สงสัยเรื่องการหุงข้าวเช็ดน้ำ
คือผมสงสัยว่า ทำไมถึงหุงข้าวเเบบนี้ ทำไมต้องใส่น้ำเผื่อเทออก ทำไมไม่ใส่กะให้น้ำพอดีตอนข้าวสุกไปเลยครับ
สมาชิกหมายเลข 1065790
6 สิงหาคม เวลา 10:26 น.
6 สิงหาคม เวลา 10:26 น.
แหล่งที่มา pantip.com
6 สิงหาคม เวลา 10:29 น.
ก็ใส่น้ำเผื่อไว้เลย พอดูว่าข้าวบานสุกดีแล้ว น้ำที่เหลือก็ต้องเทออก ไม่งั้นเป็นข้าวต้ม (แถมได้น้ำข้าวไว้ซดอีกต่างหาก)
อ้อ เหตุผลอีกอย่างคือ หม้อแต่ละบ้านใหญ่เล็กไม่เท่ากัน คนที่หุงถ้าไม่ชินกับหม้อข้าวนั้นๆจะกะขนาดน้ำไม่ได้ เลยใส่เผื่อดีกว่า
6 สิงหาคม เวลา 10:31 น.
6 สิงหาคม เวลา 10:34 น.
สมัยก่อนมีแต่ หวด ไว้นึ่งข้าวเหนียว ไม่มีลังถึงที่ทำด้วยอลูมิเนียม หรือเข่งทำด้วยไม้สานแบบจีนนึ่งอาหารบนไอน้ำ
ต่อมาจึงมีถ้วยนึ่งข้าวในลังถึง ก่อนมีหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่ใส่ข้าวใส่น้ำกะให้พอดีในหม้อภายใน มีน้ำหล่ออยู่รอบชั้นนอกอีกที น้ำก็จะเดือดข้าวก็สุกได้(หม้อนี้ใช้เมื่อปี 1972)ก่อนจะมีแป้นไฟฟ้าให้ความร้อนก้นหม้อแบบปัจจุบัน
6 สิงหาคม เวลา 10:46 น.
เมื่อก่อนอาหารอุดมสมบูรณ์ เช่นปลาช่อน ปลาดุกนา กบ เอามาแกง เอามาปิ้ง ปลามีไขมัน
……
ข้าวเป็นข้าวจ้าวดินอุดม พันธุ์ท้องถิ่นข้าวจะมียางเมื่อนำมาหุงมันจะนิ่ม กลิ่นหอมเกินไป
เมื่อนำไปกินกับ กับข้าวมันจะออกรสที่ไม่ถูกกัน
……
ดังนั้นการหุงข้าวจึงต้องเช็ดน้ำข้าวเพื่อให้ได้ข้าวสวย แข็ง แห้ง ที่นำมากินกับๆข้าวแล้วได้รสชาติพอดี คนสมัยก่อนเขาชอบแบบนี้
และไม่ชอบข้าวหอมมะลิสมัยใหม่เพราะมันนิ่ม หอม เขากินไม่เป็น
6 สิงหาคม เวลา 10:55 น.
ป.ล. ตอนไปเที่ยวต่างประเทศมีโอกาสสังเกตวิธีหุงข้าวของคนต่างชาติ ไม่มีใครหุงเช็ดน้ำเลย เขาแค่ราไฟ หมั่นคนข้าว จนน้ำงวดและข้าวสุกดี
6 สิงหาคม เวลา 13:46 น.
☆ เอาถุงข้าวสาร (เหมือนถุงกรองกาแฟ ดิป)ลงจุ่มต้มในน้ำเดือดจนกว่าจะสุกได้ที่ ก็ดึงถุงขึ้นมาค่ะ เหมือนไม่ต้องเทน้ำทิ้งเพราะข้าวสารไม่ได้อยู่ในหม้อ เอาถุงหนีน้ำ ไม่เทน้ำหนีข้าวค่ะ
6 สิงหาคม เวลา 14:12 น.
อ่านไม่ค่อยเข้าใจ
6 สิงหาคม เวลา 14:27 น.
ผลลัพธ์น่าทึ่ง ก้นไหม้ กลางสุก ข้างบนดิบ
8 สิงหาคม เวลา 14:45 น.
