ทำอาหารทานเองประหยัดกว่าจริงหรอคะ
คือเราอยู่หอคนเดียวค่ะ อยู่มา2-3ปี ช่วงที่ผ่านซื้อเตาไฟฟ้า ตู้เย็น ไมโครเวฟ อุปกรณ์เสริมการทำอาหารมาพอสมควร
ทีนี้ หยุดล่าสุดแล้วทำ มาคิดว่ามันคุ้มและประหยัดกว่าจริงๆ หรอคะ แค่ผัดกระเพราซื้อพริก กระเทียม ใบกระเพรา หมูกรอบเพื่อนทำส่งมาให้
ก็ปาไป 30บาทแล้ว ถ้าซื้อกินก็กล่องล่ะ 45-50บาท นี้ทำเองค่าน้ำ ค่าไฟอีก อยากทราบว่ามันประหยัดจริงๆ หรอคะ
ทีนี้ หยุดล่าสุดแล้วทำ มาคิดว่ามันคุ้มและประหยัดกว่าจริงๆ หรอคะ แค่ผัดกระเพราซื้อพริก กระเทียม ใบกระเพรา หมูกรอบเพื่อนทำส่งมาให้
ก็ปาไป 30บาทแล้ว ถ้าซื้อกินก็กล่องล่ะ 45-50บาท นี้ทำเองค่าน้ำ ค่าไฟอีก อยากทราบว่ามันประหยัดจริงๆ หรอคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ 19 สิงหาคม เวลา 08:39 น.
สมาชิกหมายเลข 1154272
17 สิงหาคม เวลา 10:04 น.
17 สิงหาคม เวลา 10:04 น.
▼ อ่านต่อ หน้า 2 (คห. 101 – 200) ▼
แหล่งที่มา pantip.com
17 สิงหาคม เวลา 10:22 น.
17 สิงหาคม เวลา 10:28 น.
ปกติ ผมจะซื้อแมคโคร พวกผักมาซื้อตลาดแถวบ้านเอา(เดินได้) เวลาทำ อาจจะเสียเวลาหน่อย
1. แบ่งโปรตีน/เซิร์ฟ แช่แข็งไว้
2.ทำครั้งเดียวหลายๆเมนู อย่างไก่ ก็ทำไก่กระเทียม ไก่พะแนง ไก่แกงเขียวหวาน ถ้าเตรียมวัตถุดิบไว้แล้ว แป๊บเดียว
สมมุติทำเมนูละอกไก่2ชิ้น ได้ 2 เซิร์ฟ พรือ ผญ กินน้อย แบ่งเป็น 3 ได้ แช่แข็งไว้
ทำ3 เมนู จะได้ 9 มื้อในครั้งเดียว
3. ของที่จะกินใน 1-2 วัน แช่เย็นไว้ ที่เหลือขึ้นฟรีซ
มันจะเสียเวลาตอนหั่นเนื้อเป็นเซิร์ฟเตรียมไว้ แต่ถ้าเตรียมเสร็จลงกระทะ แป๊บเดียวเสร็จ
17 สิงหาคม เวลา 10:49 น.
17 สิงหาคม เวลา 16:34 น.
(serve)
17 สิงหาคม เวลา 17:14 น.
อาหารมันลงทุนรอบเดียวครับ วัตถุดิบก็ซื้อมาพอทำ หรือ วางแผนเพื่อมำอย่างอื่น
P.
17 สิงหาคม เวลา 10:30 น.
17 สิงหาคม เวลา 10:31 น.
เพราะการทำอาหารเองเลี้ยงคน ๆ เดียว ใช้ทรัพการที่เป็นต้นทุนคงที่เท่ากับ 4 คน เมื่อหารด้วยจำนวนคนกินแล้ว ทำให้การทำอาหารกินเองสำหรับคน ๆ เดียวจ่ายสูงกว่า
นอกเสียจากว่าการทำอาหารกินเองนั้นทำครั้งเดียวแต่กินไปได้ 4 มื้อ ซึ่งการทำแบบนี้ได้คุณภาพอาหารก็จะด้อยลงไปหรือถูกจำกัดด้วยชนิดของอาหารที่ไม่หลากหลาย เช่นทอดหมู กับนึ่งข้าวเหนียว 1 ครั้งกินไปได้ 8 มื้อ แบบนี้คือประหยัดจริงแต่ตลอดสามวันนั้นคือกินอยู่อย่างเดียว
17 สิงหาคม เวลา 10:42 น.
17 สิงหาคม เวลา 10:45 น.
Sunk Cost Fallacy คือ อคติทางจิตวิทยาที่คนสนใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีตและนำมาชี้นำการตัดสินใจในอนาคต ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ในอดีตนั้นจะไม่เกี่ยวข้องกับการเหตุการณ์ในอนาคตเลย
19 สิงหาคม เวลา 21:07 น.
ทำเองอาจจะเหนื่อย คงประหยัดตรงที่ ซื้อวัตถุดิบหรือเครื่องปรุง เก็บไว้ใช้ได้หลายครั้ง
ขึ้นอยู่กับ ความชอบทำอาหาร ของแต่ละคนด้วยค่ะ
17 สิงหาคม เวลา 10:42 น.
17 สิงหาคม เวลา 10:47 น.
กับบางอาหารเครื่องปรุงอุปกรณ์เยอะก็เปลืองกินครั้งเดียวหมด
ข้อดีของการทำอาหารทำเอง เลือกวัตถุดิบที่ดี สะอาด ปลอดภัย อร่อยถูกปาก
17 สิงหาคม เวลา 10:44 น.
17 สิงหาคม เวลา 10:48 น.
ถ้าเทียบจากราคาที่คุณซื้ออาหารตามสั่งมื้อละ 40-50 บาท อันนี้ก็ยากที่จะทำให้ประหยัดกว่า
แต่ถ้าเอาปริมาณอาหารที่ทำเองมาเทียบกับที่ซื้อ เราเชื่อว่าเทียบปริมาณต่อราคาแล้ว ที่ทำเองคุ้มกว่าแน่นอน
ยังไม่นับรวมถึงคุณภาพของอาหารด้วย ทำเองเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพได้ อาจจะแพงกว่าแต่คุ้มกว่า
อีกประเด็นคือ วัตถุดิบที่คุณซื้อมาจริงๆแล้วมันแบ่งทำได้หลายมื้อ อย่างใบกะเพรา พริก กระเทียม คงไม่ได้เอามาผัดมื้อเดียวหมดหรอกมั้งคะ
เพียงแต่คุณจะต้องทนกินผัดกะเพราไปหลายมื้อหน่อย อาจจะเบื่อซะก่อน
เราเป็นคนทำกับข้าวกินเอง และพบว่าประหยัดกว่าซื้อกับข้าวมากินมาก
แต่เราไม่ได้เอาไปเทียบราคากับอาหารตามสั่งนะคะ เพราะร้านอาหารตามสั่งทั่วไปคือให้กับน้อยแต่ข้าวเยอะ เราจึงเลิกเข้าร้านตามสั่งไปนานแล้ว
เราเทียบราคากับร้านอาหารทั่วๆไป แบบที่เราเข้าไปนั่งกินกันหลายๆคนและสั่งมาแชร์กันหลายๆอย่าง
ซึ่งเมื่อเทียบราคาแล้ว ประหยัดกว่ากินที่ร้านมากจริงๆ
พวกอาหารฝรั่ง สเต็ก เนื้อย่าง พวกนี้ซื้อมาทำเองยิ่งประหยัดกว่ากินที่ร้านมาก
แต่ก็มีอาหารบางอย่างที่เราคิดว่าไม่คุ้มที่จะทำเอง เช่นพวกของทอดที่ต้องใช้น้ำมันท่วมๆ เป็นต้น
จริงๆแล้วการทำกับข้าวกินเอง จะทำให้ประหยัดกว่าซื้อที่เค้าทำก็ได้ หรือจะทำให้แพงกว่าก็ได้ อยู่ที่ตัวเราทั้งนั้น
บางคนที่รายได้น้อยๆ ก็เลือกที่จะซื้อวัตถุดิบถูกๆมาทำกับข้าว ประหยัดกว่าแน่นอน
บางคนกินเยอะกว่าคนปกติทั่วไป ทำกินเองก็ประหยัดกว่าซื้อที่เค้าทำ
บางคนไม่สนใจเรื่องความประหยัด แต่สนใจเรื่องความคุ้มค่าในเรื่องอื่นมากกว่า เช่น รสชาติที่ถูกปาก ผลดีผลเสียต่อสุขภาพ เป็นต้น
พวกนี้จะทำกับข้าวกินเองโดยหมดเยอะกว่าไปกินที่ร้านก็ไม่แปลก
ถ้าคุณไม่ชอบทำกับข้าวแต่อยากประหยัด แนะนำให้ซื้อแค่กับข้าวแล้วหุงข้าว ต้มไข่กินเอง จะประหยัดไปได้พอสมควรเลย
17 สิงหาคม เวลา 10:57 น.
17 สิงหาคม เวลา 11:22 น.
17 สิงหาคม เวลา 11:00 น.
