ทำไมถึงเรียก ทอดทิ้ง ว่า ทอดทิ้ง ครับ
ทอดทิ้ง น่าจะหมายถึงการทอดแล้วเททิ้ง สิ
การเพิกเฉยละเลย ไปเกี่ยวข้องกับการทำอาหารอย่างสิ้นเปลืองทรัพยากรนั่นได้อย่างไรกัน
หัวคิดคนไทยสมัยก่อน ต้องการสื่ออะไรถึงใช้คำแบบนี้
สมาชิกหมายเลข 3840780
9 เมษายน เวลา 08:52 น.
9 เมษายน เวลา 08:52 น.
แหล่งที่มา pantip.com
ในภาษาอื่นก็มีไม่เฉพาะภาษาไทย
9 เมษายน เวลา 09:01 น.
มาเอาคำว่า ทอดไปใส่ดื้อๆ
แล้วมันก็ดันทำให้มีความหมายว่า ทอดแล้วทิ้งไปเลย
มีอีกคำทำนองนี้คือ ทำลาย
9 เมษายน เวลา 09:09 น.
โปรดศึกษารากศัพท์ด้วย
9 เมษายน เวลา 10:27 น.
9 เมษายน เวลา 11:38 น.
9 เมษายน เวลา 09:14 น.
ยังมีความหมายอื่น ๆ –
https://xn--12cn0cga1azjg1mtc2h.com/23-425-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%94%20%E0%B9%91.html
9 เมษายน เวลา 09:37 น.
9 เมษายน เวลา 09:44 น.
ทอด คือการวางสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ราบลงไปในแนวนอน ทอด+แห ทอด+กาย ทอด+อาหาร ทอด+ทิ้ง ทอด+แขน ทอด+อารมณ์
ทอดของกินคือวางอาหารลงไปบนภาชนะที่มีน้ำมันร้อนทำให้อาหารสุก
การทอดของกินแล้วทิ้ง จะไม่ใช้คำว่าทอดทิ้ง จะใช้คำว่าเททิ้ง ใช้คำว่า เท หมายถึงเอียงภาชนะเพื่อให้สิ่งที่อยู่ภายในไหลออกไป
มองตัวอักษรให้เห็นภาพ
ถือกระทะถือหม้อ เทสิ่งที่ทอดออกไป+โดยไม่ใส่ใจกับมัน คือทิ้ง
จะเป็นเท+ทิ้ง
จึงใช้คำว่า เททิ้ง กับอาหารทอด จะไม่ใช้คำว่าทอดทิ้งกับอาหารทอด
ทอดปลาแล้วเททิ้ง กับ ทอดทิ้งปลา จะเห็นได้ว่าคำสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน
เขาแบ่งแยกการใช้ภาษาในแต่ละรูปแบบไว้ชัดเจนอยู่แล้วครับ
ทำไมเขาไม่สร้างคำแต่ละคำ แยกไว้ต่างหากเลย ทำไมต้องเอาคำที่มีความหมายเดียวกันมา+กับอีกคำแล้วกลายเป็นอีกความหมาย นั่นเพราะมันง่ายในการใช้งานไงครับ และมันเป็นเรื่องที่คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย คนไม่เข้าใจก็ต้องไปเรียนแบบละเอียดๆ หรือยังไม่เข้าใจในสิ่งที่คนอื่นเขาเข้าใจกันง่ายๆก็แปลว่าสติปัญญาบกพร่อง
โบราณชนชาวถิ่นแดนในภูมิภาคนี้ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตัวเอง จึงได้เอาภาษาบาลีกับสันสกฤษมารวมกัน สร้างตัวอักษรขึ้นมา แล้วใช้วิธีการผนวกคำสองคำที่มีความหมายต่างกันให้เป็นอีกความหมาย เรียกว่า สมาส วิธีการเช่นนี้ก็มีอยู่ในภาษาอื่นๆด้วย ไม่ใช่แค่ภาษาไทย
ไม่ว่าคำไหนก็ให้มองเป็นรูปภาพไว้ก่อน เราจะเห็นภาพหลายภาพมาต่อกันเป็นความหมายต่างๆ
ภาษามนุษย์ทุกภาษาใช้หลักการวาดรูปภาพต่างๆสื่อให้เข้าใจความหาย พัฒนาการมาเป็นเส้นขีดง่ายๆเพื่อให้ใช้งานสะดวก เส้นขีดง่ายๆแทนความหมายแต่ละชนิด เส้นขีด2ชนิดมารวมกันก็จะกลายเป็นอีกความหมาย
มนุษย์พยายามหาคำสั่นๆคำเฉพาะมาใช้อยู่ตลอดเพื่อความรวดเร็วในการใช้งาน วิธีการใช้งานก็จะแตกต่างไปในแต่ละยุคสมัย
ถ้าสนใจในเรื่องของภาษาก็ให้ศึกษาเพิ่มเติมครับ ถ้าได้เรียนรู้จะเหมือนเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆเลยทีเดียว
พอแค่นี้ก่อนยาวละคนไม่อ่าน – –
9 เมษายน เวลา 10:04 น.
