ยาน้ำปาซินซุ่ย???
สวัสดีค่ะ อยากทราบรายละเอียด ยาน้ำปาซินซุ่ย ว่าทานไปแล้วเป็นยังไงบ้าง พอดีมีคนนำมาขายให้กับผู้สูงอายุที่บ้าน ก่อนหน้านี้เคยนำขวดเล็กมาขายให้2ขวด และกลับมาขายขวดใหญ่ให้(มีการพูดชมว่าหน้าตาแจ่มใสขึ้นอะไรแบบนี้ด้วยเราฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นการตลาดมากๆ)ส่วนตัวรู้สึกราคาค่อยข้างเเรง2×××ต่อขวด ปริมาณ700ซีซี แล้วผู้สูงอายุที่บ้านทานไปแล้วบอกว่าดีแข็งแรง… รบกวนด้วยนะคะ/ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ🙏🏼
สมาชิกหมายเลข 5942601
6 มีนาคม เวลา 14:33 น.
6 มีนาคม เวลา 14:33 น.
แหล่งที่มา pantip.com
มีสมุนไพร
1. ปักคี้ ตัวนี้เป็นสมุนไพรที่ใช้กันในกลุ่มไก่ตุ๋นยาจีน เป็นหนึ่งในยาบำรุงกำลัง ขนาดที่ใช้ต่อวัน 15-20 กรัม
2. ตังเซียม อยู่กลุ่มยาบำรุงกำลัง(ทำให้มีแรงมีกำลัง แต่หากไม่กินอาหาร ก็ไม่ได้ผล) ขนาดที่ใช้ต่อวัน 10-20 กรัม
3. ตังกุยเป็นยาบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดีขึ้น ขนาดที่ใช้ต่อวัน 5-15 กรัม
4. เทียนดำ(ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ให้มา ไม่ตรงกับเทียนดำ) เนื่องจากทำในประเทศไทย หากหาสมุนไพรในไทยได้
ย่อมเป็นการลดต้นทุน จึงเชื่อว่าเป็นเทียนดำไทย ชื่อวิทยาศาสตร์Nigella sativa L. สรรพคุณดูที่http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=68
5.โกฐพุงปลา ดูจากชื่อวิทยาศาสตร์ ดูฐานข้อมูลhttp://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=63
6. อบเชยเทศ ในชื่อไทยคืออบเชยจีน ส่วนชื่อภาษาอังกฤษบอกว่าเป็นอบเชยศรีลังกา ซึ่งราคาแพงกว่าอบเชยเทศมาก ส่วนใหญ่
ใช้เป็นเครื่องเทศ ใช้ขับลม บำรุงกำลัง
7 โกฐทั้ง 5 ชื่อไม่ตรงกับชื่อทางวิทยาศาสตร์ในภาษาอังกฤษ และไม่น่าจะนำเข้าเพราะไม่มีในสารบทยาไทยและยาจีน
ส่วนโกฐทั้ง 5 ได้แก่โกฐเชียง(คือตังกุย) โกฐจุฬาลัมพา โกฐเขมา โกฐสอ โกฐหัวบัว(ข้อมูลhttps://th.wiktionary.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87_5)
สรรพคุณดูจากhttps://www.buanhuatuengherbs.com/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%205/5a8ce3cd0974430001ef4cdb/5a8ce1e30974430001ef4c93/Products_5a8d39779857dd0001858d1d/langTH
หากเดาใจคนจัดสูตรสมุนไพรแบบไทยๆ คือ จีนปนไทยปนๆไปทั่ว น่าจะตั้งใจให้เป็นยาบำรุงเลือดลม(บำรุงกำลัง บำรุงเลือด)
ลองไปตามร้านยาจีนในสำเพ็งดูว่า อยากได้ยาบำรุงเลือดลมให้มีแรง เมื่อเทียบกับที่ซื้อยา อย่างไหนถูกกว่ากัน
และไม่ระเกียจต้มยาเอง ก็น่าจะทำ เพราะการใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณแตกต่างกันมากๆ ไม่น่าจะดีในระยะยาว
ผ
6 มีนาคม เวลา 18:35 น.