ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นของเขมรที่ไทยขโมยมา จริงเหรอครับ pantip

ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นของเขมรที่ไทยขโมยมา จริงเหรอครับ

พอดีเห็นในกลุ่มชาวกัมพูชา และเพื่อนที่ทำงานคนกัมพูชา เขาภาคภูมิใจกันน่ะครับ

ความคิดเห็นที่ 11

วันก่อนก็เห็นกระทู้นี้แล้ว แต่ไม่ได้ตอบ วันนี้ขอตอบแล้วกันนะครับ แต่จะยาวหน่อยนะ จะได้อธิบายวิธีการคิดการตรวจสอบอะไรไปเลย

คนไทยนี่กินเค้กมั้ยครับ? กินเนาะ ดังนั้นเค้กก็น่าจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมที่เรารับมาจากตะวันตกได้ แต่ถามว่าคนไทยประดิษฐ์คิดค้นวิธีการทำเค้กขึ้นมาหรือเปล่า? อันนี้ก็ต้องบอกว่าเปล่า อย่าว่าแต่เค้ก วิธีการทำอาหารด้วยการอบน่ะ เรารับมาจากฝรั่งเป็นหลัก ดังนั้นเมนูอาหารไทยที่ทำด้วยการอบนี่เรามีไม่เยอะมากนะครับเมื่อเทียบกับเมนูอาหารไทยแบบอื่นๆ

เวลาจะดูว่าอะไรมาจากที่ไหน ไม่ใช่คิดแค่พื้นที่ที่ติดกันครับ ดูสภาพแวดล้อมอื่นๆด้วย  ยกตัวอย่างให้นะ ผมเห็นมาสองสามครั้งแล้วและเชื่อว่าใครที่ท่องเน็ทเป็นพวกสัมภเวสีแบบผมและสนใจเรื่องอาหารอาจจะเคยเห็นเหมือนกัน คือมีเพื่อนบ้านเราบางที่ที่เขาจะพยายามบอกต่างชาติ–โดยเฉพาะตะวันตก–ว่าอาหารไทยน่ะจริงๆเอาไปจากเขา (กรณีที่ผมกำลังพูดนี่ไม่ใช่กัมพูชานะครับ บอกก่อน ชาติอื่นอีกที) เช่น บอกว่าพะแนงนี่มาจากของเขา เพราะชื่อเหมือนเมืองในประเทศเขา ซึ่งไม่ใช่หรอก เพราะพะแนงนี่มีบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาโน่น ในขณะที่เมืองของเขาที่ชื่อคล้ายๆอาหารจานนี้เพิ่งมาตั้งชื่อตอนกลางๆรัตนโกสินทร์นี่เอง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ หรือบอกว่าแกงเหลืองแกงเผ็ดเรื่อยไปจนถึงข้าวซอยเป็นอาหารของเขา ซึ่งอาหารไทยพวกนี้ แม้แต่ข้าวซอยซึ่งจริงๆเรารับจากพม่า (และพม่าก็รับมาจากจีนมุสลิมอีกที) มันใช้กะทิน่ะครับ ถ้าเป็นแกงอะไรสารพัดนี่ยิ่งหนัก เพราะนอกจากกะทิ ยังใช้กุ้งแห้ง กะปิ น้ำปลาสารพัด ของพวกนี้จะหาได้ก็คือที่ทะเลครับ และเพื่อนบ้านที่อ้างว่าอาหารไทยแกงเผ็ดแกงเขียวหวานข้าวซอยอะไรทั้งหลายนี่เป็นของเขาไม่มีทางออกทะเลน่ะครับ ถ้าจะบอกว่าพวกนี้มาจากเขามันจึงฟังไม่ขึ้น

ทีนี้กลับมาเรื่องข้าวเหนียวมะม่วง ผมตั้งข้อสังเกตเหมือนกันเรื่องกะทิ ครัวกัมพูชาใช้กะทิมากน้อยเท่าไรล่ะครับ? เท่าที่ผมพอทราบ ไม่ได้เยอะมาก เหมือนๆกับครัวไทยภาคเหนือหรืออีสาน นั่นจะใช้กะทิไม่เยอะเหมือนกัน ใช้เครื่องเทศน้อย ของจากทะเลใช้น้อยเสียจนกระทั่งคนสักห้าสิบหกสิบปีก่อนที่อยู่ทางเหนือหรืออีสานเป็นโรคคอหอยพอกกันเยอะเพราะขาดไอโอดีน (ใครสงสัยไปค้นบันทึกทางการแพทย์ได้ครับ)

กะทิ เครื่องเทศ พวกนี้เป็นสิ่งที่เรารับมาจากอินเดียผ่านพ่อค้าชาวทมิฬที่เดินทางมาค้าขายแถวๆอินโด-มาเลย์ แล้ววัฒนธรรมการใช้ของพวกนี้ก็แพร่เข้ามาจากทางใต้ของไทยเข้าภาคกลางครับ แต่ทางเหนือหรืออีสานนั้นไม่ได้ใกล้ทะเล ของพวกนี้แม้แต่กะทิซึ่งจะขึ้นในพื้นที่ที่มีน้ำเยอะ เช่นภาคกลางหรือใต้ก็ไม่ค่อยมี รวมทั้งในอดีตทั้งสองพื้นที่จะไม่ใช่แหล่งการค้าเครื่องเทศ ครัวของเขาก็เลยไม่มีการใช้ของพวกนี้เยอะ

อีกอย่าง การกินข้าวเหนียวกับผลไม้อื่นๆนอกจากมะม่วง เช่นข้าวเหนียวทุเรียน เพื่อนบ้านเราก็กินครับ และเพื่อนบ้านที่ว่าไม่ใช่กัมพูชา แต่คือประเทศที่ขึ้นเชื่อเรื่องทุเรียนและเป็นแหล่งกำเนิดทุเรียนด้วย คือมาเลย์อินโด [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ถ้าใครบอกว่าข้าวเหนียวมะม่วงนี่กัมพูชาเป็นต้นแบบ  คำถมคือมองย้อนไปที่นี่แหละ กะทิ เขาใช้เยอะมั้ย ถ้าเยอะก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะแสดงว่านั่นคือวัตถุดิบประจำที่เขาใช้ เรื่อยไปจนถึงข้าวเหนียว วัฒนธรรมเขากินข้าวเหนียวเยอะหรือเปล่า? อย่างของไทยเรานี่ชาวบ้านโบราณแถวภาคเหนือหรืออีสานกินข้าวเหนียวเป็นหลักนะครับ ไม่ได้กินข้าวเจ้ากัน ดังในครัวไทยจะมีการใช้ปนกันทั้งข้าวเจ้าข้าวเหนียว แต่อย่างกัมพูชาน่ะ คุณกินอะไรเป็นหลัก? อย่างนี้แหละครับ ถ้าเขามีหลักฐานมีข้อยืนยันพิสูจน์ ก็มาดูที่น้ำหนักเหตุผลต่างๆว่าฟังขึ้นมั้ย โอเคหรือเปล่า มีข้อโต้แย้งอะไรได้มั้ย ไม่ใช่แค่ว่าอ๋อต้นแบบเป็นของชั้นเพราะชั้นกินขนมพวกนี้ แบบนั้นไม่เกี่ยว (นึกถึงเค้กข้างบนที่ผมยกตัวอย่างไปนั่นแหละ)

แถมด้วยว่าไม่เฉพาะเรื่องข้าวเหนียวมะม่วงนี่ แต่ไปถึงอื่นๆด้วย อย่างผมเคยเห็นคนกัมพูชานี่แหละบอกว่าขนมชั้น ขนมฯลฯ ของไทยเราน่ะเป็นของเขา ปัญหาคือเขาเองก็เรียกชื่อนั้นๆเป็นภาษาไทย เช่น ขนมชั้นเขาเรียก Nom Chan แต่พอถามว่าแล้วไอ้คำนี้มันแยกออกมาแล้วมีความหมายยังไง เขากลับตอบไม่ได้ ในขณะที่ในภาษาไทย ขนมชั้นแยกคำได้ และมีความหมายทั้งสองคำ (ขนม+ชั้น) ความหมายที่ว่าก็ตรงกับลักษณะขนมด้วย ห่อหมกอะไรอีกสารพัดแหละครับ อันที่จริงเขาก็มีอาหารของเขาที่ไทยไม่ค่อยมีใครทำเลยนะ อย่างข้าวต้มปลาร้า ซึ่งอันนี้อาจารย์คึกฤทธิ์ท่านเขียนและสัมภาษณ์ไว้หลายทีแล้วว่ามาจากเขมร อย่างนี้นี่เขาบอกว่าเป็นของเขาได้เต็มๆปากเลย แล้วไอ้จานที่ว่านี่ผมก็เห็นยังมีขายในตลาดบ้านเขา วิดีโอในยูทูปก็มี ไม่ยักกะพยายามชูให้มันเด่น

นอกจากการคิดให้มีเหตุผลในเรื่องอาหารนี่ เรื่องอื่นๆเราก็ควรใช้ด้วยเวลาจะศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อย่างที่กัมพูชาเขาชอบพูดบ่อยๆว่ามวยไทยมาจากเขา โดยเขาจะอ้างหลักฐานจากภาพสลักที่นครวัด เรียนตามตรงนะครับ มันฟังไม่ค่อยขึ้น เพราะ–ลองนึกดูนะ–ลองเอาภาพแบบนี้ วาดเหมือนกันเลยไปใส่โบราณสถานในกรีก รับรองคนจะนึกว่าเป็นมวยปล้ำ ไปใส่โบราณสถานในจีน คนจะนึกว่ากังฟู มีภาพแบบนี้ในบันทึกญี่ปุ่น คนเห็นก็จะนึกว่าซูโม่ นี่ไม่ต้องพูดถึงว่ามันอาจจะไม่ใช่การต่อสู้อะไรเลยด้วยซ้ำ แต่เป็นการนวด ซึ่งก็เป็นไปได้อีกนั่นแหละ ไหนจะบันทึกของทูตจีนที่ติดต่อกับอาณาจักรขอมโบราณ คือ Zhou Daguan เขาก็ไม่ได้เขียนอะไรไว้เลยเรื่องศิลปะการต่อสู้ของกัมพูชา (แถมที่เขาเขียนน่ะ ถ้าคนกัมพูชาอ่านอาจจะโกรธเขาเสียด้วยซ้ำ ไม่บอกล่ะว่าเขาเขียนว่ายังไงนะครับ ใครสนใจลองค้นเอง) ภาพสลักแค่นี้จึงไม่มีน้ำหนักที่สนับสนุนอะไรเลยว่าเป็นหลักฐานของมวยไทยว่ามาจากเขา (ไม่ได้บอกว่าไม่ได้มาจากเขานะครับ อาจจะมาก็ได้ หรือไม่มาก็ได้ แต่ถ้าเอาหลักฐานแค่นี้มาพูด มันไม่มีน้ำหนักพอ ทางวิชาการเขาไม่รับ)

ถ้าจะแย้งกับใครก็ตาม แย้งโดยใช้เหตุผลครับ เหตุผลที่มีน้ำหนักนะ ไม่ใช่เหตุผลที่เบาโหวงมีจุดโหว่เต็มไปหมด คิดให้รอบคอบก่อนค่อยแย้ง นั่นคือสิ่งที่คนได้รับการศึกษาเขาทำกัน แล้วมันจะทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆรวมถึงฝึกการคิด ไม่ใช่แย้งข้างๆคูๆหรือยกเหตุผลที่มันไม่มีน้ำหนักเลย นั่นกลับจะบอกด้วยว่าคนแย้งน่ะคิดด้วยเหตุและผลไม่เป็น ซึ่งมันจะสะท้อนถึงการศึกษาของเขาเองนั่นแหละ ไม่ใช่คนอื่น