17 สิงหาคม เวลา 11:24 น.
17 สิงหาคม เวลา 11:05 น.
17 สิงหาคม เวลา 11:28 น.
18 สิงหาคม เวลา 10:26 น.
18 สิงหาคม เวลา 10:48 น.
17 สิงหาคม เวลา 11:45 น.
17 สิงหาคม เวลา 12:09 น.
ในเมืองไทยอาจไม่ประหยัดกว่าซื้อกิน ด้วยอาหารปรุงสำเร็จที่ขายกันในเมืองไทยมีหลายระดับราคาให้เลือกบริโภคตามฐานะ จะมีสักกี่ประเทศที่อยู่ในสภาวะเช่นเรา กระนั้นปรุงอาหารกินเองก็มีข้อดีในตัวของมัน ใครบอกเล่าก็เท่านั้น จนกว่าจะเปิดใจ ลงครัวเองได้เมื่อไรนั่นแหละถึงจะเห็นแจ้งในข้อนี้
17 สิงหาคม เวลา 12:05 น.
17 สิงหาคม เวลา 12:10 น.
17 สิงหาคม เวลา 12:25 น.
17 สิงหาคม เวลา 12:26 น.
แต่ถ้าไม่วางแผนแบบนี้ วันนี้ซื้อหมูที พรุ่งนี้ซื้อไก่ที ไป ๆ มา ๆ สิ้นเปลืองกว่าซื้ออาหารสำเร็จ การซื้อสำเร็จมากิน อยากกินเมนูไหนจิ้มเลือกได้เลย 3 มื้อ 3 ประเทศก็ได้ ก็สามารถคุมงบได้เพราะรู้ราคาล่วงหน้าทั้งหมดแล้ว
17 สิงหาคม เวลา 12:41 น.
17 สิงหาคม เวลา 13:24 น.
แล้วก็ต้องมีฝีมือในการทำอาหาร
มีฝีมือในการปรับเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำอาหาร
คนโดยมาก ไม่มีฝีมือ ไม่มีอะไรเลย ทำอาหารกินเอง เลยไม่รอด
17 สิงหาคม เวลา 12:49 น.
17 สิงหาคม เวลา 13:25 น.
17 สิงหาคม เวลา 12:55 น.
17 สิงหาคม เวลา 13:26 น.
17 สิงหาคม เวลา 12:57 น.
17 สิงหาคม เวลา 13:26 น.
18 สิงหาคม เวลา 13:49 น.
หากจะทำกินเอง ปัญหาที่เจอคือ..น้ำหนักขึ้นเร็ว เพราะถ้าทานไม่หมด ก็ฝืน บ่อยเข้า..พุงตามมา ซื้อกินสามารถควบคุมได้ง่ายกว่า
แต่…ต้องฝึกทำบ้างสัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้ชีวิตมีรสชาติมากยิ่งขึ้น และปลุกตัวเองให้ Active อยู่ตลอดเวลาครับ
17 สิงหาคม เวลา 14:28 น.
17 สิงหาคม เวลา 14:59 น.
ข้าวหุงครั้งเดียว ประหยัดไฟ แพคใส่กล่อง ฟรีซไว้กินได้นานเลย
ผักแต่ละอย่างทำอาหารได้หลายชนิดเลยค่ะ คะน้า ซื้อมากำนึง กินคนเดียวอาจจะใช้มื้อละ 2 ต้น ทำผัดคะน้า(หมูกรอบ ปลาเค็ม ปลากระป๋อง) ผัดซีอิ๊ว ราดหน้า ข้าวผัด ยำคะน้า
เราว่าการประหยัดหรือไม่มันอยู่ที่การจัดการค่ะ ทำยังไงไม่ให้มีเศษอาหารเหลือทิ้ง การทำกินเองสำหรับเรา ข้อดีคือ ความสะอาด สุขภาพดี เลือกได้เองว่าจะกินของดีแค่ไหน ยังไงก็คุ้มค่ะ
ถ้าบ้านมีพื้นที่ ปลูกะเพรา โหระพา ติดบ้านไว้ สะดวกและประหยัด เด็ดสดๆ เท่าที่ต้องการ ผักบุ้ง ถั่วงอกก็ปลูกง่าย
17 สิงหาคม เวลา 17:07 น.
17 สิงหาคม เวลา 17:16 น.
17 สิงหาคม เวลา 19:31 น.
ส่วนกับข้าวซื้อจากโรงอาหารมา 3-4 อย่างๆละ 10 บาท รวม 40 บาท ทอดไข่เจียวไข่ดาว มีเพื่อนห้องอื่นๆมากินด้วยรวมๆ
มื้อละ 7-8 คน รวมค่าข้าวต่อมื้อประมาณ 100 บาท เฉลี่ยคนละ 14-15 บาท
17 สิงหาคม เวลา 18:33 น.
18 สิงหาคม เวลา 09:15 น.
วัตถุดิบเหลือด้วยกินมื้อต่อไปได้อีก
17 สิงหาคม เวลา 19:29 น.
18 สิงหาคม เวลา 09:16 น.
18 สิงหาคม เวลา 02:03 น.
18 สิงหาคม เวลา 09:16 น.
หากจะทำอาหารกินเอง แค่ทำเป็นคงจะไม่ใช่ มันต้องเข้าใจอาหารและวัตถุดิบด้วย
นั่นหมายความว่าต้องรู้จักเลือกใช้วัตถุดิบให้เป็น อันไหนเสียยากหรือเสียไว
สำคัญมากๆต้องรู้จักเซฟวัตถุดิบให้เป็น จะได้ยืดอายุให้นานที่สุดและคุ้มค่าที่สุด
ต้องเข้าใจเมนูด้วยว่า เมนูไหนเก็บได้นานก็ทำไว้เยอะๆแล้วค่อยแบ่งย่อยๆมาอุ่นแต่พอกิน
อย่างของสดถ้าได้เนื้อสัตว์มาเป็นก้อนเป็นชิ้นใหญ่ๆก็ควรหั่นเก็บไว้เป็นแบบถุงเล็กๆพอทำกิน
ทำหลายๆถุงจนหมดแล้วเข้าช่องฟรีซ ถ้าจะทำเมื่อไหร่ค่อยเอาออกมาเฉพาะที่จะทำเมนูนั้นๆ
พวกผักสมุนไพรที่เป็นเครื่องปรุงต่างๆก็ให้ไปหาคลิปสอนวิธีแบ่งเก็บเอา ในยูทูบและติ๊กตอกก็มีเยอะ
นอกจากอาหารที่ทำแบ่งไว้เป็นกล่องเล็กๆแต่พออุ่นกินต่อมื้อในตู้เย็นแล้ว เราสามารถเก็บข้าวสวยก็ได้
โดยการหุงครั้งเดียวเยอะๆเลยแล้วหากล่องมาแบ่งใส่ ผมเก็บกล่องข้าวสวยของเซเว่นไว้เยอะ
แล้วตักข้าวที่หุงใส่ในกล่องแล้วแช่ตู้เย็นไว้ จะกินเมื่อไหร่ก็เอามาเข้าเวฟ แค่นี้ก็มีข้าวแบบเซเว่นแล้ว ฮ่า!
โม้มาซะเยอะ เดี๋ยวน้องก็บอกประหยัดตรงไหน หนูต้องไปหาซื้อตู้เย็นใหญ่ๆและไมโครเวฟอีกล่ะ 5 5 5
18 สิงหาคม เวลา 05:29 น.
18 สิงหาคม เวลา 09:17 น.
18 สิงหาคม เวลา 10:21 น.
18 สิงหาคม เวลา 10:22 น.
วันนี้อยากกินต้มข่าไก่ จ่ายค่าซื้อของไป 250 บาท กินได้แค่มื้อเดียวด้วยนะ
18 สิงหาคม เวลา 10:28 น.
18 สิงหาคม เวลา 10:54 น.
18 สิงหาคม เวลา 13:52 น.
18 สิงหาคม เวลา 13:58 น.
ไปซื้ออกไก่ โลตัส 50บาท ผัดกระเพราไก่ได้จานใหญ่เลย
ปริมาณเท่ากับร้านตามสั่ง 5-6 จานได้มั้งน่าจะเกินด้วย
หุงข้าวซัก 2กระป๋อง
ถ้าไปสั่งตามร้านจานละ 40 กิน 5 จานก็200 บาท
18 สิงหาคม เวลา 10:50 น.
18 สิงหาคม เวลา 10:56 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:12 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:12 น.
หรือถ้าอยู่คนเดียว มีอุปกรณ์และพวกเครื่องปรุงอยู่แล้ว ทำทีละเยอะหน่อย กินหลายมื้อก็จะคุ้ม
18 สิงหาคม เวลา 11:13 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:14 น.
ต้องทำคนเดียว กินหลายมื้อ อย่างน้อยต้อง 3-4 มื้อ หรือทำกินกันหลายคน แบบนั้นคุ้มกว่าแน่นอน
18 สิงหาคม เวลา 11:15 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:16 น.
