ทำไมคนเรารู้ว่าที่ตัวเองเชื่อมันผิด ก็ยังจะเชื่อแบบเดิมครับ พอถามหาเหตุผล ก็บ่ายเบี่ยง
ผมกินกุ้งอบวุ้นเส้นกับปลาทอด
แม่เดินมาบอกว่า ทำไมไม่กินกับข้าว
ผมบอกวุ้นเส้นคือ คาโบไฮเดรตแล้ว กินข้าวซ้ำทำไม
เค้าก็บอก ปฏิเสธแนวแบ่บ ไม่อะๆๆ เค้าทำกันมาอย่างนี้ ต้องกินกับข้าว
ผมก็อธิบายเลย เค้าก็ดูเหมือนจะเข้าใจ
แต่มันเหมือนมี ขนบธรรมเนียมที่เค้าทำมาทั้งชีวิตมาบดบัง
คือแบบว่า ฉันทำมาแบบนี้ ฉันไม่สนตรรกะหรือเหตุผล แต่ฉันทำมาแบบนี้
ก่อนหน้านี้ก็หลายครั้งแล้ว ผมก็เหมือนคุยเข้าใจ
มาครั้งนี้ ก็เหมือนเดิม คือผมหงุดหงิดมาก
มันไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากอะไรเลย แต่ทำไมเค้าละทิ้งความเชื่อไม่ได้
จริงๆเค้าแทบไม่มีความรู้เรื่องโภชนาการเลย
พอผมจี้มากๆ ถามต้อนมากๆ เค้าก็ทำโมโห ทำโว้ะๆ
ทำไมตอบ ทำบอกว่าขี้เกียจเถียง แล้วทะเล้นตลกๆใส่
และสุดท้ายก็วนการอ้างเหตุผลไปแค่ว่า ‘ไม่มีใครเค้าทำกัน หรือ นี่มันกับข้าว’
คือมันสะท้อนชัดเลยว่า เค้าไม่รู้ และไม่สนเรื่องประเภทอาหาร แต่คนว่ามันคืออะไร
บางทีผมโมโหในความโง่นี้มากๆ ใส่ไป ก็กลายเป็นทะเลาะกัน
บางทีก็อ้างว่า นี่เป็นความเชื่อของเค้า เค้าไม่ผิด
ใช่ไม่ผิดในแง่ของ decision of choice
แต่มันผิดทางการให้เหตุผลที่มาบอกว่า ทำไมกินแต่กับ
มันจะกินแต่กับได้ไง
ผมไม่เข้าใจ
บางทีก็เปลี่ยนเรื่อง ของรำคาญ ไร้สาระ ขี้เกียจพูด แต่เค้าเถียงไม่ได้อะ
ยิ่งพอพูดว่าเค้าแพ้นะ เค้าโมโหขึ้นมาเลย บอกไม่แพ้อะ ละก็บ่นๆ
เริ่มชักแม่น้ำ เริ่มบอกว่า เป็นลูกมาสอนพ่อแม่ได้ไง
หรือแบบว่า ถ้าไม่มีสมองจะเลี้ยงโตมาขนาดนี้ได้ไง
คือแบ่บ 5555
คือคนแก่เหมือนจะไม่ยอมเสียอีโก้ (แน่นอนไม่ทุกคน) หรือประมาณว่าเค้ายังไงก็จะเปลี่ยนความคิดเค้าแน่ๆ ต่อให้ผิด ก็ไม่ยอม
หรือทำเป็นพูดยอมรับ แต่ลึกๆหรือผ่านไปไม่กี่วัน เค้าก็กลับเข้าสู่โหมดปกติ
