ใครที่ชอบอาหารทอด แต่กินบ่อย ๆ หรือซื้อตามร้านก็กลัวจะอ้วนเอา การทอดอาหารเอง เราก็สามารถเลือกใช้น้ำมันที่ดีในการทอดอาหารได้ แล้วมีใครรู้บ้างว่า น้ำมันทอด อาหารนั้นมีอะไรบ้าง? มีความแตกต่างอย่างไร? แล้วแต่ละชนิดนั้นแตกต่างกันอย่างไร?
รู้จักกับประเภท น้ำมันสำหรับทำอาหาร กันก่อนดีไหม?
👉🏻 น้ำมันจากพืช
มีคุณสมบัติที่ตรงข้ามกับน้ำมันสัตว์ น้ำมันพืชส่วนใหญ่ จะประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าน้ำมันสัตว์ ไขมันไม่อิ่มตัวนี้ จะไม่ค่อยเป็นไข แม้จะอยู่ในที่เย็นเช่น แช่ตู้เย็น แต่จะทำปฏิกิริยากับความร้อนและออกซิเจนได้ง่าย และมักทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนภายหลังจากใช้ประกอบอาหารแล้ว
👉🏻 น้ำมันจากสัตว์
ในน้ำมันหมู จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นไขได้ง่ายเมื่ออากาศเย็น และยังมีกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย เมื่อทิ้งไว้ที่อุณหภูมิปกติ ไขมันจากสัตว์นอกจากมีไขมันอิ่มตัวแล้ว ยังมีคอเลสเตอรอลอีกด้วย การกินไขมันสัตว์มาก อาจจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
น้ำมันทอด แบบไหนที่เหมาะกับการทำอาหารประเภททอด
การทอดอาหารนั้นจำเป็นจะต้องใช้น้ำมันในปริมาณที่มากกว่าวิธีการทำอาหาประเภทอื่น ๆ และใช้ความร้อนในการประกอบอาหารในอุณภูมิที่สูงมาก ซึ่งน้ำมันที่เหมาะกับการทอดอาหาร จึงจำเป็นจะต้องเป็นชนิดที่มีอุณภูมิจุดเกิดควันที่สูง เพราะหากมีจุดเกิดควันที่ต่ำ เท่ากับว่าน้ำมันที่เราใช้ไม่ทนความร้อน จะทำให้มีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งได้มากกว่าน้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง
👉🏻 น้ำมันปาล์ม
คือ น้ำมันที่ได้จากผลของต้นปาล์ม นิยมนำไปทำอาหารทอด เพราะทนต่ออุณหภูมิที่สูง ไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง และไม่เหม็นหืนง่าย ราคาถูก แต่ไม่ควรบริโภคในปริมาณมาก เพราะน้ำมันปาล์มมีกรดไขมันอิ่มตัวที่สูง
คุณสมบัติ : มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก ไม่ควรทานในปริมาณมาก สามารถทอดแบบ Deep fry ได้ และมีจุดเกิดควันที่ 230 องศาเซลเซียส
👉🏻 น้ำมันหมู
คือ น้ำมันที่ได้จากการเจียวส่วนไขมันของหมู ทำให้ไม่มีการเจือปนของสารเคมี เพราะเป็นน้ำมันที่ได้มากจากวิธีทางธรรมชาติ ควรตั้งไว้ในอุณหภูมิปกติ เพราะหากเก็บไว้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเย็น จะทำให้เป็นไขได้ง่าย และเหม็นหืน ดังนั้น เพื่อน ๆ จึงไม่ควรบริโภคในปริมาณมาก เพราะจะทำให้เกิดคอเลสเตอรอล ซึ่งสามารถพบได้จากน้ำมันจากสัตว์
คุณสมบัติ : มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก ไม่ควรทานในปริมาณมาก สามารถทอดแบบ Deep fry ได้ และมีจุดเกิดควันที่ 183-205 องศาเซลเซียส
👉🏻 น้ำมันรำข้าว
