อาหารที่ต้องระวังสำหรับผู้ป่วยโควิด-19
.
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงผู้ที่เพิ่งหายจากโควิด-19 การรักษาตัวเองนอกจากพักผ่อนให้เพียงพอ ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เรื่องของอาหารถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นอาหารที่ต้องระวัง หรือใส่ใจเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 มีอะไรบ้าง
.
ทำความเข้าใจอาการของผู้ป่วยโควิด-19
เนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูก คอ หลอดลม และปอด ซึ่งอาการแสดงที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่ จะแบ่งออกเป็น กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีเสมหะ หอบเหนื่อย
กลุ่มที่ 2 มีอาการผะอืดผะอม อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ มีลมในกระเพาะ หรือถ่ายเหลว
กลุ่มที่ 3 มีอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย
.
เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาตามอาการป่วยของตนเอง และควรเลือกกินอาหารให้เหมาะสม โดยควรเลือกอาหารที่
-ไม่ทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง
-ต้องเป็นอาหารที่ไม่เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ
-ต้องไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
.
กลุ่มอาหารที่อาจทำให้อาการแย่ลง
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอ คัดจมูก คันคอ มีเสมหะ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง ดังนี้
-เครื่องดื่มแช่เย็น เครื่องดื่มปั่นต่าง ๆ ที่มีรสหวาน น้ำอัดลม เบียร์ แอลกอฮอล์ ชานมไขมุก ชา กาแฟใส่นม เครื่องดื่มที่มีน้ำเชื่อม น้ำตาล นมข้นหวาน เนื่องจากการทานเครื่องดื่มที่มีความเย็นและมีความหวาน จะทำให้อาการที่เป็นอยู่เป็นมากขึ้น เช่น มีน้ำมูก คันคอ ไอ หรือมีเสมหะมากขึ้น
-อาหารรสจัด อาหารมันจัด หวานจัด เผ็ด มีเครื่องเทศ เครื่องแกง
-อาหารที่มีน้ำมันเยอะ ของทอดต่าง ๆ อาหารฟาสต์ฟู้ด
-อาหารกินเล่น หรือขนมคบเคี้ยว ขนมถุงต่าง ๆ ขนมที่มีชีส นม หรือเนย เช่น ขนมปังอบเนย
.
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการย่อยยาก ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง หรือผะอืดผะอมมากขึ้น ดังนี้
-เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เป็นต้น
-เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ
-อาหารปิ้งย่าง
-มะพร้าว
.
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง
-หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด
-งดอาหารประเภทนม โยเกิร์ต ชีส ผลไม้สด
-หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารประเภททอด
-หากไม่สามารถรับประทานอาหารในปริมาณต่อมื้อตามปกติได้หมด ให้แบ่งรับประทานอาหารออกเป็นหลายมื้อในช่วงวัน
.
กลุ่มอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ
-อาหารหมักดอง ปูเค็ม ปลาร้า
-อาหารปิ้งย่าง
-เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ
-อาหารที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก
-อาหารที่ปรุงไม่สะอาด ปนเปื้อนฝุ่น มลภาวะต่าง ๆ
.
กลุ่มอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน
-ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์ ไม่ควรกินอาหารที่กระตุ้นให้เกิดยูริคในร่างกายสูง เช่น ยอดผัก เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก
-ทานอาหารไม่สุก หรือสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารค้างคืน หรืออาหารที่ต้องอุ่นไมโครเวฟ อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษได้
-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มชูกำลังต่าง ๆ
.
อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโควิด-19
-เน้นทานอาหารปริมาณน้อย แต่ทานบ่อย ๆ
-ทานอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก
-อาหารย่อยง่าย เช่น ปลา
-ทานอาหารอุ่น ๆ
-ดื่มเครื่องดื่ม น้ำอุณหภูมิห้อง ไม่แช่เย็น หรือน้ำอุ่น น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำขิง
.
นอกจากนี้อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้แก่
-อาหารที่ต้องสัมผัสจากมือ อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ใช้ภาชนะซ้ำ ๆ เช่น หั่นบนเขียงซ้ำ ๆ ใช้กะละมังผสมซ้ำ ๆ เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวหลอด ปอเปี๊ยะสด ส้มตำ ยำต่างๆ ก๋วยเตี๋ยวลุยสวย สลัดผัก บุฟเฟ่ต์ ผลไม้หั่นชิ้น
.
เพราะฉะนั้นควรกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกาย และที่สำคัญควรงดอาหารสด อาหารกึ่งดิบกึ่งสุก และอาหารที่ขายตามท้องตลาดที่แม่ค้าพ่อค้าไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือถุงมือป้องกัน รวมถึงเมื่อสัมผัสภาชนะห่อหุ้มอาหารที่มาจากนอกบ้าน ควรล้างมืออย่างถูกต้อง ด้วยน้ำ สบู่หรือแอลกอฮอล์ เจลทุกครั้ง
.
.
รพ.วิชัยเวชฯ หนองแขมได้ในบทความต่อไปครับ
19 สิงหาคม เวลา 09:53 น.
19 สิงหาคม เวลา 14:23 น.