น.
ร้านนี้เลยครับ ในม.เกษตร
ไม่ได้ไปต่อคิวตั้งแต่โควิดมา
ไม่รู้ยังเปิดมั้ยนะครับ
16 สิงหาคม เวลา 22:04 น.
16 สิงหาคม เวลา 22:08 น.
14 สิงหาคม เวลา 00:40 น.
14 สิงหาคม เวลา 01:45 น.
เช่น ถ้าเป็ดย่าง หมูย่าง มันก็ต้องซื้อเตาย่างเพิ่ม
ซาลาเปาต้องปั้นเพิ่ม
14 สิงหาคม เวลา 02:45 น.
– เหนื่อยมากแค่ไหนถ้าทำเพิ่ม
– จำนวนลูกค้ามีมากจริงตลอดรึแค่บางวัน
– วัตถุดิบจะเพิ่มยังไง บางอย่างต้องซื้อทีเดียวเยอะๆ
14 สิงหาคม เวลา 02:45 น.
14 สิงหาคม เวลา 03:42 น.
14 สิงหาคม เวลา 06:43 น.
บางคนทำงานแค่ในกรอบก็พอ
หลักคิดเขาอาจแค่ไม่โลภดีกว่า
ไม่มีสูตรการเงินอะไรมากมาย
ดีเสียอีกปิดจ๊อบไว ได้พักเลย
14 สิงหาคม เวลา 06:59 น.
14 สิงหาคม เวลา 07:52 น.
ถ้าเพิ่มปริมาณแล้วขายหมดเหมือนเดิม หักค่าใช้จ่ายแล้วก็อาจจะได้กำไรเท่าเดิม (ถ้าไม่จ้างคนเพิ่มก็แค่เหนื่อยเพิ่ม กำไรเพิ่ม) แต่ถ้าขายไม่หมดจะเท่ากับว่ากำไรจะลดลง
เราว่าทุกคนก็อยากขยายให้กิจการใหญ่ขึ้นนะคะ แต่มันก็พ่วงมาด้วยความเสี่ยงและค่าใช้จ่าย ทำเท่าที่จะมีแรงทำ ทำเท่าที่พอเพียงจะอยู่ได้…ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่แย่เลย
—–
เรากับสามีเคยตัดสินใจทำธุรกิจโรงงานขนาดเล็ก พอถึงเวลาที่ล้ม…ก็โครมใหญ่ในข้ามคืน ทุกวันนี้ยังใช้หนี้ไม่หมดเลยค่ะ
ตอนนี้ก็เริ่มต้นใหม่ด้วยการทำธุรกิจเล็กๆ ที่พอเพียงที่จะอยู่ได้ และไม่เสี่ยงมากหากมีความผันผวนทางเศรษฐกิจเข้ามา
14 สิงหาคม เวลา 07:57 น.
มันมีความสุขมากเลยนะ
14 สิงหาคม เวลา 08:20 น.
14 สิงหาคม เวลา 08:47 น.
เคยเห็นร้านขายข้าวหมูแดงแถวบ้านเก่า ขาย 7 วันเลย แล้วก็เจ้าของร้าน (พี่ ๆ น้อง ๆ กันสามสี่คนมั้ง ) ผลัดกันอยู่ร้านทุกวัน หรือบางคนอยู่ร้าน 7 วันเลย
15 สิงหาคม เวลา 01:53 น.
** ปล. หลายร้านประจำที่เคยขายหมดเร็ว แบบไม่เกินบ่ายหมดแล้ว ของเหลือขายหมดช้าไปเยอะเลยครับ
14 สิงหาคม เวลา 08:58 น.
14 สิงหาคม เวลา 09:08 น.
บางคนหมดแล้วก็หมดเลย ขอขายแค่นี้ ได้กำไรประมาณนี้ จบ
ยิ่งขายของกิน เวลาเตรียมร้าน เก็บร้าน มันเหนื่อยมาก ขายหมดเร็วก็ได้พักมากขึ้น
แต่บางคนก็ดีใจที่จะได้โอกาสเพิ่มยอดขาย ซื้อวัตถุดิบเพิ่มเพื่อขายต่อ
14 สิงหาคม เวลา 09:41 น.
14 สิงหาคม เวลา 09:47 น.
16 สิงหาคม เวลา 21:39 น.
16 สิงหาคม เวลา 22:06 น.