ไม่เข้าใจอะ ม
แม่เดินมาบอกว่า ทำไมไม่กินกับข้าว
ผมบอกวุ้นเส้นคือ คาโบไฮเดรตแล้ว กินข้าวซ้ำทำไม
เค้าก็บอก ปฏิเสธแนวแบ่บ ไม่อะๆๆ เค้าทำกันมาอย่างนี้ ต้องกินกับข้าว
ผมก็อธิบายเลย เค้าก็ดูเหมือนจะเข้าใจ
แต่มันเหมือนมี ขนบธรรมเนียมที่เค้าทำมาทั้งชีวิตมาบดบัง
คือแบบว่า ฉันทำมาแบบนี้ ฉันไม่สนตรรกะหรือเหตุผล แต่ฉันทำมาแบบนี้
ก่อนหน้านี้ก็หลายครั้งแล้ว ผมก็เหมือนคุยเข้าใจ
มาครั้งนี้ ก็เหมือนเดิม คือผมหงุดหงิดมาก
มันไม่ใช่เรื่องที่เข้าใจยากอะไรเลย แต่ทำไมเค้าละทิ้งความเชื่อไม่ได้
จริงๆเค้าแทบไม่มีความรู้เรื่องโภชนาการเลย
พอผมจี้มากๆ ถามต้อนมากๆ เค้าก็ทำโมโห ทำโว้ะๆ
ทำไมตอบ ทำบอกว่าขี้เกียจเถียง แล้วทะเล้นตลกๆใส่
และสุดท้ายก็วนการอ้างเหตุผลไปแค่ว่า ‘ไม่มีใครเค้าทำกัน หรือ นี่มันกับข้าว’
คือมันสะท้อนชัดเลยว่า เค้าไม่รู้ และไม่สนเรื่องประเภทอาหาร แต่คนว่ามันคืออะไร
บางทีผมโมโหในความโง่นี้มากๆ ใส่ไป ก็กลายเป็นทะเลาะกัน
บางทีก็อ้างว่า นี่เป็นความเชื่อของเค้า เค้าไม่ผิด
ใช่ไม่ผิดในแง่ของ decision of choice
แต่มันผิดทางการให้เหตุผลที่มาบอกว่า ทำไมกินแต่กับ
มันจะกินแต่กับได้ไง
ผมไม่เข้าใจ
บางทีก็เปลี่ยนเรื่อง ของรำคาญ ไร้สาระ ขี้เกียจพูด แต่เค้าเถียงไม่ได้อะ
ยิ่งพอพูดว่าเค้าแพ้นะ เค้าโมโหขึ้นมาเลย บอกไม่แพ้อะ ละก็บ่นๆ
เริ่มชักแม่น้ำ เริ่มบอกว่า เป็นลูกมาสอนพ่อแม่ได้ไง
หรือแบบว่า ถ้าไม่มีสมองจะเลี้ยงโตมาขนาดนี้ได้ไง
คือแบ่บ 5555
คือคนแก่เหมือนจะไม่ยอมเสียอีโก้ (แน่นอนไม่ทุกคน) หรือประมาณว่าเค้ายังไงก็จะเปลี่ยนความคิดเค้าแน่ๆ ต่อให้ผิด ก็ไม่ยอม
หรือทำเป็นพูดยอมรับ แต่ลึกๆหรือผ่านไปไม่กี่วัน เค้าก็กลับเข้าสู่โหมดปกติ
ไม่เข้าใจอะ ม
สมาชิกหมายเลข 6465011
18 มีนาคม เวลา 11:16 น.
18 มีนาคม เวลา 11:16 น.