คือ น้ำมันที่ได้จากการสกัดของรำข้าวดิบ ซึ่งมีส่วนประกอบของเอนไซด์หลากหลายชนิด ที่จะสามารถช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ แต่ไม่ควรใช้น้ำมันรำข้าวทอดอาหารเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้
คุณสมบัติ : กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว สามารถทอดแบบ Deep fry ได้ แต่ควรใช้เวลาไม่นาน และมีจุดเกิดควันที่ 254 องศาเซลเซียส
👉🏻 น้ำมันมะพร้าว
คือ น้ำมันที่ได้จากการสกัดน้ำมันของมะพร้าว โดยมีส่วนประกอบหลักที่เรียกว่า MCT (Medium Chain Triglyceride) ซึ่งจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และรวดเร็ว จึงเหลือเป็นไขมันสะสมในร่างกายน้อย เมื่อเทียบกับน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ หากจะพูดถึงโทษ น้ำมันมะพร้าว ถือเป็นน้ำมันที่ให้โทษต่อสุขภาพน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ ป้องกันการถูกทำลายด้วยแอลกอฮอล์ รวมถึงปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันการอักเสบได้อีกด้วย
คุณสมบัติ : มีกรดไขมันอิ่มตัวมากแต่ให้โทษน้อย ทอดอาหารประเภทใช้น้ำมันน้อย และมีจุดเกิดควันที่ 177 องศาเซลเซียส
▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾ ▾
เคล็ดลับดี ๆ ในการใช้น้ำมัน
👉🏻 ทำน้ำมันเก่าให้ใสขึ้น : นำน้ำมันเก่ามาตั้งไฟให้ร้อน แล้วใส่ข้าวสวยลงไป แล้วคนให้ข้าวสวยเกาะเศษอาหารที่อยู่ในน้ำมันติดข้าวขึ้นมา
👉🏻 ทำให้น้ำมันเก่าไม่เหม็นหืน : ตั้งน้ำมันให้ร้อน จากนั้นใส่ใบเตยลงไปในน้ำมัน ใบเตยจะช่วยดับกลิ่นอาหารที่ค้างอยู่ในน้ำมันได้
น้ำมันทอด สำหรับทอดอาหาร เลือกใช้อย่างไรถึงจะเหมาะสม
👉🏻 น้ำมันจากพืช
มีคุณสมบัติที่ตรงข้ามกับน้ำมันสัตว์ น้ำมันพืชส่วนใหญ่ จะประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าน้ำมันสัตว์ ไขมันไม่อิ่มตัวนี้ จะไม่ค่อยเป็นไข แม้จะอยู่ในที่เย็นเช่น แช่ตู้เย็น แต่จะทำปฏิกิริยากับความร้อนและออกซิเจนได้ง่าย และมักทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนภายหลังจากใช้ประกอบอาหารแล้ว
👉🏻 น้ำมันจากสัตว์
ในน้ำมันหมู จะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นไขได้ง่ายเมื่ออากาศเย็น และยังมีกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย เมื่อทิ้งไว้ที่อุณหภูมิปกติ ไขมันจากสัตว์นอกจากมีไขมันอิ่มตัวแล้ว ยังมีคอเลสเตอรอลอีกด้วย การกินไขมันสัตว์มาก อาจจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
การทอดอาหารนั้นจำเป็นจะต้องใช้น้ำมันในปริมาณที่มากกว่าวิธีการทำอาหาประเภทอื่น ๆ และใช้ความร้อนในการประกอบอาหารในอุณภูมิที่สูงมาก ซึ่งน้ำมันที่เหมาะกับการทอดอาหาร จึงจำเป็นจะต้องเป็นชนิดที่มีอุณภูมิจุดเกิดควันที่สูง เพราะหากมีจุดเกิดควันที่ต่ำ เท่ากับว่าน้ำมันที่เราใช้ไม่ทนความร้อน จะทำให้มีโอกาสเกิดสารก่อมะเร็งได้มากกว่าน้ำมันที่มีจุดเกิดควันสูง