1. ข้าวสวย หุงทีเดียว ทานได้หลายมื้อ ข้าวหอมมะลิเกรดดีๆ ต้นทุนจานละ 5 บาทเท่านั้นเอง
2. กะเพราต่างๆ, ผัดต่างๆ, ต้มต่างๆ ทำเสร็จ รอเย็นเอาให้ super lock แช่ตู้เย็น อยากทานก็เอามาเวฟทานเป็นมื้อๆ
18 สิงหาคม เวลา 11:18 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:19 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:29 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:55 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:43 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:55 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:54 น.
18 สิงหาคม เวลา 11:57 น.
เตาไฟฟ้าใช้ไฟไม่ถึง 1000 วัตต์ ทำกับข้าว 15 นาที ใช้ไฟ 250 วัตต์ชั่วโมง เท่ากับ 0.25 หน่วย ค่าไฟบ้านหน่วยละ 4 บาท เสียค่าไฟแค่บาทเดียว
18 สิงหาคม เวลา 12:07 น.
18 สิงหาคม เวลา 12:15 น.
ไม่ต้องทำอาหารหม้อใหญ่หรือจานใหญ่ก็ได้ครับ ทำแค่เท่าที่กินเป็นจานๆ ได้ อาจจะเสียเวลาบ้างแต่ก็ไม่ได้เปลืองมากขึ้น ที่สำคัญคือได้กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ดีกว่าอาหารค้างวันค้างคืน ค่าน้ำค่าไฟไม่ได้เป็นปัจจัยสำคัญเลย อย่างที่คำนวณไว้ให้ดูแล้ว
เริ่มต้นอาจจะยากหน่อย แต่พอคล่องมือ ติดรสชาติแล้ว บอกเลยว่าผมกินอาหารข้างนอกไม่ค่อยได้แล้วเพราะว่าเค็มมาก
19 สิงหาคม เวลา 03:27 น.
เปลืองมากๆ กับการซื้อมาทำเอง ?
18 สิงหาคม เวลา 13:02 น.
18 สิงหาคม เวลา 13:37 น.
18 สิงหาคม เวลา 13:06 น.
18 สิงหาคม เวลา 13:37 น.
แต่ทำเองก็เหนื่อยเหมือนกัน ทำกว่าจะเสร็จแล้วต้องบ้างหม้อล้างไหอีก
18 สิงหาคม เวลา 13:36 น.
18 สิงหาคม เวลา 13:37 น.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
18 สิงหาคม เวลา 13:59 น.
18 สิงหาคม เวลา 14:06 น.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
18 สิงหาคม เวลา 14:29 น.
18 สิงหาคม เวลา 14:37 น.
18 สิงหาคม เวลา 15:12 น.
วันก่อนซื้อปลานิลมาทอดเอง ตัวเบ่อเร้อ 40 กว่าบาทเอง บวกค่าน้ำมันก็คงใกล้เคียงกับซื้อ แต่น้ำมันใหม่ ไม่ใช่น้ำมันทอดซ้ำนะครับ เบื่ออย่างเดียว เก็บล้าง
18 สิงหาคม เวลา 15:13 น.
18 สิงหาคม เวลา 15:43 น.
18 สิงหาคม เวลา 15:42 น.
18 สิงหาคม เวลา 15:45 น.
เราอยู่2คนกับสามี ถ้าทำที่เรียกว่าประหยัดคือต้องทำจนกว่าวัตถุดิบที่ซื้อมาจะหมด ไม่งั้นเหลือทิ้ง แต่ประหยัดในที่นี้ก็ไม่ได้มากไปกว่าเดิมเท่าไร เพราะข้าวผัดกระเพรากล่องละ50 ซื้อมาทำกินเอง2คนหมดไป80 แต่สำคัญคือได้กินในปริมาณที่มันเยอะกว่าเดิม
แต่ถ้าเป็นเมนูพวกต้มๆ แกงๆ อันนั้นประหยัดจริง หม้อนึงไม่ถึง300 กินได้ประมาณ3วัน (9มื้อ)
18 สิงหาคม เวลา 15:43 น.
18 สิงหาคม เวลา 15:46 น.
ทำกินเอง ค่าเชื้อเพลิง 5 บาท กินกันในบ้านได้ 1-2 หรืออาจจะ 3-4 คน
18 สิงหาคม เวลา 16:17 น.
18 สิงหาคม เวลา 16:21 น.
18 สิงหาคม เวลา 16:21 น.
18 สิงหาคม เวลา 16:22 น.
เราชอบทำกะเพราผัดแห้งๆ เพื่อให้เก็บได้นาน และหมูทอดเนื้อทอดกระเทียม แบบแห้งๆเช่นกัน
แบ่งย่อยเป็นมื้อ แช่ฟรีส อยู่ได้เป็นเดือน แช่เย็นธรรมดาก็อยู่ได้เป็นอาทิตย์
ข้าวหุงใส่ถ้วยแบบที่เค้าขายๆกัน เก็บได้เป็นอาทิตย์ อาจจะได้นานกว่านั้น แต่ไม่เคยเก็บ มากสุด 10 วัน อยู่ได้ค่ะ
ส่วนอาหารที่ทำทีละมื้อแล้วประหยัด ก็ผัดผัก ซื้อผักกะหล่ำ หัวนึง อยู่ได้นานมาก ทยอยผัด ตอนผัดใช้แค่น้ำมัน น้ำปลา กระเทียม เราชอบใส่พริกด้วย
ซื้อวัตถุดิบ แนะนำโลตัส แบ่งซื้อทีละน้อยราคาเท่ากับซื้อเยอะ ไม่เหมือนตลาด พริกหยิบมือ ก็ 20 2 หยิบก็ 20 โลตัสเราหยิบพริกทีละ 5-7 บาทเอง ผักอื่นก็เช่นกัน ยิ่งฟักทอง ถูกมาก ครึ่งลูกไม่ถึง 10 บาท
18 สิงหาคม เวลา 16:21 น.
18 สิงหาคม เวลา 16:23 น.
แม่ทำกับข้าวไม่อร่อยเลย แต่ก็อยากจะทำจัง ….
ร้านที่สะอาดวัตถุดิบดีราคาไม่แพงมากก็มีเยอะแยะ
อีกเรื่องที่เราอยากซื้อมากกว่า ก็คือผักปลอดสารพิษ คิดว่าซื้อเอาน่าจะถูกกว่า และ สะอาดกว่าปลูกเอง เพราะที่บ้านแมลงเยอะมาก ถ้าไม่ใช้สารเคมีคงไม่รอด
18 สิงหาคม เวลา 16:25 น.
18 สิงหาคม เวลา 16:26 น.
18 สิงหาคม เวลา 16:42 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:09 น.
การทำอาหารเพื่อทานเองคนเดียวจ่ายแพงกว่า
เปลืองทั้งเงิน ทั้งแรง ทั้งเวลา แถมวัตถุดิบบางอย่างเก็บแป็ปเดียว กินไม่ทัน ก็ต้องทิ้ง
ข้อดีเดียวที่ทำอาหารกินเองคือ
ความสะอาด + คุณภาพวัตถุดิบที่เราเลือกเองได้ ค่ะ
18 สิงหาคม เวลา 16:53 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:10 น.
แต่ผมเลือกซื้อหมูบดขีดละ 30 บาท
2 ขีด 60 บาท ผมทานได้ 2 มื้อ
ค่ากะเพรา 10 บาท
กระเทียมผมซื้อทีเยอะ ๆ ใช้ได้เป็นเดือน
รวม ๆ แล้ว 1 มื้อผมทำทานเองใช้เงินแค่ 35 บาท/มื้อ ครับ สะอาดกว่า ปลอดภัยกว่าด้วย เพราะ เราควบคุมทุกกระบวนการด้วยตัวเอง ปรุงรสได้ตามใจชอบ
18 สิงหาคม เวลา 17:06 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:10 น.
ซื้อกินถูกกว่าในแง่ปริมาณอาหารที่เท่า ๆ กัน แต่เราคุมคุณภาพไม่ได้ แล้วแต่ร้าน แล้วแต่วัน แล้วแต่อารมณ์ของคนทำ
สำหรับการทำกินเองจะคุมคุณภาพวัตถุดิบได้เพราะเราซื้อเอง แต่ราคาซื้อปลีกย่อมแพงกว่าร้านค้าที่ซื้อปริมาณมาก
ซื้อกินจะแพงกว่าในกรณีที่ถ้าคุณภาพของวัตถุดิบเท่า ๆ กันเพราะร้านค้าต้องบวกค่าต้นทุนอย่างอื่นไปในอาหาร ทั้งรายได้ของร้าน ค่าไฟ ค่าน้ำ
ซึ่งค่าน้ำค่าไฟ ถ้าคุณทำเองก็ต้องจ่ายอยู่ดีจึงเป็นรายได้ของร้านที่เป็นราคาที่เพิ่มมาจากการซื้อกิน
ดังนั้นปัจจัยความคุ้มค่าอยู่ที่
1 คุณหาวัตถุดิบราคาถูก คุณภาพดีได้ไหม
2 เวลาของคุณราคาเท่าไหร่
ถ้าสามารถหา 1 ได้ คุณก็อาจจะประหยัดได้ แต่จะประหยัดได้จริง ๆ ต้องถูกทั้ง 1 และ 2 ซึ่งตรงนี้น่าจะมีแต่คุณที่จะตอบตัวเองได้ครับ
18 สิงหาคม เวลา 17:06 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:30 น.