ความคิดเห็นที่ 1

เรื่องวัฒนธรรมไทยกับกัมพูชามันมีพื้นที่ทับซ้อนอยู่เพราะมันก็มีคนไทยที่อยู่ในกัมพูชาตอนที่เสียดินแดนเหมือนกัน ซึ่งคนไทยที่ยังอยู่ในกัมพูชาก็ยังใช้ชีวิตตามเดิม กินอะไรเหมือนเดิม แล้วกัมพูชาก็เหมือนว่าไม่ได้มีบันทึกอะไรมากเท่าไหร่ ต้องลองดูว่าพวกเหล่านี้มันมีที่มาจากพื้นที่ส่วนไหนของกัมพูชาถ้ามาจากแถบตะวันตกของกัมพูชาก็อาจจะมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะรับมาจากคนไทยที่ยังอยู่ในพื้นที่แถวนั้น

อย่างที่เกาะกงมีเจดีย์ขุนช้างขุนแผน เกาะกงเคยเป็นของไทย เคยมีคนไทยอาศัยอยู่ตรงนั้นก็เป็นไปได้ว่าคนไทยในอดีตทำขึ้นมาแต่พอพื้นที่ตรงนั้นตกเป็นของกัมพูชา กัมพูชาก็ถือว่าขุนช้างขุนแผนเป็นวรรณกรรมของเค้า

หรืออย่าง kun khmer ซึ่งเป็นศิลปะการต่อสู้ของกัมพูชาชนิดนึง อันนี้ไม่ใช่โบกาตอร์ รูปแบบการแข่งขันจะคล้ายๆ มวยไทยเลย เคยเห็นคนต่างชาติบอกว่ากัมพูชารับมาจากพื้นที่ที่เคยเป็นของไทยมาก่อนซึ่งก็เป็นไปได้ที่จะรับมาจากคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ตรงนั้น แต่ถ้าอ่านในเวปกัมพูชาจะเขียนว่ามันเป็นของกัมพูชา

เหมือนว่าในมุมมองของกัมพูชาจะไม่มีระบุว่าอันไหนรับมาจากต่างอื่นบ้าง ถ้าให้เห็นภาพอย่างขนมทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ถึงจะเป็นขนมไทยแต่เราก็ยังมีบอกว่าดัดแปลงมาจากขนมโปรตุเกส

จขกท.มีเพื่อนที่ทำงานคนกัมพูชา ลองถามข้อมูลดูว่าข้าวเหนียวมะม่วงหรือที่คนกัมพูชาเรียกว่า Bey Dom Neib ที่มีมายังไง ทำกินมาตั้งแต่เมื่อไหร่
เป็นอาหารพื้นถิ่นของภูมิภาคไหนของกัมพูชา เป็นอาหารของคนบางกลุ่มมาก่อนแล้วนิยมกินกันทั่วประเทศหรือเปล่า พอรู้ประวัติของอาหารชนิดนี้ไหม

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 2

เท่าที่ดูยูทูป มีอะไรบ้างที่ไทยไม่ขโมยมาจากกัมพูชา เห็นชาวกัมพูชามาด่าไทยแทบทุกคลิป อิอิ

ความคิดเห็นที่ 3

ตำราประวัติศาสตร์ของเขมรแทบจะสูญหายไปหมดในช่วงเขมรแดง แล้วต่ออมาก็พวกฮุนเซนเฮงซำรินปกคองต่อยิ่งไปกันใหญ่

อาหาร ประเพณี ขนบธรรมเนียม ไทยกับเขมรมันแทบจะแยกกันไม่ออกทำให้ชาวเขมรบางคนชอบอ้างว่าไทยขโมยมา

คอยดูพวกอาหารอะไรที่จะขึ้นชื่อในอนคาน เช่น ห่อหมก หรือพวกผัดๆทอดทั้งหลายตงโดนเขมรโวยวายอีก

จริงๆคนเขมรบางกลุ่มที่ชอบว่าคนไทยขโมยต้องย้อนกลับไปดูตัวเองก่อนว่าถ้าไม่มีเมืองไทยทำให้ทั่วโลกรู้จักตัวเองจะมีปัญญาทำไหม สมควรที่จะต้องฉวยโอกาสที่ไทยได้แล้วเอาไปสงเสริมในประเศตัวเอง

มัวแต่จมปลักอยู่แต่กับอดีตแล้วประเทศจะเดินหน้าไปได้อย่างไร
ผมก็ชอบเมืองเชมรหมือนกันเข้าออกไปเขมรปีละหลายครั้งมาจะยี่สิบปีแล้ว

ความคิดเห็นที่ 4

คุณเคยรู้รึเปล่าล่ะ ว่าสมัย ขอม รุ่งเรือง ยุคสุโขทัย หรือ ละโว้  ชาวเขมรอพยพมาหากิน ตั้งหลักแหล่ง แถวปากแม่น้ำเจ้าพระยา  ชาวสุโขทัย หรือ ละโว้ เรียกเผ่านี้ว่า “เสียม”  Siam เรื่อยมาถึงยุคชาวโปรตุเกต เข้ามาในสมัยอยุธยา แล้วเหมาเอาชนเผ่าที่อาศัยแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า Siam ดังนั้นวัฒนธรรมจะเหมือนกันก็ไม่แปลก  แล้วต้นสมัยรัตนโกสินทร์ก็มีเชื้อพระวงศ์สยาม ไปมาหาสู่กับเขมรก่อนฝรั่งเศส จะเข้ามาแทนด้วย   ย่อมต้องมีวัฒธกรรมคล้ายกัน ไม่สังเกตหรอว่า คำราชาศัพท์ สำหรับพระราชา ของไทยหรือกัมพูชา  มันเหมือนกันหรือคล้ายกันมากกว่า อาหาร หรือวัฒนธรรมหลายๆอย่างด้วยซ้ำ

ความคิดเห็นที่ 4-1

ชาวสุโขทัย​ เรียกเผ่านี้ว่า “เสียม” ไปเอามาจากไหนครับ

ความคิดเห็นที่ 4-2

“เสียม”  เราเคยได้ยินมาว่าเป็นชื่อที่คนเขมรเรียก “สยาม”  เมือง “เสียมเรียบ”
เป็นการตั้งชื่อที่แสดงถึงชัยชนะต่อสงครามที่มีกับสยาม ซึ่งอาจจะมาจาก
“สยามราบเรียบ” มั้ง….ไม่ยืนยันนะ…..ได้ยินเขาว่ามา

ความคิดเห็นที่ 4-3

4-1
ยุคนั้น สุโขทัย กับ ละโว้ รับอิทธิพลจาก ขอม ครับ  ตามจริงก็ขอมเรียก”ชาวเสียม” ก่อนนั่นแหละ แต่ได้อิทธิพลและวัฒธรรมมาจากขอมครับเลยเรียกตาม ส่วนสุโขทัย สำหรับชาวขอมเรียก “เสียมกุก”

ความคิดเห็นที่ 4-4

ความคิดเห็นที่ 4-3

ไปเอามาจากไหนครับ ที่บอกว่า สุโขทัย สำหรับชาวขอมเรียก “เสียมกุก”

ในเมื่อทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้เลยว่าตกลงแล้วเสียมกุกที่ว่าคือที่ไหน เพราะข้อสันนิฐานต่างๆมันก็ขัดกันเอง บ้างก็บอกว่า อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองพระนครระยะทางครึ่งเดือน ก็ตรงกับที่ตั้งของนครศรีธรรมราช ภาคใต้โน่น
ซึงมันก็ไปขัดกับอีกข้อสันนิฐานที่บอกว่า เสียมกุก คือเสียมในลุ่มน้ำกก ซึงมันก็อยู่ภาคเหนือโน่นคนละโยชกับงนครศรีธรรมราช

อย่าบอกนะว่าไปอ่านตำราเดียวกันกับที่บอกว่าปาวีเป็นแค่นักสำรวจ

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 4-5

จริงๆภาษาไทยกับเขมรแตกต่างกันมากอยู่นะครับ ภาษาไทยอยู่ในกลุ่มภาษาไท-กะได สิ่งที่เหมือนกันคือภาษาเหล่านี้จะมีเสียงวรรณยุกต์กำกับ ซึ่งภาษาเขมรที่อยู่ในกลุ่มออสโตร-เอเชียติก ไม่มีการออกเสียงแบบนี้ จริงอยู่ที่ในสมัยอยุธยาไทยมีคำยืมจากเขมรอยู่มากที่ใช้ในราชสำนัก แต่เราก็ให้เครดิตทุกครั้ง ดังจะสามารถสืบที่มาได้ว่ารากศัพท์ของคำนั้นๆมาจากภาษาอะไร แต่ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นกลับกันคือราชสำนักเขมรเจ้านายมาเรียนในสยามและรับเอาวัฒนธรรมอย่างสยามกลับไป ดังจะปรากฎให้เห็นว่าทุกวันนี้เขมรมีคำยืมจากภาษาไทยที่มีเสียงกำกับอยู่มาก โดยที่คนเขมรไม่สามารถปฏิเสธได้ว่ารากศัพท์มาจากภาษาไทย แน่นอนว่ามันคือการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งที่ผมจะบอกคือไม่ว่ามันจะเป็นของเราหรือไม่ เราต้องยอมรับที่มาและสามารถอธิบายด้วยหลักฐานทางวิชาการได้

ความคิดเห็นที่ 5

ลองให้เขาบอกประว้ติความเป็นมากับคนที่คิดค้นหน่อยค่ะ ว่าเกิดจากอะไรคิดค้นมาได้ยังไง มะม่วงที่ใช้ ข้าวพันธุ์ที่ใช้ อยากรู้เหมือนกันว่าจะตอบยังไง ไม่ใช่ทุกอย่างจะมาเคลมจากเราหมด หัวคิดไม่มีรอเคลมจากเราอย่างเดียว เจริญเถอะ เป็นประเทศเล็กๆแท้ๆ แถมยังเคยโดนฆ่าล้างเผ่าพันธ์อีกเอาอะไรมาเชื่ออ่ะ

ความคิดเห็นที่ 6

เอาว่าทั้งไทยทั้งเขมรยังไม่มีใครบอกได้ถึงที่มาเลยทั้งคู่ เป็นของก่อนมีบันทึกประวัติศาสตร์ ดังนั้นมันก็ไม่มีใครเป็นเจ้าของที่แท้จริงนั่นแหล่ะ ไม่ต้องไปหาต้นตอให้เสียเวลา ต่างคนต่างถือตำรับที่ตัวเองพัฒนาในปัจจุบันโปรโมทในตำรับตัวเองไป เหมือนที่ลาบเหนือลาบอิสานก็แยกไม่ออกแล้วว่าอันไหนมาก่อนต่างคนต่างพัฒนาเป็นตำรับใครตำรับมันแยกทางกัน

ความคิดเห็นที่ 6-1

ลาบเป็นของตระกูลคนพูดภาษาไตกะได ทางตอนใต้ของจีนก็มี ไม่จำเป็นต้องแยก ระหว่างลาบเหนือ หรือลาบอีสาน ที่พัฒนาสูตรกันคนละแบบไป และก็มีความแตกต่างจากต้นกำเนิดที่จีนตอนใต้เช่นกัน เพียงหลักๆการทำของมันคือการทำในลักษณะที่เรียกว่าลาบ
เช่นเดียวกับคำว่าผะโล่วว(คำจีนแต้จิ๋ว) จริงๆ พะโล้หรือ ผะโล่ว เป็นอาหารของทางจีนกวางตุ้งและบริเวณโดยรอบแต้จิ๋วส่วนใหญ่ก็อาศัยอยู่แถวนั้น จริงๆต้องเรียกว่าคนหมิ่นหนาน  แต่ละสูตรมันก็จะไม่เหมือนกัน เช่น พะโล้แต้จิ๋ว พะโล้ฮกเกี้ยน พะโล้กวางตุ้ง พะโล้ไหหลำฯ
ซึ่งมันต่างจากข้าวเหนียวมะม่วงที่ชาวขะแมร์ชอบเคลมของไทยไปเสียทุกอย่าง

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 7

อย่าไปใส่ใจให้เป็นอารมณ์เลย  เถียงกันไปมาเดี๋ยวก็ได้เป็นเรื่องให้ได้สูญเสีย
อะไรซักอย่าง  หลักฐานอะไรก็ไม่ต้องถามหา ฟังมาก็ทำแค่ “อืมๆๆ……”
ก็พอ