แหล่งที่มา pantip.com
เรื่องกับข้าวเค็ม บางที
เค้าบอกใส่น้ำเพิ่ม ทั้งที่สิ่งที่ควรคือ ไม่ทำเค็มแต่แรก หรือไปทำมาใหม่ (ตรงนี้อย่าตอบผมเชิงสิ่งที่ควรจะเป็นนะครับ ผมพูดแต่เรื่องหลักการและเหตุผล แต่เดาว่าเดี๋ยวมีมาแน่ๆ)
มันไม่ใช่อะ (กรณีถ้ากินน้ำเยอะไรงี้ เช่น ก๋วยเตี๋ยว หรือต้มยำซัมติง)
ใส่น้ำเพิ่มมันก็ dilute รสชาติอื่นดิวะ แล้วถ้ากินน้ำหมด โซเดียมมันก็เท่าเดิม
ที่เคยอธิบาย เค้าก็ทำมึน อึน เปลี่ยนเรื่อง เหมือนจะเข้าใจ แต่ก็อีหรอบเดิม
วันนั้นให้ยายกินของหวาน ผมบอกให้ทำไม เค้าอ้วนอยู่แล้ว
เค้าบอก เดี๋ยวใส่น้ำแข็งเอา ถ้าหวานไป
ไม่ได้นะ มันไม่ใช่อะ ความคิดไม่ผ่านอะ
อะไรแบบนี้ คอนเซปเดียวกันเลย
เออ แต่คนอื่นอาจจะไม่เป็น แม่ผมอาจจะโง่แล้วก็บ้านๆเองอะ เศร้าจัง
18 มีนาคม เวลา 11:22 น.
18 มีนาคม เวลา 11:25 น.
18 มีนาคม เวลา 11:32 น.
เป็นไปได้ไหมครับ ว่าเป็นเรื่องของ neural pathway
เหมือนว่าวิธีคิดแบบสมองเค้า formed มาแบบนี้ไปแล้วเป็น 2-30 ปีอะ
เลยมีพวกกระทู้คนแก่ดื้อเต็มไปหมด หรือกระทั่งพันทิปเองยังมีแท่ก วิธีรับมือผู้สูงอายุ
แต่มันจะเหนือกว่าความเห็นเป็นผลหรอครับ
แถมเรื่องนี้ไม่ใช่ต้องกำลังใจอะไรเลย ไม่เหมือนเรื่องของวินัย
อันนี้แค่เปลี่ยนความคิดเอง
18 มีนาคม เวลา 11:33 น.
ทำไรก็ผิดหมดแหละ ‘
ประโยคล่าสุดวันก่อน
18 มีนาคม เวลา 11:46 น.
18 มีนาคม เวลา 11:48 น.
เอาใช้ช่วยนะ ความเชื่อของคนมันเปลี่ยนยากนะ แต่หากมีกำลังใจในการเปลี่ยนก็จะง่ายขึ้นหน่อย เวลาท่านทำอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ก็ควรชมท่านบ่อยๆด้วยนะ
เพิ่มเติม ช่วงระยะแรกอาจต้องช่วยกำกับการปรุงอาหารด้วยนะ เช่น ควรใส่เกลือ กี่ช้อนชา น้ำตาลกี่ช้อนชา เพราะอย่าลืมว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต่อมรับรสเริ่มเสื่อมแล้วนะ บางทีอาจกะใส่โดยใช้ความรู้สึกจากลิ้นมากกว่าปริมาณที่ควรจะเป็น และเวลากินก็อย่ากินน้ำที่ตกค้างในอาหารนั้นๆด้วยนะ
18 มีนาคม เวลา 12:11 น.
ว่ารุ่นคุณทันสมัยกว่า ฉลาดกว่า
ต้องมีวิธีให้แม่ยอมรับสิ
คุณทำได้อยู่แล้ว
18 มีนาคม เวลา 13:30 น.
อยู่ที่ว่าสังคมนั้นให้ความสำคัญกับแบบไหนมากกว่า มีคนเดินตามรอยหรือได้รับการสอนแบบไหนมากกว่า
คงต้องหมดรุ่นก่อนแหละ ความเชื่อเก่าๆถึงหาย(แต่ถ้าในสังคมบางแห่ง ความเชื่อรุนแรงแข็งแรงกว่าการศึกษา ก็คงยังมีต่อไป)
18 มีนาคม เวลา 15:44 น.
