Hungarian Food Culture – วัฒนธรรมการกินของคนฮังการี EP 3
ในส่วนของ episode 3 นี้ แอร์จะขอพูดถึงแต่เรื่องอาหารการกิน อย่างเดียวเลยนะคะ ไม่รวมเรื่องการท่องเที่ยว หากเพื่อนๆสนใจเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในฮังการี สามารถอ่านได้ใน 2 กระทู้นี้เลยจ้า
Budapest: https://pantip.com/topic/40820943
Tapolca: https://pantip.com/topic/40829359
เสน่ห์อาหารฮังการีในมุมมองของแอร์ มันคือการผสมผสานกันระหว่างอาการในสไตล์ตะวันตก และตะวันออก
ถ้าได้ลองชิมมันจะมีความรู้สึกว่าไม่ใช่อาหารตะวันตกสะทีเดียว แต่ในน้ำซุปจะมีความเผ็ดร้อน สีสันอาหารมีสีแดงเพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร นั่นก็เพราะอาหารฮังการี ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีการใช้ส่วนของเครื่องปรุงรสจากพริกปาปริก้า พริกไทยดำ และเครื่องเทศอีกหลาย ยังมีการใช้หอมหัวใหญ่เป็นส่วนประกอบในอาหารค่อนข้างมาก
อาหารฮังการีแบบดั้งเดิมจะมีส่วนประกอบหลักจากเนื้อสัตว์ ผักตามฤดูกาล ขนมปัง นม ชีส และผลไม้
ยามเช้า อาหารที่ชาวฮังกาเรี่ยนทานก็ไม่ต่างมากกับชาวยุโรปหลากหลายประเทศ มีทั้งขนมปัง ไส้กรอก ซาลามี่ ผักต่างๆ และแยม
อาหารกลางวัน ก็จะเป็นมื้อหนักหน่อย ประกอบไปด้วย ซุป อาหารจานหลัก และขนมตบท้าย
วัฒนธรรมอาหารของประเทศนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเผ่า Magyar และชนเผ่าเร่ร่อน (Nomadic) อาหารตัวอย่างของวัฒนธรรมอาหารที่ส่งต่อมาจากชนผ่าก็คือ goulash หรือ ซุปปลา
แต่ชนเผ่า Magyar โบราณ โดยมากจะประกอบอาหารมาจากแกะ แพะ สัตว์ปีก กวางป่า หมู วัว แต่ในช่วงงานเฉลิมฉลองจะมีอาหารที่ทำมาจากเนื้อม้าด้วย แต่แล้ววัฒนธรรมการกินเนื้อม้าก็ค่อยๆ จากหายไป จากรุ่น สู่รุ่น
ต่อมาในศตวรรษที่ 15 วัฒนธรรมต่างๆ จากอิตาลีก็เข้ามา เนื่องจากภรรยาคนที่ 2 ของกษัตริย์ Matthias ซึ่งเป็นคนอิตาเลี่ยนก็ได้นำศิลปะแบบ Renaissance และวัฒนธรรมอาหารเข้ามาเผยแพร่สู่ประเทศฮังการีขณะนั้น
ในยุคที่พวก Turks เข้ามายึดคลองประเทศในศตวรรษที่ 16-17 ก็นำวัตถุดิบที่ชาว Turks ใช้ในการประกอบอาหารเข้ามาเช่น พริกปาปริก้า ข้าวโพด เมล็ดฝิ่น มะเขือเทศ มันฝรั่ง และน้ำผึ้งตุรกี นอกจากนั้นก็ยังสอนวิธีการใช้เครื่องปรุงอย่างเช่นพริกไทย การทำกละหล่ำปลียัดไส้ หรือมะเขือยาวยัดไส้ การทำขนมเค้ก นำความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกวอลนัท อัลมอนด์ องุ่น ผลมะเดื่อ นอกจากนั้นก็ยังนำเอาการวิธีการดื่มกาแฟเข้ามาด้วย
ยังไม่จบเพียงเท่านนั้น ในศตวรรษที่ 17- ต้นศตวรรษที่ 20 ราชวงศ์ฮับส์บูร์กของออสเตรียก็เข้ามาปกครองชาวฮังกาเรี่ยนต่อ ดังนั้นอาหารในสไตล์ฝรั่งเศสก็เลยถูกนำเข้ามาช่วงนั้น และในทางกลับกันอาหารที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวฮังกาเรี่ยนอย่าง goulash ก็ถูกเผยแพร่สู่ออสเตรียเช่นกัน
แอร์ลองเลือกอาหารในสไตล์ฮังกาเรี่ยนมา 5 อันดับที่ควรค่าแก่การชิม
ถ้าเพื่อนคนไหนมีอาหารอื่นๆก็สามารถเม้นเข้ามาพูดคุยกันได้เลยนะคะ ยิ่งมีสูตรอาหารมาแชร์จะขอบคุณมากเลยค่ะ
11 กรกฎาคม เวลา 00:29 น.