ต้องรู้จักวางแผนการซื้อ การเก็บสต็อก อาจจะซื้อแค่สัปดาห์ละครั้ง แล้วแบ่งเก็บตามปริมาณที่จะทำกินแต่ละครั้ง เช่นซื้อหมู 1 กิโล แบ่งเก็บเป็นถุงละ 1 ขีด
อีกอย่างคืออยู่ที่ประเภทอาหาร ถ้ายิ่งเน้นสุขภาพ น้ำมันก็ไมต้องใช้เยอะ เครื่องปรุงรสไม่ต้องเยอะ ก็ประหยัดไปอีก ถ้ากินของทอดๆ น้ำมันทอดทีครึ่งขวด ก็เปลืองแน่
พวกพริก ถ้าทำเป็นพริกแห้งเก็บได้นาน ไม่ต้องซื้อบ่อย ไม่ต้องทิ้งถ้ากินไม่หมด เอาไปนึ่งก่อนแล้วตากแดด ที่บ้านปลูกพริกเอง แต่ก็ทำวิธีนี้ เพราะพริกออกทีกินไม่ทัน ทิ้งไว้ก็เน่าคาต้นหรือร่วงหมด ก็เสียดาย เก็บมาแล้วทำพริกแห้ง เก็บได้นานมาก
18 สิงหาคม เวลา 17:10 น.
18 สิงหาคม เวลา 18:23 น.
18 สิงหาคม เวลา 17:18 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:30 น.
18 สิงหาคม เวลา 17:41 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:32 น.
18 สิงหาคม เวลา 17:56 น.
18 สิงหาคม เวลา 18:18 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:32 น.
18 สิงหาคม เวลา 18:38 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:32 น.
ถ้าแบบวันนี้นึกอยากกินอย่างนึงก็เดินออกไปซื้อของมาทำกิน พรุ่งนี้อยากกินอีกอย่างเดินออกไปซื้อมาอีกเซ็ทที่ไม่ได้เกี่ยวกับเมื่อวานเลย อันนี้เปลืองแน่นอน
2. ยิ่งรู้จักพลิกแพลงจะยิ่งคุ้ม และไม่ต้องทนกินอาหารเดิมๆ ทุกมื้อ สมมติเราทำแกงจืดหม้อนึง มื้อถัดมาเราเอามาเติมข้าว โรยตั้งฉ่าย เหยาะพริกน้ำส้ม ทำเป็นข้าวต้ม มื้อถัดมาเติมวุ้นเส้น เติมไข่ ทำเป็นสุกี้น้ำ อะไรแบบนี้ค่ะ
3. ทำอาหารเป็นประจำจะคุ้มกว่า เพราะพวกอุปกรณ์หรือเครื่องปรุงอย่างน้ำปลา น้ำตาล ซีอิ๊ว น้ำมันหอย พวกนี้มันสำหรับใช้งานยาวๆ ยิ่งใช้เยอะยิ่งคุ้ม ถ้าซื้อมาทำแค่ไม่กี่ครั้ง หารออกมามันก็ไม่คุ้มทุนอ่ะค่ะ พวกหอมกระเทียมไรงี้อีกส่วนมากซื้อครั้งนึงใช้ไม่หมดหรอกค่ะ
4. ถ้าปลูกผักเล็กๆ น้อยๆ ได้จะยิ่งประหยัด อย่างต้นหอม ผักชี เวลาเอามาใช้โรยหน้านิดๆ หน่อยๆ ไม่ต้องซื้อ เดินไปเด็ดเอาเลย พวกกะเพรา โหระพาก็น่าปลูก แต่ก็เหมือนข้อ 3 คือลงทุนปลูกแล้วต้องทำอาหารไปยาวๆ ถึงคุ้มค่ะ
จากคนชอบทำอาหารเหมือนกัน เป็นกำลังใจให้หัดทำต่อไปค่ะ สู้ๆ
18 สิงหาคม เวลา 18:41 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:33 น.
ยกเว้นว่าแถวที่พักค่าครองชีพสูงมาก อาหารจานเดียวมีแต่จานละ 50-60 บาทขึ้นไป กับข้าวถุงละ 80-100 บาทแบบนั้นก็ยอมทำเองดีกว่า
18 สิงหาคม เวลา 18:43 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:33 น.
อกไก่ โลละ 69 บาท ถ้าแบ่ง portion มาผัดกระเพรา เทียบปริมาณกับตอนซื้อตามสั่งมากิน โลนึงคุณแบ่งเนื้อไก่ได้ 10 จานเลย ซึ่งตกต้นทุนจานละ 7 บาทเอง พวกพริก กระเทียม ใบกะเพราให้ซื้อมาแล้วแช่แข็งเก็บไว้ หาวิธีในห้องไกลบ้านคนแชร์เทคนิคเพียบ รวมทุกอย่างแล้วกะเพราไก่ราดข้าวจานนึงต้นทุนไม่ถึง 20 บาท
ที่ได้แถมมาคือ ความสะอาด เรามั่นใจว่าล้างไก่ล้างผักอย่างดี (ยิ่งช่วงโควิดด้วย) จากที่เราทำกับข้าวกินเองประจำบางทีไปกินร้านข้างนอกแล้วท้องเสียก็มีค่ะ
18 สิงหาคม เวลา 19:13 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:34 น.
18 สิงหาคม เวลา 19:17 น.
19 สิงหาคม เวลา 09:34 น.
..ทำได้เต็มหม้อ
..แต่ต้องทน กิน แบบนี้ 3 มื้อ
18 สิงหาคม เวลา 19:19 น.
19 สิงหาคม เวลา 10:20 น.
ประหยัดนะคะ แต่เราอยู่กะสามีลูก1คน2ขวบ อาทิตย์นึงซื้อของเข้สบ้านพันกว่า กินได้ทั้งทั้งวีค3คน แบบๆมาประหยัดนะคะ บ้านเราทานเนื้อสัตว์เยอะ เพราะเราทานlowcarbจะติดทานกับมากๆ วีคนึงซื้อร้านอร่อยทาน เสาร์อาทิตย์ค่ะ วันทำธรรมดาทำเอง จุกๆทุกวัน
18 สิงหาคม เวลา 19:23 น.
19 สิงหาคม เวลา 10:23 น.
18 สิงหาคม เวลา 19:34 น.
19 สิงหาคม เวลา 10:24 น.
ทำกินเอง ถูกปาก กินเยอะ อ้วนอีก แต่มีความสุขดีค่ะ
18 สิงหาคม เวลา 19:48 น.
19 สิงหาคม เวลา 10:25 น.
19 สิงหาคม เวลา 20:54 น.
ถ้าทำเองเราก็จะรู้ส่วนประกอบ รู้กรรมวิธี ความสะอาด เพราะเราทำเองค่ะ
18 สิงหาคม เวลา 20:34 น.
19 สิงหาคม เวลา 10:25 น.
