ร้านอาหารไทยในอเมริกา
อยากถามว่าใครที่ทำร้านอาหารอยู่อเมริกาขอคำแนะนำหน่อยนะคะเพราะว่ากำลังจะทำร้านอาหารก็เลยอยากถามคนที่มีประสบการณ์ดูก่อนถ้าใครทำอยู่ทักหาหน่อยนะคะ
ขอบคุณค่ะ!
ขอบคุณค่ะ!
สมาชิกหมายเลข 6870920
28 กุมภาพันธ์ เวลา 23:04 น.
28 กุมภาพันธ์ เวลา 23:04 น.
แหล่งที่มา pantip.com
1 มีนาคม เวลา 00:34 น.
1 มีนาคม เวลา 00:39 น.
1 มีนาคม เวลา 01:05 น.
การเปิดร้านอาหาร และการลงทุน
การเปิดร้านอาหารที่อเมริกา ไม่ได้ ง่าย และไม่ได้ ยาก จนเกินไปนัก
เพราะกฏ และระเบียบที่วางไว้ชัดเจน จะแบ่งง่ายๆ เป็นขั้นตอนดังนี้
1. การหาเงินทุน
การหาเงินทุนนั้น ส่วนใหญ่เจ้าของร้านอาหารไทย จะมีเงิน แล้วถึงเปิด
น้อยราย ที่จะเข้าไปกู้ ธนาคาร เพราะค่อนข้างยุ่งยาก เพราะธุรกิจร้านอาหาร
จะมีความเสี่ยงสูง
การยืมเพื่อน หรือคนรู้จัก ก็เป็นอีกหนทางหนึ่ง อาจจะเข้าหุ้นกัน หรือไม่
เพราะบางคนมีเงิน แต่ไม่มีใบ (ใบ = Work Visa/Green Card/Work Permit/Citizenship)
และอยากลงทุนทำร้าน จึงต้องหาคนมีใบ มาเข้าหุ้น
การเช่าอุปกรณ์ เป็นอีกทางออกหนึ่ง ที่เจ้าของร้านสามารถทำได้ เพื่อลดต้นทุน
โดยจะมีบริษัทที่ให้เช่า เช่น เครื่องล้างจาน ราคา $7000+ แต่เช่าเดือนละ
$150+ เท่านั้น การเช่าอุปกรณ์ เป็นการลดความเสี่ยง คือ เจ๊ง แล้ว ไม่เจ็บมาก
และที่สำคัญ ค่าแรงในการซ่อมอุปกรณ์ สูงมาก อุปกรณ์ที่เช่า ส่วนใหญ่ จะมีคนมาคอย
ดูแลให้เป็นประจำ
การคำนวณต้นทุนอย่างง่ายๆ คือ ใช้จำนวนที่นั่ง คูณด้วย $1,500 ถึง $3,000
เช่น ร้านขนาด 100 ที่นั่ง ลงทุน $150,000 ถึง $300,000
2. การหาร้าน ทำเล เพื่อเปิด
จะมีการ เช่าที่ และ ซื้อที่ ส่วนใหญ่ ควรเช่า ไม่ควรซื้อ เพราะ เจ๊งแล้วไม่เจ็บ
การเช่า จะแบ่งเป็นสามแบบ
2.1 เช่าห้องเปล่า แล้วทำใหม่หมด
คือการมองหาห้องเปล่าๆ ที่ไม่เคยเป็นร้านอาหาร หรือเป็นเพียงร้านเล็กๆ ที่ไม่มีสิ่งต่อไปนี้
2.1.1 เครื่องดูดควันไฟ
2.1.2 เตา Open Burner (เตาแก๊สธรรมดา)
2.1.3 เตา Wok Burner (เตาฟู่สำหรับกะทะจีน)
2.1.4 โต๊ะ เก้าอี้
2.1.5 ตู้เย็น และตู้แช่แข็ง
2.1.6 เครื่องล้างจาน และ อ่างล้างจาน 3 Compartments Sink
2.1.7 บ่อดักไขมัน
ทางเจ้าของร้าน ต้องลงทุน ทำใหม่ ซึ่งได้ของใหม่ แต่ใช้ทุนสูงมาก
ข้อดีคือ จะเลือกทำเลที่ไหนก็ได้ และไม่ต้องจ่ายค่าเซ้งร้าน
ข้อเสียคือ ต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานของรัฐ (Inspection)
ก่อนเปิดกิจการและเข้มงวดมาก
2.2 การเช่าห้องที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวครบ หรือเกือบครบ และยังดำเนินกิจการอยู่
หรือพึ่งหยุดดำเนินกิจการไม่นาน
เจ้าของร้าน ต้องเสียเงิน เพื่อเซ้งร้าน หรือเรียกว่า ซื้อร้าน (แต่ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในห้องที่เช่า)