ความคิดเห็นที่ 8

ตั้งกระทู้แบบ ใครพูดอะไรก็คล้อยตามง่ายจังนะ

ความคิดเห็นที่ 9

เห็นว่าคนที่พูดเรื่องนั้นไม่ใช่คนเขมร   แต่เป็นคนไทยที่สร้างบัญชีแสดงตัวว่าเป็นคนเขมร   หวังให้เกิดเป็นกระแส

คนเขมรไม่ชอบข้าวเหนียวมะม่วง   จะชอบข้าวเหนียวทุเรียนมากกว่า

ความคิดเห็นที่ 10

ที่แน่ ๆ คือคนอีสานจะคุ้นเคยกับข้าวเหนียวมะม่วงในเวอร์ชั่น “ข้าวเหนียวยัดโบกมะม่วงน้อย” กันอยู่แล้วค่ะ

จำได้ตอนเด็ก ๆ ในหน้ามะม่วงสุก ถ้าบ้านไหนมีต้นมะม่วงน้อย(ไม่รู้ภาษากลางเค้าเรียกมะม่วงพันธุ์นี้ว่าอะไร ตอนดิบจะให้รสชาติที่เปรี้ยวมาก ตอนสุกนี่อร่อยมาก เนื้อจะน้อย เมล็ดจะใหญ่ เปลือกหนาและเหนียว ทีนี้เนื้อด้านในตอนสุกนี่จะออกฉ่ำน้ำมาก ก็เลยเหมาะกับการยัดข้าวเหนียวไปผสมกับน้ำฉ่ำ ๆ ที่เป็นเนื้อมะม่วงสุก) วิธีทำก็ง่าย ๆ ได้มะม่วงสุก(ที่เน้นพันธุ์นี้นะเพราะเปลือกเค้าหนาและเหนียว เราเรียกมะม่วงน้อยน่ะ) เอามาล้างให้สะอาด บีบ ๆ นวด ๆ มะม่วงให้เนื้อด้านในเละ ๆ(ให้น้ำฉ่ำในด้านใน) จากนั้นก็หั่นเปลือกตรงจุดที่ใกล้ ๆ กับขั้วมะม่วงแล้วเปิดเอาเปลือกตรงขั้วออก จากนั้นก็บีบเอาเมล็ดมะม่วงออกมา แล้วก็ยัดข้าวเหนียวใส่ลงไปแทนเมล็ดมะม่วง และก็บีบ ๆ นวด ๆ ให้ข้าวเหนียวกับน้ำมะม่วงเข้ากัน แล้วก็บีบข้าวเหนียวที่เข้ากันกับเนื้อมะม่วงเข้าปากกินได้เลย ถ้ามีคนประยุกต์แต่งสูตรเพิ่ม อาจจะเป็นทำข้าวเหนียวกะทิ(ข้าวเหนียวมูน) เพิ่มเม็ดถั่วเขียวนึ่งรวมไปด้วย แล้วจัดการตบแต่งหน้าดี ๆ อาจจะเสียบดอกไม้ที่ด้านบนนิดหน่อย คาดว่าทำขายได้เลยนะนั่น (ตอนเด็ก ๆ ก็จะทำกินกันแบบทื่อ ๆ ตามประสาเด็กน้อยบ้านนากัน แต่ก็อร่อยเหาะนะเออ เรียกว่าเป็นเมนูอาหารสวรรค์เด็กน้อยบ้านนาเลยล่ะ ได้ทั้งความสนุกหาเก็บมะม่วงในหน้าฝน และก็ได้ทั้งความอร่อย)

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 11

วันก่อนก็เห็นกระทู้นี้แล้ว แต่ไม่ได้ตอบ วันนี้ขอตอบแล้วกันนะครับ แต่จะยาวหน่อยนะ จะได้อธิบายวิธีการคิดการตรวจสอบอะไรไปเลย

คนไทยนี่กินเค้กมั้ยครับ? กินเนาะ ดังนั้นเค้กก็น่าจะเรียกว่าเป็นวัฒนธรรมที่เรารับมาจากตะวันตกได้ แต่ถามว่าคนไทยประดิษฐ์คิดค้นวิธีการทำเค้กขึ้นมาหรือเปล่า? อันนี้ก็ต้องบอกว่าเปล่า อย่าว่าแต่เค้ก วิธีการทำอาหารด้วยการอบน่ะ เรารับมาจากฝรั่งเป็นหลัก ดังนั้นเมนูอาหารไทยที่ทำด้วยการอบนี่เรามีไม่เยอะมากนะครับเมื่อเทียบกับเมนูอาหารไทยแบบอื่นๆ

เวลาจะดูว่าอะไรมาจากที่ไหน ไม่ใช่คิดแค่พื้นที่ที่ติดกันครับ ดูสภาพแวดล้อมอื่นๆด้วย  ยกตัวอย่างให้นะ ผมเห็นมาสองสามครั้งแล้วและเชื่อว่าใครที่ท่องเน็ทเป็นพวกสัมภเวสีแบบผมและสนใจเรื่องอาหารอาจจะเคยเห็นเหมือนกัน คือมีเพื่อนบ้านเราบางที่ที่เขาจะพยายามบอกต่างชาติ–โดยเฉพาะตะวันตก–ว่าอาหารไทยน่ะจริงๆเอาไปจากเขา (กรณีที่ผมกำลังพูดนี่ไม่ใช่กัมพูชานะครับ บอกก่อน ชาติอื่นอีกที) เช่น บอกว่าพะแนงนี่มาจากของเขา เพราะชื่อเหมือนเมืองในประเทศเขา ซึ่งไม่ใช่หรอก เพราะพะแนงนี่มีบันทึกไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยาโน่น ในขณะที่เมืองของเขาที่ชื่อคล้ายๆอาหารจานนี้เพิ่งมาตั้งชื่อตอนกลางๆรัตนโกสินทร์นี่เอง [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ หรือบอกว่าแกงเหลืองแกงเผ็ดเรื่อยไปจนถึงข้าวซอยเป็นอาหารของเขา ซึ่งอาหารไทยพวกนี้ แม้แต่ข้าวซอยซึ่งจริงๆเรารับจากพม่า (และพม่าก็รับมาจากจีนมุสลิมอีกที) มันใช้กะทิน่ะครับ ถ้าเป็นแกงอะไรสารพัดนี่ยิ่งหนัก เพราะนอกจากกะทิ ยังใช้กุ้งแห้ง กะปิ น้ำปลาสารพัด ของพวกนี้จะหาได้ก็คือที่ทะเลครับ และเพื่อนบ้านที่อ้างว่าอาหารไทยแกงเผ็ดแกงเขียวหวานข้าวซอยอะไรทั้งหลายนี่เป็นของเขาไม่มีทางออกทะเลน่ะครับ ถ้าจะบอกว่าพวกนี้มาจากเขามันจึงฟังไม่ขึ้น

ทีนี้กลับมาเรื่องข้าวเหนียวมะม่วง ผมตั้งข้อสังเกตเหมือนกันเรื่องกะทิ ครัวกัมพูชาใช้กะทิมากน้อยเท่าไรล่ะครับ? เท่าที่ผมพอทราบ ไม่ได้เยอะมาก เหมือนๆกับครัวไทยภาคเหนือหรืออีสาน นั่นจะใช้กะทิไม่เยอะเหมือนกัน ใช้เครื่องเทศน้อย ของจากทะเลใช้น้อยเสียจนกระทั่งคนสักห้าสิบหกสิบปีก่อนที่อยู่ทางเหนือหรืออีสานเป็นโรคคอหอยพอกกันเยอะเพราะขาดไอโอดีน (ใครสงสัยไปค้นบันทึกทางการแพทย์ได้ครับ)

กะทิ เครื่องเทศ พวกนี้เป็นสิ่งที่เรารับมาจากอินเดียผ่านพ่อค้าชาวทมิฬที่เดินทางมาค้าขายแถวๆอินโด-มาเลย์ แล้ววัฒนธรรมการใช้ของพวกนี้ก็แพร่เข้ามาจากทางใต้ของไทยเข้าภาคกลางครับ แต่ทางเหนือหรืออีสานนั้นไม่ได้ใกล้ทะเล ของพวกนี้แม้แต่กะทิซึ่งจะขึ้นในพื้นที่ที่มีน้ำเยอะ เช่นภาคกลางหรือใต้ก็ไม่ค่อยมี รวมทั้งในอดีตทั้งสองพื้นที่จะไม่ใช่แหล่งการค้าเครื่องเทศ ครัวของเขาก็เลยไม่มีการใช้ของพวกนี้เยอะ

อีกอย่าง การกินข้าวเหนียวกับผลไม้อื่นๆนอกจากมะม่วง เช่นข้าวเหนียวทุเรียน เพื่อนบ้านเราก็กินครับ และเพื่อนบ้านที่ว่าไม่ใช่กัมพูชา แต่คือประเทศที่ขึ้นเชื่อเรื่องทุเรียนและเป็นแหล่งกำเนิดทุเรียนด้วย คือมาเลย์อินโด [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

ถ้าใครบอกว่าข้าวเหนียวมะม่วงนี่กัมพูชาเป็นต้นแบบ  คำถมคือมองย้อนไปที่นี่แหละ กะทิ เขาใช้เยอะมั้ย ถ้าเยอะก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะแสดงว่านั่นคือวัตถุดิบประจำที่เขาใช้ เรื่อยไปจนถึงข้าวเหนียว วัฒนธรรมเขากินข้าวเหนียวเยอะหรือเปล่า? อย่างของไทยเรานี่ชาวบ้านโบราณแถวภาคเหนือหรืออีสานกินข้าวเหนียวเป็นหลักนะครับ ไม่ได้กินข้าวเจ้ากัน ดังในครัวไทยจะมีการใช้ปนกันทั้งข้าวเจ้าข้าวเหนียว แต่อย่างกัมพูชาน่ะ คุณกินอะไรเป็นหลัก? อย่างนี้แหละครับ ถ้าเขามีหลักฐานมีข้อยืนยันพิสูจน์ ก็มาดูที่น้ำหนักเหตุผลต่างๆว่าฟังขึ้นมั้ย โอเคหรือเปล่า มีข้อโต้แย้งอะไรได้มั้ย ไม่ใช่แค่ว่าอ๋อต้นแบบเป็นของชั้นเพราะชั้นกินขนมพวกนี้ แบบนั้นไม่เกี่ยว (นึกถึงเค้กข้างบนที่ผมยกตัวอย่างไปนั่นแหละ)

แถมด้วยว่าไม่เฉพาะเรื่องข้าวเหนียวมะม่วงนี่ แต่ไปถึงอื่นๆด้วย อย่างผมเคยเห็นคนกัมพูชานี่แหละบอกว่าขนมชั้น ขนมฯลฯ ของไทยเราน่ะเป็นของเขา ปัญหาคือเขาเองก็เรียกชื่อนั้นๆเป็นภาษาไทย เช่น ขนมชั้นเขาเรียก Nom Chan แต่พอถามว่าแล้วไอ้คำนี้มันแยกออกมาแล้วมีความหมายยังไง เขากลับตอบไม่ได้ ในขณะที่ในภาษาไทย ขนมชั้นแยกคำได้ และมีความหมายทั้งสองคำ (ขนม+ชั้น) ความหมายที่ว่าก็ตรงกับลักษณะขนมด้วย ห่อหมกอะไรอีกสารพัดแหละครับ อันที่จริงเขาก็มีอาหารของเขาที่ไทยไม่ค่อยมีใครทำเลยนะ อย่างข้าวต้มปลาร้า ซึ่งอันนี้อาจารย์คึกฤทธิ์ท่านเขียนและสัมภาษณ์ไว้หลายทีแล้วว่ามาจากเขมร อย่างนี้นี่เขาบอกว่าเป็นของเขาได้เต็มๆปากเลย แล้วไอ้จานที่ว่านี่ผมก็เห็นยังมีขายในตลาดบ้านเขา วิดีโอในยูทูปก็มี ไม่ยักกะพยายามชูให้มันเด่น

