เชพน้องที่โดนแม่ประนอมสอนคำว่าแซบ เพราะน้องออกเสียงถูกต้องตามต้นฉบับคนอีสานจริงๆ
ปล.ยืนยันตัวตนพันทิบยังไง
เห็นด้วยตามความเห็น6 เลือกคำตอบไปเลือก7
ราชบัณฑิตยสถาน ไม่ได้มีหน้าที่เพียงตั้งกฎเกณฑ์เท่านั้น แต่มีหน้าที่บันทึกการใช้ภาษาของสังคมในยุคสมัยนั้นๆ ไว้ด้วย หลายคำก็เปลี่ยนไปทั้งการเขียน เสียง และความหมายที่กว้างแคบแตกต่างกันไป รวมถึงที่ไปที่มาของคำนั้น ๆ ด้วย
สำหรับคนอีสาน แซบ แปลว่า อร่อย ใช้กับอาหาร
ส่วนคำว่า แซ่บ เป็นคำที่ภาคกลางยืมมาใช้ในความหมายที่ดัดแปลงไปเล็กน้อย คือ เผ็ดร้อน รสจัดจ้านถึงใจ และกลายเป็นใช้กับอย่างอื่นนอกจากอาหารด้วย เช่น รูปร่างของคน
ถือว่าพันทิปก็ทำหน้าที่บันทึกที่มาที่ไปและความหมายของคำว่า แซ่บ ละกัน
แต่ว่าจะให้บอกว่า แซบ มันผิดเหรอ ก็ไม่น่าจะใช่
10 สิงหาคม เวลา 16:22 น.
ภาษาพูดในสำเนียงแต้จิ๋ว จะมีการผันเสียงเมื่อเป็นคำตั้งแต่สองพยางค์ขคึ้นไป
ก็คือถ้าเป็นคำเดียวโดดจะเป็นเสียงหนึ่งแต่ถ้าเอาไปปะสมเป็นสองพยางค์คำๆนั้นจะเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ไปอีกเสียง เช่น
คำว่า “ห้อ” 好 แปลว่าดี เวลาเอาไปปะสมกับคำอื่น เช่น “หอเจี๊ยะ”
คำว่า ห้อ (好) จะเปลี่ยนเสียงเป็น”หอ”ทันที
“แซบ”หรือ “แซ่บ” ในภาษาอีสานก็คงใช้หลักการเดียวกัน
อย่างเช่น ไปถามใครว่าอร่อยมั้ย ก็คงจะใช้ว่า…..”แซบบ่อ” ผู้ถูกถามก็คงตอบว่า แซ่บ
11 สิงหาคม เวลา 10:01 น.
ควรจะคอมเม้นเรื่องที่เค้ากำลังพูดคุยกัน ซักหน่อย
แล้วอาจจะห้อยท้ายตาม แบบดูไม่ห้วน ดูเป็นมิตร
ไม่ใช่มาถึง จั่วหัวมาเลยเลย หล่อนพิมพ์ผิดจ่ะ ชั้นมาเพื่อจับผิด แล้วสอน
สิ่งที่เค้าพูดคุยกันใน topic ก็ไม่ได้ตอบอะไร แค่มาสอนแล้วไป
เรามองคนประเภทนี้ว่าไม่มีมารยาทอ่ะค่ะ ในพันทิปก็เจอบ่อย
ตั้งกระทู้ถามเรื่องบางเรื่อง เจอคอมเม้นเข้ามาสอน พิมพ์ผิดโน่นนี่
บางทีตกหล่นไปมันก็ไม่ได้เป๊ะอะไรขนาดนั้น
แล้วถามว่าได้คอมเม้นตอบเรื่องที่ถาม หรือเปล่า ก็ไม่
ส่วนตัวเลยนะ มองคนแบบนี้ว่า รับบทนางสอน นางอยากได้ซีน
10 สิงหาคม เวลา 18:16 น.
(หรือจะบอกว่าไม่ได้อ่านตามตัวสะกดก็ได้)
ได้ (ทำได้) ออกเสียงยาวเหมือน ด้าย
เทียบเสียง ใบ้ บ้าย
น้ำ ออกเสียงยาวเหมือน น้าม
เทียบเสียง ลำ ลาม
เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะออกเสียงยังไงก็ตาม ถ้าถือว่า แซ่บ สะกดถูก ก็ต้องบอกว่า แซบ สะกดผิดครับ
10 สิงหาคม เวลา 16:41 น.
