… ตำลึง vs ไข่สามสหาย …
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://m.pantip.com/topic/41282662?
แบบว่าหมดเงินไปหลายร้อยค่ะ กลับมาก็ต้องเจียมตัว
อยู่บ้านคุ้ยๆตู้เย็นวนไป อิอิ
เช้านี้มองส่องไปข้างบ้าน หญ้ารกจุง วัชพืชขึ้นเลื้อยพันต้นขนุน มะม่วง และมะนาว แต่ส่องไปส่องมา อ๊ะๆ มีของกินได้
ก็คว้ารองเท้าบู๊ตมาสวมแล้วลงสวนค่ะ ไปคว้าๆดึงๆทึ้งเอาเถาตำลึงมา กะว่าพอทำแกงจืดได้หนึ่งถ้วย
ตำลึงมีประโยชน์ค่ะ กินก็อร่อย
เถาที่ไปดึงๆมามีใบอยู่สองแบบค่ะ
https://www.disthai.com/17105219/%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%87
เป็นใบตำลึงเพศเมีย และเพศผู้
ดูความแตกต่างกันชัดๆ
ส่วนใหญ่ตำลึงที่กำมาขาย จะเอามาแต่ใบเพศเมียค่ะ หลายท่านบอกว่ากินใบเพศผู้แล้วจะถ่ายท้อง
จริงป่าวไม่รู้ แต่หนอนฯก็เขี่ยใบเว้าๆเพศผู้ออก ไม่ได้เอามาใช้ค่ะ
จะกินแกงจืดก็ธรรมดาไป และไม่มีหมูสับ มีแต่ไข่ มีไข่ตั้งสามชนิดแน่ะ หนอนฯจึงจะเอามาใช้ทำแบบซุปปวยเล้งใส่ไข่สามสหาย แบบที่ร้านอาหารจีนทำค่ะ
https://m.pantip.com/topic/41004551?
มาเตรียมกัน เรามีตำลึง กระเทียม ไข่ไก่ ไข่เค็ม ไข่สำเภา(ไข่เยี่ยวม้า)
เริ่มต้นด้วยการล้างตำลึงแล้วเอามาผัดกระเทียมให้หอมมมมม ถ้าใครชอบตำลึงเปื่อยๆก็เติมน้ำหน่อยนึงแล้วเคี่ยวสักครู่ก็ได้ค่ะ
เสร็จแล้วตักใส่ถ้วยมารอไว้
ต่อจากนั้นก็ทำซุปไข่ หั่นไข่สำเภา(ไข่เยี่ยวม้า) และไข่เค็มลงไปในหม้อน้ำซุปที่มีกระเทียมลงไปลอยอยู่ เคี่ยวไฟอ่อนจนกระเทียมนิ่มจึงปิดไฟ ใส่ไข่สดลงไปใช้ส้อมกวนๆให้ไข่กระจายเป็นสายไม่จับตัวเป็นก้อนค่ะ
ตักซุปไข่ร้อนๆราดลงบนตำลึงผัดกระเทียม
ถ้วยนี้น้ำซุปขุ่นไปหน่อยค่ะ เพราะเปิดไฟแรงมากไปจนเดือดพลั่กๆเลย ถ้าใช้ไฟอ่อนน้ำแกงจะใสสวยกว่านี้ค่ะ
อร่อยค่ะ อร่อยไม่แพ้ปวยเล้ง แต่ตำลึงหาง่ายและราคาถูกกว่าด้วย หรือไปลองส่องแถวรอบๆบ้าน ถ้ามีตำลึงฟรียิ่งประหยัดค่ะ
ขอให้เจริญอาหาร
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11:46 น.
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 12:09 น.
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 12:21 น.
แพ้คุณหนอนเพราะมีสหายเดียว ไม่ใช่ 3 สหาย ^^
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13:27 น.
ก็ต้มแบบปกติ นำ้ซุปเดือด หมูสุก ก็ใส่ตำลึงลงไป
ปิดฝารอแป๊บ แค่นี้ก็อร่อยแล้ว
แล้วมาลุ้นว่าวันนี้จะท้องเสียหรือเปล่า
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 15:32 น.
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16:51 น.
ตอนนี้รอบบ้านตำลึงเยอะเชียวค่ะ
พรุ่งนี้เช้าว่าจะเก็บอีก ประหยัดเงินค่าผัก อิอิ
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 17:26 น.
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16:52 น.
ชอบเลยจำมาทำกินเอง
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 17:27 น.
24 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 21:48 น.
เช้านี้ลงสวนไปทึ้งเถาตำลึงมาอีก เด็ดยอดมาใส่ซุปที่เหลือได้อีกถ้วย
และเจอนี่ค่ะ เจอเยอะเลย
ดูผลตำลึงอ่อนกันชัดๆ
เห็นแล้วนึกถึงสมัยเด็ก หนอนฯและญาติๆรุ่นราวคราวเดียวกันชอบเล่นขายของ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นทำอาหารกัน
ผลตำลึงอ่อนสีเขียวและผลแก่สุกงอมสีแดงจัดคือของเล่นที่เด็กผู้หญิงสมัยนั้นโปรดปราน รวมถึงผลไม้ดอกไม้ขนาดเล็กๆจิ๋วๆทั้งหลาย ที่พวกเราจะไปเด็ดมาเล่นทำกับข้าวและเล่นขายของกันค่ะ
วันนี้เด็ดมาเยอะ ไม่ได้เอามาเล่น แต่ตั้งใจว่าพรุ่งนี้หรือวันถัดไปจะทำอาหารจากผลตำลึงอ่อนค่ะ
นี่ค่ะ ผ่าผลให้ดูชัดๆ
ถ้าได้ทำแล้วจะเอามาให้ชิมทิพย์นะคะ
25 กุมภาพันธ์ เวลา 08:43 น.
