1. สิ่งที่ผลิตออกมาจากแมกนิตรอนในเตาไมโครเวฟ เป็นคลื่นหรือรังสีครับ
หรือมันคือสิ่งเดียวกัน ?
2. ถ้าไม่ใช่ คลื่นไมโครเวฟ กับรังสีไมโครเวฟ ต่างกันอย่างไร
สมาชิกหมายเลข 3434965
13 เมษายน เวลา 11:34 น.
13 เมษายน เวลา 11:34 น.
แหล่งที่มา pantip.com
คลื่น (wave) คือ การสั่นขึ้นลงแบบมีจังหวะ เช่น คลื่นน้ำ คลื่นแสง คลื่นเสียง
การแผ่รังสี (radiation) คือ การแผ่ไปของคลื่น
13 เมษายน เวลา 12:39 น.
ไม่มีอนุภาคใดๆหลุดมาจากคลื่นนั้น
ส่วนที่เรียกรังสีน่าจะเรียกกันผิดๆ เพราะรังสีก็คือมีอนุภาคบางส่วนหลุดออกมาด้วย เช่น X-ray
เวลาฉายรังสี ก็ต้องทำมิดชิด และต้องไม่บ่อยเกิน
13 เมษายน เวลา 12:40 น.
คำว่า”รังสี” ผมเข้าใจว่าน่าจะอยู่ในหมวด กัมมันตภาพรังสี ซึ่งไม่ใช่แน่นอน
13 เมษายน เวลา 13:05 น.
แต่ก้พอ เข้าใจระดับหนึ่ง เช่น
1 แมกนีตรอน มานสร้างคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า ที่เรียกว่า ไมโครเวฟ
2 รังสี เวลาเหล็กร้อนๆจนแดง มานจะแผ่รังสีความร้อนออกมา
3 สารกัมตภาพรังสี มานหมายถึง สารที่สามารถปล่อยพลังงานออกมา เช่น ยูเรเนียม หรือ การ X-ray
สรุป อะไรที่มีความร้อน ความร้อนมีคุณสมบัติเป็นคลื่น แต่มานจะแผ่รังสีความร้อน ออกมาด้วย
แต่ถ้าจะคุยกันให้เข้าใจง่ายๆ มานสร้างแค่ คลื่นไมโคเวฟ
13 เมษายน เวลา 13:35 น.
13 เมษายน เวลา 13:37 น.
เตาไมโครเวฟ ระบบนี้เป็นการส่งคลื่นไมโครเวฟ ที่มีกำลังสูงส่งในพื้นที่แคบๆ ที่ทำด้วยโลหะ คลื่นไมโครเวฟนี้ก็จะสะท้อนโลหะนั้นทำให้มีคลื่นไมโครเวฟ กระจัดกระจายอยู่พื้นที่นั้นสามารถ นำไปใช้ในการทำอาหารได้
ไมโครเวฟ (อังกฤษ: microwave) เป็นคลื่นความถี่วิทยุชนิดหนึ่งที่มีความถี่อยู่ระหว่าง 0.3GHz – 300GHz ส่วนในการใช้งานนั้นส่วนมากนิยมใช้ความถี่ระหว่าง 1GHz – 60GHz เพราะเป็นย่านความถี่ที่สามารถผลิตขึ้นได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ธาตุกัมมันตรังสีหมายถึง ธาตุที่แผ่รังสีได้ เนื่องจากนิวเคลียสของอะตอมไม่เสถียร เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม
สูงกว่า 82
กัมมันตภาพรงสั ีหมายถึง ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่อง รังสีที่ได้จากการสลายตัว มี 3 ชนิด คือ
รังสีแอลฟา รังสีบีตา และรังสีแกมมา
การแผ่รังสีจะทําให้เกิดธาตุใหม่ได้หรืออาจเป็นธาตุเดิมแต่จํานวนโปรตอนหรือนิวตรอนอาจไม่เท่ากับธาตุ
เดิม และธาตุกัมมันตรังสีแต่ละธาตุ มีระยะเวลาในการสลายตัวแตกต่างกันและแผ่รังสีได้แตกต่างกัน
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ( electromagnetic wave ) คือ คลื่นชนิดหนึ่งที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง โดยอาศัยการเหนี่ยวนำกันระหว่างสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทิศของสนามทั้งสองตั้งฉากกันและตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่
รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (อังกฤษ: electromagnetic radiation) หมายถึงคลื่น (หรือควอนตัมโฟตอน) ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ผ่านปริภูมิโดยพาพลังงานจากการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
13 เมษายน เวลา 14:30 น.