เป็นขนมปังแบบหวาน ถูกทำให้สุกโดยถ่าน แป้งขนมปังจะเป็นท่อน ด้านในกลวง ด้านนอกขนมปังสามารถเลือกได้ว่าจะเคลือบด้วยด้วยซินามอน โกโก้ มะพร้าว หรือวอลนัทที่ฝานบางๆ แต่ปัจจุบันนี้จะมีตัวเลือกในการเพิ่มตัวเคลือบด้านนอกของขนมปังเยอะมากเลย
เป็นเค้กที่มีเนื้อสัมผัสแบบเนื้อสปันจ์ รสวนิลา สอดแทรกด้วยด้วยช๊อกโกแลตครีม และตกแต่งด้านบนเค้กด้วยคาราเมล
ขนมชนิดนี้มักทำเป็นก้อนกลม หรือสีเหลี่ยมไม่ใหญ่มาก จะให้เนื้อสัมผัสแบบสปันจ์ ราดด้วยเนยที่อุ่นมาแล้ว และสอดแทรกด้วยครีมช๊อกโกแลต เมล็ดวอลนัท เหล้ารัม และด้านบนจะเป็นวิปปิ้งครีม
ลักษณะของเครปสไตล์ฮังการี เนื้อจะบางกว่าแบบที่ขายในอเมริกา บางคล้ายๆ กับสไตล์ฝรั่งเศส ด้านในจะใส่ชีสสด แยม โกโก้ วนิลาครีม
หรือช๊อกโกแลตพุดดิ้ง
จริงๆ อาหารชนิดนี้ไม่เชิงเป็นขนมสะทีเดียว จะกึ่งอาหารที่ออกรสหวาน เนื่องจากทำจากมันฝรั่งแล้วใส่ใส้ด้วยลูกพรุนที่จุ่มในน้ำตาลอบเชย แล้วเอาไปต้ม จากนั้นจี่ให้ร้อนด้วยกระทะอีกครั้ง คลุกด้วยเกล็ดขนมปัง สุดท้านโรยด้วยผงน้ำตาล ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาสูตรไปหลากหลายเลยค่ะ
แอร์รวบรวมข้อมูลมาจากหลายที่เลยนะคะ เพื่อนๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากข้อมูลอ่งอิงด้านล่างนี้
ส่วนเครื่องเครื่องดื่ม อดใจรออีก เดี่ยวค่อยมาต่อกันนะคะ
ข้อมูลอ้างอิง
http://studyinhungary.hu/living-in-hungary/menu/hungarian-cuisine.html
https://havefun.travel/things-to-do/food-and-drink/hungarian-food/
https://dune.une.edu/cgi/viewcontent.cgi?referer=https://www.google.com/&httpsredir=1&article=1000&context=an_studedres
https://food.trueid.net/detail/nyQvLqNkenvd
https://gameasphalt.ru/th/nacionalnye-blyuda-budapeshta-nacionalnaya-kuhnya-vengrii-kafe-i/
https://theculturetrip.com/europe/hungary/articles/hungary-s-top-10-national-dishes-and-where-to-find-them/
12 กรกฎาคม เวลา 00:02 น.