ส่วนเรื่องความสะอาดหรือคุณภาพก็ไม่ต้องห่วงเพราะเราทำเองค่ะ
เช่น ทำครั้งเดียวคุณสามารถเอาใส่ตู้เย็นและทำมาอุ่นได้เกือบหนึ่งอาทิตย์
ส่วนข้าวสามารถหุงครั้งเดียวรอให้เย็นสักหน่อยและเก็บใส่กล่องเข้าตู้เย็นได้ค่ะ
(หุงให้แห้งสัดนิดนึงเวลาอุ่นก็พรมน้ำนิดหน่อยค่ะ) อาจจะแบ่งครึ่งหนึ่งทำเป็นข้าวผัดเผื่อเบื่อกับข้าวได้ค่ะ
ขออนุญาติแชร์ประสบการณ์และวิธีคิดแบบของเราเลยนะคะ
เราเทียบราคาของที่เป็นยี่ห้อมาตรฐานที่ซื้อในซุปเปอร์มาเก็ตนะคะ
ถ้าไปตลาดจะถูกกว่านี้อีก
ถ้าคำนวนคร่าวๆ ข้าวหอมมะลิถุงละ 5 กิโล สามารถอยู่ได้ทั้งเดือนสำหรับ 1 คน
ราคาประมาณ 180-200 บาท / 30 วัน = ประมาณ 6 บาทต่อวัน
เนื้อสัตว์
หมูบด 1 กก./ 140 บาท
หมูชิ้น 1 กก./ 220 บาท
อกไก่ 1 กก./ 180 บาท
รวม 540 บาท
ผักต่างๆ เลือกตามงบที่ตั้งไว้อาจจะตั้งไว้ที่ อาทิตย์ละไม่เกิน 100 บาท (จริงๆไม่น่าถึงสำหรับ 1 คน)
**เราจะซื้อของหลักๆทีเดียว ส่วนพวกผักบางชนิดมันจะเหี่ยวหรือเน่าเร็วจะซื้ออาทิตย์ละครั้ง**
เครื่องปรุง
น้ำปลา 30 บาท
ซีอิ๋วขาว 45 บาท
ซอสหอยนาางรม 30 บาท
น้ำมัน 50 บาท
เกลือพริกไทย 50 บาท
น้ำตาลทรายกิโลละ 22 บาท
กระเทียมกิโลละ 65 บาท
รวมประมาณ 300 บาท อยู่ได้ 1-2 เดือน(อาจจะนานกว่านั้น)
คำนวนคร่าวๆ
ข้าวสาร 200 บาท
เนื้อสัตว์ 540 บาท
ผักสดประมาณ 350 บาท
ค่าเครื่องปรุงต่างๆเฉลี่ย 150 บาท/เดือน
รวม 1,240 บาทต่อเดือน = ประมาณ 42 บาทต่อ 1 มื้อค่ะ
โดยรวมแล้วช่วงที่ทำงานประจำรู้สึกว่าประหยัดค่ะ ค่าห้องแพงแต่อยู่กลางเมือง
ช่วงนั้นค่าไฟไม่ได้แพงมากเพราะไปทำงานทุกวันไม่ค่อยได้อยู่ห้อง แอร์ก็เปิดเฉพาะก่อนนอนค่ะวันจันทร์-ศุกร์ตั้งเวลาปิด
แต่เดินไปทำงานได้ไม่มีค่ารถ ใกล้ซุปเปอร์มาเก็ตเดินไปได้ ในระยะยาวหน่อยเราจะมีวินัยในตัวเราเองด้วยค่ะในการซื้อของเข้าบ้าน
เราทำอาหารอาทิตย์ละครั้ง ทำประมาณ 3 อย่างค่ะเผื่อเบื่อ ส่วนใหญ่ก็ผัดกะเพราะ หมูผัดขิง และข้าวผัดค่ะ
ช่วงเช้าของเราค่อนข้างเร่งรีบไม่ทานอาหารเช้าค่ะ ดื่มกาแฟอย่างเดียว บางวันก็เอาข้าวที่ทำไว้หิ้วไปทานกลางวันที่ทำงาน
(ที่ทำงานมีห้องทานข้าวของพนักงานมีไมโครเวฟ) เย็นถ้าไม่มีใครชวนไปไหนก็กลับห้องค่ะ ไม่ต้องเบื่อรถติดเพราะเดินกลับ
18 สิงหาคม เวลา 20:42 น.
19 สิงหาคม เวลา 10:33 น.
พอใช้เตาไฟฟ้าค่าไฟก็จะแพงขึ้น เลยหาวิธีประหยัดไฟอื่นๆมาแทนค่าไฟในการใช้เตาไฟฟ้า
เราเลยเปลี่ยนบางอย่างในห้องให้ประหยัดไฟมากขึ้น เช่น พวกหลอดไฟ จะเปลี่ยนไปใช้พวกหลอด LED 9w หรือ 10w
กาน้ำร้อนก็ใส่เท่าน้ำเท่าที่จะใช้เพราะถ้าใส่น้อยมันจะร้อนเร็วแล้วตัดเร็วใช้ไฟน้อยกว่า
ยุคนี้มาช่วยกันประหยัดนะคะ
19 สิงหาคม เวลา 14:42 น.
แต่มันอร่อยกว่า… รสชาติที่เราต้องการ บางทีบอกร้านไป เขาก็ไม่เข้าใจ
18 สิงหาคม เวลา 20:52 น.
19 สิงหาคม เวลา 10:33 น.
เพราะ เราเลือกวัตถุดิบที่ดีกว่าได้ ยกตัวอย่างนะครับ ไปตลาดเจอหมูสับ กก.ละ 70 ไปจนถึง 130 บาท ผมเคยซื้อ 80 กับ 120 บาทมา คุณภาพของ 80 บาท แตกต่างกันทั้งตอนสด และทำเสร็จเเล้ว แล้วร้านเค้าเลือกแบบไหนมาให้เราอ่ะครับ?
น้ำปลามีตั้งแต่ขวลละ 10กว่าบาท ไปถึง 50 บาท คุณภาพแตกต่างกันแน่นอน แล้วร้านเค้าเลือกแบบไหนมาให้เราอ่ะครับ?
ยิ่งเรื่องความสะอาดเนี่ย ไม่ต้องสืบ
จ่ายเท่ากันหรือแพงกว่า แต่คุณภาพต่างกัน มีเรื่องปริมานที่ได้ด้วยครับ เรื่องความอร่อยไม่พูดถึงนะครับ 5555
18 สิงหาคม เวลา 21:04 น.
18 สิงหาคม เวลา 21:27 น.
18 สิงหาคม เวลา 21:48 น.
18 สิงหาคม เวลา 22:07 น.
ก็จะสรุปได้คร่าวๆนะครับ ว่าการลงทุนอุปกรณ์ครั้งแรก เหมือนดูมาก
แต่เราใช้ไม่หมดไง สิ่งที่เหลือใช้ไม่หมดในการทำครั้งแรก ก็จะเป็นทุนให้ใช้ในครั้งต่อๆไปนั่นเอง
ดังนั้น การซื้อของ หรือการคิดเมนู ก็จะมองยาวๆ เผื่อไปว่า
เราสามารถนำไปทำอะไรต่อเนื่องจากสิ่งเหล่านี้ได้บ้าง
ไม่ได้มองแค่มื้อเดียวตรงนั้นจบ
หรืออาหารบางอย่าง ทำไว้ ยิ่งเก็บนาน ยิ่งอุ่นหลายๆครั้งยิ่งอร่อย
อันนี้ก็จะทำทีเดียวหม้อใหญ่เลย ทะยอยแบ่งทานได้ หรืออาจเสริมบางเมนูสำหรับบางมื้อ
เพื่อไม่ให้น่าเบื่อ
ผลไม้ก็เช่นกัน รู้จักคัดสรรค์ ทำให้เป็น กินให้เป็น ก็ประหยัดมากเช่นกัน
ผมเน้นหลากหลาย ก็จะมีผลไม้หลายอย่างทานทุกวัน ลงทุนครั้งเดียว
แต่ทะยอยแบ่งอย่างละนิดละหน่อย ก็หลายครั้งกว่าจะหมด น่ะครับ
และหากทำอาหารเป็น หัดหาเรียนรู้ แม้แต่โยเกิร์ต ผมก็ทำเองหากอยากทาน
ทำง่ายมาก และได้ทีละเยอะมากด้วย ลงทุนก็ไม่เท่าไหร่
เทียบปริมาณที่ได้ หากเราซื้อ ใช้เงินหลายเท่าตัวเลย
พวกขนมหวานก็เช่นกัน ผมก็ทำเองตลอด ทำครั้งเดียว แบ่งทานไปเรื่อยๆ
รู้จักเก็บถนอม และพลิกแพลง เติมโน่นนี่ไป ก็จะกลายเป็นของหน้าตาใหม่ๆได้เองครับ
สนุกดีนะครับ ได้เรียนรู้ไปด้วย และกินอย่างที่อยากทาน และควบคุมต่างๆเองได้ด้วยมือเราเอง
ดีกว่าฝากชีวิตไว้กับมือคนอื่น ที่เราไม่รู้ว่าอะไรยังไงนัก นะครับ
18 สิงหาคม เวลา 22:27 น.
18 สิงหาคม เวลา 22:47 น.
18 สิงหาคม เวลา 22:58 น.
แต่มีเงื่อนไข
ต้องจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด ไม่ใช่ซื้อผัก ซื้อพริกมาแล้วใช้ไม่หมด ใช้ไม่ถึงจุดคุ้มทุน กรณีนี่ซื้อทานจะประหยัดกว่า
คุณภาพอาหาร , ปริมาณ เทียบกัน ใช้หมูเป็นขีดๆ จะเอาไปเทียบกับข้าวกล่อง 40-50 มีหมูอยู่ไม่กี่ชิ้น คงไม่ได้
18 สิงหาคม เวลา 23:01 น.
18 สิงหาคม เวลา 23:08 น.
ทำกับข้าวไม่เป็นนี่คือตั้งแต่เลือกซื้อของเลยครับ ซื้อมาเยอะไป เน่าเหลือทิ้ง คิดเมนูไม่ออก ทำแล้วไม่อร่อย กินไม่อิ่ม ทำกับข้าวมือนึงเสียเวลาไปมากกว่า 1 ชั่วโมง กว่าจะอ่านสูตรจากเนท กว่าจะเตรียม กว่าจะทำ กว่าจะกิน กว่าจะล้างทั้งหมด ฯลฯ
ซื้อเขาก็ไม่ได้แพงมากนักครับ ถ้าปกติซื้อเป็นปกติอยู่แล้วเราจะรู้ว่าเราจะประหยัดอะไรได้ เมนูไหนถูกไหนแพง เมนูไหนร้านไหนคุ้มค่าครับ เลือกประหยัดเอาจากอะไรแบบนั้นก็ได้ครับ เสียน้อยเสียยากครับ
18 สิงหาคม เวลา 23:10 น.
