ยอมรับว่า..ลังเลค่ะ ที่จะหยิบตำนานบ๊ะจ่างมาเล่า กลัวฟังกันทุกปี จะเบื่อแล้ว
แต่เนื่องจากเราแชทไปทักเพื่อนคนนึงว่า วันนี้วันบ๊ะจ่างนะ เธอทานบ๊ะจ่างหรือยัง?
นางพิมพ์ตอบกลับมาถามเราว่า บ๊ะจ่างคืออะไร? เราเลยได้มานั่งพิมพ์กระทู้นี้ค่ะ จะพยายามสรุปประวัติแค่สั้นๆ นะ
จริงๆ ตำนานบ๊ะจ่างมีหลายเวอชั่นค่ะ ใครได้ยินอะไรมาไม่เหมือนกัน ก็..ไม่เป็นไรนะคะ
บางแหล่งจะบอกว่า การทำบ๊ะจ่าง หรือ 粽子 หรือ rice dumpling เนี่ยมีมานานแล้ว ในประวัติศาสตร์เมืองเจียซิงค่ะ สัก 700 กว่าปีก่อนคริสตกาล โดยช่วงแรกๆ แค่นำข้าวเหนียวใส่ไส้ง่ายๆ อาจจะแค่พุทราแห้ง หรือถั่ว ข้าวบาเล่ ธัญพืชต่างๆ ห่อใบไผ่ แล้วนึ่งทานกันเป็นของว่างค่ะ
เทศกาลวันที่ 5 เดือน 5 ที่เราได้ยินกันนั้นคือ Duanwu Festival เทศกาลแข่งเรือมังกร (龙舟赛)
โดยเรื่องจะเกิดในแคว้นฉู่ สักประมาณปี พ.ศ. 268 มีขุนนางตงฉิน ขยัน มากความสามารถ เป็นนักกวี นักปราชญ์ รับราชการอยู่ ชื่อว่า ชีหยวน หรือจูหยวน (Qu Yuan) เขาได้เสนอให้แคว้นฉู่ร่วมมือกับแคว้นฉีเพื่อต้านการรุกรานจากแคว้นฉิน
ระหว่างนั้นเริ่มมีขุนนางกังฉิน คิดไม่ซื่อ ใช้อุบายต่างๆ ร่วมกันให้ร้ายชีหยวน ส่งผลให้พระเจ้าฉู่หวายอ๋องได้เริ่มมีใจโอนเอียง ลดความเชื่อใจและโปรดปรานชีหยวนลง หลังจากนั้นไม่นานพระเจ้าฉู่หวายอ๋องพ่ายแพ้ต่อกลอุบายแคว้นฉินและสวรรคตลง
หลังจากเปลี่ยนอ๋องคนใหม่แล้ว ความทุกข์ของชีหยวนยิ่งทวีขึ้น เพราะถูกใส่ร้าย จนต้องโทษให้เนรเทศออกนอกเมืองไป ชีหยวนแต่งกลอนแสนเศร้า ชื่อ หลีเซา ซึ่งเขียนออกมาแสดงความห่วงใยบ้านเมืองและประชากรค่ะ ตรงนี้บางแหล่งอาจบอกว่าโดนโทษประหารถ่วงน้ำ
แต่ส่วนมากที่ได้ยินในไทยคือเนรเทศแล้วตรอมใจ โดดน้ำแม่น้ำเปาะล่อกัง หรือบางตำราอาจบอกว่าแม่น้ำแยงซีเกียง ในวันที่ 5 เดือนห้า
ชาวบ้านที่รักชีหยวนมาตลอดจึงช่วยกันพายเรือ และโยนข้าวต้มมัดหรือบ๊ะจ่าง เพื่อให้สัตว์น้ำไม่กินร่างของชีหยวนไป
ช่วงนึงในประวัติศาสตร์ วันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปีคนจะแข่งเรือแล้วโยนบ๊ะจ่างลงแม่น้ำกันค่ะ และบางความเชื่ออาจมีการไปไหว้เทพเจ้ามังกรที่ริมน้ำและโยนบ๊ะจ่างลงน้ำกัน แต่ทุกวันนี้ ไม่มีโยนแล้วค่ะ
ประกอบกับเมื่อถึงฤดูร้อน อาหารมักเเน่าเสียง่าย ข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น จึงเป็นที่มาของความเชื่อว่า การไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่างในช่วงฤดูร้อนจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี และก็นำมาทานด้วยกันในครอบครัวทุกปีค่ะ