นอกจากการคิดให้มีเหตุผลในเรื่องอาหารนี่ เรื่องอื่นๆเราก็ควรใช้ด้วยเวลาจะศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อย่างที่กัมพูชาเขาชอบพูดบ่อยๆว่ามวยไทยมาจากเขา โดยเขาจะอ้างหลักฐานจากภาพสลักที่นครวัด เรียนตามตรงนะครับ มันฟังไม่ค่อยขึ้น เพราะ–ลองนึกดูนะ–ลองเอาภาพแบบนี้ วาดเหมือนกันเลยไปใส่โบราณสถานในกรีก รับรองคนจะนึกว่าเป็นมวยปล้ำ ไปใส่โบราณสถานในจีน คนจะนึกว่ากังฟู มีภาพแบบนี้ในบันทึกญี่ปุ่น คนเห็นก็จะนึกว่าซูโม่ นี่ไม่ต้องพูดถึงว่ามันอาจจะไม่ใช่การต่อสู้อะไรเลยด้วยซ้ำ แต่เป็นการนวด ซึ่งก็เป็นไปได้อีกนั่นแหละ ไหนจะบันทึกของทูตจีนที่ติดต่อกับอาณาจักรขอมโบราณ คือ Zhou Daguan เขาก็ไม่ได้เขียนอะไรไว้เลยเรื่องศิลปะการต่อสู้ของกัมพูชา (แถมที่เขาเขียนน่ะ ถ้าคนกัมพูชาอ่านอาจจะโกรธเขาเสียด้วยซ้ำ ไม่บอกล่ะว่าเขาเขียนว่ายังไงนะครับ ใครสนใจลองค้นเอง) ภาพสลักแค่นี้จึงไม่มีน้ำหนักที่สนับสนุนอะไรเลยว่าเป็นหลักฐานของมวยไทยว่ามาจากเขา (ไม่ได้บอกว่าไม่ได้มาจากเขานะครับ อาจจะมาก็ได้ หรือไม่มาก็ได้ แต่ถ้าเอาหลักฐานแค่นี้มาพูด มันไม่มีน้ำหนักพอ ทางวิชาการเขาไม่รับ)

ถ้าจะแย้งกับใครก็ตาม แย้งโดยใช้เหตุผลครับ เหตุผลที่มีน้ำหนักนะ ไม่ใช่เหตุผลที่เบาโหวงมีจุดโหว่เต็มไปหมด คิดให้รอบคอบก่อนค่อยแย้ง นั่นคือสิ่งที่คนได้รับการศึกษาเขาทำกัน แล้วมันจะทำให้เราได้เรียนรู้เรื่องใหม่ๆรวมถึงฝึกการคิด ไม่ใช่แย้งข้างๆคูๆหรือยกเหตุผลที่มันไม่มีน้ำหนักเลย นั่นกลับจะบอกด้วยว่าคนแย้งน่ะคิดด้วยเหตุและผลไม่เป็น ซึ่งมันจะสะท้อนถึงการศึกษาของเขาเองนั่นแหละ ไม่ใช่คนอื่น

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 11-1

มั่วจังเลย
ข้าวซอยแบบเชียงใหม่รับมาจากฮ่อมุสลิมจากจีนตอนใต้ที่มาอาศัยอยู่เชียงใหม่ ไปบอกรับมาจากพม่าแปลว่าไม่เคยหาข้อมูลมาเลยนินา
https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าวซอย
และอีกอย่างในภาคเหนือถ้าถามคำว่า ข้าวซอยจริงๆ (ข้าวซอยความหมายมันก็ตรงตัวในภาษาไทย คือ อาหารที่ผลิตด้วยแป้งข้าวแล้วซอย(ทำให้เป็นเส้นเล็กๆ) แค่นั่นเอง)    ข้าวซอยจริงๆคนเหนือในอดีตเขาจะคิดถึง น้ำเงี้ยว มากว่าข้าวซอยไก่แบบเชียงใหม่ในปัจจุบัน เพราะน้ำเงี้ยวแพร่หลายกว่า ต่างกับปัจจุบันที่ข้าวซอยแบบเครื่องเทศมุสลิมและมีน้ำกะทิจะเป็นที่นิยมในภาคกลาง  น้ำเงี้ยวมีเส้นที่ใช้กินหลายแบบขนมจีนก็ใช้ เส้นเล็กก็ใช้ เส้นใหญ่มีหมด แต่เครื่องของมัน คือรูปแบบอาหารของจีนตอนใต้ ที่บางตำราบอกว่าชาวไทใหญ่เป็นคนนำเข้ามาเผยแพร่ในพื้นที่ภาคเหนือของไทย
อาหารพม่าหลายอย่างก็รับจากจีนตอนใต้เช่นเดียวกับกลุ่มไตกะไดที่มาจากจีนตอนใต้ ในลักษณะอาหารที่ใช้เส้น แม้แต่ทางยุโรปเส้นพาสต้าก็ได้ต้นแบบมาจากจีน  
คำว่า ขนมจีน ในภาษามอญ ที่แปลว่า เส้นข้าวต้มสุก  เส้นพวกนี้พวกมอญก็รับมาผ่านพม่าตอนบนที่เอาเส้นเข้ามาทั้งนั้น อย่าบอกนะว่ามอญสุดยอดไม่มีต้องขอแนวคิดจากอิทธิพลอาหารของจีนเลย ขนาดพวกยุโรป  ยังต้องให้เครดิตจีน

อย่างน้ำพริกอ๋อง (บางตำนานบอกคนคิดสูตรเป็นชาวพม่าชื่อหม่อง แล้วเกิดการเพี้ยนการเรียกน้ำพริกหม่องเป็นน้ำพริกอ๋อง)  จริงๆแล้วดูจากหน้าตาอาหารคือการประยุกต์เครื่องปรุงในแบบจีนตอนใต้ที่ผสมมะเขือเทศโขกกับพริกหอมกระเทียมในแบบฉบับตอนใต้ ที่มีอยู่ในจีนตอนใต้  ข้าวซอยน้ำหน้า(เนื้อ) ของจีนฮ่อก็คือแบบคล้ายๆกับเนื้อสับละเอียดผัดน้ำมันกับเครื่องพริกแดง(คล้ายน้ำพริกอ่องขาดแค่ใส่มะเขือเทศ)ราดเส้นก๋วยเตี๋ยวผสมน้ำซุปกระดูก   ฉะนั้นดูยังไงน้ำพริกอ๋องไม่น่าจะเกิดจากคนพม่า ถ้าบอกว่าเกิดจากคนจีนฮ่อยังน่าเชื่อมากกว่า แต่ถ้าให้มองอาหารแบบนี้มันก็มีอยู่ทั่วไปในจีนตอนใต้ในแถบสิบสองปันนา แถบยูนนานฉะนั้น ถ้าอ้างว่าคือสูตรจีนตอนใต้น่าจะครอบคลุมกว่า

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 11-2

ขอบคุณที่ช่วยแนะนำครับ เรื่องอื่นๆเห็นด้วยนะ แต่เรื่องข้าวซอย ผมไม่ได้มั่วครับ และชื่อข้าวซอยก็อาจจะไม่ได้หมายถึงอาหารทำจากแป้งแล้วซอยก็ได้ แต่มาจากคำว่า โอน โน เข่าแสว้ Ohn no khao swè (https://en.wikipedia.org/wiki/Ohn_no_khao_swè (ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่ทราบ ลิงค์นี่ไม่ยักกะเต็ม ใครอยากค้นลองก๊อปลิงค์ทั้งหมดเลยนะครับแล้วแปะใน Tab ใหม่เพื่อหาดู)) สามพยางค์หลังนั่นแหละที่ทางภาษาศาสตร์เขามองว่ากลายเป็นคำว่าข้าวซอยจากการกร่อนคำ อ่านด้านล่างนะครับ

…Ohn no khao swè resembles other coconut milk based noodle soups in Southeast Asia, including the Malaysian laksa, and the khao soi of Chiang Mai and Luang Prabang. The Indian khow suey and Pakistani khausa descend from the Burmese ohn no khao swè, likely coinciding with the mass exodus of Burmese Indians in the 1960s back to South Asia, and remains a popular dish in Eastern India….

หรือดูข้าวซอย

https://en.wikipedia.org/wiki/Khao_soi

…A comparable dish, ohn no khao swè, is widely served in Myanmar. The name means ‘cut rice’, although it is possible that it is simply a corruption of the Burmese word for noodles – “khao swè” – which may account for the variations….

ลองค้นรูปในอินเตอร์เน็ทก็ได้ครับ Ohn no khao swè คำนี้แหละ ก๊อปแล้วลองแปะค้นดู หรือดูในวิดีโอ ผมยกให้อันนึง อ่านความเห็นไปเรื่อยๆจะพบว่ามีเพื่อนบ้านพม่าหลายคนที่บอกว่าเหมือน khao swè ของเขาเลย สะกดน่ะอาจจะไม่ตรงกันเป๊ะๆนะครับ ก็เหมือนคำในภาษาไทยเราเขียนเป็นภาษาอังกฤษน่ะแหละ คำนึงบางทีเขียนได้ตั้งหลายแบบ

ผมแคปให้บางส่วนนะครับ




ส่วนต้นทางของข้าวซอยที่บอกน่ะครับว่ามาจากพม่า ผมหมายถึงประเทศพม่า ตรงนี้ถ้าคุณเข้าใจผิดว่าหมายถึงคนพม่านี่ไม่ใช่ ถ้าผมเขียนไม่ชัดก็ขอโทษด้วย ประเทศพม่านี่ไม่ได้ชนกลุ่มเดียวครับ จีนฮ่อก็อยู่ในพม่าทางตอนเหนือๆ เขาไม่ได้อยู่ในไทยตอนเหนืออย่างเดียว และจีนฮ่อกว่า 1 ใน 3 เขาก็รับวัฒนธรรมจากจีนมุสลิม ซึ่งมีมากทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และติดต่อกับไทยภาคเหนือโดยส่วนมากจะผ่านกลุ่มพ่อค้าเร่ (เหมือนๆน้ำเงี้ยวที่คุณบอกไปจนถึงข้าวเงี้ยวข้าวกั๊นจิ๊นนั่นแหละ นั่นก็มาจากไทใหญ๋ ซึ่งก็อาจจะเป็นพ่อค้าเร่หรือคนไทใหญ่ที่เข้ามาทำงานในล้านนา เพราะโบราณเราเรียกไทใหญ่ว่าชาวเงี้ยว) แม้แต่ตัวข้าวซอยเองนี่ ถ้าชอบทำอาหารก็จะดูออกว่ามันน่าจะได้อิทธิพลครัวอิสลามมา

เช่นกันครับ เรื่องจีนฮ่อและเงี้ยวนั้นมีทั้งบันทึกและถึงหลักฐานว่าเขาอยู่กระจายทั่วไป และความเชื่อของเขารับมาจากไหน เป็นอย่างไร ใครสนใจลองค้นเพิ่มเติมเองได้ครับ

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 11-3

https://en.wikipedia.org/wiki/Ohn_no_khao_sw ลิงค์นี้คืออะไร เอามาอ้างเนี้ยะ
คำว่าข้าวก็คือข้าวนั่นแหละ เป็นคำยืมที่พม่ายืมจากภาษาตระกูลไทกะได(ข้าวในบริบทของข้าวซอย แป้งที่ใช้ทำข้าวซอยก็คือแป้งที่ทำมาจากข้าว ) “เข้าก์ ซแว” คือการออกเสียงแบบพม่า จริงถ้าออกเสียงแบบไทใหญ่ จะออกเสียงว่า เข่าซวย