พอปรับราคาขึ้น แม้ว่าปริมาณและคุณภาพเท่าเดิม แต่กลายเป็น price วิ่งแซง value ไป คนอาจจะไม่ยอมซื้อแล้วก็ได้
สมมติของกินเดิมขาย 50 ปรับราคาเป็น 60 นั่นคือกระโดดขึ้นทีเดียว 20% เลยนะคะ
17 สิงหาคม เวลา 09:06 น.
จริง ๆ เค้าคงทำเท่าที่เค้าไหว
14 สิงหาคม เวลา 10:07 น.
ให้ภาพลักษณ์ของดีขายหมดไวทุกวัน
ดีกว่าครับ
แนะนำให้หมดแล้วหมดเลย
เพิ่มเป็น product ใหม่ครับ
แบบว่าอันนี้หมดแล้วครับ
ถ้าพี่จะซื้อต้องรีบมาก่อนเวลานี้ๆๆ
14 สิงหาคม เวลา 10:53 น.
ถ้าขายทั้งวัน เหนื่อยร้อน
14 สิงหาคม เวลา 11:08 น.
บ้านผมเคยเป็นแบบที่คุณถามเลย
ขายดีจนหมดก่อนเวลาทุกวัน เลยเตรียมของเพิ่ม
ผลที่ได้คือ ปกติขายวันจันทร์-เสาร์ แต่พอเพิ่มของ ขายได้แค่จันทร์-ศุกร์ พอวันเสาร์ก็ร่างแหลกทำไม่ไหวต้องหยุด
สุดท้ายก็กลับมาทำเหมือนเดิมคือขายเท่าที่ไหว ไม่เหนื่อยเกินไป
14 สิงหาคม เวลา 11:32 น.
14 สิงหาคม เวลา 11:49 น.
ต้องจ้างคนช่วย…เอาเงินไหนจ้างล่ะช่วงนี้ เอาแค่นี้แหล่ะ พอเพียงแล้ว
14 สิงหาคม เวลา 12:43 น.
บ่ายสอง เก็บร้านแล้ว
ผมเคยถาม ไม่ทำเพิ่ม
จขร.บอก เหนื่อย ทำไม่ไหว ไม่คุ้ม
เดี๋ยวเย็นๆ ต้องเตรียมของอีก
14 สิงหาคม เวลา 13:54 น.
14 สิงหาคม เวลา 14:13 น.
14 สิงหาคม เวลา 15:25 น.
14 สิงหาคม เวลา 15:46 น.
14 สิงหาคม เวลา 16:15 น.
14 สิงหาคม เวลา 16:52 น.
ขายหมดเร็วเพราะว่าขายดี แต่ถ้าให้ทำในปริมาณมากขึ้น เขาต้องเหนื่อยเพิ่มและต้องเพิ่มทุนด้วย
จริง ๆ ขายหมดเร็วก็ดีนะคะ เงินก็ได้ มีเวลาว่างเพิ่มขึ้นด้วย
14 สิงหาคม เวลา 17:28 น.
คนที่มีวันหยุดประจำ เสาร์อาทิตย์
กินเงินเดือนอาจจะไม่เข้าใจ
เวลา 1 ชั่วโมงครึ่งของคนค้าขายที่แทบจะไม่มีวันหยุด
มันคือเวลาสวรรค์เลย ได้นั่งชิวๆ นอนพักผ่อน
มีเวลาจิบเบียร์ในห้องแอร์เพิ่มขึ้น ฟินฝุดๆ
14 สิงหาคม เวลา 17:43 น.
ได้ยินคนเคยค้าส่วนมากก็จะเจอแบบนี้ค่ะ
14 สิงหาคม เวลา 17:58 น.
14 สิงหาคม เวลา 18:58 น.
การเพิ่มปริมาณ อีกนิดหน่อย ถ้าต้องแลกกับการที่ทำเองไม่ไหว ต้องจ้างคนเพิ่ม เพื่อมาช่วยทำ คือ ไม่คุ้ม
ไม่โลภ ได้แค่ไหนก็ทำแค่น้น พอกินพอใช้แล้ว
15 สิงหาคม เวลา 08:20 น.
P.
15 สิงหาคม เวลา 08:40 น.
15 สิงหาคม เวลา 09:22 น.