👉🏻 น้ำมันปาล์ม
คือ น้ำมันที่ได้จากผลของต้นปาล์ม นิยมนำไปทำอาหารทอด เพราะทนต่ออุณหภูมิที่สูง ไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง และไม่เหม็นหืนง่าย ราคาถูก แต่ไม่ควรบริโภคในปริมาณมาก เพราะน้ำมันปาล์มมีกรดไขมันอิ่มตัวที่สูง
คุณสมบัติ : มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก ไม่ควรทานในปริมาณมาก สามารถทอดแบบ Deep fry ได้ และมีจุดเกิดควันที่ 230 องศาเซลเซียส
👉🏻 น้ำมันหมู
คือ น้ำมันที่ได้จากการเจียวส่วนไขมันของหมู ทำให้ไม่มีการเจือปนของสารเคมี เพราะเป็นน้ำมันที่ได้มากจากวิธีทางธรรมชาติ ควรตั้งไว้ในอุณหภูมิปกติ เพราะหากเก็บไว้ในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิเย็น จะทำให้เป็นไขได้ง่าย และเหม็นหืน ดังนั้น เพื่อน ๆ จึงไม่ควรบริโภคในปริมาณมาก เพราะจะทำให้เกิดคอเลสเตอรอล ซึ่งสามารถพบได้จากน้ำมันจากสัตว์
คุณสมบัติ : มีกรดไขมันอิ่มตัวมาก ไม่ควรทานในปริมาณมาก สามารถทอดแบบ Deep fry ได้ และมีจุดเกิดควันที่ 183-205 องศาเซลเซียส
👉🏻 น้ำมันรำข้าว
คือ น้ำมันที่ได้จากการสกัดของรำข้าวดิบ ซึ่งมีส่วนประกอบของเอนไซด์หลากหลายชนิด ที่จะสามารถช่วยในการลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ แต่ไม่ควรใช้น้ำมันรำข้าวทอดอาหารเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้เกิดไขมันทรานส์ได้
คุณสมบัติ : กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว สามารถทอดแบบ Deep fry ได้ แต่ควรใช้เวลาไม่นาน และมีจุดเกิดควันที่ 254 องศาเซลเซียส
👉🏻 น้ำมันมะพร้าว
คือ น้ำมันที่ได้จากการสกัดน้ำมันของมะพร้าว โดยมีส่วนประกอบหลักที่เรียกว่า MCT (Medium Chain Triglyceride) ซึ่งจะสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และรวดเร็ว จึงเหลือเป็นไขมันสะสมในร่างกายน้อย เมื่อเทียบกับน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดอื่น ๆ หากจะพูดถึงโทษ น้ำมันมะพร้าว ถือเป็นน้ำมันที่ให้โทษต่อสุขภาพน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถต่อต้านเชื้อโรคได้ ป้องกันการถูกทำลายด้วยแอลกอฮอล์ รวมถึงปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันการอักเสบได้อีกด้วย
คุณสมบัติ : มีกรดไขมันอิ่มตัวมากแต่ให้โทษน้อย ทอดอาหารประเภทใช้น้ำมันน้อย และมีจุดเกิดควันที่ 177 องศาเซลเซียส
👉🏻 ทำน้ำมันเก่าให้ใสขึ้น : นำน้ำมันเก่ามาตั้งไฟให้ร้อน แล้วใส่ข้าวสวยลงไป แล้วคนให้ข้าวสวยเกาะเศษอาหารที่อยู่ในน้ำมันติดข้าวขึ้นมา
👉🏻 ทำให้น้ำมันเก่าไม่เหม็นหืน : ตั้งน้ำมันให้ร้อน จากนั้นใส่ใบเตยลงไปในน้ำมัน ใบเตยจะช่วยดับกลิ่นอาหารที่ค้างอยู่ในน้ำมันได้
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 15:35 น.