เคยเถียงๆกันในกระทู้เก่าๆแล้วครับ เรื่อง แซบ แซ่บ เรื่อง สำเนียงภาคกลาง สำเนียงอิสาน
พอมีเหตุจากแม่ประนอมก็มีคนเข้าไปตอบอยู่ครับ
เอาเถอะครับ ถ้าจะยึดหลักการเขียน การพิมพ์ ที่ถูกต้อง ก็ต้องยึดตาม พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
( สมัยก่อน ผมเรียน แซบ ก็ไม่มี ไม้เอก เหมือนกันครับ เพิ่งมีไม้เอกตอนปี 2554 )
10 สิงหาคม เวลา 17:09 น.
ควรจะคอมเม้นเรื่องที่เค้ากำลังพูดคุยกัน ซักหน่อย
แล้วอาจจะห้อยท้ายตาม แบบดูไม่ห้วน ดูเป็นมิตร
ไม่ใช่มาถึง จั่วหัวมาเลยเลย หล่อนพิมพ์ผิดจ่ะ ชั้นมาเพื่อจับผิด แล้วสอน
สิ่งที่เค้าพูดคุยกันใน topic ก็ไม่ได้ตอบอะไร แค่มาสอนแล้วไป
เรามองคนประเภทนี้ว่าไม่มีมารยาทอ่ะค่ะ ในพันทิปก็เจอบ่อย
ตั้งกระทู้ถามเรื่องบางเรื่อง เจอคอมเม้นเข้ามาสอน พิมพ์ผิดโน่นนี่
บางทีตกหล่นไปมันก็ไม่ได้เป๊ะอะไรขนาดนั้น
แล้วถามว่าได้คอมเม้นตอบเรื่องที่ถาม หรือเปล่า ก็ไม่
ส่วนตัวเลยนะ มองคนแบบนี้ว่า รับบทนางสอน นางอยากได้ซีน
10 สิงหาคม เวลา 18:16 น.
10 สิงหาคม เวลา 23:20 น.
11 สิงหาคม เวลา 10:33 น.
เคยถามกลับว่าแล้วรู้ในสิ่งที่เค้าตั้งถามมั๊ย?
เงียบเบย…
หรือไม่ก็…
ไปหาใน google สิ…
11 สิงหาคม เวลา 10:51 น.
แต่คิดว่าตัวเราเองก็คงเคยทำพฤติกรรมอย่างที่คุณตำหนิไว้
ต่อไปจะระวังมากขึ้น
ขอบคุณที่เตือน
11 สิงหาคม เวลา 10:52 น.
10 สิงหาคม เวลา 21:44 น.
การแทะโลมหญิงสาว การบรรยายบุคลิกของคน ก็มีคำว่าแซบหรือแซ่บ
แต่ในที่นี้จะพูดเพียงแค่เรื่องอาหาร
แซบ คำดั้งเดิมภาษาถิ่นของคนอิสานรวมไปถึงคนลาว แปลว่าอร่อย คนอิสานและคนลาวใช้กับทุกอาหาร
แซ่บ เป็นศัพท์ประยุกต์เกิดมาทีหลัง แปลว่าอร่อยถึงพริกถึงขิงน้ำหูน้ำตาไหล ใช้กับอาหารประเภทรสจัดจ้าน
คนอิสานพูดว่า กินข้าวแซบหลาย กินข้าวผัดแซบหลาย ทำอาหารแซบหลาย เขาใช้แซบกับอาหารทุกชนิดที่กินแล้วอร่อย
คนภาคอื่นพูดคำว่าแซบเพี้ยนเป็นแซ่บ เพราะออกเสียงเหมือนคนอิสานไม่ได้
อาหารอิสานรสจัดจ้านเผ็ดเค็มเป็นส่วนมาก แต่อาหารจืดก็มีและคนอิสานก็กินอาหารของภาคอื่นด้วย เขากินอะไรอร่อยเขาบอกแซบ เขากินทุเรียนอร่อยเขาบอกแซบ คนภาคอื่นกินทุเรียนอร่อยพูดว่าแซ่บไหม คนภาคอื่นกินต้มจืดอร่อยพูดว่าแซ่บไหม เขาไม่พูดกัน เพราะเขาไม่นิยมใช้คำว่าแซ่บกับทุเรียนและต้มจืด ส่วนคนอิสานเขาจะใช้คำว่าแซบกับทุเรียนและต้มจืดด้วย เห็นไหมว่ามันต่างกัน
บางคำใช้ตามสมัยนิยมและความเหมาะสม คำว่า เป็น โบราณใช้เปน ปัจจุบันใช้เป็น อย่างนี้เปลี่ยนได้ เพราะความหมายเดียวกัน แต่คำว่าแซ่บ และคำว่า แซบ ความหมายมันไม่เหมือนกันตามที่อธิบายไว้ข้างบน ราชบัณฑิตยสภาควรบันทึกไว้ทั้งสองคำ ไม่ใช่ใช้คำเดียวมาเหมารวมความหมายเดียวกัน เพราะมันไม่ถูกต้องตามการใช้งาน
10 สิงหาคม เวลา 23:38 น.