– บริหารต้นทุน กำไร ให้อยู่ระดับคงที่ ถ้าทำมาและขายไม่หมด เท่ากับขาดทุน มีความเสี่ยง
– บริหารอุปสงค์ demand ได้อย่างดี เพราะถ้าเป็นของที่ใครๆ ก็กินได้ คงไม่มีความพรีเมี่ยม ในความรู้สึก
– บริหารเวลา work-life balance ครับ
15 สิงหาคม เวลา 11:01 น.
การเพิ่มเพื่อขายอีก 1.30 ช.ม. ยากที่จะควบคุมวัตถุดิบให้สดใหม่ค่ะ บางอย่างต้องซื้อถุงใหญ่ ซื้อเป็นกิโล หากเพิ่มเพื่อขายอีก 1.30 ช.ม. จะมีวัตถุดิบที่เหลือข้ามวัน พอวันถัดไปก็จะกลายเป็นของค้าง รสชาติอาหารจะไม่เหมือนของสดค่ะ
หรืออาจจะเป็นอาหารที่รับมาขาย ไม่ได้ทำเอง สมมุติว่าต้องซื้อยกลัง ลังละ 50 ชิ้น ขายหมดก่อนเวลา แต่ถ้าเราซื้อเพิ่มอึก 1 ลัง เพื่อขายต่ออีก 1.30 ช.ม. จะมีของเหลือข้ามวันเช่นกัน
15 สิงหาคม เวลา 13:55 น.
และถ้าทำแบบนั้น จขกท. อาจมีเวลาเพิ่มขึ้นสัก 30-60 นาที แต่มาช่วงท้ายๆ ก็อดเหมือนเดิม
15 สิงหาคม เวลา 14:40 น.
15 สิงหาคม เวลา 14:50 น.
น้ำขึ้น ให้รีบตัก
15 สิงหาคม เวลา 20:06 น.
เคยมีโอกาสแวะตอนร้านกำลังจะเปิดพอดี ตอนนั้นไม่ได้ตั้งใจจะไปกินแค่ไปห้างแถวนั้นและเดินผ่านพอดี
สบโอกาสแวะซื้อตั้งแต่เค้ากำลังจัดร้าน มีคนมารอคิวแล้วเป็นสิบ แถมยังมีคนสั่งไว้ล่วงหน้าอีกเพียบ
ผมเลยสั่งไว้แล้วไปเดินห้าง สั่งกลับมากินที่บ้าน เป็นครั้งแรกที่ได้กิน ปกติผ่านช่วงเย็นเค้าขายหมดแล้ว
ไม่ได้อร่อยอะไรนักแค่พอกินได้ และเค้าไม่ได้ทำเพิ่ม ทั้งๆที่ร้านอื่นในซอยขายตั้งแต่เช้ามืดจนถึงดึกๆ
แต่ร้านนี้ขายจริงๆเกือบเที่ยงจนถึงหมดประมาณ 4โมงเย็นแค่นั้น มีคนเคยถามว่าทำไมไม่ทำเยอะกว่านี้
เค้าบอกว่าเหนื่อย
16 สิงหาคม เวลา 09:32 น.
เช่นต้มเพิ่มอีกหนึ่งขา ขายได้อีกสิบจานอันนี้โอเค
16 สิงหาคม เวลา 10:06 น.
16 สิงหาคม เวลา 10:15 น.
จะได้เป็นแรงดึงดูด ให้คนมา อุปสงค์มากกว่าอุปทาน ผมว่าดีต่อเราครับ
และ มันก็จะไม่ใช่ของตายที่จะซื้อเมื่อไรก็ได้ ประมาณนั้น
ขายจบ ให้ลูกน้องกลับไปพักผ่อน ได้เลิกงานก่อนเวลาจริง ได้เงินเท่าเดิม
และกับกำไรอีกนิดหน่อย ผมคิดว่า ผมไม่เพิ่มครับ
เพราะเท่าที่มี มันก็อยู่ในสถานะ วิน-วินแล้ว
16 สิงหาคม เวลา 10:54 น.
16 สิงหาคม เวลา 11:20 น.
16 สิงหาคม เวลา 11:32 น.
การเพิ่มกำลังการผลิตอาจจะไม่ได้ง่ายอย่างที่คุณคิด ปัจจุบันร้านอาจจะทำขายเต็ม capacity ที่รับได้ของเจ้าของร้าน พนักงาน อุปกรณ์ การควบคุมคุณภาพ ในปัจจุบัน ถ้าจะทำเพิ่มอาจจะไม่ใช่แค่ซื้อวัตถุดิบมาเพิ่ม ต้องอาจจะต้องมีการลงทุน หรือมีผลกระทบต่อคุณภาพของสินค้า ซึ่งอาจจะไม่คุ้มค่าในระยะยาว นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะขายไม่หมด ซึ่งรวมแล้วอาจจะไม่คุ้มความเสี่ยง
16 สิงหาคม เวลา 16:46 น.