สิ่งที่แผ่ออกมาจากหลอด Magnetron ภายในเตาไมโครเวฟนั้น
ไม่ใช่กัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ครับ แต่มันคือ คลื่นวิทยุ (Electromagnetic Wave) ธรรมดานี่เอง
เป็นคลื่นวิทยุความถี่ 2.45 GHz ใกล้เคียงความถี่ของ Wifi แต่แรงกว่ามาก
ของอุปกรณ์ Wifi มีการแพร่คลื่นวิทยุกำลังเพียง 0.2 วัตต์
แต่หลอด Magnetron ในเตาไมโครเวฟแพร่ออกมาด้วยกำลังถึง 900 วัตต์ ++
ซึ่ง คลื่นวิทยุทุกประเภท นั้น ไม่มีการตกค้างครับ มันเป็นแค่ Photons
หากแพร่ออกมาถูกร่างกายเรา ผิวหนังเราจะร้อนจากการดูดซับพลังงาน
จาก Photons ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นี้ เมื่อหยุดแพร่แล้วก็หายไปเลย ไม่มีตกค้างอีกเลย
Photons ในรูปแบบคลื่นวิทยุ นี้ จะมีพลังงานเพียงพอที่จะเคลื่อนอะตอมในโมเลกุล
หรือทำให้พวกมันสั่นสะเทือน แต่ไม่เพียงพอที่จะกำจัดอิเล็กตรอนออกจากอะตอม
ดังนั้น คลื่นวิทยุจากเตาไมโครเวฟจึงไม่อันตราย
แต่การแพร่ “รังสี” มันจะเป็นลักษณะของธาตุกัมมันตรังสีก้อนหนึ่ง
มีกลไกทางนิวเคลียร์ที่เรียกว่า Decay การ decay นั้น ธาตุก้อนนั้นจะ
ปล่อยอนุภาคความเร็วสูงออกมา ตามภาพนี้ครับ
อนุภาค Alpha จะรุนแรงน้อยสุด Beta จะแรงกว่า Gamma จะรุนแรงสุด
แต่ …. หากอนุภาคทั้ง 3 นี้สามารถผ่านเข้าผิวหนังได้ จะอันตรายสุด ๆ ทุกตัวครับ
เพราะหากพวกมันเข้าไปถึงเซลล์ มันจะมีพลังงานมากจนสามารถ
ผลักอิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอมได้ เป็นกระบวนการที่เรียกว่า Ionization
ส่งผลกระทบต่ออะตอมในสิ่งมีชีวิต โดยการทำลายเนื้อเยื่อและ DNA
หลอด Magnetron ของเตาไมโครจะไม่กำเนิดอนุภาคใดออกมาเลย
มันจะมีแค่ คลื่นวิทยุ เท่านั้น ซึ่งคลื่นวิทยุก็เป็น Photons รูปแบบหนึ่งนะครับ
แต่ประกอบร่างมากับสนามแม่เหล็กด้วย
ถ้าไม่ใช่ คลื่นไมโครเวฟ กับรังสีไมโครเวฟ ต่างกันอย่างไร
เรื่องนี้ เป็นเรื่องของคำศัพท์ภาษาไทยแล้วล่ะครับ
คลื่นไมโครเวฟ ….. ยังเข้าใจได้ว่าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave , คลื่นวิทยุ)
ในย่านความถี่ไมโครเวฟ 1 – 40 GHz
แต่คำว่า “รังสีไมโครเวฟ” ผมว่าไม่ควรใช้
เพราะอาจสับสนกับ กัมมันตรังสี (Radiation) ได้
และที่สำคัญ คือ ในเรื่องของกัมมันตรังสี หรือ ธาตุกัมมันตรังสี
จะไม่มีคำว่า “ไมโครเวฟ” มาเกี่ยวข้องเลยครับ
คำว่าไมโครเวฟ หมายถึงคลิ่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงมาก มีความยาวคลื่นสั้นมาก
1 – 40 GHz = ความยาวคลื่น 30 เซนติเมตร ถึง 7.5 มิลลิเมตร
นี่คือที่มาของคำว่า “ไมโคร” เพราะความยาวคลื่นมันสั้นครับ
13 เมษายน เวลา 14:47 น.
ยิ่งตรงคำว่า รังสีไมโครเวฟ มานเป็นสำนวนที่ไม่ควรใช้ ตรงประเด็นดีครับ
13 เมษายน เวลา 16:48 น.
13 เมษายน เวลา 15:59 น.
รังสีที่แผ่ออกมาเช่น รังสีบีต้า รังสีอัลฟ่า รังสีแกมม่า รังสีแกมม่า เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า electromagnetic wave microwave ก็เป็น electromagnetic wave เช่นกัน เมื่อผ่านตัวกลางก็จะถ่ายเทพลังงานให้
13 เมษายน เวลา 17:20 น.
14 เมษายน เวลา 18:34 น.
ส่วนรังสีเหมือนเรียกรวมๆ มีทั้งคลื่น ทั้งอนุภาค อย่าง รังสีแอลฟา กับ รังสีเบตา เป็นอนุภาค
รังสีแกมมา เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
14 เมษายน เวลา 19:01 น.
ตามรูปนี้นะคะ
เครดิตรูป Wikimedia
14 เมษายน เวลา 22:25 น.
15 เมษายน เวลา 06:52 น.
ถ้าตั้งคำถามแบบรายการ 4ต่อ4 Family เกมว่า ถ้าพูดถึง “รังสี” คุณจะนึกถึงอะไร? คำตอบ ก็จะเป็น รังสีเอ็กเรย์ รังสีแกมม่า
ซึ่งในความหมายนี้ จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า “ionizing radiation” ซึ่งพวกที่เป็น ionizing radiation นี้มีผลต่อสุขภาพและเกิดได้ทั้งจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบางย่านและสารกัมมันตรังสี
“รังสี” ภาษาไทยที่ใช้งานกันจริงๆ ไม่เท่ากับ “Radiation” ในภาษาอังกฤษ [แม้ว่าดิกชั่นนารี บางเล่มจะเขียนคำแปลแบบนั้น และถ้าเอาคำแปลไทยเป็นไทยของคำว่ารังสี ไปเทียบกับคำแปลภาษาอังกฤษ-อังกฤษ ของคำว่า Radiation จะเห็นว่ามันไม่เหมือนกัน]
สิ่งที่แมกนีตรอนในเตาอบไมโครเวฟสร้างขึ้นมา คือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า พอเกิดคลื่นแล้วมันค่อยส่งผ่านพลังงานไปที่อาหาร ตรงนั้นแหล่ะจึงค่อยเกิด Electromagetic Radiation แต่ไม่ใช่รังสีในภาษาไทย
15 เมษายน เวลา 13:12 น.