คนไทยหลายคนอาจคุ้นเคยกับบ๊ะจ่างในไทย ซึ่งจะออกไปทางฮกเกี้ยนหรือไหหลำ ที่ต้องมีเนื้อสัตว์ ไข่เค็ม ถั่วลิสง เห็ดหอม
ถ้าได้ไปเจอบ๊ะจ่างที่ไม่เหมือนกันในจีนอาจจะแปลกใจ สงสัยว่านี่บ๊ะจ่างจริงหรอ มาดูกันสักนิดค่ะ
อันแรกเป็นบ๊ะจ่างทางเหนือของจีนค่ะ ไม่ว่าจะทำที่บ้านนึ่งเอง หรือซื้อแบบแช่แข็งมา จะเจอแบบนี้บ่อยๆ แกะมามีไส้แบบนี้
โดยทั้งแถบซีอาน ปักกิ่ง เทียนจิน ก็จะมีไส้เป็นถั่วเม็ดๆ ถั่วกวน ผลไม้แห้ง พุทราลูกอยู่ตรงกลางบ้าง
ไปส่องมาเหมือนลั่วหยาง กับแถวฉงชิ่งจะนิยมอันเล็กลงหน่อยค่ะ จะคล้ายข้าวเหนียวนึ่งแล้วเขาจะจิ้มน้ำตาล เหมือนบ้านเราบางที่กินกัน
อย่างบ๊ะจ่างเจียซิงก็ยังคงเรียบง่ายมีไส้แค่ไม่กี่ชิ้น ถ้าไปลองก็อย่าหวังมากค่ะ คิดซะว่าชิมข้าวเหนียวย่างหอมๆ ไส้คือของแถมเล็กน้อย
อันนี้ก็พอจะมีไข่เค็มแล้ว แต่นอกจากที่ตัดให้เห็น ที่เหลือที่ไม่เห็นก็ข้าวเหนียวล้วนๆ ค่ะ
เคยเห็นของมาเลย์ อินโด จะมีอันใหญ่ๆ แบนๆ หน่อย ที่แท้น่าจะคล้ายแถวไหหลำชอบห่อทรงนี้กันค่ะ จะนิยมใช้เนื้อสัตว์ เห็ด ไข่เค็มละ
ทิ้งท้ายกันด้วยคำทักทายของเทศกาลนี้ค่ะ เนื่องจากประวัติศาสตร์ของเทศกาลนี้ออกจะเศร้า จึงไม่นิยมใช้คำว่า 端午快乐 duanwu kuaile หรือสุขสันต์วันบ๊ะจ่าง แต่จะใช้เป็นการอวยพรให้สุขภาพแข็งแรงๆ ไม่เจ็บไม่ไข้กันค่ะ
安康 อันคัง แปลว่าสงบสุขร่มเย็น
端午安康 กันนะคะ ทุกคน
เทศกาลบ๊ะจ่างวันนี้ ได้หม่ำบ๊ะจ่างกันหรือยังคะ
แต่เนื่องจากเราแชทไปทักเพื่อนคนนึงว่า วันนี้วันบ๊ะจ่างนะ เธอทานบ๊ะจ่างหรือยัง?
นางพิมพ์ตอบกลับมาถามเราว่า บ๊ะจ่างคืออะไร? เราเลยได้มานั่งพิมพ์กระทู้นี้ค่ะ จะพยายามสรุปประวัติแค่สั้นๆ นะ
จริงๆ ตำนานบ๊ะจ่างมีหลายเวอชั่นค่ะ ใครได้ยินอะไรมาไม่เหมือนกัน ก็..ไม่เป็นไรนะคะ
บางแหล่งจะบอกว่า การทำบ๊ะจ่าง หรือ 粽子 หรือ rice dumpling เนี่ยมีมานานแล้ว ในประวัติศาสตร์เมืองเจียซิงค่ะ สัก 700 กว่าปีก่อนคริสตกาล โดยช่วงแรกๆ แค่นำข้าวเหนียวใส่ไส้ง่ายๆ อาจจะแค่พุทราแห้ง หรือถั่ว ข้าวบาเล่ ธัญพืชต่างๆ ห่อใบไผ่ แล้วนึ่งทานกันเป็นของว่างค่ะ
เทศกาลวันที่ 5 เดือน 5 ที่เราได้ยินกันนั้นคือ Duanwu Festival เทศกาลแข่งเรือมังกร (龙舟赛)
โดยเรื่องจะเกิดในแคว้นฉู่ สักประมาณปี พ.ศ. 268 มีขุนนางตงฉิน ขยัน มากความสามารถ เป็นนักกวี นักปราชญ์ รับราชการอยู่ ชื่อว่า ชีหยวน หรือจูหยวน (Qu Yuan) เขาได้เสนอให้แคว้นฉู่ร่วมมือกับแคว้นฉีเพื่อต้านการรุกรานจากแคว้นฉิน