16 สิงหาคม เวลา 18:08 น.
16 สิงหาคม เวลา 18:25 น.
16 สิงหาคม เวลา 18:53 น.
ถ้ามองแบบพ่อค้าแม่ค้าที่จะพัฒนาเป็นนักธุรกิจ เขาจะเพิ่มปริมาณ(แบบค่อยๆเพิ่มเท่าที่เขารับความเสี่ยงได้) จนรู้สึกว่าคนติดจริงๆ ก็จะค่อยๆเพิ่มสาขาให้มากขึ้น เพิ่มพนักงาน เพื่มระบบต่างๆ ฯลฯ
และทั้ง2 ความเสี่ยงต่างกัน รายรับก็จะต่างกันครับ
16 สิงหาคม เวลา 18:56 น.
แต่ถ้าในสถานการณ์ทุกอย่างปกติ ไม่มีค่าที่เพิ่ม คนยังสามารถเดินทางไปมาตลอด ทำมาเพิ่มครับ แต่จะสังเกตุในแต่ล่ะวัน คนเดินผ่านเยอะผ่านน้อยจากเวลาขายปกติ ยังไง เช่นวันศุกร์ วันจันทร์
16 สิงหาคม เวลา 19:01 น.
มองในมุม คนค้าขายธรรมดา ทำคนเดียว ทำสองคน
ขายไม่ใหญ่ ควรจะทำตามกำลังกาย …. ทำมากไป ล้มหมอนนอนเสื่อ… จะแย่
มีร้านขายบะหมี่ แถวบ้าน ทำกัน 2คนผัวเมีย ทำขายแค่วันละ 1000ถุง พอแล้ว…
ถ้าเพิ่มเป็น1200ถุง ต้องเพิ่มเวลาอีก 2-3ชม. ทั้งผลิตและขาย ไม่เหลือเวลาส่วนตัวและเวลาดูแลลูก
แถมเงินที่หามาได้ ไม่ได้ใช้เลย ลูกๆ เอาไปใช้หมด
16 สิงหาคม เวลา 19:03 น.
16 สิงหาคม เวลา 19:12 น.
สุดท้ายหากคุ้ม ก็ควร,
หากไม่คุ้มจากลองแล้ว ก็เลิก (เรียนผิด/ถูกไป)
16 สิงหาคม เวลา 19:18 น.
16 สิงหาคม เวลา 19:52 น.
ถ้ารายได้ที่มีมันเป็นที่พอใจแล้ว รู้สึกมีความสุขดี เราคิดว่ามันก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะหาอะไรอย่างอื่นทำ มีเวลาส่วนตัว อยู่กับครอบครัว พักผ่อน … แต่ถ้ารายได้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ จะลองสังเกตการณ์ต่อระยะนึงแล้วตัดสินใจผลิตเพิ่มก็ไม่สายนะคะ
16 สิงหาคม เวลา 19:55 น.
ลูกค้าจะได้ของใหม่ สด ทุกวัน
16 สิงหาคม เวลา 20:07 น.
16 สิงหาคม เวลา 20:38 น.
ถ้าเป็นเรา เราไม่เพิ่มค่ะ ร้านดังๆที่ขายดีๆส่วนใหญ่หมดแล้วหมดเลย
เป็นการกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อและการตลาดไปในตัว ใครอยากกิน ก็ต้องรีบมาซื้อ
ซึ่งเวลาที่คุณขายหมดจนถึงเวลาปิดร้าน อาจจะไม่ใช่เวลาที่ลูกค้ามาซื้อเยอะก็เป็นได้
สมมุติร้านคุณกำหนดปิด 15.00/21.00 น. แต่ขายหมดก่อนเวลาประมาณ 90นาที
ถึงคุณจะเพิ่มจำนวนสินค้า ก็ไม่ได้หมายความว่าจะขายได้มากขึ้นตามเวลาที่เพิ่มขึ้นมา
แต่เราก็ไม่อยากให้คุณเสียโอกาสในการขาย อาจจะลองเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย
แล้วดูเปอร์เซ็นยอดขายว่าเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงหรือดีกว่าขายเท่าเดิมมั้ยคะ
16 สิงหาคม เวลา 20:54 น.