ผมทำกินเองมาตั้งแต่โควิทระบาทปีที่แล้ว
1. คุณควรมีตู้เย็น ตู้แช่แข็ง
2.ตอนที่ซื้อวัตถุดิบ แบ่งซอยใส่ถุงแบบกินทีละมื้อเอาแช่แข็งไว้
3. กระเทียม พริก หอม ข่าตระไคร้ ซอยปั่น แช่แข็งไว้
เวลาจะใช้ก็เอามาละลายน้ำแข็ง
ผมทำอาหารพวกผัด เช่นกระเพรา ผัดกระเทียม มื้อนึงไม่เกิน 10-15 นาทีเร็วกว่าไปนั่งรอที่ร้านอีก
เมื่อเช้าทำหมึกกระเทียม ถ้าไปกินที่ร้านน่าจะประมานจานเป็นร้อย ผมคำนวนต้นทุนน่าจะ 40 50 บาท
และการมีตู้แช่แข็งทำให้เอาไปกินมื้ออื่นได้อีก วันก่อนผมทำต้มจับฉ่าย ช่แข็งกินได้ 4_5 มื้อ
18 สิงหาคม เวลา 23:30 น.
18 สิงหาคม เวลา 23:31 น.
18 สิงหาคม เวลา 23:37 น.
สั่งจากแอพมื้อละหลักสิบบ้าง เป็นร้อยบ้าง ชอบสรรหากินจากร้านต่างๆ
18 สิงหาคม เวลา 23:47 น.
19 สิงหาคม เวลา 00:21 น.
วัตถุดิปในตู้เย็น ทำได้มากกว่าที่เราคิด ขอแค่รู้จักพลิกแพลงเป็น เช่น พริกที่เหลือจากการทำกระเพรา เอาไปทำอย่างอื่นในมื้อต่อไปได้ครับ
19 สิงหาคม เวลา 00:37 น.
จะซื้อวัตถุดิบที่ตัวเองกินบ่อยมาตุนไว้
ด้วยความเป็นคนกินอาหารวนๆไม่กี่เมนู
เลือกกินมาก ของทุกอย่างในตู้เย็น
เลยจะใช้ร่วมกันได้หลายหลากเมนู
กะเพรา => ผัดกะเพรา ต้มจืดกะเพรา ต้มยำกะเพรา
ขึ้นฉ่าย => ผัดเต้าหู้ทรงเครื่อง โรยข้าวต้ม ใส่ต้มจืด ใส่หนักสุดก็ใส่ยำ
คะน้า => ยำหมูมะนาว ผัดคะน้า ข้าวผัด ราดหน้า ผัดซีอิ๊ว
ผักรวม ( เซตที่ตลาดสดเซตละ 25 บาท ) => ผัดผักรวม ใส่ราดหน้า ใส่ผัดซีอิ๊ว
สังเกตดูว่าวัตถุดิบหนึ่งอย่างจะใช้ร่วมกันได้หลายเมนู เราก็จะหยิบมะนาว มะเขือ ผักชี แตงกวา หอมเเดง กระเทียม พริกจินดา ไปเพิ่มอีก
เนื้อสัตว์แล้วแต่สัปดาห์
บางสัปดาห์ก็มีซีฟู๊ด แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเล้งสองกิโลต้มหนึ่งครั้งกินได้ไปสองวัน แล้วเวลาปรุงน้ำยำในหม้อ ให้ปรุงแยกใส่ถ้วยค่ะ จะได้ไม่เสียง่าย และยังเอาเล้งไปทำก๋วยจั๊บญวน ก๋วยเตี๋ยว ข้าวต้มได้ด้วย ก็ซื้อหมูยอ ลูกชิ้น กุนเชียงมาด้วยค่ะ
จ่ายตลาด 1 ครั้ง
เราจะใช้ตังค์ประมาณ 500-1,200บาท
อันนี้รวมพวกข้าวหอมไดโนเสาร์ 2 กิโล เส้นบะหมี่ เส้นอบแห้ง มีผลไม้มาด้วยนะคะ ผลไม้ตามฤดูกาลอย่างละโล
ปกติเราจะชงกาแฟทานเอง
มีชาครบทุกแบบ สามารถชงทานเองได้ทุกอย่างที่ชอบทาน ใส่แบบเข้มข้นไปโลด
เลยไม่ต้องจ่ายค่าน้ำหวานมากเท่าไหร่
เราจะไปซุปเปอร์เดือนละครั้งเพื่อซื้อของใช้ในครัว ของใช้ในบ้าน ก็จะตกเดือนละประมาณ 1,000-1,200 บาท
รวมเเล้วเดือนนึงจะใช้ตังค์อยู่ประมาณ
6,000 บาทค่ะ
แต่ถ้าซื้ออาหารทานทุกมื้อ รวมค่าน้ำหวาน กาแฟที่ต้องจ่ายด้วย
จะตกมื้อละ 50-150 บาท ( กินขนมหนักไปอีกเรา )
แปลว่าวันนึงเราจะจ่ายค่าอาหารไปเต็มแมกซ์
450 บาทต่อวัน
450×30วัน = 13,500 บาท
เราต้องจ่ายเพิ่มอีกเท่าตัวเลยค่ะ
ยิ่งช่วงนี้สั่งอาหารออนไลน์โดนชาร์ทราคาจากหน้าร้านแพงขึ้นมาก จ่ายไม่ไหวเด้อ
คือถ้าเราทำกับข้าวเอง
เราก็มีมื้อขี้เกียจนะคะ มีสั่งสเต็คสั่งไก่มากินบ้าง
แต่เปลืองสุดคือค่าเค้กนี่แหละค่ะ
กินจังเลย กินหนักจนแฟนบอกว่า
เธอ..คนติดยาเขายังเลิกได้ เธอต้องใจเเข็งเลิกกินเค้กได้แล้วนะ 555555555555555
แล้วนี่ถ้าอยู่กันเป็นครอบครัวยิ่งประหยัดค่ะ
เอาจริงๆ บ้านเรามี 5 คน
เราไม่สามารถจ่ายค่าอาหารหัวละ50-150ได้ต่อวันเลยค่ะ มันแพงเกินไป
ทำเป็นหม้อๆไว้ในครัว ตักใส่บาตรแล้วก็ตักกินกันทั้งวันค่ะ
อิ่ม อร่อย ถูกปาก สะอาด และประหยัด
ปล. วันไหนอยากกินอะไรยากๆก็สั่งกินเอานะคะ บางเมนูวัตถุดิบเยอะและแพง ทำเองไม่คุ้ม
19 สิงหาคม เวลา 00:38 น.
20 สิงหาคม เวลา 08:42 น.
ช่วงหลังผมมาดูแลตัวเองมากขึ้น ทำอาหารกินเอง คุณภาพเน้นๆ เน้นโปรตีน ไขมันดี เคยบันทึกคร่าวๆประมาณวันละ 200 บาท ถ้าซื้อกินสามมื้อ มื้อละ 60 บาท สามมื้อก็180 บาท คุณภาพคนละเรื่องเลย
แล้วถ้าซื้อจากข้างนอกมากิน ผมไม่เคยอิ่มเลย ต้องเสียเงินซื้อขนม ขาเย็น กาแฟเย็นระหว่างมื้ออีก ทำกินเองกินให้อิ่มในมื้ออาหาร จะได้ไม่ต้องกินจุกจิกระหว่างมื้อ ได้สุขภาพดีไปอีก
19 สิงหาคม เวลา 00:52 น.