12 กรกฎาคม เวลา 21:27 น.
อดไป
แอร์ทำไปก็กลืนน้ำลายไปเหมือนกันค่ะ
12 กรกฎาคม เวลา 22:15 น.
Pálinka (ปาลิงกอ) เป็นบรั่นดีผลไม้แบบดั้งเดิมในยุโรปกลาง มีต้นกำเนิดในประเทศฮังการี คิดค้นในช่วงยุคกลาง เป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อ ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายในฐานะสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของสหภาพยุโรป มีเพียงผลไม้ที่มีการแปรรูปบรรจุขวดในฮังการีเท่านั้นที่จะได้เป็นสินค้าจีไอ และบรั่นดีเอพริคอตจากสี่จังหวัดของประเทศออสเตรียเท่านั้น ผลไม้ที่นิยมที่สุดคือ พลัม เอพริคอต แอปเปิล ลูกแพร์ และเชอร์รี
ตัว % แอลกอฮอลล์นี่ ดื่มต่อกันเยอะๆ นี่วูบได้เลยนะเพื่อน ที่เห็นจะคือ 50% แล้วแก้วที่ใช้ดื่มก็สามารถใช้แก้วบรั่นดีที่บ้านใช้ดื่มได้เลย แต่ที่นี่โดยมากจะใช้แก้วทรงดอกทิวลิป มันมีเหตุผลในตัวอยู่นะเพื่อนๆ นั่นก็เพราะเมื่อเราได้เหล้าบรั่นดีที่ทำมาจากผลไม้กลิ่นหอมหวาน ความพิเศษของบรั่นดีชนิดนี้ก็จะมีกลิ่นที่หอม เวลาดื่มจะได้ทั้งอรรถรสทั้งรสชาติ และกลิ่นอโรมาจากตัวเหล้าด้วย แก้วทรงดอกทิวลิปจะกักเก็บกลิ่นเอาไว้ตรงกระเปาะ และค่อยๆกระจายกลิ่นขี้นมาตามแก้วเมื่อเราดื่ม
เป็นไงเพื่อนๆ น้ำลายไหลเลยมั้ยค่ะ
Tokaji (Toe-Kay-Ee) นี้ผลิตจากจากเมือง Tokaj (Toe-Kay) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฮังการี เครื่องดื่มตัวนี้เราจะเรียกว่าเป็นไวน์ขาวแบบหวานก็ว่าได้ การผลิตไวน์ในฮังการีเริ่มต้นต้นมาตั้งแต่ยุคโรมัน ในช่วงศตวรรษที่ 15 โดยทั้งอิตาลี หรือฝรั่งเศสก็จะใช้ถังไวน์ที่ผลิตจากฮังการีในกระบวนการผลิตไวน์ของทั้ง 2 ประเทศนี้ในช่วงนั้น
ซึ่งผู้ผลิตจะมีการผลิตระดับความหวานที่หลากหลาย ยิ่งสีเข้มขึ้น ความหวาน และราคาก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นด้วย
ความหวานจะแบ่งออกเป็น 6 ระดับ
1. 3 Puttonyos จะมีน้ำตาล 60 กรัม/ลิตร
2. 4 Puttonyos จะมีน้ำตาล 90 กรัม/ลิตร
3. 5 Puttonyos จะมีน้ำตาล 120 กรัม/ลิตร
4. 6 Puttonyos จะมีน้ำตาล 150 กรัม/ลิตร
5. Aszueszencia จะมีน้ำตาล 180-450 กรัม/ลิตร
6. Dry จะมีน้ำตาลน้อยกว่า 60 กรัม/ลิตร
จริงๆ การผลิตไวน์หวานจะมีระดับความหวานตั้งแต่ 1-5 แต่หลังๆมานี้ความนิยมดื่มไวน์หวานจะน้อยละ ดังนั้นผู้ผลิตจึงได้ผลิตไวน์แบบ Dry ที่มีความหวานน้อย การหมักลดลงเหลือแค่ 3 ปี จากปรกติที่ใช้เวลาประมาณ 4-5 ปีกว่าจะได้มา ก็เพิ่อให้เหมาะกับลักษณะของตลาดที่ห่วงใยสุขภาพมากขึ้น เพราะถ้าเราเทียบกับความหวานแบบสุดๆ อย่าง Aszueszencia จะมีความหวานประมาณเราดื่มโค้ก 4 เท่า