ในเมื่อสั่งยากสั่งเย็นนัก ย้ายไปสั่งอีกร้านดีกว่า ถ้าทุกคนคิดแบบนี้พร้อมกันหมด ถึงมารู้ว่าวันนั้นที่ร้านเดิมมีของขายก็ไปเป็นลูกค้าประจำอีกร้านซะแล้ว
ในฐานะผู้ประกอบการผมไม่ทราบ แต่ในฐานะลูกค้า ผมเทร้านลักษณะนี้มาพอสมควร
16 สิงหาคม เวลา 22:06 น.
ประมาณว่าหากหาทานวันอื่นไม่ได้ให้มาวันอาทิตย์ แล้วเฉพาะวันอาทิตย์ ก็จะเป็นวันที่เค้าปิดช้าหน่อย เพื่อให้ลูกค้าที่อาจมีเวลาไม่ตรงกันในวันปกติได้มาลิ้มลองรสชาติค่ะ
16 สิงหาคม เวลา 23:55 น.
17 สิงหาคม เวลา 00:45 น.
หลายคน พอใจกับการผลิตสินค้าขึ้นมาแค่นั้น หมดเมื่อไหร่ก็จบ พรุ่งนี้ค่อยว่ากัน ( พฤติกรรมเหมือนพวกติสต์ๆ เขาทำกัน คือไม่แคร์รายได้ ขอสุขใจที่ได้ทำ ไว้ก่อน)
แต่อีกหลายคน ก็มีพฤติกรรมประเภทนักการขาย นักธุรกิจ มี Demand มากๆ ก็จัด Supply ตามไป
เมื่อก่อนเคยมีข่าว ร้านราดหน้าร้านนึง จานละ 200 บาท ใส่ทุกอย่างที่ขวางหน้า แต่ทำแค่วันละ 100 จานเท่านั้น
หมดก็คือจบ พรุ่งนี้ก็ค่อยทำใหม่
มันเป็นการสร้างห้สินค้านั้น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ดาษดื่นเหมือนของคนอื่นๆ ดูดี มีราคา ทำให้คนอยากบริโภค ต้องมาจับจองกัน
คุณว่าไหมครับ ???
แต่บางคนก็อาจจะอยากมีเวลา มีความสุขกับการทำกิจกรรมอื่นๆ ประจำวันด้วย หรืออาจมีปัญหาเรื่องสุขภาพ หรืออาจจะเป็นเพราะสินค้านั้น ต้องใช้เวลาพิถีพิถัน เลยได้ชิ้นงานออกมาน้อยในแต่ละวัน หลายๆอย่างรวมกันครับ
ถ้าคุณอยากรู้ว่า ร้านที่คุณไปไม่ค่อยทัน เขาคิดยังไงกับเรื่องนี้ ลองสอบถามเขาดูแล้วเอามาแลกเปลี่ยนกันสิครับ หลายมุมมอง ก็ทำให้เราได้ความรู้วิธีคิดของคนมากขึ้นด้วยครับ
17 สิงหาคม เวลา 08:36 น.
ถ้าเพิ่มอีกร่างแหลกแน่นอนครับ เอาเท่าที่ตัวเองไหวครับสุขภาพเราก็เป็นเรื่องสำคัญ
17 สิงหาคม เวลา 08:53 น.
17 สิงหาคม เวลา 09:05 น.
กลัวแต่จะต้องหาเครื่องมือ เพิ่ม หาวัตถุดิบดีๆ ตามที่เราตั้งไว้ไม่ได้หนะสิ แบบนี้ เหนื่อยกว่าเดิมเยอะ ไม่คุ้มที่จะทำ ก็ไม่ทำ
17 สิงหาคม เวลา 09:29 น.
ถ้า ไม่กระทบกับคุณภาพ
ผมจะเพิ่มครับ
แต่ถ้ามีผลกระทบกับคุณภาพ ผมยอมให้ของขาด ไม่พอขาย
ดีกว่าจะต้องมาฟังลูกค้าบ่น เรื่องคุณภาพครับ
17 สิงหาคม เวลา 09:40 น.