กะเพราหมูกรอบเราซื้อเอาอ่ะ ขี้เกียจทำหมูกรอบ มันใช้เวลาอ่ะ
ส่วนมากเราจะซื้อหมูบดมาโลนึงจากแมคโคร โลละ 130 บาท ไก่บดโลละ 80 บาท หรือเนื้อไก่ชิ้นโลนึงไม่ถึงร้อย เรามาแบ่งฟรีซไว้ถุงละ 100 กรัม
พริกกับกระเทียมเราก็ซื้อจากแมคโคร พริกเด็ดขั้ว กับกระเทียมปอกเปลือกแล้ว เอามาล้างใส่ถุงซิปล๊อกแล้วฟรีซ ใช้ได้นานดี ไม่ต้องมากังวลว่าจะเหลือปล่อยเสีย
ส่วนกะเพราพอดีเราปลูกกะเพราป่าไว้ ปลูกผักไว้หลายอย่าง
สมัยอยู่คอนโดเราก็ปลูกไว้ที่ระเบียง ปลูกเฉพาะที่กรบ่อยๆ กะเพรา โหระพา ผักชี ผักชีใบเลื่อย ต้นหอม สะระแหน่ คึ่นช่าย ส้มจี๊ด(ใช้แทนมะนาว) และผักไชยา ปลูกใส่กระถางวางเรียงกันไว้
เราไม่ค่อยได้ออกไปไหนน่ะนะ จะออกจากบ้านแค่เสาร์-อาทิตย์ (เฉพาะวันที่แฟนหยุด) ไม่ค่อยไปไหนมาไหนคนเดียว เอ็นข้อต่อเราไม่ดี ยืดผิดปกติ เลยทำให้ล้มง่าย แฟนไม่อยากให้ไปไหนคนเดียวเพราะมักได้แผล (นอกเรื่องแระ)
ก็ถ้าเราทำกะเพราหมูกินคนเดียวรวมข้าวก็ไม่น่าถึง 20 บาทอ่ะ นี่พูดถึงว่ารวมปุ๋ย รวมน้ำที่รดต้นกะเพราแล้วนะ
แต่ถ้าใช้หมูกรอบ กุ้ง ปู ปลา มันก็ราคาตามวัตถุดิบที่ใช้เนอะ
กุ้ง ปู ปลา เป็ด เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เราฟรีซไว้จะใช้ก็หยิบมา ซื้อจากแมคโครมันถูกกว่าที่อื่น ซื้อหลายๆอย่างมาฟรีซไว้มันก็ประหยัดได้กว่าซื้อทีละขีดสองขีดนะ
ผักก็ซื้อพวกผักที่เก็บได้นาน เช่นผักกาดขาว กะหล่ำปลี แครอท มันฝรั่ง ไชเท้า
แต่ก็ซื้อผักที่เสียง่ายมาไว้ผัดกินวันจันทร์-พุธนะ วันอื่นก็ผักไชยา ไม่ก็พวกผักที่เก็บได้นานๆอ่ะแหล่ะ
ต้นหอมญี่ปุ่นเราก็ล้างหั่นแช่ฟรีซนะ ดูยูทูปจากแม่ย้านญี่ปุ่นมา เวลาอยากกินอาหารญี่ปุ่นก็ทำเองได้ง่ายๆ
ขิงปอกแล้วฝานเป็นชิ้นแช่ฟรีซ ช่วงหน่อไม้เยอะก็ซื้อมาต้มแล้วฟรีซเก็บได้นานดี
ซื้อของจากที่ราคาไม่แรง แล้วมาฟรีซไว้ คือพวกผักที่เราฟรีซอ่ะ บางทีมันต้องซื้อมาในระดับนึง แต่ถ้าเราใช้ไม่ทันมันจะเสีย ก็จะกลายเป็นแพงไปซะงั้น
ตู้เย็นแน่นมากเลยอ่า???
สรุปคือ แพงไม่แพงอยู่ที่เราซื้อวัตถุดิบ เราเลือกเองได้นี่นะ
มันมีหมูที่ขายโลละ 99 ด้วยนะ แต่มันก็ตามราคาอ่ะนะ
แต่เราใช้เงินซื้อของกินของใช้ในบ้านตกราวๆเดือนละ 20,000 นะคะ (สองคนกับแฟน)
เพราะว่าเราทำเค้ก ขนมต่างๆ ชานมไข่มุก และอาหารหลายๆอย่างที่เค้าขายกันราคาแพงๆด้วยน่ะ ค่าวัตถุดิบก็เลยต้องเพิ่ม แต่ถ้ากินนอกบ้านมันจะแพงกว่ามากๆๆไง
ทำกระทั่งไอศครีมโฮมเมด(มีเครื่องทำไอศครีม) และบิงซู(มีเครื่องทำบิงซู) ทำกินเองมันแทบทุกอย่างที่ทำได้เลย??
นี่เล็งเตาอบเป็นย่างแบบใช้ถ่านอยู่ กะว่าถ้าแฟนเริ่มต้องออกไปทำงานนอกบ้านจะแอบสั่งมา
สามี wfh มาปีกว่าแล้ว ทำขนมอัดให้แฟนกินเต็มที่ น้ำส้มยูซุก็ใช้แบบคั้น+เปลือกส้มยูซุแช่แข็ง ใช้แต่ของราคาสูงทั้งนั้นเลย
แต่ตอนสามีทำงานนอกบ้านปกติ ฮีใช้ค่ากินสูงกว่านี้มากเลยนะ ตอนนี้อ่ะถือว่าประหยัดแล้วล่ะ
ฮีทำงานใช้สมองเยอะ เลยอยากกินของหวานๆบ่อยมาก บางทีใช้สมองจนหัวร้อนเราต้องประคบเย็นให้แฟน ไม่งั้นปวดหัว บอกเลยว่าขนมหวานช่วยได้มากจริงๆนะ
19 สิงหาคม เวลา 01:05 น.
20 สิงหาคม เวลา 08:43 น.
19 สิงหาคม เวลา 01:07 น.
แต่ที่เราชอบทำกินเองเพราะวะอาด และเลือกคุณภาพวัตถุดิบได้
ถ้ากินร้านทั่วไป มันถูกกว่าเช่นเมนูผัก เค้าเอาผักตลาดมา ล้างบ้างไม่ล้างบ้าง เราทำกินเองใช้ผักออแกนิคก็จะแพงกว่า แต่ระยะยาวสุขภาพดีกว่า
แต่ถ้าข้าวไข่เจียวเราทำเองประหยัดกว่า
19 สิงหาคม เวลา 01:07 น.
เราจะทำมื้อใหญ่แช่ตูเย็นไว้เลยค่ะ
เริ่มต้นจากทำ 3 อย่าง เวียนกิน
พอบางอย่างเริ่มหมดก็ ทำเมนูอื่นมาแทรก
ทีนี้ทำที่ละอย่างได้ค่ะปกติกะให้หมดไม่พร้อมกัน
บางมื้ออาจแทรกพวกหมึกแห้งทอดเปลี่ยนบรรยากาศ
และกันเบื่อค่ะ (พวกตระกูลแดดเดียวก็ได้)
แนวทางเมนูค่ะ
19 สิงหาคม เวลา 01:34 น.
20 สิงหาคม เวลา 08:43 น.
อย่างอาหารเช้า ขนมปังปิ้ง ไข่ดาว ไส้กรอก สลัดผัก กาแฟสด เราทำเอง น่าจะหัวละเกินร้อยบาทแล้วนะ เพราะขนมปังก็อบเอง แผ่นนีง 5 บาทได้แล้วมั้ง ใช้ไข่เบอร์ 0 ซื้อยกแผง ฟองละ 6 บาท ไส้กรอกอย่างดีแบบอร่อยๆ ชิ้นละ 20 กว่าบาท แฟนเราจัดไป 3 ค่ะ กาแฟตกแก้วละ 20 บาท ยังไม่รวมค่าแก๊ส ค่าเครื่องชงกาแฟ เครื่องทำขนมปัง และ ฯลฯ เรียกได้ว่า ทำกินได้ ทำขายเจ๊งค่ะ
อันนี้แล้วแต่ไลฟ์สไตล์การกินของแต่ละบ้านนะคะ บางบ้านอาจจะออกแบบเมนูได้ประหยัดกว่าเราได้เยอะก็ได้ 555 แต่เราก็ยังทำต่อไปค่ะ แม้จะไม่มีโควิด ก็ทำกินครบ 3 มื้อ มาโดยตลอด
เหตุผล คือ ความสบายใจ รู้ว่าเรากินอะไรเข้าไปบ้าง แต่ละเมนู คิดมาอย่างดี ว่าสารอาหารครบ เหมาะกับทุกเพศวัย ถูกปากคนกิน ถูกจริตคนทำ วัตถุดิบ ก็เลือกที่คุณภาพดี ปลอดสารพิษค่ะ เราคิดว่า ลงแรงทำเองขนาดนี้ ลงทุนเครื่องครัวไปเป็นแสน คนในบ้านต้องได้กินของดีๆ สิ จะให้กินของที่คุณภาพต่ำกว่าร้านอาหารได้ไง ค่ากับข้าวเลยบานปลายม้ากกกกค่ะ บอกเลย
แต่บางอย่างก็ถูกกว่าร้านเยอะนะ อย่าง ปลาแซลมอน เราซื้อเป็นตัว 5-6 กิโล สไลซ์เป็นเนื้อ ออกมาตกชิ้นละไม่ 50-60 เอามาทำสเต็ก ข้าวหน้าปลาย่างซีอิ๊ว ถูกกว่าไปกินร้านญี่ปุ่นจานละหลายร้อยค่ะ แต่มันก็แพงตอนซื้อทั้งตัวตอนแรกแหละ T T พวกที่ทำได้ถูกกว่าร้านเยอะมากๆ คือ เบเกอรี่ค่ะ ชีสเค้กหน้าไหม้ ซื้อวัตถุดิบมา 400 กว่าบาท อบได้ 3 ปอนด์ ถ้าซื้อนี่แบงค์พันปลิวแน่ๆ ค่ะ เราก็ฟรีซไว้ แบ่งมากินทีละหน่อยได้ยาวๆ ค่ะ เครื่องดื่มก็ถูกกว่าค่ะ ลาเต้ ช็อกโกแล็ตเย็น ชาเขียวปั่น สตรอว์เบอรีไซรัปโซดา ต่างๆ นานา แก้เกือบร้อย ชงเองไม่เกิน 30 ค่ะ
ดังนั้น คนที่ทำอาหารกินเอง ถ้าโจทย์ คือ ความประหยัด คำนวณดีๆ ออกแบบเมนูดีๆ และมีปริมาณสมาชิกในบ้านมากพอจะช่วยลดต้นทุนการกิน อาจจะประหยัดได้ ถ้ากินหรูอยู่บ้านแบบเราอาจจะไม่ตอบโจทย์ค่ะ 5555
19 สิงหาคม เวลา 01:35 น.