คำว่า “เข้าก์ ซแว” เป็นคำยืมมาจากภาษาไทใหญ่ ภาษาไทใหญ่เรียกเส้นก๋วยเตี๋ยวว่า “ข้าว ซอย” คำเดียวกับที่คนไทยเรามักจะใช้เรียก อาหารทางภาคเหนือ แต่ความหมายเป็นคนละอย่างกัน
คำว่า “ข้าวซอย” สำหรับภาษาไทใหญ่ หมายถึงเส้นก๋วยเตี๋ยวทั่วๆไป โดยมีที่มาจาก การนำแป้ง”ข้าว” มากระทำการ”ซอย”ให้เป็นเส้นๆ
ส่วนเส้นขนมจีน ภาษาไทใหญ่เรียกว่า “ข้าว เส้น” ในขณะที่ภาษาพม่า เรียกว่า “โม่งน์ ตี่”
ส่วน ข้าวซอยตามความเข้าใจของคนไทย คนพม่าเรียกว่า “โอง โนะ เข้าก์ ซแว” อันหมายถึง “ก๋วยเตี๋ยวน้ำกะทิ”  หรือ ข้าวซอยกะทิที่คนภาคกลางฮิตกันในปัจจุบัน นั่นเอง
https://www.facebook.com/EasyBurmese/photos/พักกลางวันกันไปแล้ว-เพื่อนๆได้รับประทานอะไรกันบ้างคะ-หลายๆคนคงไม่พ้น-ก๋วยเตี๋ยว-/614547601927428/  ( เฟสบุค เรียนภาษาพม่ากับ  Easy Burmese Language Center )

ส่วนข้าวซอยฮ่อที่นิยมใส่กะทิจะเป็นรูปแบบของมุสลิม จริงๆข้าวซอยฮ่อมีแบบ ข้าวซอยฮ่อแบบเชียงใหม่เมื่อหลายปีก่อนยังไม่นิยมในเชียงรายด้วยซ้ำ ข้าวซอยฮ่อที่ขายในเชียงรายจะเป็นแบบข้าวซอยน้ำหน้าที่ขายโดยคนจีนฮ่อ
ขนาดแก้ข้อความที่อ้างว่าข้าวซอยมาจากคนพม่าก็แล้ว ก็ยังไม่วายพิมพ์ว่ารับผ่านพม่าอีก  คนจีนฮ่อในเชียงรายเชียงใหม่ มีเป็นหมู่บ้านใหญ่ ทำไมคนล้านนาต้องไปรับจากคนพม่าเล่า  อาหารคนจีนฮ่อ เขาก็ทำขายในภาคเหนือโดยคนจีนฮ่อนั้นแหละ จะมาอ้างผ่านอะไรอีก หลังจากนั้นคนในพื้นที่ภาคเหนือจะพัฒนายืมสูตรมาขายอะไรก็เป็นว่ากันไปเพราะมันถือว่ากลายเป็นอาหารขึ้นชื่อของทางภาคเหนือไปแล้ว (ขนาดแก้ข้อความก็ยังมายึดติดความคิดงี่เง่าของตัวเองอีก )  เอาง่ายๆเพื่อนผมเนี้ยะเป็นคนจีนฮ่อ พูดภาษาจีนฮ่อ แม่มันขายข้าวซอยน้ำหน้า ผมก็ไปกินข้าวซอยร้านแม่มันทุกเย็นที่เลิกเรียน ไม่จำเป็นต้องไปกินผ่านพม่าให้เสียเวลาอย่างที่คุณมั่วนิ่ม
ควรหาข้อมูลก่อนดีไหมถ้าอ่านภาษาพม่าไทใหญ่ไม่ออกผมจะสอนให้เอาไหม(รับสอนทุกภาษาจีนก็ได้)   มีส่งจดหมายมากวนอีกนะ 5555
อ้างคนเป็นคนเชียงใหม่ แต่มีบอกว่าอยู่เชียงใหม่มา 50 กว่าปี รู้แล้ว คือถ้ายกคำนี้มาก็แปลว่าไม่ใช้ลูกหลานคนเชียงใหม่จริงๆ ถึงว่าคุณไม่รู้จักภาษาไตกะไดจริงๆเลยนิหว่า คำของพวกคนไตใหญ่ ไตลื้อ ไตจ้วงก็คงไม่น่าจะรู้ เพราะขนาดคำไทยคำว่า ข้าว  คำพื้นๆก็ยังคิดว่าไทยไปเอาพม่ามาใช้ซะงั้น สุดๆเลย (ตระกูลผมเนี้ยะอยู่ปู่ทวดและเครือญาติเป็นคนเชียงใหม่ แต่ปู่(ลูกปู่ทวด) มาทำงานและได้ย่าที่เชียงราย ผมรู้จักทั้งเชียงใหม่และเชียงรายเป็นอย่างดี เส้นทางถนนหลักหรือป่าเขาดอยก็จำได้  รวมถึงอาชีพผมที่คุมพื้นที่บนดอยและชายแดนมาตลอด ไม่สิต้องเรียกว่าชายแดนในประเทศไทยเหนือจดใต้ผมก็ไปมาแล้วเกือบทุกที่ ผมเห็นอะไรมากกว่าคุณเยอะ อาชีพเก่าผมทำงานติดชายแดนมากว่าพวกทหารพรานก็คงรู้มั่งว่าอาชีพอะไร ป้องกันประเทศขนาดไหน )
เกลียดพวกที่ทำเป็นเหมือนรู้ยกลิงค์ประหลาดมาอ้าง แล้วเนื้อในลิ้งค์ไม่มีอะไรซักกะอย่าง เอาลิงค์ภาษาอังกฤษมาอ้างเหมือนคนอ่านภาษาอังกฤษไม่เป็น 555 อีกอย่างคำว่า”เรื่องจีนฮ่อและเงี้ยวนั้นมีทั้งบันทึกและถึงหลักฐานว่าเขาอยู่กระจายทั่วไป” เป็นการพูดหว่านแห ที่โคมลอยเอามากๆ หลักฐานอ้างอิงไม่มีซักกะอย่าง   จากประสบการณ์โดยตรงนะคนที่ทำข้าวซอยฮ่อ ที่ทำในภาคเหนือเนี้ยะ ก็คือคนฮ่อ  แล้วน้ำเงี้ยวก็ได้รับอิทธิพลจากทางไทใหญ่ที่เอาเข้ามายังภาคเหนือของไทย  ไอ้ประโยคที่ว่าข้าวซอยรับผ่านพม่า คือคนฮ่อเป็นคนพม่ารึ หรือว่ายังไง

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 11-4

เสริมให้อีก ถ้าจะให้เรียกจริงๆ คำว่า ข้าวซอย ในภาษาไตกะได ก็เทียบได้กับคำว่า ก๋วยเตี๋ยว ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หรือ หมี่เถียว  และเมี่ยนเถียวในภาษาจีนกลาง
คำว่าก๋วย(ออกเสียงแบบแต้จิ๋ว) หรือ กั๋ว(ออกเสียงแบบจีนกลาง)粿 คำนี้ในสมัยจักรพรรดิคังซีแห่งราชวงศ์ชิงรับสั่งให้จัดพิมพ์ขึ้น เมื่อปีค.ศ. 1710 โดยให้ความหมายว่า “อาหารที่ทำจากข้าวเจ้า”
ส่วนคำว่า เตี๋ยว(ออกเสียงแบบแต้จิ๋ว) หรือ เถียว(ออกเสียงแบบจีนกลาง) 条 มีความหมายว่า เป็นแท่งหรือเส้นแข็งๆ
และคำว่าก๋วยเตี๋ยว ในภาษาจีนกลางจะใช้คำว่า เมี่ยนเถียว ที่แปลว่า แป้งข้าวหรือแป้งสาลีที่ถูกทำให้เป็นเส้นแข็งๆเล็ก หรือก็คือเส้นก๋วยเตี๋ยวที่เรายืมคำคนแต้จิ๋วมาใช้กันนั่นเอง
เมี่ยน (面/麵เสียงจีนกลาง) หมายถึงแป้งข้าวสาลี และอาหารที่ทำจากแป้งสาลี  
อีกคำที่ใช้ ก็คือ 米粉 (หมีเฝิ่น) ในภาษาจีนกลาง ความหมายคือ เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ทำจากแป้งข้าว คล้ายเส้นก๋วยจับญวนหรือเส้นขนมจีน
คำว่า ข้าว นี้ ถ้าในภาษาจีนกลาง ออกเสียงว่า ต้าว (稻)  มีความเป็นไปได้ที่กลุ่มไทกะไดจะรับคำนี้มาจากจีนแล้วพัฒนาเสียงในรูปแบบของคนไทกะได
โดยรวมถ้าให้มองภาพโดยรวม  คำว่า เส้นข้าวซอย ก็คือ เส้นก๋วยเตี๋ยว นั้นแหละ  พม่ายืมคำว่า ข้าวซอยมาใช้ในชื่ออาหารที่รับจากไทใหญ่มา แล้วเพียงเสียงเป็น เข้าก์ ซแว  ไม่ใช่ไท(ไทใหญ่) ไปรับเสียงคำนี้มาจากพม่า
อีกทั้งคำว่า ข้าว คนจ้วงก็เรียกว่า ข้าว คนสิบสองปันนาก็เรียกว่าข้าว คนไตกะไดก็เรียกว่าข้าว  มีแต่พวกมอญเขมรเท่าแหละที่ไม่รู้จักว่า ข้าวเป็นคำของภาษาไตกะได  หรือ  บาย แบบเขมรดี[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้  ภาษาพม่า ข้าว คือ ทะมิน[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 11-5

แต่ผมชอบคุณอย่างนะ คงจะเป็นคนแก่หัวแข็งที่หัวร้อนน่าดู ถึงขนาดอินบ็อกซ์ มาหาเลยทีเดียว ร้อนกับคำที่ผม บอกว่า คุณมั่วข้อมูลใช่มั้ย
ผมอายุน้อยกว่าคุณเยอะก็จริง แต่ผมว่าผมเป็นมีเหตุผลพอสมควรนะ ผมก็เป็นคนหัวร้อนแต่ผมยอมรับคนที่ใช้เหตุผลในการสนทนา  บางทีเนาะการที่เป็นคนแก่หัวแข็งที่คิดว่าตัวเองต้องถูกเสมอมันก็ไม่ไหวนะผมว่า
อ่านที่ผมพิมพ์ไว้ด้านบนละกัน อยากแย้งตรงไหนอีกก็แย้งมา ผมจะได้ตอบให้  ไม่ต้องไปอินบ็อกซ์หรอก คุยกันในกระทู้นี้เลย ถ้าตรงไหนผมผิดผมก็จะได้แก้ได้ขอโทษที่ผมล่วงเกินไป

ความคิดเห็นที่ 12

กระบวนการเอาข้าวจ้าวผสมกะทิก็ปรากฏในวัฒนธรรมอาหารของอินเดียใต้ เชื่อว่า SEA รับวัฒนธรรมอาหารนี้มาจากเอเชียใต้อีกทีผ่านการค้าเมื่อพันกว่าปีก่อน เราจะพบข้าวจ้าวผสมกะทิหรือข้าวมันกะทิได้ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และกัมพูชา

ส่วนข้าวเหนียวมีแหล่งกำเนิดในรอยต่อระหว่างจีนใต้ เวียดนาม ลาว สยามตอนบน คนในแถบนี้กินข้าวเหนียวมาก่อนข้าวจ้าวเนื่องจากข้าวเหนียวเจริญเติบโตได้ดีในแถบภูเขาและที่ใช้น้ำน้อย

ผมเลยคิดว่าข้าวเหนียวจากวัฒนธรรมไทย-ลาว พอมาเจอการหุงข้าวจ้าวแล้วเอาไปคลุกน้ำกะทิที่รับมาจากอินเดียใต้ มันก็กลายเป็นข้าวเหนียวมูนนี่แลครับ และน่าจะเกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางลงมา เพราะวัฒนธรรมอยุธยาชอบอาหารใส่กระทิมากในยุคนี้ รวมทั้งการลดความสำคัญของข้าวเหนียวจากอาหารหลักไปเป็นของกินเล่นหรือจานเสริมแทนก็เกิดในช่วงอยุธยาตอนกลางลงมา

ส่วนการกินข้าวเหนียวกับมะม่วงเนี่ย พบได้ในภาคอีสานและภาคเหนือ หรือแม้แต่ภาคกลางในยุคก่อน ที่ใช้ข้าวเหนียวนึ่งร้อนๆยัดลงในมะม่วงสุก กินผสมๆกันไปเลย ไม่ต้องมูนข้าวเหนียวหรือผสมกะทิให้เสียเวลา

ดังนั้นการเอาข้าวเหนียวมูนมาผสมกับมะม่วงน่าจะเกิดขึ้นในยุคหลัง เพราะคนคิดว่าเอาผสมกันแล้วน่าจะอร่อยกว่าผสมกับข้าวเหนียวนึ่งธรรมดาครับ