แต่บางอย่างหมดก็เวลาก็แค่ว่างเร็วขึ้น แต่ช่วงที่ขายดีเขาต้องเหนื่อยตลอดจนไม่ได้พักเลย ก็อาจจะไม่เพิ่มเอาเวลาที่เหนื่อยมาพัก
โดยเฉพาะร้านที่เจ้าของทำเอง กำไรอีกนิดหน่อยอาจจะไม่คุ้มค่าเหนื่อย
17 สิงหาคม เวลา 09:53 น.
แล้วก็ขายมาน่าจะเกิน 50 ปีแล้ว ก็หมดก่อนเที่ยงตลอด ถ้าไม่เจาะจงไปซื้อก่อนเวลาก็คือ อด
อีกร้านก็ ข้าวหมูแดง หมูกรอบ หลัง รพ. นี่ก็พอๆกัน 50 ปีกว่าๆแน่นอน
ร้านนี้ดีหน่อย คือหลังเที่ยง ไม่เกินบ่าย 2 ยังพอมีให้กิน
รุ่นลูกมาช่วยทำ ตอนนี้มีแพ็คกล่องขายเพิ่มด้วย ถ้าป้าแกคนเดียว ก็หมดก่อนเที่ยงเหมือนกัน
ร้านนี้พิเศษหน่อย หมูกรอบมีจำกัด หมูแดงมีเยอะกว่าหน่อย เคยถามๆ แกบอก ทำได้วันนึงแค่นี้ก็เหนื่อยจะแย่ละ
17 สิงหาคม เวลา 09:58 น.
ผมไม่ค่อยชอบเทคนิคการตลาดจำพวกทำน้อย ๆ อัพราคาให้แพง ๆ แล้วให้คนแย่งกันซื้อหรอก แม้จะไม่ผิดอะไร แต่ความรู้สึกส่วนตัวมันไม่อยากจะทำอย่างนั้น เราเป็นผู้ผลิต ขายของที่ดีในราคาที่เหมาะสม ไม่โก่งราคาจนเหมือนอยากให้คนซื้อเอาไปอวดกัน แบบนี้ขายแล้วรู้สึกยินดีที่มีคนมาซื้อสินค้าเราไปใช้งานกันจริง ๆ
แต่สิ่งที่ผมขายมันไม่ใช่ของกิน ไม่รู้จะเทียบเคียงกันได้หรือเปล่า
17 สิงหาคม เวลา 13:00 น.
17 สิงหาคม เวลา 21:12 น.
พอวันที่ 8 คุณจะไปถึงก่อนร้านปิด 1.30 ชั่วโมง หรือ 1.30 นาที ก็ไม่เป็นไร ยังไงก็ได้ของแน่ๆ
ไม่ได้ตอบคำถามในกระทู้ แต่อยากแชร์ไอเดีย ว่าทำยังไงให้ได้ของอ่ะ 555555
17 สิงหาคม เวลา 21:28 น.
หาก ต้องการ ซื้อ จริง ก็ สั่งจอง ล่วงหน้า ไว้ และ จ่ายเงินก่อน ครับ
แถวบ้าน หลายๆ ร้าน ก็ ยึดแนว นี้ คือ ขาย เท่าเดิม หมดไว ก็ ได้ พักผ่อนไวครับ
แต่ บาง ร้าน ที่ ขาย ไม่ดี นัก เพราะ คนทำงาน wfh กัน มาก
ก็ ทำใ้ห ยอดขาย ตก แม่ค้า ก็ ยอมรับ สภาพ กำไรน้อยลง ก็ ขาย เท่าที่ได้
เพราะ การค้าขาย มัน ไม่แน่นอน บวก กับ ภาวะ covid wfh อีก
17 สิงหาคม เวลา 23:09 น.
ช่วงโควิดย้ายบ้านมาอยู่แถวโรงเรียนเก่า กลับไปกิน ปรากฏว่าทุกวันนี้ขายแค่ จ-ศ แค่ช่วงสายจนถึงของหมดแค่บ่ายๆ
เถ้าแก่บอก ทำไม่ไหว อายุเยอะแล้ว ต้องพักบ้าง เอาแค่พออยู่ได้
ไม่จ้างลูกน้องเยอะ เพราะก็ดูแลไม่ไหวอีก
17 สิงหาคม เวลา 23:50 น.