19 สิงหาคม เวลา 02:00 น.
19 สิงหาคม เวลา 02:07 น.
19 สิงหาคม เวลา 03:28 น.
19 สิงหาคม เวลา 03:58 น.
ขึ้นอยู่กับว่า ในใจคุณชอบหรืออยากทำอาหารเองไหม
เรื่องประหยัดหรือไม่ เอาไว้ทีหลังก่อน
หลายคนชอบทำอาหารทานเอง ด้วยเหตุผลว่า มันปลอดภัยดี ( เพราะเรารู้ว่าเราใส่อะไรลงไปบ้าง) และรสชาติถูกปาก ( เลือกทำได้ตามความพอใจ )
แต่ต้องเสียเวลาไปกับการหาวัตถุดิบ , เวลาในการประกอบอาหาร, การเก็บล้างทำความสะอาด รวมถึงการเก็บถนอมอาหารถ้าจะแบ่งทานไว้หลายวัน
ถ้าชอบทำอาหารเป็นทุนอยู่แล้ว เรื่องที่กล่าวมา จะไม่เป็นปัญหาเลย เพราะคุณจะหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ( ความชอบทำอาหารมีเยอะกว่าปัญหาจุกจิกเหล่านี้ )
การทำอาหารเอง ไม่ได้ประโยชน์แค่เพียง ได้กินอาหารนั้นเท่านั้น แต่มันช่วยเรื่องของการใช้เวลาที่คุณมีให้เกิดประโยชน์ ( กรณีที่คุณพอมีเวลาว่าง หรือมีเวลาว่างๆ ) แถมยังช่วยเบี่ยงเบนความเครียดในชีวิตประจำวัน ให้เป็นความสุขเล็กๆน้อยๆ เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองได้อีกด้วย
อาจจะไม่ต้องทำอาหารเองทุกวัน หรือทุกมื้อ ทำเฉพาะวันเวลาที่สะดวก
แต่ถ้าคุณมีกิจกรรม หรืองานที่หัวหมุนอยู่แล้ว หาซื้อทานเอาเถอะครับ ให้พ่อค้าแม่ค้าเขามีรายได้กันบ้าง
เก็บเวลาไปทำประโยชน์ที่จำเป็น หรือได้มากกว่าดีกว่าครับ
ส่วนเรื่องประหยัดไหม คำนึงถึงเป็นสิ่งสุดท้าย
เราสามารถหาวัตถุดิบนี้ได้จากตลาดสด ซึ่งมีของสดใหม่จากแหล่งผลิตได้ทุกวัน ราคาขึ้น-ลงตามกลไกของตลาด ราคาต่อรองกันได้
หรือไม่มีเวลาเดินตลาดสด ก็ไปห้างที่มี supermarket ก็สะดวกดี แต่ของอาจไม่สดจริง เพราะแพคมาหลายวัน อาศัยแช่เย็นเอา ราคาตามป้าย
ส่วนตัวคิดว่า ทำอาหารเองบ้างเป็นบางวันก็ดีครับ จะได้ฝึกทักษะการทำอาหารไปด้วย เผื่อตกงาน จะได้มี skill ทำอาหารขายเลี้ยงตัวเองไป เพราะอาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องรับเข้าสู่ร่างกาย ( ต้องกิน ) และช่วยลดความเตรียดจากภาวะต่างๆที่ถาโถมเข้ามาในชีวิต ดีกว่าไปเสียพลังงานกับอะไรก้ไม่รู้ ที่ไม่ได้ชิ้นงาน ( กรณีนี้พุดถึงเรื่องอาหาร ) ออกมาให้เกิดความภาคภูมิใจด้วย
มันอยู่ที่ใจ เหมือนที่จั่วหัวไว้นั่นล่ะครับ
ถ้าชอบเสียอย่างแล้ว อะไรๆก็ไม่ใช่ หรือไม่คิดว่าเป็นปัญหา ทำได้หมด
19 สิงหาคม เวลา 05:33 น.
19 สิงหาคม เวลา 06:12 น.
19 สิงหาคม เวลา 08:14 น.
พวกเมนูง่ายๆ ไข่ต้ม ไข่ดาว ไข่เจียวหมูสับ หมูทอด ไก่ทอด ผัดผัก ข้าวผัด ข้าวต้ม พวกนี้ถูกกว่าถ้าทำเอง
แต่พวกเมนูซับซ้อน อย่าง แกงเขียวหวาน ต้มยำ ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู มัสมั่น พวกนี้ไม่เหมาะกับทำกินมื้อเดียว ทำแล้วจะแพง ต้องทำเยอะถึงจะถูก
ต้องผสมๆกันครับ ของยากๆซื้อเอา ส่วนของง่ายๆ ทำเอง แบบนี้คุ้มสุด
19 สิงหาคม เวลา 08:37 น.
ทีนี้ แต่ละวันที่เหลือ แค่หยิบออกมาทำแบบง่ายๆ แบบนี้ถึงจะพอประหยัดได้ครับ
ส่วนมาก ถ้าซื้อทีละนิด แล้วมาทำมื้อเดียว แบบนั้น ไม่คุ้มทั้งเงิน ทั้งเวลา ทั้งแรง ครับ
19 สิงหาคม เวลา 08:52 น.
ผมคิดเหมือน จขกท เลย
มีไมโครเวฟกับตู้เย็นพอแล้ว
19 สิงหาคม เวลา 09:03 น.
19 สิงหาคม เวลา 10:35 น.
แล้วจะเข้าใจครับว่าประหยัดจริง
19 สิงหาคม เวลา 09:04 น.
ผักสด ยิ่งมีตู้เย็นก็เก็บได้นานค่ะ (ลองหาคลิปยูทูปแม่บ้านเกาหลี/ญี่ปุ่น จะได้ไอเดียจัดเก็บเยอะเลยค่ะ)
ทำอาหารถ้าขี้เกียจทำบ่อย ก็ทำเผื่อกินได้ซักสองมื้อ อันที่เผื่อก็ใส่กล่องแช่ฟรีสไว้เลย แล้ววันไหนจะกินก็อุ่นเอาสะดวกดีค่ะ ข้าวถ้าอยู่คนเดียวก็หุงไว้ แล้วส่วนที่ยังไม่ได้กินก็ใส่กล่องแช่ฟรีสอีกค่ะ ส่วนเรื่องประหยัด มันก็แล้วแต่วัตถุดิบด้วยค่ะ
19 สิงหาคม เวลา 09:06 น.
ร้านตามสั่งเค้าจะซื้อมาทีละเยอะๆ แต่หยิบมาทำแค่พอจาน…
เนื้อสัตว์ที่ซื้อมา เอามาล้างทำความสะอาด แล้วหั่น สับ แบ่งใส่ถุงพอแค่ทำอาหารแต่ละครั้ง แล้วฟรีสไว้ ผักผลไม้ก็ล้างให้สะอาด แล้วแยกเก็บเป็นประเภท ใส่ถุงหรือใส่กล่องจะเก็บได้นานกว่า ผักบางอย่างถ้าปลูกเองได้ ก็จะประหยัดลงอีก
อาหารแช่แข็ง..คือ อาหารบางอย่าง จำเป็นต้องทำหลายเสิร์ฟ แล้วทานไม่หมด ให้แบ่งเป็นถ้วย ถ้วยละ 1 มื้อ 1 คน แล้วแช่แข็งเก็บไว้ทานวันหลัง
เช่น ข้าวสวย ที่บ้านอยู่กันแค่สองคน เรากินข้าวแค่วันละ 1 มื้อ(100กรัม) อีก 1 มื้อไม่มีข้าว สามีกินข้าวที่ทำงาน ตอนเย็นเป็นเมนูไม่มีข้าว แต่หม้อข้าวต้องหุงขั้นต่ำ 2 กระป๋อง คือหุงทีเดียวกินทั้งอาทิตย์ แพ็คใส่ถุงแช่แข็งได้เหมือนกัน
ทุกวันนี้ที่บ้านอยู่ 2 คน วันละ 3 เสิร์ฟ เสาร์อาทิตย์วันหยุด ก็จะ 4 เสิร์ฟ เน้นโปรตีน กับ ผัก แป้งน้อย ไขมันต่ำ เนื้อไก่และผักคืออาหารหลัก รองมาเป็นหมูและอาหารทะเล เครื่องปรุงทุกอย่างเป็นแบบโซเดียมต่ำดีต่อสุขภาพ น้ำมันใช้รำข้าว กับน้ำมันมะกอก ใช้ erythritol แทนน้ำตาลทราย ของสดและเครื่องปรุงเดือนนึง เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2200 – 2800 เท่านั้น (ถ้าใช้ของทั่วๆไปก็น่าจะประหยัดได้อีก)
สิ่งที่ได้…ไม่ต้องออกจากบ้านบ่อย ประหยัด อาหารมีคุณภาพมากขึ้น สุขภาพดีขึ้น
19 สิงหาคม เวลา 09:22 น.