องุ่นพันธุ์ที่ผลิตจะมาจากหลายพันธุ์ แต่ไม่ว่าจะใช้พันธุ์ไหนในข้อมูลด้านล่างนี้ ก็ยังคงเรียกว่า Tokaji อยู่ดีนะคะ
การผลิตจะมาจากองุ่นหลากหลายพันธุ์
พันธุ์องุ่น
Furmint (“foor-meent”)
Hárslevelü (“harsh-level-lou”)
Kabar (“kah-bar”)
Kövérszölö (“kuh-vaer-sue-lou”)
Zéta (“zay-tuh”)
Sárgamuskotály (“shar-guh-moose-koh-tie” – aka Muscat Blanc)
เป็นเครื่องดื่มประจำชาติฮังการี ซึ่งมีส่วนผสมจากสมุนไพรมากว่า 40 ชนิด ซึ่งเราจะเรียกตัวนี้ได้ว่า เหล้าสมุนไพร ส่วนใหญ่จะดื่มหลังมื้ออาหาร คาดว่าจะช่วยเรื่องการย่อยของอาหาร และผลิตจากบริษัท Zwack รสชาติของเหล้าชนิดนี้เดาได้ไม่ยากเพื่อนๆ จะออกรสขมหน่อยจะมีสูตรแบบดั้งเดิมก็จะเรียก Unicum แต่สูตรที่มีการใช้ลูกพรุนมาเพิ่มความหวานด้วยจะเรียก Unicum Plum เมื่อพูดถึง Unicum ทำให้แอร์นึกถึงเหล้าสัญชาติเยอรมัน Jägermeister ซึ่งผลิตมาจากสมุนไพรกว่า 56 ชนิด ซึ่งก็มักดื่มก่อนอาหารเพื่อช่วยย่อยอาหาร และบำรุงกระเพาะ แต่จะนิยมแช่เย็นจัดๆ นะเพื่อนตัวนี้ที่บ้านแอร์มีตัวนี้ ตอนนี้ยังไม่หมดเลย 555
ฮังการีจะมีเบียร์ Lagers หลายแบรนด์ เช่น Soproni, Borsodi, Arany Ászok, Dreher ซึ่งราคาจะถูกทีเดียว เบียร์เหล่านี้จะถูกหมักไว้ในถังไม้โอ๊ค แต่ก็จะมีแบรนด์ที่ผลิตขึ้นมาใช่ช่วงยุคของโซเวียตเพื่อให้ได้ปริมาณมากๆ อาจจะไม่ได้หมักตามวิธีเพื่อให้ได้คุณภาพ ตัวอย่างเช่น Kőbányai
Fröccs
คนที่คิดค้นเครื่องดื่ม Fröccs (Splatter) ก็คือ Ányos Jedlik เริ่มต้นเครื่องดื่มนี้คือการผสมกันระหว่างไวน์ และน้ำโซดาในอัตรา 1:1 ซึ่งเราจะเรียกเครื่องดื่มแบบนี้ว่า kisfröccs หรือ small spritzer
แต่ปัจจุบันมีหลายสูตรเพิ่มขึ้นมามากเช่น
Large splash: 2 dl wine + 1 dl soda water
Hungarian – English: 6 dl of wine + 3 dl of soda water
Tisza splatter: 1 dl red wine + 1 dl champagne
Cola-wine
เป็นเครื่องดื่มที่ผสมกันระหว่าไวน์แดง และโคลา ซึ่งเครื่องดื่มนี้เริ่มต้นเสปนเป็นคนคิดริเริ่ม และจะใช้ชื่อเครื่องดื่มเหล่านี้ว่า “calimocho”
ข้อมูลอ้างอิง
https://theculturetrip.com/europe/hungary/articles/everything-you-need-to-know-about-drinking-in-hungary/
https://www.wministry.com/why-use-different-types-of-glasses-for-each-drink/
https://winefolly.com/deep-dive/the-story-of-tokaji-wine/
https://tastehungary.com/journal/dry-wine-in-tokaj/
https://en.wikipedia.org/wiki/Unicum
https://hu.wikipedia.org/wiki/Fr%C3%B6ccs
13 กรกฎาคม เวลา 21:00 น.