สำหรับคนอีสาน แซบ แปลว่า อร่อย ใช้กับอาหาร
ส่วนคำว่า แซ่บ เป็นคำที่ภาคกลางยืมมาใช้ในความหมายที่ดัดแปลงไปเล็กน้อย คือ เผ็ดร้อน รสจัดจ้านถึงใจ และกลายเป็นใช้กับอย่างอื่นนอกจากอาหารด้วย เช่น รูปร่างของคน
ถือว่าพันทิปก็ทำหน้าที่บันทึกที่มาที่ไปและความหมายของคำว่า แซ่บ ละกัน
แต่ว่าจะให้บอกว่า แซบ มันผิดเหรอ ก็ไม่น่าจะใช่
11 สิงหาคม เวลา 02:42 น.
ภาษาพูดในสำเนียงแต้จิ๋ว จะมีการผันเสียงเมื่อเป็นคำตั้งแต่สองพยางค์ขคึ้นไป
ก็คือถ้าเป็นคำเดียวโดดจะเป็นเสียงหนึ่งแต่ถ้าเอาไปปะสมเป็นสองพยางค์คำๆนั้นจะเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ไปอีกเสียง เช่น
คำว่า “ห้อ” 好 แปลว่าดี เวลาเอาไปปะสมกับคำอื่น เช่น “หอเจี๊ยะ”
คำว่า ห้อ (好) จะเปลี่ยนเสียงเป็น”หอ”ทันที
“แซบ”หรือ “แซ่บ” ในภาษาอีสานก็คงใช้หลักการเดียวกัน
อย่างเช่น ไปถามใครว่าอร่อยมั้ย ก็คงจะใช้ว่า…..”แซบบ่อ” ผู้ถูกถามก็คงตอบว่า แซ่บ
11 สิงหาคม เวลา 10:01 น.
11 สิงหาคม เวลา 10:49 น.
แต่ถ้าเป็น ‘ภาษาเขียน’ ✅ ก็อีกเรื่อง
ดราม่านี้อะไรก็ไม่รู้ ไม่แซ่บเลย
11 สิงหาคม เวลา 11:15 น.
แต่ไม่ชอบการตอบของแม่ประนอมเหมือนกันค่ะ แคปมาให้ดูก็จบแล้ว
ไม่เห็นต้องมาวิตามินบี 12 อะไรเลย คนบอกเค้าก็ไม่ได้แรงอะไร แต่ทำแบบนี้แล้วเป็นกระแสคนชอบอีก ก็ได้แต่ปลงกับกระแสสังคม
11 สิงหาคม เวลา 11:53 น.
เอาการสะกดแบบอีสานไปสอนคนอื่นได้?
11 สิงหาคม เวลา 12:17 น.
12 สิงหาคม เวลา 06:57 น.
12 สิงหาคม เวลา 12:24 น.
ถ้าอิงภาษาพูดหลายคำในคำเมืองต้องใช้อักขระล้านนาเท่านั้นเลยจึงจะเขียนออกเสียงตรง ก่ะ ข่ะ ค่ะ ค่ะ ง่ะ(ตำราล้านนา)
11 สิงหาคม เวลา 12:56 น.
11 สิงหาคม เวลา 13:57 น.
11 สิงหาคม เวลา 16:37 น.
แต่การตอบแบบ แม่ประนอม ดูไม่ดีเท่าไหร่ ถ้าตอ้งการเรียกยอดไลค์ ก็ถือว่าได้ผล
11 สิงหาคม เวลา 17:55 น.