สมัยก่อนแนวคิดต้องเชื่อผู้ใหญ่ทุกเรื่องหนักกว่าทุกวันนี้มากครับ ผู้น้อยหรือเด็กไม่มีสิทธิโต้แย้งใดๆทั้งสิ้น เหตุผลไม่ต้องมีแค่เชื่อผู้ใหญ่ก็พอ
จำได้ฝังใจตอนป.3 ครูถามเด็กดีจะช่วยชาติได้ยังไง คนอื่นก็ตอบช่วยเหลืองานการพ่อแม่ เชื้อฟังพ่อแม่คุณครู เคารพกฏหมาย บลาๆๆ ถึงคิวผมคนสุดท้ายของห้อง เพื่อนเขาตอบไปหมดทุกอย่างแล้ว แล้วตรูจะตอบอะไร ตอนป.3ผมนั่งรถเมล์มาเรียนทุกวัน ข้างรถเมล์เขียนแปะไว้ว่า ช่วยชาติประหยัดน้ำมันด้วยการนั่งรถเมล์ ผมอ่านหนังสือเก่งอ่านออกหมดตั้งแต่ป.1 แล้วผมเกรด4ทุกวิชามาตั้งแต่ป.1 ผมเลยตอบครูไปว่าช่วยชาติประหยัดน้ำมันด้วยการนั่งรถเมล์ เพื่อนฮาทั้งห้อง ส่วนคุณครูด่าผมไอ5 มิงล้อกรูหรอ เด็ก9ขวบโดนตีโดนทุบด้วยมือจุกหายใจไม่ออก จำชื่อครูได้เป๊ะ คุณครูลัดดาวัลย์ แล้วผมจำฝั่งใจเลยว่าผมจะไม่เป็นแบบครูคนนี้ แล้วผมก็มีความคิดอีกว่า ผู้ใหญ่ไม่ได้ฉลาดทุกคนมาตั้งแต่ตอนนั้น
พอผมโตมาเป็นผู้ใหญ่ผมสอนหนังสือเด็กวัยรุ่น เด็กกล้าถามกล้าคิดมากกว่าสมัยผม แรกๆผมก็รับไม่ได้เหมือนกันคิดแต่ว่าเด็กสมัยใหม่แย่มากๆไม่ค่อยเชื่อฟังครูอาจารย์ พอผมเริ่มมีประสบการณ์มากขึ้นมีความรู้มากขึ้นผมก็เข้าใจแล้วว่า คนยุคก่อนใช้เหตุผลน้อยคิดไม่เป็นและทำตามอย่างเดียว เรา(ผม)คือผลผลิตที่เกิดมาจากคนยุคนั้น เราเคยเจอเรื่องแบบนี้มาก่อน และเราจะไม่เป็นแบบนั้นอีกแล้ว
ทุกวันนี้ผมเป็นผู้ใหญ่ที่รับฟังความเห็นของเด็ก ผมใช้เหตุผลมากกว่าความเชื่อ กับเด็กรุ่นลูกผมคุยได้เหมือนเพื่อน ไม่ได้คิดว่าเราแก่กว่าเขาแล้วเขาจะต้องเชื่อฟังเราทุกเรื่อง เด็กยุคใหม่จะต้องมีอิสระทางความคิดไม่โดนกดไว้แบบยุคผม
แต่คนที่มีความคิดแบบยุคเก่าแล้วไม่ยอมเปลี่ยนแปลงมันมีเยอะครับ บางคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเพราะเขาฝังหัวเชื่อสนิทมาแบบนั้น บางคนเข้าใจหมดแต่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเพราะผลประโยชน์ บางคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเพราะไม่อยากสูญเสียอำนาจ คนเป็นพ่อเป็นแม่บางคนคิดว่าตัวเองใหญ่สุดในบ้าน ลูกมีหน้าที่ต้องเชื่อฟังและทำตามทุกอย่าง เป็นเรื่องของอำนาจครับ