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 13

เรื่องของมะม่วงแน่นอนว่าในโซนอาเซียน มันก็น่าจะมีวัตถุดิบคล้ายๆกัน ที่สามารถเอามาทำได้
ขออ้างในวิกิละกัน แม้ข้อมูลในวิกิจะใช้อ้างอิงในงานวิจัยไม่ได้แต่บางงานวิจัยก็ต้องอาศัยลิงค์อ้างอิงจากวิกิ และก็มีที่มาที่ไปมีลิงค์อ้างอิงให้ตามไปค้นหาข้อมูล ดีกว่าพูดปากเปล่ามั่วเอามัน                                                                                                                                   
วิกิพีเดียแบบภาษาไทย ไม่มีเขมรในการคิดค้นทำอาหารชนิดนี้ https://th.wikipedia.org/wiki/ข้าวเหนียวมะม่วง                                           สงสัยคนไทยก็ไปแก้เอาออกเพราะก่อนหน้านั้นไม่มีทั้ง เขมร ฟิลิปปินส์ ลาว เวียดนาม พออาหารชนิดนี้ดังมาเคลมกันใหญ่                                                                                                        ส่วนวิกิพีเดียอังกฤษ https://en.wikipedia.org/wiki/Mango_sticky_rice   เขมรเนียมเคลมเลย  5555 คนเขมรก็สายปั่นเยอะนะหนะ ขอเนียนเคลมทุกอย่าง สมชื่อ ลูกหลานพระยาละแวก เมี๊ยงประๆ เซาะกราว จริงๆ                                                                               
แล้วมาดูหน้าตาของอาหารฟิลิปปินส์ที่ชื่อ  Puto Maya ปูโตมายาเนี้ยะ มันก็พึ่งเอามามะม่วงมาแซมเป็นขนมทีหลัง                                       
จริงๆมันมีแค่ขนมปูโตแค่นั้นแหละ ที่ทำมาจากแป้งข้าวหมัก(หน้าตามันคล้ายๆขนมถ้วยฟูแป้งข้าวเหนียวแป้งข้าวเจ้าดีๆนี้เอง) ตอนแรกใช้กินคู่กับอาหารคาว แต่ปัจจุบันเอาพวกของหวาน เช่น ทำเค้ก  ทำเป็นชิ้นผสมผลไม้ในท้องถิ่น เช่นมะม่วงราดน้ำกระทิ https://en.wikipedia.org/wiki/Puto  รวมความคำว่า ปูโต ของมัน คือแป้งจากข้าว(rice flour)ไม่ได้หมายถึงข้าวแบบคำว่า rice ที่ไทยทำ ว่ากันตามจริงมีสิงคโปร์ บรูไน ติมอร์ อินโด ไม่เห็นมาเคลมอาหารไทย(ส่วนตัวชื่นชมประเทศเหล่านี้อาจจะเพราะวัฒนธรรมทางอาหารค่อนข้างต่างกันจะมีร่วมกันก็ไม่กี่อย่างที่เป็นอาหารทางมุสลิม เช่น โรตี)
และ ตัวยืนในการเคลมอาหารไทยของคนมีปม ก็คือพวกเซาะกราวเขมร
ลาวก็มีมาบ้างในอาหารที่เป็นอาหารร่วมกับทางภาคอีสาน กรณีของลาว จริงๆสูตรแต่ละอย่างมันห่างกันมาตั้งแต่สมัยยุค ร.1 ไปเกณฑ์คนลาวมาอยู่แถวกรุงเทพแล้ว รวมถึงกลุ่มลาวที่ย้ายเข้ามาอยู่ในอีสานในยุคฝรั่งเศสมายึดอินโดจีน คือพูดง่ายการพัฒนาอาหารของลาวก็ช้าลงตามลำดับ คือระดับการเงินทำให้คนมีฐานะยากจนในลาว การที่จะพัฒนาสูตรอาหารมันยิ่งช้า รวมถึงสื่อบันเทิงที่จะคุยเรืองอาหารก็ยังไม่มี เต็มที่ก็วิทยุป้องกันระเบิดจากทั้งฝั่งไทยฝั่งเวียดนามวุ่นวายอุรุงตุงนัง ทำให้ยังคงกินอาหารในแบ็คกราวด์เดิมๆซะส่วนใหญ่  อย่าง ลาบ อ่อม สมัยร.5 ลาวทำแบบไหนด้วย สูตรมันยอมต่างกับคนลาวที่ย้ายเข้ามารวมกับคนอีสานที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น  ที่อาหารลาวหลายอย่างพัฒนาให้เห็นเด่นขึ้นเป็นสากลเพื่อสื่อหลักของไทยเข้าไปถึงลาวด้วยในปัจจุบัน    (คงจะอ้างไม่ได้หรอกว่าในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่คนในชาติอดอยากจะมาทำอาหารสุดวิเศษอร่อยเหาะก็ใช่ที่)                                                                                                                                                                ฝั่งเขมรยิ่งแล้วยากจนข้นแค้น มีสงครามเขมรแดงล้างบางกันเองอีก ไม่ต้องไปพูดถึงการพัฒนาอาหารให้มีรสชาติสุดเวิร์ลคลาส แค่ให้พอกินกันตายได้ก็บุญ                                                                                                                                                                       
   ถ้ามองภาพง่ายๆ ให้มองภาพอาหารของภาคเหนือไทย อาหารภาคเหนือจะมีความหลากหลายน้อยที่สุดในไทย ส่วนหนึ่งเพราะในอดีตคนเหนือระบบเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด ด้วยในสมัยอดีตมาตั้งแต่ ร.5 หรือก่อนหน้านั้น ถูกกดโดยผู้มีอำนาจจากส่วนกลางมาเรียกภาษีมหาโหดทำให้ประชาชนก็กินอยู่แบบอัตคัดเรื่อยๆ เริ่มมาเจริญในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาจริงๆนั้นแหละ การพัฒนาสูตรอาหารแปลกๆสไตล์ทางเหนือจึงเริ่มขึ้น   
เรื่องอาหารก่อนยุคอินเตอร์เน็ตทางเหนือก็ไม่ได้มีการพัฒนาสูตรอะไรมากยังคงมีการอนุรักษ์อาหารถิ่นและขนมธรรมเนียมเก่าๆอยู่พอสมควร การพัฒนาสูตรอาหารเลยไม่ค่อยเด่นเท่าภาคอื่น ถ้าให้ดูง่ายๆ อาหารเหนือจริงๆจะไม่นิยมใส่กะทิหรือไม่ใส่เลย(มองให้เห็นภาพ แกงขี้เหล็กทางเหนือไม่ใส่กะทิ แต่ภาคกลางใส่กะทิ) แต่ปัจจุบันก็เริ่มเอากะทิมาฟิวชั่นอาหารพัฒนาสูตรประยุกต์เป็นอาหารชนิดใหม่ในฝีมือเชฟชาวเหนือไป
กะทิจะขึ้นชื่อในส่วนผสมอาหารของทางภาคกลางและใต้ ที่อาจจะได้อิทธิพลจากทั้งพวกอาหารอาหรับเปอร์เซียอินเดียจากคนกลุ่มนี้ที่เข้ามาค้าขายในอยุธยา และพัฒนาสูตรในอาหารเรื่อยมา                                                                                                                       
ถ้ามองภาพดังนี้ อาหารไม่ว่าของคาวของหวานที่ผสมกะทิ จะไม่มีทางที่ คนลาว คนเวียดนาม เป็นคนคิดสูตรอาหารที่เกี่ยวกับกะทิแน่นอน  ถ้าดูจากพฤติกรรมการกินอาหารของคนแต่ละพื้นที่ อาหารเวียดนามมีอาหารชนิดไหนที่ใส่กะทิบ้าง
ถ้าอ้างว่าข้าวเหนียวเป็นข้าวหลักของทางเหนือและอีสาน จริงๆข้าวเหนียวคนในโซนสุวรรณภูมิกินกันมาก่อนแล้วก่อนการเข้ามาของข้าวเม็ดเรียวยาวไม่มียางเวลาหุงแบบข้าวเจ้าหรือข้าวอินดิก้าแบบอินเดีย อาหรับ เปอร์เซียร์(ข้าวเจ้าที่มีลักษณะเรียวยาวมากเรียกว่าข้าวปริยานี ที่มีราคาแพงพวกชนชั้นสูงราชวงศ์โมกุลชอบกินกันเอามากๆ ส่วนข้าวเจ้าสายพันธุ์ไทยในปัจจุบันน่าจะเป็นข้าวเจ้าที่กลายพันธุ์หรือสูตรผสมเปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว) ที่มาจากการค้าขายกับพวกอาหรับ เปอร์เซีย  อินเดีย เป็นต้น                                                                                                                ที่มองความน่าจะเป็นของข้าวเหนียวมะม่วงก็น่าจะเกิดในวังก่อนเพราะ อาหารในวังส่วนมากใช้กะทิกับไข่เป็นส่วนประกอบหลักไม่ว่าอาหารคาวหวาน ตามลิงค์นี้https://www.matichon.co.th/social/news_3293520  คาดว่าเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย(ต้องการอ้างอิง) ต่อเนื่องมาถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งถูกกล่าวไว้ในกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ประโยคว่า “ข้าวเหนียวใส่สีโศก” สันนิษฐานว่ากล่าวถึงสีเขียวเข้มจากใบเตยคั้น เอาไว้กินกับไข่ตั้งสังขยา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการกล่าวถึงการกินข้าวเหนียวมูนคู่กับมะม่วงสุก
คิดว่าไทยน่าจะเป็นประเทศแรกที่ทำขนมในรูปแบบนี้ขึ้น พอมันดังติดแรงค์อาหารระดับโลกมากขึ้น พวกเพื่อนบ้านที่มีวัตถุดิบคล้ายๆไทย ก็เริ่มอยากเคลมอยากให้อาหารของต้นมีชื่อเสียง ก็ทั้งก้อปทั้งเอาสูตรมาดื้อๆ แต่มันจะมีอยู่หั้นอย่าง(ภาษาเหนือ หั้นอย่าง แปลว่า มีอยู่เรื่องหนึ่งที่มันเป็นจุดสำคัญจุดหลักที่ทำให้มันดูแตกต่างกัน ที่รู้ได้เลยว่าไม่ได้เป็นแบบที่มันควรจะเป็น )
ไปถามพวกทหารฝรั่งยุคสงครามโลกหรือสงครามเวียดนามที่ยังไม่ตายที่มาตั้งฐานทัพเฉพาะกิจในไทยในยุคนั้น ก็น่าจะมีคนเคยกินแล้วมั่งข้าวเหนียวมะม่วงเนี้ยะ หรือไม่พวกฝรั่งยุคที่มาเที่ยวอาเซียนซัก 70-80 ปีย้อนหลัง เขาก็รู้แล้วมั่งว่าอาหารอาเซียนแต่ละอย่างใครเป็นต้นคิดทำจริงๆ ไม่งั้นข้าวเหนียวมะม่วงคงไม่ถูกจัดเป็นอาหารประจำชาติไทยแล้วติดอันดับอาหารที่อร่อยน่าชิมเบอร์ต้นๆของโลกหรอก  
สภาพไทยตอนนี้ก็จะกลายเป็นเหมือน อินเดีย กับจีน ในอดีตเป็นประเทศแม่แหล่งสร้างวัฒนธรรมของเอเชีย ที่ประเทศเล็กๆไม่ค่อยมีพาวเวอร์หยิบยืมก็อปบ้างเอาวัฒนธรรมต่างๆมาประยุกต์ใช้ดัดแปลงในรูปแบบวัฒนธรรมของตนจนเป็นเอกลักษณ์ไป  ก็ถ้าเราไม่คิดอะไรมาก บางทีคนมีจิตสำนึกเขาก็จะให้เครดิตเองว่า ได้รับอิทธิพลและวิธีทำอาหารชนิดนี้มาจากไทยเพียงแต่มาปรับประยุกต์ในแบบและรสชาติของประเทศตน
อย่างไทยก็ไม่คิดที่จะเคลมพวกอาหารโรตีนะ เพราะมันเป็นของทางมุสลิม สะเต๊ะก็ด้วย เพราะเป็นอาหารที่คนมลายูมุสลิมทางใต้เป็นคนนำสูตรมาพัฒนาในไทย โรตีฉบับไทยก็ใช้กินเป็นของทานเล่น ไม่ได้กินแทนข้าวเป็นหลักแบบทางมุสลิม  โรตีฉบับไทยชาวเกาหลี จีน ญี่ปุ่น จะชอบกันมาก ไทยก็ไม่ได้ยกว่าเป็นอาหารไทยนะ สะเต๊ะก็ด้วย  แต่ไทยปรับสูตร จากพวกไก่สะเต๊ เนื้อสะเต๊ มาเป็นหมูสเต๊ะและน้ำจิ้มน้ำราดถั่วในแบบฉบับไทย  อาหารพวกสะเตะ ก็เห็นอินโดเคลมเป็นอาหารประจำชาติไปแล้ว น่าจะให้เครดิตทางอาหรับหน่อยก็ดีนะ แต่ก็ว่าไม่ได้ มาเลย์ก็ไม่ยอมเอาสะเตะเป็นอาหารประจำชาติเหมือนกัน (จริงๆทั้งสองประเทศมันก็คล้ายๆจะเป็นประเทศเดียวกันที่พึ่งแยกออกจากกันไม่นาน อาหารต่างๆมันเลยไม่ค่อยต่างกัน)  ตอนนี้คิดว่า โรตีแบบฉบับไทยที่ทำเป็นของหวาน ราดนม ราดช็อคโกแล็ต ฯลฯ ไม่นานอาจจะโดนมาเลย์เคลม เพราะครั้งหนึ่งขนาดเสือร้องไห้ มาเลย์เอาไปขายกันในประเทศแล้วเกิดติดใจ มีเนียนตั้งชื่อใหม่ให้เพื่อจะเคลมเป็นอาหารประจำชาติตนอีก  อืม ก็นะสภาพประเทศไทยตอนนี้ก็คงจะเริ่มเป็นอินเดียและจีนเข้าเรื่อยๆแล้ว ที่ประเทศรอบข้างต้องมาก็อปสูตร ต้องมาเคลม แต่ไทยช่วงหลังๆ อาหารไหนที่รุ้ต้นกำเนิดจริงๆเราก็จะให้เกรียติอาหารจากชาตินั้นๆ อย่างเช่นพวกทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ อาหารต้นแบบคือโปรตุเกสจากสูตรของท้าวทองกีบม้า เราก็ไม่ได้เคลมว่าอาหารพวกนี้เป็นอาหารไทยแท้ๆ  ปัจจุบันถ้าให้มองไทยควรฟิวชั่นพัฒนาคิดค้นสูตรอาหารใหม่ๆของแต่ละภาคแล้วเอามาผสมผสานกันให้เกิดอาหารชนิดใหม่ขึ้นเยอะๆ เพราะทั่วโลกตอนนี้เขาเชื่อในฝีมือของเชฟไทยกันอยู่แล้ว แบบที่รายการมาสเตอร์เชฟของไทยและอีกหลายรายการช่วยกันพัฒนาอาหารไทยร่วมสมัย อาหารไทยยุคใหม่ขึ้น