ระหว่างนั้นเริ่มมีขุนนางกังฉิน คิดไม่ซื่อ ใช้อุบายต่างๆ ร่วมกันให้ร้ายชีหยวน ส่งผลให้พระเจ้าฉู่หวายอ๋องได้เริ่มมีใจโอนเอียง ลดความเชื่อใจและโปรดปรานชีหยวนลง หลังจากนั้นไม่นานพระเจ้าฉู่หวายอ๋องพ่ายแพ้ต่อกลอุบายแคว้นฉินและสวรรคตลง
หลังจากเปลี่ยนอ๋องคนใหม่แล้ว ความทุกข์ของชีหยวนยิ่งทวีขึ้น เพราะถูกใส่ร้าย จนต้องโทษให้เนรเทศออกนอกเมืองไป ชีหยวนแต่งกลอนแสนเศร้า ชื่อ หลีเซา ซึ่งเขียนออกมาแสดงความห่วงใยบ้านเมืองและประชากรค่ะ ตรงนี้บางแหล่งอาจบอกว่าโดนโทษประหารถ่วงน้ำ
แต่ส่วนมากที่ได้ยินในไทยคือเนรเทศแล้วตรอมใจ โดดน้ำแม่น้ำเปาะล่อกัง หรือบางตำราอาจบอกว่าแม่น้ำแยงซีเกียง ในวันที่ 5 เดือนห้า
ชาวบ้านที่รักชีหยวนมาตลอดจึงช่วยกันพายเรือ และโยนข้าวต้มมัดหรือบ๊ะจ่าง เพื่อให้สัตว์น้ำไม่กินร่างของชีหยวนไป
ช่วงนึงในประวัติศาสตร์ วันที่ 5 เดือน 5 ของทุกปีคนจะแข่งเรือแล้วโยนบ๊ะจ่างลงแม่น้ำกันค่ะ และบางความเชื่ออาจมีการไปไหว้เทพเจ้ามังกรที่ริมน้ำและโยนบ๊ะจ่างลงน้ำกัน แต่ทุกวันนี้ ไม่มีโยนแล้วค่ะ
ประกอบกับเมื่อถึงฤดูร้อน อาหารมักเเน่าเสียง่าย ข้าวเหนียวสามารถเก็บไว้ได้นานมากขึ้น จึงเป็นที่มาของความเชื่อว่า การไหว้ด้วยขนมบ๊ะจ่างในช่วงฤดูร้อนจะทำให้มีความเป็นอยู่ดี และก็นำมาทานด้วยกันในครอบครัวทุกปีค่ะ
คนไทยหลายคนอาจคุ้นเคยกับบ๊ะจ่างในไทย ซึ่งจะออกไปทางฮกเกี้ยนหรือไหหลำ ที่ต้องมีเนื้อสัตว์ ไข่เค็ม ถั่วลิสง เห็ดหอม
ถ้าได้ไปเจอบ๊ะจ่างที่ไม่เหมือนกันในจีนอาจจะแปลกใจ สงสัยว่านี่บ๊ะจ่างจริงหรอ มาดูกันสักนิดค่ะ
อันแรกเป็นบ๊ะจ่างทางเหนือของจีนค่ะ ไม่ว่าจะทำที่บ้านนึ่งเอง หรือซื้อแบบแช่แข็งมา จะเจอแบบนี้บ่อยๆ แกะมามีไส้แบบนี้
โดยทั้งแถบซีอาน ปักกิ่ง เทียนจิน ก็จะมีไส้เป็นถั่วเม็ดๆ ถั่วกวน ผลไม้แห้ง พุทราลูกอยู่ตรงกลางบ้าง
ไปส่องมาเหมือนลั่วหยาง กับแถวฉงชิ่งจะนิยมอันเล็กลงหน่อยค่ะ จะคล้ายข้าวเหนียวนึ่งแล้วเขาจะจิ้มน้ำตาล เหมือนบ้านเราบางที่กินกัน
อย่างบ๊ะจ่างเจียซิงก็ยังคงเรียบง่ายมีไส้แค่ไม่กี่ชิ้น ถ้าไปลองก็อย่าหวังมากค่ะ คิดซะว่าชิมข้าวเหนียวย่างหอมๆ ไส้คือของแถมเล็กน้อย
อันนี้ก็พอจะมีไข่เค็มแล้ว แต่นอกจากที่ตัดให้เห็น ที่เหลือที่ไม่เห็นก็ข้าวเหนียวล้วนๆ ค่ะ
เคยเห็นของมาเลย์ อินโด จะมีอันใหญ่ๆ แบนๆ หน่อย ที่แท้น่าจะคล้ายแถวไหหลำชอบห่อทรงนี้กันค่ะ จะนิยมใช้เนื้อสัตว์ เห็ด ไข่เค็มละ
ทิ้งท้ายกันด้วยคำทักทายของเทศกาลนี้ค่ะ เนื่องจากประวัติศาสตร์ของเทศกาลนี้ออกจะเศร้า จึงไม่นิยมใช้คำว่า 端午快乐 duanwu kuaile หรือสุขสันต์วันบ๊ะจ่าง แต่จะใช้เป็นการอวยพรให้สุขภาพแข็งแรงๆ ไม่เจ็บไม่ไข้กันค่ะ
14 มิถุนายน เวลา 15:41 น.