อาหาร และขนมในปัจจุบันของประเทศฮังการีเป็นผลจากการผสานวัฒนาธรรมต่างๆ ที่ฮังการีได้รับมาตั้งแต่การก่อตัวของประเทศเรื่อยมา ไม่ว่าจะเป็น Goulash ที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน และแผ่กระจายไปในประเทศในโซนใกล้เคียงด้วย ก็ได้รับวัฒนธรรมการกินมาจากเผ่า Magyar และชนเผ่าเร่ร่อน (nomadic)
อาหารสไลต์อิตาเลี่ยนอย่างเช่น Túrós Csusza ที่ทำจากเส้นพาสต้า แล้วใส่ชีสสด เราจะได้อารมณ์แบบอิตาเลี่ยน หรือขนมเค้กเนื้อสปันจ์เช่น Dobos Torte ก็ได้รับเอาความรู้ในการทำขนมเค้กเริ่มแรกมาจากพวก Turks และฝรั่งเศส
Palacsinta เครปเนื้อเนียนแผ่นบางที่ได้รับความนิยมก็มีลักษณะคล้ายกับของสไตล์ฝรั่งเศส แต่ไม่เหมือนสะทีเดียว
โลกเราสมัยนี้ไร้พรมแดน วัฒนธรรมอาหารกระจาย และเข้าถึงง่ายมากขึ้น เชฟแต่ละคนก็นำเอาความรู้พื้นฐานในวัตถุดิบของบ้านเกิดตัวเอง มาผสมผสานกับความรู้ที่ได้เรียนมา หรือประสบการณ์การทำอาหารมา เกิดเป็นอาหารที่มีลักษณะเฉพาะคน หรือเฉพาะร้าน ทำให้ความหลากหลายของอาหารมากยิ่งขึ้น
เราในฐานะนักเดินทาง ผู้แสวงหาอะไรแปลกใหม่ที่น่าสนใจก็อดที่จะอยากรู้ต่อไปไม่ได้ว่า อนาคตข้างหน้าอาหาร และเครื่องดื่มจะพัฒนาไปในรูปแบบไหนบ้าง??
Budapest EP 1: https://pantip.com/topic/40820943
Tapolca EP 2: https://pantip.com/topic/40829359
Hungarian Food Culture EP 3: https://pantip.com/topic/40833423
13 กรกฎาคม เวลา 21:06 น.
1 สิงหาคม เวลา 03:05 น.
เคยได้ชิม Chimney Cake แต่เห็นป้ายบอกว่าชื่อ trdelník
ป้าย 50% Pálinka ก็นึกว่า sales 50% จะพุ่งเข้าใส่ตลอด
10 สิงหาคม เวลา 11:49 น.
Chimney Cake / Trdelník / Kürtös Kalács
คือขนมชนิดเดียวกันคะ ในส่วนของส่วนผสมไม่มีมีความต่างแต่อาจจะมีการผลิตในส่วนของขนาดที่ต่างกันบ้าง ส่วนใหญ่ Trdelník จะทำมาไซด์เล็กกว่า Kürtös Kalács
และในปราก จะใช้คำว่า Trdelník และ Kürtös Kalács ใช้ในฮังการี คะ
Chimney Cake ก็เป็นชื่อแบบศัพท์ภาษาอังกฤษ
ประมาณนี้คะ
10 สิงหาคม เวลา 16:13 น.