ส่วนใหญ่ จะได้กรรมสิทธิ์ ในอุปกรณ์เท่านั้น จะใช้เงินทุนต่ำกว่ามาก การเลือกทำเลจำกัด
เพราะร้านคงต้อง ขายไม่ดี ถึงปล่อยให้
ร้านแบบนี้ อาจไม่ต้อง Inspec. หรือมีการ Inspec. แต่ไม่เข้มงวด เนื่องด้วย
Grandfather Clause Law คือ ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามกฏใหม่ หากร้านสร้าง
และเปิดมาก่อนที่จะออกกฏนั้นๆ
เช่น ตั้งแต่ปี 2011 กำหนดให้ ร้านตั้งแต่ 100 ที่นั่งต้องติด Sprinkler ดับเพลิง
ร้านที่ทำใหม่หมด ต้องติด แต่ถ้าร้านเปิดมาก่อน หรือปิดไปไม่นาน ไม่ต้องติดก็ได้
ส่วนใหญ่ เจ้าของร้าน จะทำแบบนี้กันครับ เพราะไม่ต้องใช้ทุนสูงมาก
บางที $20,000 ก็เป็นเจ้าของร้านกันได้แล้ว
2.3 การเช่าห้อง ที่มีอุปกรณ์ข้างต้น เกือบครบ แต่ปิดกิจการไปนาน
จำเป็นต้อง Inspec. ใหม่ทั้งหมด หากไม่ถูกต้องตาม กฏใหม่ ก็ต้องเปลี่ยนด้วย
เช่น กำหนดให้ เครื่องดูดควันใหม่ ต้องไม่มีสายไฟ หรือระบบไฟฟ้าภายในเครื่องดูดควัน
เครื่องดูดควันรุ่นเก่าบางรุ่น มีการเดินสายไฟไว้ภายใน จำต้องเปลี่ยนใหม่
ว่าด้วยการ ซื้อ ตึก หรือห้อง เพื่อเปิดร้านอาหาร
ตรงที่เราจะซื้อต้องมั่นใจว่า จะไปรอด และเงินไม่จม
เพราะถ้าร้านเจ๊ง ตรงนี้จะตามหลอกหลอนไป ไม่จบไม่สิ้น
การซื้ออส้งหาริมทรัพย์ ควรดูให้ดี ว่าที่ดิน ติด DEED หรือเปล่า
(ภาระจำยอม หรือข้อกำหนดในการใช้สอย) ดอกเบี้ยในการผ่อน
จะอยู่ที่ 3% – 5% แล้วแต่ว่า จะมีเครดิตดีแค่ไหน คิดง่ายๆว่า
– ทุกๆเงินยืม $100,000 จะต้องผ่อนเดือนละ $500 – $700
– เงินดาวน์ที่ต้องใช้คือ 20%+ ของราคาอส้งหาริมทรัพย์
– ภาระหนี้ ของผู้ยืม รวมหนี้ทุกอย่าง ควรอยู่ที่ 30% ของรายได้ปัจจุบัน
และหนี้ส่วนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ควรเกิน 25% เราเรียกตรงนี้ว่า DTI-Ratio
เช่น 25/30 คือ หนี้อสังหาริมทรัพย์ 25% ของรายได้ หนี้ทั้งหมด 30% ของรายได้
โดยทั้วไป ธนาคารจะอนุมัติวงเงิน โดยดูจาก DTI – Ratio ไม่เกิน 28/36
หากรัฐบาลช่วยเหลือ หรือขอเงินกู้ตามหลักข้อกำหนด จะดู DTI Ratio ไม่เกิน
FHA 31/43, USDA 29/41
3. การหาทำเล
3.1 ปริมาณกำลังซื้อ
ทำเลที่ตั้งของร้านอาหารไทย ส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวเมือง
เพราะอาหารไทย มีราคาสูง เมื่อเทียบกับอาหารชาติอื่น เช่น อาหารจีน
จะมีราคาต่ำกว่าอาหารไทย ดังนั้น การดูจำนวนประชากร และรายได้เฉลี่ย
จะรู้คร่าวๆว่า ร้านจะไปรอดหรือไม่ ทำเลที่ติดมหาวิทยาลัย จะดี
3.2 สภาพอากาศ
บางเมือง ในหน้าหนาว ไม่สามารถขายอาหารได้ หรือขายได้ แต่ไม่คุ้ม
เพราะหิมะ เจ้าของกิจการ ควรคุ้นเคยกับสภาพอากาศตลอดทั้งปีก่อน
3.3 เทศบัญญัติ และ Historic Area
บางเขต มีข้อกำหนดเทศบัญญัติ เพื่อคุ้มครองอนุรักษณ์ ตึกเก่า
หรือเพื่อจัดการไม่ให้บ้านเมืองดูรกวุ่นวาย
1 มีนาคม เวลา 01:25 น.
1 มีนาคม เวลา 01:35 น.