25 กุมภาพันธ์ เวลา 13:29 น.
25 กุมภาพันธ์ เวลา 14:27 น.
รวมสูตร ลูก ตําลึง 14 สูตร พร้อมวิธีทำ อร่อยง่ายๆที่บ้าน ทำตามได้จริง – Cookpad
https://cookpad.com/th/search/%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%20%E0%B8%95%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%87
ผมทานใบตำลึงทั้ง 2 แบบ ไม่มีผลกับการขับถ่ายนะครับ
ใบตำลึง ตัวผู้-ตัวเมีย รับประทานผิดอาจท้องเสียได้ จริงหรือไม่?
ใบตำลึง เป็นผักริมรั้วที่คนไทยนิยมรับประทานกันมานาน มีประโยชน์มากมายทั้ง วิตามิน แร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุเหล็กและวิตามินเอที่มีอยู่มาก….ดั้งนั้น “จากกระแสที่มีการแชร์ข่าวรับประทาน ตำลึงตัวผู้ แล้วท้องเสีย” นั้นจริงหรือไม่มาดูคำตอบจากผู้รู้กัน…
ตำลึง เป็นพืชที่ไม่สมบูรณ์เพศ มีทั้งดอกตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งแต่ละต้นนั้นจะมีแค่เพศเดียว ดังนั้นลักษณะของ ใบ “ไม่สามารถบ่งบอกเพศได้” การที่จะรู้ว่าตำลึงต้นไหนเป็นเพศใดต้องดูจากดอกเท่านั้น! ส่วนวิธีดูนั้นหากเป็น “เพศเมีย” ให้ดูที่ใต้ดอก จะมีกระเปาะอยู่ใต้ดอก นั่นคือ รังไข่ ที่บ่งบอกว่าเป็นเพศเมีย ส่วน “เพศผู้”จะไม่มีกระเปาะใต้ดอกนั่นเอง…
ดังนั้น…ต้นเพศผู้ หรือ ต้นเพศเมีย ก็มีทั้งใบเว้า ใบเต็ม ได้เช่นกัน สาเหตุที่มาของท้องเสียนั้น…ด้วยตำลึงนั้นเป็นพืชที่มีไฟเบอร์สูง ซึ่งช่วยในเรื่องการขับถ่ายอยู่แล้ว แต่ที่ท้องเสียอาจมาจากสาเหตุในเรื่องของการทำความสะอาดมากกว่า
สรุปได้ว่า…ไม่ว่าจะใบเว้า ใบเต็ม หรือ ต้นเพศผู้ ต้นเพศเมีย ก็ไม่ทำให้ ” ท้องเสียได้ ” แม้เป็นผักริมรั้วธรรมดา…ตำลึงนั้นก็มีประโยชน์มาก สำหรับคนไทยแล้วนิยมนำมาประกอบอาหารต่างๆมากมาย รวมถึงอาหารสุขภาพอีกด้วย พืชริมรั้วดีๆแบบนี้อย่าลืมหามารับประทานกันด้วยนะ ^^
ที่มา อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาวิจัยลักษณะและพัธุกรรมของตำลึง
https://goodlifeupdate.com/healthy-food/141734.html
25 กุมภาพันธ์ เวลา 18:13 น.
กำลังคิดว่าอาจจะทำแกงคั่วใส่หมูย่างค่ะ
25 กุมภาพันธ์ เวลา 19:29 น.
ว่าใบตำลึงทั้งสองแบบ กินแล้วไม่ทำให้ท้องเสีย
กินมาตั้งแต่เด็กยันแก่ ไม่เห็นเป็นอะไร
เสียดายที่งานวิจัยของ “อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์” ที่คุณพูดถึง
ก็ไม่ได้สรุปว่า มันไม่ได้ทำให้ท้องเสีย
เพียงแต่บอกว่ารูปทรงใบมันไม่ได้บอกว่าตัวผู้หรือตัวเมีย
“ดังนั้น…ต้นเพศผู้ หรือ ต้นเพศเมีย ก็มีทั้งใบเว้า ใบเต็ม ได้เช่นกัน”
พูดไม่ชัดเจน หนักแน่นเท่าไร น่าเสียดาย
อีกเรื่องนึงเกี่ยวกับตำลึง
คือตอนเด็กๆ เวลาเดินในสวนแล้วไปโดนต้นตำแย
ซึ่งทำให้คัน
ผมจะมองหาต้นตำลึง
“ซึ่งมักจะมีขึ้นอยู่ใกล้ๆกับต้นตำแย นั่นแหละ”
เอาใบมาถูๆบริเวณที่โดนตำแย ก็จะแก้พิษได้ หายคัน
ไม่ค่อยเกี่ยวกับแกงจืดตำลึงเท่าไรเลยนะ
25 กุมภาพันธ์ เวลา 20:02 น.
เอามาทำเมนูนี้ น่าทานมาก
เพิ่งเคยได้ยินว่า “ไข่เยี่ยวม้า” เรียกว่า “ไข่สำเภา”
26 กุมภาพันธ์ เวลา 20:45 น.
27 กุมภาพันธ์ เวลา 23:29 น.
11 มีนาคม เวลา 09:11 น.