ก็เป็นความคิดที่ดี เพื่อหลีกเลี่ยง การหุงข้าว ออกมาเป็น ที่คุณยาย เรียกว่า ข้าวสามกษัตริย์ ( ดิบ แฉะ ไหม้ )
6 สิงหาคม เวลา 14:21 น.
6 สิงหาคม เวลา 14:46 น.
กลางแฉะ
ก้นหม้อไหม้
6 สิงหาคม เวลา 22:53 น.
แต่แปลกตอนเที่ยวอุทยาน หุงข้าวหม้อสนามไม่เช็ดน้ำ กับสวยดี นุ่มกินได้
7 สิงหาคม เวลา 08:07 น.
6 สิงหาคม เวลา 15:11 น.
6 สิงหาคม เวลา 15:41 น.
แต่พอโตกันหมดก็ไม่เช็ดน้ำนะคะ คนที่กะน้ำได้ว่าใช้เท่าไหร่พอดี ใช้ไฟเท่าไหร่พอดีก็ไม่ต้องเทน้ำข้าวทิ้งเลยค่ะ แต่มันต้องรู้จักข้าวชนิดนั้นว่าแห้งแค่ไหน อมน้ำเท่าไหร่ค่ะ
6 สิงหาคม เวลา 15:48 น.
6 สิงหาคม เวลา 20:44 น.
6 สิงหาคม เวลา 21:29 น.
6 สิงหาคม เวลา 21:34 น.
ขอบคุณทุกความเห็นและคำถามจาก จขกท ด้วยค่ะ
สำหรับตนเอง ถ้าตัดเรื่องหม้อหุงไฟฟ้าออกไป ก็หุงได้ทั้งแบบเช็ดน้ำ และไม่เช็ดน้ำค่ะ
ส่วนตัวแปรในการตัดสินใจคือ
– ชนิดเมล็ดข้าวสารที่หุง ถ้าแข็งมากแบบข้าวกล้อง ต้องหุงเช็ดน้ำ ใส่น้ำมาก ๆ ไว้เลย แล้วสำรวจดูว่าเมล็ดข้าวบานดีรึยัง ค่อยรินน้ำข้าวเอาไว้กิน แล้วดงให้ข้าวระอุทั่วถึงทั้งหม้อ
– ความพร้อมของตัวเราเอง ว่าสามารถยืนเฝ้าหน้าเตาได้นานแค่ไหน เพราะการหุงแบบเช็ดน้ำที่ใส่น้ำไว้มาก ๆ เพื่อรินออกทีหลัง เราปล่อยทิ้งได้นาน จึงใช้เวลาไปทำงานอื่นได้ ส่วนหุงแบบ “ไม่” เช็ดน้ำ ถ้าเป็นข้าวสารขาวธรรมดาที่สุกง่าย จะใช้เวลาน้อยกว่า และต้องราไฟให้อ่อนลงเมื่อข้าวสุกและแห้งจวนได้ที่ กับต้องดงหม้อข้าว (จับหม้อพลิกไปพลิกมาเพื่ออังไฟบนเตา)
7 สิงหาคม เวลา 11:17 น.
คุณสามารถหุงโดยไม่เช็ดน้ำได้เก่งมากๆ
8 สิงหาคม เวลา 22:07 น.
ที่เล่ามานั้นคือการใช้เตาถ่าน หรือฟืนค่ะ
เพราะอยู่บ้านนอกค่ะ slow life
9 สิงหาคม เวลา 07:57 น.
เพราะถ้าน้ำไม่พอ มันจะติดก้นหม้อและไหม้เหม็น ง่ายมากๆ ค่ะ
ฉะนั้นภูมิปัญญาชาวบ้านจึงสอนให้ พอข้าวเริ่มสุกทั้งเม็ดแล้วก็ต้องรีบเทน้ำเลย ไม่งั้นข้าวจะเละ จึงต้องใส่น้ำให้เกินแล้วเทออก จังหวะเทออกความร้อนที่อยู่ในหม้อก็ระเหยออกเป็นไอน้ำค่อนข้างเยอะด้วยค่ะ ยิ่งหม้อใหญ่ ยิ่งต้องเผื่อน้ำไว้เยอะๆ เลย
13 สิงหาคม เวลา 02:04 น.