แปดสุดยอดขนมหวานแห่งเมืองเตี่ยซัว (แต้จิ๋ว)
หนึ่งในวัฒนธรรมอาหารแต้จิ๋วที่คนจีนโพ้นทะเลยุคนั้นนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยก็คือขนมหวาน ซึ่งขนมหวานแต้จิ๋วมีเอกลักษณ์แปลกไปจากที่อื่น ขนมบางตัวพบในพื้นที่อื่นๆด้วย แต่บางตัวก็พบแต่ในตำบลแถบแต้จิ๋วเท่านั้น
ทีนี้เค้ามีการจัดอันดับ 8 สุดยอดขนมหวานของเตี่ยซัว ซึ่งทั้ง 8 ตัวถือเป็นขนมท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ในย่านนี้ แถมหาทานได้ครบทุกตัวในประเทศไทยอีกด้วย จากร้านขนมท้องถิ่นย่านเยาวราชครับ
อนึ่งผมเข้าใจว่าเป็นการจัดอันดับแบบชาวบ้าน ดังนั้นหากไปพิจารณาตามแหล่งอ้างอิงอื่นๆ อาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันในบางรายการก็ได้ฮะ
8 สุดยอดขนมหวานเตี่ยซัว ประกอบด้วยขนมต่างๆดังนี้ (ไม่เรียงลำดับตามความนิยมนะครับ) โดยผมจะแนบภาษาจีน และชื่อเรียกขนมในภาษาแต้จิ๋ว (ตามการออกเสียงที่ผมใช้นะครับ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับสำเนียงแต้จิ๋วในบางพื้นที่และอาจจะเขียนไม่ถูกต้องตามการออกเสียงอักษรไทยนะครับ)
1) บีหยุ่งกอ 云片糕
เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว ผสมน้ำตาล ผสมถั่ว งา หรือเม็ดผลไม้ต่างๆ จะว่าเหมือนตังเมก็ไม่เหมือนเสียทีเดียว เพราะจะมีผงแป้งคลุมอยู่ที่ผิวขนมเป็นจำนวนมาก ผิวสัมผัสไม่หนืดเท่าตังเม และไม่หวานเท่าครับ
ตามสูตรต้นตำหรับมันจะสามารถลอกออกมาเป็นชั้นๆตามแนวตัดแบบขนมชั้นได้ แต่บางสูตรก็ลอกไม่ได้ จะผสานเป็นเนื้อเดียวตลอดทั้งอัน
ขนมตัวนี้หากินได้ไม่ยากในไทย ร้านที่มีขายก็คือ แต้เล่าจิ้นเส็ง ที่เยาวราช เข้าไปในร้านเจอแท่งขาวๆมีแป้งโรยวางอยู่บนถาดก็ใช่เลยครับ
2 เมษายน เวลา 13:19 น.
ฟังชื่อแล้วงงๆ แต่จริงๆก็คือขนมโก๋อัดเป็นวงกลมที่เราพบได้ทั่วไปในเทศกาลไหว้พระจันทร์ครับ สูตรต้นตำหรับเขาว่ากันว่ามาจากตำบลไห่มึ้ง ในอำเภอเตี่ยเอี้ยง เนื่องจากชาวบ้านตำบลนี้มีอาชีพหาปลาเป็นหลัก เวลาออกทะเลเอาข้าวไปกินก็เก็บรักษายาก เลยคิดค้นทำขนมตัวนี้ขึ้นมาเพื่อให้รับประทานง่าย มีรสหวานให้พลังงาน เรียกความสดชื่นได้ดี กินไม่กี่ชิ้นก็อิ่มจุกด้วยปริมาณน้ำตาล
ต่อมาก็มีการพัฒนาสูตรผสมเมล็ดงาขาวงาดำ ถั่ว หรือ ไส้ขนมต่างๆลงไปในแป้งขนมโก๋ รวมทั้งเปลี่ยนจากแป้งข้าวเป็นแป้งถั่วเขียวเป็นต้น
ในบ้านเราหากินง่ายมากโดยเฉพาะเทศกาลไหว้พระจันทร์ครับ เจ้าที่ผมว่าอร่อยก็เจ๊รัชนีตรงตรอกสีฟ้าใต้ทางด่วนฮะ กับอีกร้านคือร้านไม่มีชื่อในซอยวัดดอน และย่านที่ทำขนมนี้กันเยอะๆก็แถวตลาดน้อยและท่าดินแดง
3) ซกซา (ถั่วลิสงเคลือบน้ำตาล) จากตำบลเสี้ยงเซีย 仙城束砂