เคยเห็นสัตว์ไหมครับ สัญชาตญาณดิบของสัตว์จะต้องมีจ่าฝูง บ้านไหนเลี้ยงหมาเยอะก็จะรู้ว่าหมาตัวไหนเป็นจ่าฝูง และจ่าฝูงจะไม่ยอมเสียอำนาจ ตอนให้อาหาร ให้เท่ากันทุกจาน แบ่งให้ทุกตัวเท่ากันหมด แต่จ่าฝูงจะกินก่อนแล้วลามไปกินจานอื่นด้วย ไม่ใช่หิว แต่เป็นเรื่องของอำนาจ หลังจากนั้นตัวอื่นถึงจะมากินได้ ถ้าตัวไหนมีเหตุผลคิดว่าแต่ละจานแบ่งให้เท่ากันก็ควรกินของใครของมัน ตัวนั้นจะโดนจ่าฝูงกัด นี่คือเรื่องของอำนาจ เหตุผลและความถูกต้องจะไม่ถูกนำมาใช้ และนี่คือสัญชาตญาณดิบของสัตว์ครับ
ถ้าเจ้าของเข้าข้างจ่าฝูงมากๆ จ่าฝูงก็จะเหิมเกริมกัดตัวอื่นบ่อยๆ ถ้าเจ้าของดุตัวจ่าฝูงปรามอยู่เรื่อยๆ ตัวจ่าฝูงมันอาจจะหงอยในตอนแรกเพราะมันรับไม่ได้ที่ต้องสูญเสียอำนาจ แต่นานๆไปบ่อยๆเข้ามันจะเริ่มมีเหตุผลเริ่มเข้าใจว่านี่คือจานของมันนั่นคือจานของตัวอื่น แล้วตัวจ่าฝูงมันจะไม่ใช้อำนาจที่เกิดจากสัญชาตญาณดิบ น้องหมาก็จะไม่กัดกันตอนกินอาหาร
มนุษย์ไม่ใช่สัตว์ที่ไม่มีการพัฒนา เรามีการพัฒนามาตลอดทุกยุคสมัยโดยใช้เหตุผล แต่ก็มีพวกไม่พัฒนาไม่ใช้เหตุผลอยู่มาตลอดทุกยุคเช่นเดียวกัน เรื่องแบบนี้ต้องค่อยๆปรับแก้ไปครับ การใช้เหตุผลก็ต้องมีหลักการ ไม่ใช่เอาเหตุผลมาโต้แย้งอ้างด้วยคำพูดอย่างเดียว ไม่งั้นมันจะเป็นการโต้แย้งโดยไร้ข้อมูลจริง
คุณก็กินแบบเขาไปนั่นแหละ กินกับข้าวนิดหน่อยพอเป็นพิธี พูดบ่อยๆว่ากินแป้งเยอะมันไม่ดี เขาจะพูดอะไรก็ไม่ต้องไปแย้งต่อล้อต่อเถียง พูดสั่นๆก็พอว่าหาอ่านดูสิ ถ้าเขาสงสัยมากๆเดี๋ยวเขาไปหาความรู้เอง บางทีลูกไม่สามารถยกเหตุผลมาทำให้พ่อแม่เข้าใจได้ ต้องปล่อยให้เขาเข้าใจด้วยทางอื่น โดยการชี้นำนิดหน่อยก็พอ อย่าให้เขารู้สึกว่าลูกไปสอนเขา ถ้าเราไปสอนเขาตรงๆเขาจะไม่รับฟังเขาจะรับไม่ได้ที่ลูกไปสอนเขา เหมือนจ่าฝูงที่รับไม่ได้กับการสูญเสียอำนาจนั่นแหละ ถ้าเราคิดว่าตัวเองฉลาดมีความรู้จากข้อมูลจริง ก็ใช้ความสามารถนั้นชักนำพ่อแม่ให้มีความเห็นที่ถูกต้องให้ได้โดยวิธี บัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น
18 มีนาคม เวลา 18:33 น.
ไอวิธีพูดสั้นๆรอบเดียวนี่ เวิคครับ ผมมานึกๆ ก็เคยใช้เหมือนกัน เราเองไม่ประสาทเสียด้วย
18 มีนาคม เวลา 20:13 น.
18 มีนาคม เวลา 20:24 น.
19 มีนาคม เวลา 17:20 น.