แก้ไขข้อความเมื่อ

ความคิดเห็นที่ 13-1

ถ้าไปเชียงราย ถ้าถามคนพื้นที่ว่าอยากกินข้าวซอย(คนอายุ 30 ปีขึ้นไป) ก็จะเข้าใจว่า ข้าวซอยคือ ข้าวซอยน้ำเงี้ยว ไม่ได้หมายถึงข้าวซอยน้ำกะทิแบบในปัจจุบัน
(พูดถึงคนไต เมนูยอดฮิตตลอดกาลคือ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ซึ่งแตกต่างจากน้ำเงี้ยวเชียงใหม่ที่ใช้เส้นขนมจีนเป็นหลัก คนแม่สายและเชียงรายกินน้ำเงี้ยวใส่เส้นก๋วยเตี๋ยวและเรียกว่า “ข้าวซอย” บ้างเรียก ข้าวซอยน้ำคั่ว ถ้ามีคนแม่สายชวนไปกินข้าวซอยนั่นหมายถึงก๋วยเตี๋ยวน้ำเงี้ยว ไม่ใช่เส้นบะหมี่ใส่น้ำกะทิแบบเชียงใหม่ )
https://www.greenery.org/articles/maesai/  (ชิมอาหารไตและยูนนานแห่งแม่สาย เมืองที่หลากหลายความอร่อย)

และต้นแบบอาหารทางเหนือหลายอย่างก็มาจากทางจีนตอนใต้ไม่ว่าจะเป็นจีนยูนนานหรือเขตปกครองตนเองของชนชาติไตก็ตาม

อันนี้น้ำเงี้ยวสูตรยูนนาน

จะมีผักดองแบบยูนนาน ที่มีในข้าวซอยกะทิเป็นเครื่องเคียงด้วยเหมือนกัน

https://www.wongnai.com/reviews/2b0a181123b54e8b9a739a1aba13b7bc

ความคิดเห็นที่ 14

เวทีหน้าน้อง Milli เอาโรตีสายไหม ขนมโตเกียว ไปกินโชว์เลยค่ะ

เดี๋ยวเค้าก็มาเบลมอีก เบลมได้ทุกอย่างแหละ ตอนนี้ชินแล้ว

ความคิดเห็นที่ 15

ถ้าดูนางงาม และการออกแบบชุดประกวด  กองเชียร์นางงามไทยเรียก ประเทศนี้ว่า
เคลมบูเดีย

ดังนั้นไม่ว่าอะไรที่มีในไทยดังๆ จะโดนเคลมหมด

ก่อนจะมาเป็นไทย เป็นกัมพูชา พม่า จีน มันก็ผสมปนเป ย้ายถิ่นฐาน สุ้รบกันมา

ความคิดเห็นที่ 16

คราวหน้า  ซดน้ำท่อม  ดูซิใครจะเคลมอีก

ความคิดเห็นที่ 17

ก็ประเทศนี้ไม่ใช่เหรอ ที่เคลมว่า Cafe AMAZON ของ pttor มาจากประเทศมันนะ

ความคิดเห็นที่ 17-1

ความคิดเห็นที่ 18

ข้าวเหนียวมะม่วง คนเขมรยังมูนข้าวเหนียวไม่ค่อยเป็นเลยครับ ได้แต่ครูพักลักจำตอนที่มาขายแรงงานเป็นลูกจ้างร้านค้าในไทย

พอดีเขาเห็นนักท่องเทียวจีนและต่างชาติชอบข้าวเหนียวมะม่วงไทย เรื่องก็เลยเป็นอย่างที่เห็น

คนเขมรคลั่งรักทุกสิ่งในไทยมากครับ ไทยทำอะไร ไทยมีอะไร เขาก็อยากจะมี และพยายามทำตามทุกสิ่งทุกอย่าง

ความคิดเห็นที่ 19

ต้องถามว่า

มีอะไรบ้างที่ ชาวเขมร
ไม่เคลมเป็นของตัวเองบ้าง
55555

ความคิดเห็นที่ 20

อะไรที่ดังในไทย คือขโมยกัมพูชามาหมดครับ ไม่ดังทางนั้นเค้าไม่เคลม

ความคิดเห็นที่ 21

ปล่อยเค้าไปเถอะ เค้าชอบมาเคลมทุกอย่างอยู่แล้วนิ

ความคิดเห็นที่ 22

อย่าว่าแต่ข้าวเหนียวมะม่วงเลยครับ “ผัดไท” พี่แกยังเคลมเอาไปเลย

ความคิดเห็นที่ 23

อย่าไปสนใจอดีด ปัจจุบันถ้ามันสื่อออกจากเมืองไทยต่างประเทศรู้ว่าหมายถึงประเทศไทย จบครับ

ความคิดเห็นที่ 24

ผมว่ามันก็แค่กลุ่มคนบางกลุ่มหรือแค่บางคนเท่านั้นครับ

ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยครับ

ความคิดเห็นที่ 25

จะไปสนทำไม ห้ามเราขายไม่ได้อยู่ดี

ความคิดเห็นที่ 26

นายกเราก็ดังนะ ช่วยมาเคลมไปด้วยสิครับ

ความคิดเห็นที่ 27

เป็นผมจะบอกให้เขาทำสูตรต้นตำรับมาแข่งเลยครับ

ความคิดเห็นที่ 28

โอย…ทำไมเป็นแบบนี้หนอ เวลามันดังทีไร เป็นอย่างนี้ทุกทีเลย

ตอนไม่ดัง    :  มันคืออาหารของพวกสยามชั้นต่ำ
ตอนดังแล้ว  :  มันคืออาหารของกุที่สยามขโมยไป @#%$

ปล.ไม่ทราบว่าใครเคยดูคุณกรุณา บัวคำศรี ไปดูเขมรโปรโมทอาหารตัวเองมั้ย หนึ่งในนั้นมีข้าวตังหน้าตั้งด้วยนะ

ความคิดเห็นที่ 29

ในอีก10ปีข้างหน้าอาหารและวัฒนธรรมไทยเกือบทุกอย่างจะกลายเป็นของประจำชาติของ เขมร,สิงคโปร์,เกาหลีและญี่ปุ่นครับ
ตอนนี้ที่โดนเคลมไปแล้วเท่าที่นึกออกก็มี ต้มยำกุ้ง,กล้วยไม้,ตุ๊ก ตุ๊ก,โขน,รามเกียรติ์,มวยไทย

ความคิดเห็นที่ 30

เพี้ยนขำหนักมาก

จะเคลม ยังไง มีหลักฐาน มากน้อย แค่ไหน
ยังไก็ไม่ดีเท่าไทย อยู่ดี  ในทุกด้าน

ความคิดเห็นที่ 31

ตอนนี้กำลังขโมยภาษาฝรั่งเอามาเยอะขึ้นเรื่อยๆ

ความคิดเห็นที่ 32

ถ้ามันเป็นวัฒนธรรมร่วมแล้วเราจะโปรโมทมันจะทำไมเหรอ งง ก็ในอดีตมันเคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน แล้วทำไมเราจะไม่มีสิทธิ์ งงอีกรอบ

ความคิดเห็นที่ 33

เป็นประเทศที่น่าสงสารมาก

ความคิดเห็นที่ 34

เอาตามจริง ยุคอยุธยา ทั่นขุน ก็สลับเชื้อสายสุพัน กะ ขะแมร์ กะ ล้านนาสุขโขทัย
แล้วถ้ามะม่วงมันมีกินตั้งแต่ก่อนยุคนั้น แล้วมันจะ เคลมเป็นของตัวเอง 100% ได้เยี่ยงไร

หรืออย่างเร็วๆ ก็ ตอนต้นกรุง สยามก็ส่ง นักองค์ด้วง ที่พำนักในสยามแต่ยังน้อย ก็สถาปนาให้ไปครองเขมร
เรื่องธรรมเนียวราชสำนัก ธรรมเนียมการอยู่ การกิน ก็เอาอย่างข้างสยามไปใช้

ซึ่งธรรมเนียมข้างสยาม ก็มาจากยุค อยุธยา ที่เจ้าผู้ครองแคว้น ก็สลับกัน ระหว่างกลุ่มสุพรรณภูมิ ขะแมร์ ล้านนาสุโขทัย แล้วมันจะเคลมกันยังไงดี มันก็ ร่วมวัฒนธรรมอันเดียวกันเนี้ย แบ่งแยกทำไม แต่ถ้าเป็น รับธรรมเนียมมาแล้ว มาดัดแปลง หรือที่เรียกในยุคนี้ว่า Fusion อย่างงี้ มันก็ว่าไปอย่าง

ความคิดเห็นที่ 35

จริงๆแล้ว ผมสงสารเค้านะครับ

ความคิดเห็นที่ 36

เจ้าแห่งการเครม เห็นอะไรที่ประเทศไทย หรือคนไทยทำแล้วดัง จะมีคนกลุ่มหนึ่งในประเทศนั้นเครมว่าเป็นของตัวเองทันที ขำมาก จะเครมทำไมทั้งๆที่เป็นวัฒนธรรมร่วมกัน ตลก!!