9 เมษายน เวลา 11:36 น.
แปลว่าปล่อยให้รอก็ได้ค่ะ ทอดเวลา
ก็คือปล่อยให้รอแล้วก็ทิ้ง
9 เมษายน เวลา 11:47 น.
http://legacy.orst.go.th/?knowledges=%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87-%E0%B9%92%E0%B9%91-%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B9%92%E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%93
9 เมษายน เวลา 12:46 น.
คำหลายคำ สมัยก่อนกับสมัยนี้ก็ความหมายเปลี่ยนไปเยอะ เช่น ตัดสิน สมัยก่อน สิน แปลว่า ตัด เหมือนกัน
9 เมษายน เวลา 17:07 น.
9 เมษายน เวลา 21:06 น.
อ่านและค้นคว้าให้เยอะ
จะเข้าใจอะไรมากขึ้น
คำว่าทอดมีได้หลายความหมาย
9 เมษายน เวลา 23:37 น.
10 เมษายน เวลา 01:20 น.
10 เมษายน เวลา 08:40 น.
น่าจะมาจากความหมายอื่นของคำว่า “ทอด”
10 เมษายน เวลา 11:29 น.
เค้าชอบถามคำแบบนี้เลย
ทอด-ทิ้ง
ทำ-ลาย
มันมาต่อกันเป็นความหมายใหม่ได้ไง อะไรแบบนี้
11 เมษายน เวลา 10:54 น.
11 เมษายน เวลา 20:07 น.
ตามคำที่ จขกท. อ้างมาคำว่า ทอด กับ คำว่า ทิ้ง
ทอด ๑
(๑) ก. ทำให้สุกด้วยนํ้ามันที่เดือด เช่น ทอดปลา ทอดเนื้อ.
(๒) ว. เรียกสิ่งที่ทำให้สุกเช่นนั้น เช่น ปลาทอด เนื้อทอด.
ทอด ๒
(๑) ก. ทิ้ง เช่น มันทำชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย (สามดวง), ปล่อย, วาง, เช่น ทอดธุระ ทอดทุ่น ทอดพระราชอาสน์
(๒) ก. ปล่อยลง, ทิ้งลง, เช่น ทอดหมากเก็บ ทอดลูกเต๋า
(๓) ก. เหยียดยาวออกไป เช่น ทอดแขน ทอดขา
(๔) ก. พาดจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น ทอดไม้หมากทำเป็นสะพานข้ามคู
(๕) ก. ลักษณนามเรียกระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งหรือจากเวลาหนึ่งถึงอีกเวลาหนึ่ง เช่น ขึ้นรถ ๒ ทอด นอนทอดเดียวตลอดคืน.
ทิ้ง
(๑) ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วยอาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น
(๒) ก. สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง
(๓) ก. เรียกแพรหรือผ้าเนื้อหนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลง ว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว
(๔) ก. โดยปริยายหมายความว่า ปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกันเสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
ตามคำนิยาม หรือคำจำกัดความใน ทอด ๒ วงเล็บหนึ่ง ความหมายคือ ทิ้ง
ลักษณะการสร้างคำแบบนี้ เรียกว่า คำซ้อน และเป็นการซ้อนเพื่อความหมาย เพราะทั้งคำว่าทอดและทิ้ง ก็มีความหมายในตัวมันเอง(คำมูล)
พื้นฐานที่เราน่าจะเรียนกันมาแต่ประถมมัธยมแล้วนะ คือ ชนิดของคำ (วจีภาคในภาษา), ลักษณะการสร้างคำเพื่อนำไปใช้งาน อาทิเช่น คำซ้อน คำซ้ำ คำประสม(ผสม) , ฯ และ ฯลฯ ลืมไปหมดแล้วรึ จขกท.
เพราะเราไม่ยอมเปิดหาคำศัพท์เพื่อรู้ความหมายที่ถูกต้องของมันจริงๆ เราก็มั่วความหมายเอาเองไปเรื่อย แบบนี้เป็นการสร้างพฤติกรรมที่..อืม เอามากๆ
17 เมษายน เวลา 09:32 น.