ตามประวัติเล่าว่าถูกคิดค้นโดยคนชื่อว่า เตียแกฮ้อ ในยุคราชวงศ์ชิงตอนปลาย โดยแกคิดจะทำขนมขึ้นจากถั่วลิสงที่ปลูกกันดาดดื่นในตำบลเสี้ยงเซีย คิดโน่นผสมนี่ เลยออกมาเป็นถั่วเคลือบน้ำตาลให้เรากินกันนี่แล
ขนมนี้ผมแสนจะโปรดปราณ ขอกราบแกงามๆสามครั้ง ที่คิดค้นของอร่อยให้ลูกหลานได้กินและเผยแพร่มาไกลจากตำบลเสี้งเซียถึง กรุงเทพมหานคร
ในประเทศไทยหากินกันได้ดาษดื่นเช่นกัน แม้แต่โลตัสบิ๊กซีก็มีขาย เจ้าที่อร่อยที่สุดที่ผมชิมมาก็ของ เบ๊ไถ่เฮง ตรงวงเวียน 22 ครับ เพราะสูตรของเขาเปลือกน้ำตาลที่เคลือบกรอบกำลังดี ไม่แข็งฟันหักแบบเจ้าอื่นๆ
4) ขนมเปี๊ยะไส้ฟักผสมมันหมูจากบ้านกุ้ยสือ 贵屿朥饼
ในประเทศไทยเราตามร้านขนมจะเรียกว่าขนมชนิดนี้ว่า กุ้ยสือ เดิมทีผมคิดว่ามันคือชื่อขนม แต่พอไปอ่านแล้วค่อยทราบว่า ไม่ใช่ชื่อขนม แต่เป็นชื่อแหล่งกำเนิดขนมต่างหาก
สุดยอดแห่งการผสมผสานขนม ฟักเชื่อมหวานแสบไส้กับมันหมูคาวแหยะๆ แต่มารวมกันอยู่ในแป้งกรอบๆได้อย่างกลมกลืน ขนมที่มีอายุย้อนไปได้ถึงต้นราชวงศ์ชิงกว่า 400 ปี ในหมู่บ้านกุ้ยสือ อำเภอเตี่ยเอี้ยง ยังมีร้านขายขนมตัวนี้ต่อเนื่องมากว่า 13 ชั่วคน
ขนมตัวนี้ข้ามน้ำข้ามทะเลส่งต่อสูตรข้ามกาลเวลามาขายในไทยต่อ ร้านที่ทำอร่อยสมัยก่อนผมชอบของเจี่ยน่ำเฮง แต่เค้าปิดกิจการไปแล้ว เลยมาก็กินของร้านอื้อเล่งเฮงที่ตรอกแปลงนามแทนฮะ
2 เมษายน เวลา 13:22 น.
ขนมเปี๊ยะหน้าตาแปลกๆ มี 2 ชั้น ชั้นนอกทาไข่แดงเอาไว้ก่อนเอาไปอบ ส่วนชั้นในแป้งบางๆ ไส้เป็นถั่วผสมเป็นแตงโมหรือฟักเชื่อม และสอดไข่แดงเค็มได้ด้านใน
บ้านเราย่านเยาวราชตามร้านขนมเปี๊ยะผมไม่ค่อยเห็น ทว่าที่ทางใต้เช่นภูเก็ต หาดใหญ่ หาได้ทั่วไป และไปเห็นในขนมเปี๊ยะประยุกต์เสียมากกว่า รสชาติคาดว่าคล้ายๆขนมเปี๊ยะครูสมทรงนั่นแลครับ
6) ฮู้ลู่เปี้ย 腐乳饼
เป็นขนมเปี้ยะที่หน้าตาคล้ายขนมไหว้พระจันทร์ แต่จริงๆไม่ใช่หน่ะครับ เปลือกนอกจะกรอบๆ ด้านในเป็นไส้เมล็ดผลไม้ งา ถั่ว มันหมู ฯลฯ มีทั้งแบบหวานและแบบเผ็ดๆ ในบ้านเราหากินยาก ที่ผมเห็นทำขายก็มีแต่ร้านเล่าจิ้นเส็ง (แต้โต๊ะฮุ้น)
7) หน่ำทึ้ง 南糖
เป็นการเอาถั่วไปเคี่ยวกับน้ำตาลจนหนืด แล้วเอามาผึ่งให้เย็นครับ มันแตกต่างจากถั่วตัดเพราะถั่วตัดจะกรอบๆ แต่อันนี้น่าจะเป็นที่ส่วนผสมของแบะแซที่ต่างกัน กินแล้วมันจะยืดเยิ้มหนืดเป็นตังเม แต่ได้รสหอมหวานของถั่วลิสงด้วย กินทีติดมือไปเหนียวเหนอะ
บ้านเรามีไม่กี่ร้านที่ทำขายและอร่อย ผมชอบของเบ๊ไถ่เฮงมากที่สุด
8) เหม่งทึ้ง 明糖
ตอนแรกไม่เชื่อว่าตัวนี้ก็ติดด้วย ขนมที่ทุกท่านรู้จักกันดี หารับประทานได้ง่าย ทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมน้ำตาล และไปคลุกงา หนืดๆเหนียวๆหวานๆ เด้งสู้ฟัน
เอาตรงๆผมว่าเจ้าไหนๆก็รสชาติละม้ายกันหมด เลยแยกยากไม่รู้ว่าเจ้าไหนอร่อยที่สุดครับ
2 เมษายน เวลา 13:27 น.