ความคิดเห็นที่ 37

อย่าไปฟังพวกเขมรมาก วัฒนธรรมเขมรถูกทำลายไปตั้งแต่เขมรแดง
คนที่สืบทอดวัฒนธรรม ถูกฆ่าตายหมด จนตอนนี้เขมรเองยัง สับสน ตัวเอง เพราะหลายอย่างทำเหมือนไทย
เพราะเขารับรู้สื่อจากไทยไปเยอะมาก
อาหารการกินรับจาก ไทย และ ลาว เยอะมาก
ถามญาติที่เป็นเขมรอพยพหนีมา เขาบอกว่า เขมรแดงยึดอำนาจ ตอนนี้อายุ 80 ปี เขมรเมื่อก่อนวัดวาอาราม ไม่ได้เป็นแบบ ไทย
แต่เป็นอีกแบบนึง แต่ถูกเผาทำลายหมด

ความคิดเห็นที่ 38

พวกเอา Wikipedia มาอ้างอิงนี่ น่าขำ ไม่รู้จริง ๆ เหรอว่ามันใช้อ้างอิงทางวิชาการไม่ได้ เป็นตุเป็นตะ หาความรู้จากงานวิจัย หรือเอกสารวิชาการเนอะ วิกิมันเหมือนนิยาย อ่านเอาสนุก และ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ ด้วยนะ

ความคิดเห็นที่ 39

เพิ่งเกิดดราม่า แต่งชุดประจำชาตื เที่ยวโบราณสถานไม่ใช่เหรอครับ

ชุดดันเหมือนชุดไทย แฮ่ๆๆ

ความคิดเห็นที่ 39-1

ไม่ได้บังเอิญเหมือนกันครับ แต่ข้ามมาซื้อที่พารุรัดเลย

ความคิดเห็นที่ 40

ขแมรเดี้ยน คือ เคลมทุกอย่าง จริง ๆ

ความคิดเห็นที่ 41

เพี้ยนขำหนักมาก

ความคิดเห็นที่ 42

จากที่ไปหามา ข้าวเหนียวมะม่วง ไม่มีใครรู้ว่ามาจากไหนใครเป็นคนคิดค้นขึ้นมา เเต่ที่เราพอจะรู้คือข้าวเหนียวมะม่วง มัน ไปโผล่ที่ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ที่ ร.2 เป็นคนเขียนขึ้นหรือบรรยายรสชาติของข้าวเหนียวมะม่วง อ่อเเล้วก็ข้าวเหนียวมะม่วง มันคู่กับคนไทยมา 255 ปี เเล้ว ( อันนี้นับมาตังเเต่ที่ ร.2 ขึ้นครองราช นะ ) อ่อเเละในประวัติข้าวเหนียวมะม่วงมีมาตั้งเเต่ สมัย กรุงศรีอยุธยาตอนปลายเลยนะ
เขมร อ่อเเล้วที่บอกว่าไทยขโมยทุกอย่างที่เขมรสร้างมา หูนลูก ประวัติศาสตร์ เคอดูมั้ยลูก ไทยกับเขมรเคยเป็นอันจักเดียวกันค่ะลูก ไทยสมัย ก็เป็น ขอม กัมพูชา สมัยก่อน ก็เป็น ขอม อันนี้งงนะ ( ไทยในเเทบ ภาค ตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อีสาน )

ความคิดเห็นที่ 42-1

อยุธยา เคยเป็นของเขมร ครับ

ความคิดเห็นที่ 43

ทำไมมีแต่เขมรที่เคลม พม่า ลาว ก็ติดไทย วัฒนธรรมก็คล้ายกัน ไม่เห็นเค้าเคยเคลมอะไร

ความคิดเห็นที่ 44

ก็คงได้มาบ้างแหละค่ะ เราไม่เห็นซีเรียสเลยแค่มันอร่อยก็พอแล้ว

แหล่งที่มา pantip.com
ปลาชิกคักต้มส้มแบบปักษ์ใต้ในวันครอบครัว pantip

ปลาชิกคักต้มส้มแบบปักษ์ใต้ในวันครอบครัว pantip

ปลาชิกคักต้มส้มแบบปักษ์ใต้ในวันครอบครัว      สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้เป็นวันครอบครัวทำให้ที่บ้านเลยพร ...
ทำกินง่ายๆ : ผัดพาสต้ารูปโบว์ใส่อกไก่และไข่ pantip

ทำกินง่ายๆ : ผัดพาสต้ารูปโบว์ใส่อกไก่และไข่ pantip

ทำกินง่ายๆ : ผัดพาสต้ารูปโบว์ใส่อกไก่และไข่ ทำกินง่ายๆ : ผัดพาสต้ารูปโบว์ใส่อกไก่และไข่ ส่วนประกอบ: ...
คั่วกระเพรา “กระต่ายป่าหมักไวน์ขาว” 🐰 ใส่กระเพราแดง+ยี่หร่ากับดีปลี  😋🍷 pantip

คั่วกระเพรา “กระต่ายป่าหมักไวน์ขาว” 🐰 ใส่กระเพราแดง+ยี่หร่ากับดีปลี 😋🍷 pantip

คั่วกระเพรา “กระต่ายป่าหมักไวน์ขาว” 🐰 ใส่กระเพราแดง+ยี่หร่ากับดีปลี 😋🍷 คั่วกระเพราแห้งๆ เนื้อน่องกระ ...
ทำกินง่ายๆ: ผัดคะน้าหน่อไม้ทะเล pantip

ทำกินง่ายๆ: ผัดคะน้าหน่อไม้ทะเล pantip

ทำกินง่ายๆ: ผัดคะน้าหน่อไม้ทะเล ทำกินง่ายๆ: ผัดคะน้าหน่อไม้ทะเล หน่อไม้ทะเล เป็นชื่อเรียก หอยชนิดหนึ ...
วาฟเฟิลตาข่ายใบเตย. pandan waffle pantip

วาฟเฟิลตาข่ายใบเตย. pandan waffle pantip

วาฟเฟิลตาข่ายใบเตย. pandan waffle ขอแนะนำ วาฟเฟิลตาข่ายใบเตย น้องขนมที่แสนอร่อย ฟินสุดหยุดไม่ได้ อร่ ...
【วันนี้กินอะไร #22】เต้าหู้อ่อนผัดหมูสับ อาหารง่ายๆในวันเนา 🍚🥢 pantip

【วันนี้กินอะไร #22】เต้าหู้อ่อนผัดหมูสับ อาหารง่ายๆในวันเนา 🍚🥢 pantip

【วันนี้กินอะไร #22】เต้าหู้อ่อนผัดหมูสับ อาหารง่ายๆในวันเนา 🍚🥢 สวัสดีวันเถลิงศกค่ะ ช่วงสงกรานต์นี้ จข ...
ตะลุยกินถิ่นกรุงเก่า 19 ร้านอยุธยา ถ้าได้มาต้องห้ามพลาด pantip

ตะลุยกินถิ่นกรุงเก่า 19 ร้านอยุธยา ถ้าได้มาต้องห้ามพลาด pantip

ตะลุยกินถิ่นกรุงเก่า 19 ร้านอยุธยา ถ้าได้มาต้องห้ามพลาด ก๋วยเตี๋ยวเรือ โรตีสายไหม หรือจะกุ้งแม่น้ำตั ...
ถ้าโดนแม่ค้าหาบเร่มาขายของ แล้วเราปฏิเสธไม่ซื้อ แต่โดนแม่ค้ากัด แบบให้เราได้ยิน ถ้าเป็นคุณจะทำยังไงต่อ pantip

ถ้าโดนแม่ค้าหาบเร่มาขายของ แล้วเราปฏิเสธไม่ซื้อ แต่โดนแม่ค้ากัด แบบให้เราได้ยิน ถ้าเป็นคุณจะทำยังไงต่อ pantip

ถ้าโดนแม่ค้าหาบเร่มาขายของ แล้วเราปฏิเสธไม่ซื้อ แต่โดนแม่ค้ากัด แบบให้เราได้ยิน ถ้าเป็นคุณจะทำยังไงต ...
[CR] ร้านไฉนโภชนา ไก่ย่าง 🐔พังโคน สกลนคร ภาพรวมเยี่ยมเลยครับ 🤤😅😋✌ pantip

[CR] ร้านไฉนโภชนา ไก่ย่าง 🐔พังโคน สกลนคร ภาพรวมเยี่ยมเลยครับ 🤤😅😋✌ pantip

[CR] ร้านไฉนโภชนา ไก่ย่าง 🐔พังโคน สกลนคร ภาพรวมเยี่ยมเลยครับ 🤤😅😋✌ ร้านไฉนโภชนา ไก่ย่างอร่อย ที่ อ.พั ...
ซดน้ำร้อนๆ กับเมนู ต้มจืดผักกาดดองใส่กระดูกหมูอ่อน pantip

ซดน้ำร้อนๆ กับเมนู ต้มจืดผักกาดดองใส่กระดูกหมูอ่อน pantip

ซดน้ำร้อนๆ กับเมนู ต้มจืดผักกาดดองใส่กระดูกหมูอ่อน วันนี้ เสือหิวไปเดินตลาดสด หันไปเห็นแม่ค้าพ่อค้า  ...
โสดๆเหงาๆก็เข้าครัวทำ “ข้าวผัดน้ำพริกเผากุ้ง” กินสิ! pantip

โสดๆเหงาๆก็เข้าครัวทำ “ข้าวผัดน้ำพริกเผากุ้ง” กินสิ! pantip

โสดๆเหงาๆก็เข้าครัวทำ “ข้าวผัดน้ำพริกเผากุ้ง” กินสิ! ใบโหระพา หอมมาก หอมโชยมาเวลารดน้ำ ทำให้นึกถึงหอ ...
อยากทราบว่าผู้คนที่ไม่ชอบรับประทานแมลงทอด เพราะอะไร? pantip

อยากทราบว่าผู้คนที่ไม่ชอบรับประทานแมลงทอด เพราะอะไร? pantip

อยากทราบว่าผู้คนที่ไม่ชอบรับประทานแมลงทอด เพราะอะไร? คือมีคำถามที่อยากถามความรู้สึกของผู้คนที่ไม่ชอบ ...
[CR] ตะวันรอน ที่ริมโขง หนองคาย ข้าวต้มร้านดี ดี โภชนา🍵😋 พักที่ รร.ช่อฟ้า แกลอรี่ ริมโขงผ่อนคลายดีครับ 😃🍷 pantip

[CR] ตะวันรอน ที่ริมโขง หนองคาย ข้าวต้มร้านดี ดี โภชนา🍵😋 พักที่ รร.ช่อฟ้า แกลอรี่ ริมโขงผ่อนคลายดีครับ 😃🍷 pantip

[CR] ตะวันรอน ที่ริมโขง หนองคาย ข้าวต้มร้านดี ดี โภชนา🍵😋 พักที่ รร.ช่อฟ้า แกลอรี่ ริมโขงผ่อนคลายดีคร ...
[CR] ++Review… สุขสันต์วันสงกรานต์ ไปเที่ยวกาญ กันดีกว่า++ pantip

[CR] ++Review… สุขสันต์วันสงกรานต์ ไปเที่ยวกาญ กันดีกว่า++ pantip

[CR] ++Review… สุขสันต์วันสงกรานต์ ไปเที่ยวกาญ กันดีกว่า++     สวัสดีครับ เพิ่งผ่านทริป มาสดๆร้อนๆ เ ...
ทำกินง่ายๆ: แก๋งผักปั๋งใส่จิ้นส้ม (แกงผักปลังใส่แหนม) pantip

ทำกินง่ายๆ: แก๋งผักปั๋งใส่จิ้นส้ม (แกงผักปลังใส่แหนม) pantip

ทำกินง่ายๆ: แก๋งผักปั๋งใส่จิ้นส้ม (แกงผักปลังใส่แหนม) ทำกินง่ายๆ: แก๋งผักปั๋งใส่จิ้นส้ม (แกงผักปลังใ ...