อันนี้ไม่ได้คิดเอง แต่ผมได้ฟังแนวคิดจากร้านเนื้อต้มวัดราชบพิธ นะก่อนยุคโควิดมา
ร้านนี้จะเปิดขายตอน 8.00 เป็นต้นไป ต่อให้คุณมานั่งรอตั้งแต่ 7.00 เขาก็ไม่ขายให้ 8.00 เมื่อไหร่ถึงจะเริ่มสับและเสิร์ฟลูกค้าเท่านั้น ก่อนหน้านั้นเปิดหน้าร้านให้เขามารอคิวได้ นั่งน้ำลายหยดกันไป เขาจะเตรียมสับเนื้อและเครื่องในไว้รอพร้อมขาย แต่ยังไม่เริ่มขาย
ตอนนั้นเคยมีลูกค้าประจำมาถามแก ว่าทำไมเฮียไม่ทำของเพิ่มละเห็นขายดี มาช้าบางส่วนก็คือหมด อดกิน อยากกินก็ต้องมาวันต่อไป เฮียแกตอบเคยเพิ่มของแล้วขายหมดช้าลงเหนื่อยเพิ่มขึ้น ระยะเวลาพักผ่อนก็ลดลง เงินได้เพิ่มมาไม่คุ้ม สู้ขายของเท่าตอนนี้ดีกว่า ไม่เกิน 10 โมงของก็หมดหรือเหลือก็เล็กน้อยเท่านั้น ไม่เหนื่อยลูกค้าอยากกินเครื่องในตามต้องการก็ต้องรีบมาซื้อตั้งแต่เช้า เพราะมาช้าของหมดก็คือหมดว่าร้านไม่ได้ ฟังดูก็เออจริง ขายวันละ 2 ชั่วโมงที่เหลือเอาเวลาไปพักรอเตรียมของขายวันต่อไปดีกว่าเยอะ
18 สิงหาคม เวลา 10:59 น.
ถ้าหากเพิ่มปริมาณสินค้า แล้วไม่คุ้มกับต้นทุนที่เสียไป เช่น ต้องเปิดของกล่องใหม่ ของเหลือไม่สามารถเก็บได้ ทำให้มีต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้น ก็ไม่คุ้มแน่ และต้องอย่าลืมต้นทุนด้านแรงงานด้วย เพราะแรงคนมีเหนื่อย มีล้า ประสิทธิภาพอาจไม่ได้เท่าเดิม รวมถึงการจ่ายค่าแรงที่มีจำนวนชั่วโมงที่มากขึ้น
แต่ถ้าหากเป็นสินค้าที่สามารถเพิ่มปริมาณได้เท่าที่กำลังการผลิตไหวอยู่ การมีสินค้าเยอะขึ้น เท่ากับเพิ่มโอกาสในการขาย (เพราะการที่ลูกค้าไปซื้อสินค้าที่ทดแทนกันได้ในร้านอื่น ก็เท่ากับเสียโอกาสในการขาย นานไปก็กลายเป็นว่าลูกค้าไม่เข้า เพราะคิดว่าของน่าจะหมดอีกแล้ว ทำให้ลูกค้าเราไปเป็นลูกค้าคนอื่น ก็อาจใช้กลยุทธ์พวกสิทธิพิเศษสมาชิก หรือจองของไว้ให้ ก็อาจจะช่วยเรื่อง Brand Loyalty ได้บ้างค่ะ)
18 สิงหาคม เวลา 13:14 น.
แต่ก็จะเพิ่มของให้ Max ไว้แค่ 1 ชม. ก่อนเวลาปิดแค่นั้น เพื่อให้ยังรักษา Demand ของลูกค้าให้มีความขาดแคลนหน่อยๆ แต่ไม่ขาดเยอะจนเสียโอกาสการขายไป
ยกเว้นถ้ามี Labor cost + Overhead อื่นๆ เช่น จ้างคนเพิ่มหรือต้องซื้อโต๊ะเก้าอี้อีก ก็จะไม่เอาครับ เพราะ Margin ส่วนเพิ่มจะมีนิดเดียวเอง
18 สิงหาคม เวลา 15:07 น.
19 สิงหาคม เวลา 07:08 น.
แล้วโทรไปก่อนเวลาร้านปิดสัก 3 ชม.
เขาจะได้เตรียมแยกไว้ให้ หรือจะทำเพิ่มก็แล้วแต่เขา
( แต่ถ้ามีร้านอื่นขายเหมือนกันไม่ต่างกันมากเราก็กินร้านอื่น )
22 สิงหาคม เวลา 15:46 น.