9) เปี๊ยะลูกเต๋า หรือ ป่อเต๋าเปี้ย 宝斗饼
อันนี้เป็นขนมที่ถือกำเนิดมาจากอำเภอเหยี่ยวเพ้ง จังหวัดเตี่ยซัว อาจจะพบในพื้นที่อื่นๆด้วย แต่ต้นกำเนิดมาจากเหยี่ยวเพ้งทั้งสิ้น ร้านขนมในบ้านเราก็น่าจะสืบทอดสูตรกันต่อๆมาจากเมืองจีนครับ ก่อนจะแปรสภาพมาเป็นตำหรับไทยที่มีทั้งไส้ทุเรียน ไส้ชาเขียว ไส้สัปปะรด ไส้สตอเบอร์รี่ ฯลฯ
10) ขนมจู่ชังเปี้ย เป็นขนมขึ้นชื่อของตำบลฮ้อเพ้ง และถูกใช้ไหว้ในเทศกาลเชงเม้งมาแต่ครั้งราชวงศ์หมิง ซึ่งคนตำบลนี้พอไหว้ขนมดังกล่าวเสร็จก็จะเอาไปแจกจ่ายให้ญาติพี่น้องกินกันเป็นมงคล เป็นสัญลักษณ์ว่าบรรพบุรุษจะคุ้มครองลูกหลานให้เติบโตแข็งแรงอยู่เย็นเป็นสุข
ในตำบลนี้มีร้านขนมชื่อว่า เบ๊อ่วงฮั้ง 马旺合 เค้าเคลมว่าทำขนมตัวนี้มาสองร้อยกว่าปีแล้ว ดูจากสูตรและส่วนผสมเหมือนขนมจู่ชังเปี้ยไส้แบบมาตรฐานที่ขายในบ้านเรายังกับแกะ
2 เมษายน เวลา 13:43 น.
2 เมษายน เวลา 13:48 น.
2 เมษายน เวลา 15:04 น.
腐乳饼 ตัวนี้เนื้อแป้งจะคล้ายขนมไหว้พระจันทร์ เนื้อไส้จะมีความคล้ายไส้โหวงยิ้งของไทย
ขนมในภัตตาคารที่จีนก็อร่อยนะครับ
3 เมษายน เวลา 09:41 น.
4 เมษายน เวลา 07:49 น.
ส่วนตัวชอบเบอร์ 8 กับเบอร์ 9
ที่ไม่เอาเลยคือพวกขนมโก๋ กับ ขนมไส้ฟักเชื่อม
4 เมษายน เวลา 12:06 น.
4 เมษายน เวลา 23:46 น.
5 เมษายน เวลา 10:00 น.
ที่สังเกตคือขนมแต่ละอย่างหวานมากยิ่งซกซาบ้านเรานี่ที่ชอบเอามารวมในขนมจันอับ หวานมากกกกกกกกกกกกกก น่าจะเพราะเค้ากินคู่กับน้ำชาแล้วมันจะได้รสชาติพอดี
5 เมษายน เวลา 13:42 น.
อันที่ 9 กินบ่อยๆหาซื้อง่าย
5 เมษายน เวลา 16:17 น.
6 เมษายน เวลา 14:32 น.
9 เมษายน เวลา 11:54 น.
9 เมษายน เวลา 16:07 น.
9 เมษายน เวลา 16:52 น.
9 เมษายน เวลา 17:20 น.
อีกอย่างคือขนมเข่ง เหลือเยอะ จนชุบไข่ทอดกิน เก็บจนแข็งก็ทนกิน
จนหลังๆ โตขึ้นมาหน่อย เอาไปแจกหมด ไม่เคยคิดเก็บไว้กินเลย
มันเบื่อจนเอียนจริงๆนะ
9 เมษายน เวลา 17:32 น.
9 เมษายน เวลา 22:08 น.
10 เมษายน เวลา 13:52 น.