ตามหลักพระวินัย ห้ามไม่ให้พระปรุงอาหาร เพราะเมื่อไหร่ที่พระปรุงอาหารพระก็จะติดในรสชาตินั้น?
ถ้าเอาตรงๆตามพระธรรมวินัย ผิดไหมครับ? ถ้าผิดทำไมญาติโยมยังถวาย และพระสงฆ์ยังรับมาฉัน?
หรือ
นี่มันยุคไหนแล้ว บางสิ่งบางอย่างมันต้องปรับไปตามสภาพแวดล้อม ญาติโยมสะดวกแบบนี้ และพระท่านจะได้ฉันของร้อนๆและเลือกได้เองด้วย
ถึงผิดก็เล็กน้อยมาก มองข้ามไปก็ได้ ใช่ไหมครับ?
ท่านคิดเห็นเป็นฉันใดครับ?
19 มิถุนายน เวลา 22:20 น.
ครั้งพุทธกาล จำไม่ผิดตอนพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปที่กุสินาราเพื่อดับขันธปรินิพพาน
พระอานนท์ได้ปรุงข้าวยาคูถวายพระองค์ แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่าได้มาจากไหน
พระอานนท์ก็ตอบว่าเป็นผู้ปรุงเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงตำหนิ แล้วให้พระอานนท์เอาข้าวยาคูนั้นไปทิ้ง
ที่สมณะไม่ควรปรุงอาหาร เพราะจะทำให้เกิดตัณหาในสี กลิ่น รส และ สัมผัส ของอาหารมากยิ่งขึ้น
19 มิถุนายน เวลา 23:11 น.
ผู้รับไม่รู้ ก็ไปหาความรู้
อย่าอยู่ อย่าใช้ชีวิต ไปแบบ…ไม่รู้
19 มิถุนายน เวลา 22:57 น.
23 มิถุนายน เวลา 11:02 น.
ครั้งพุทธกาล จำไม่ผิดตอนพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินไปที่กุสินาราเพื่อดับขันธปรินิพพาน
พระอานนท์ได้ปรุงข้าวยาคูถวายพระองค์ แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามว่าได้มาจากไหน
พระอานนท์ก็ตอบว่าเป็นผู้ปรุงเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ทรงตำหนิ แล้วให้พระอานนท์เอาข้าวยาคูนั้นไปทิ้ง
ที่สมณะไม่ควรปรุงอาหาร เพราะจะทำให้เกิดตัณหาในสี กลิ่น รส และ สัมผัส ของอาหารมากยิ่งขึ้น
19 มิถุนายน เวลา 23:11 น.
ว่าด้วยทรงห้ามการหุงต้มภายในเป็นต้น
เรื่องอาหารที่หุงต้มเอง
[๒๗๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ
พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประชวรโรคลมใน
พระอุทร
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ดำริว่า “เมื่อก่อน พระผู้มีพระภาคทรงประชวร
โรคลมในพระอุทร ก็ทรงพระสำราญได้ด้วยข้าวต้มปรุงด้วยของ ๓ อย่าง” จึงออก
ปากของาบ้าง ข้าวสารบ้าง ถั่วเขียวบ้าง ด้วยตนเองแล้วเก็บไว้ภายใน๑- ต้มเองแล้ว
น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคด้วยกราบทูลว่า “ขอพระผู้มีพระภาคโปรดดื่มข้าวต้ม
ปรุงด้วยของ ๓ อย่างเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
พุทธประเพณี
พระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่อง ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบ
กาลอันควร ตรัสถามก็มี ไม่ตรัสถามก็มี ตรัสถามเรื่องที่เป็นประโยชน์ ไม่ตรัส
ถามเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะพระตถาคตเจ้าทั้งหลายทรงขจัดเรื่องที่ไม่เป็น
ประโยชน์เสียด้วยอริยมรรคแล้ว
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายสอบถามภิกษุทั้งหลายด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ จะทรงแสดงธรรมอย่างหนึ่ง จะทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกอย่างหนึ่ง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งถามว่า “เธอได้
ข้าวต้มนี้มาจากไหน อานนท์”
@เชิงอรรถ :
@๑ เก็บไว้ภายใน คือเก็บไว้ในอกัปปิยกุฎี (วิ.อ. ๓/๒๗๔/๑๗๖) ภายหลังพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตกัปปิย
@กุฎี (ดูข้อ ๒๙๕ หน้า ๑๑๖ ในเล่มนี้) เพื่อให้ภิกษุภิกษุณี พ้นจากการเก็บของไว้ภายในและหุงต้มภายใน
@(วิ.อ. ๓/๒๙๕/๑๘๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๗๐}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]
๑๖๔. อันโตวุฏฐาทิปฏิกเขปกถา
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลเรื่องนั้นให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “อานนท์ การทำอย่างนี้ไม่สมควร
ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉนเธอ
จึงขวนขวายเพื่อความมักมากเช่นนี้เล่า อาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่
หุงต้มเอง จัดเป็นอกัปปิยะ๑- การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
ฯลฯ” ทรงแสดงธรรมีกถาแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่
พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายใน หุงต้มภายใน หุงต้มเอง ถ้าภิกษุฉัน
อาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๓ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายใน หุงต้มภายใน คนอื่นหุงต้มให้ ถ้า
ภิกษุฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายใน แต่หุงต้มภายนอก หุงต้มเอง ถ้า
ภิกษุฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายนอก แต่หุงต้มภายใน หุงต้มเอง ถ้าภิกษุ
ฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ๒ ตัว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายใน แต่หุงต้มภายนอก คนอื่นหุงต้มให้
ถ้าภิกษุฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายนอก หุงต้มภายใน คนอื่นหุงต้มให้ ถ้าภิกษุ
ฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายนอก หุงต้มภายนอก หุงต้มเอง ถ้าภิกษุ
ฉันอาหารนั้น ต้องอาบัติทุกกฏตัวเดียว
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเก็บอาหารไว้ภายนอก หุงต้มภายนอก คนอื่นหุงต้มให้
ถ้าภิกษุฉันอาหารนั้น ไม่ต้องอาบัติ
@เชิงอรรถ :
@๑ อกัปปิยะ คือ ของที่ภิกษุไม่สมควรจะบริโภค
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๗๑}
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๖. เภสัชชขันธกะ]
๑๖๔. อันโตวุฏฐาทิปฏิกเขปกถา
เรื่องอุ่นภัตตาหาร
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายสนทนาว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามภัตตาหารที่หุง
ต้มเอง” จึงยำเกรงโภชนาหารที่อุ่นใหม่
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุ่นภัตตาหารได้”
เรื่องให้เก็บอาหารภายในและหุงต้มเองเมื่อคราวจำเป็น
สมัยนั้น กรุงราชคฤห์เกิดข้าวยากหมากแพง คนทั้งหลายนำเกลือบ้าง น้ำมัน
บ้าง ข้าวสารบ้าง ของฉันบ้างมาที่อาราม ภิกษุทั้งหลายให้เก็บของเหล่านั้นไว้ภาย
นอก สัตว์ต่างๆ๑- คาบไปกินเสียบ้าง พวกโจรลักเอาไปบ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้เก็บไว้ภายในได้”
พวกกัปปิยการกเก็บอาหารไว้ภายในแล้วหุงต้มภายนอก พวกคนกินเดนพากัน
ห้อมล้อม ภิกษุทั้งหลายฉันไม่สะดวก
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มภายในได้”
ในคราวข้าวยากหมากแพง พวกกัปปิยการก๒- นำเอาสิ่งของไปเป็นจำนวนมากกว่า
ถวายภิกษุทั้งหลายเพียงเล็กน้อย
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้หุงต้มเอง ภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตอาหารที่เก็บไว้ภายใน ที่หุงต้มภายใน ที่หุงต้มเอง”
@เชิงอรรถ :
@๑ สัตว์ต่างๆ แปลมาจากบาลีว่า “อุกฺกปิณฺฑกาปิ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “vermin” แปลว่า สัตว์ที่
@ทำลายพืชพันธุ์ เช่น เสือปลา หนู นก ไส้เดือน (วิ.อ. ๓/๒๘๑/๑๗๘)
@๒ กัปปิยการก หมายถึงผู้ทำหน้าที่จัดของที่สมควรแก่ภิกษุบริโภค, ผู้ปฏิบัติภิกษุ, ศิษย์พระ
20 มิถุนายน เวลา 00:16 น.
20 มิถุนายน เวลา 16:22 น.
แต่ ผมว่า ชาบู หมูกะทะ เป็นการอุ่นอาหาร มากกว่า นะ , เป็นวิธีการกินอาการประเภทนั้นๆ ไป คล้ายๆ จำพวก ต้องเกะ ปอก ๆลๆ ถึงจะกินได้ , หรือ อาหารที่ต้องผสม เอง เช่น แกงราแข้าว บางทีก็คลุกข้าว ฉัน
20 มิถุนายน เวลา 00:19 น.
แล้วอาหารเย็นจนแข็ง ไม่สามารถเคี้ยวกินได้ ก็ให้เอามาอุ่นก่อนได้ครับ
20 มิถุนายน เวลา 06:41 น.
20 มิถุนายน เวลา 08:31 น.
แต่หมูกะทะ ไม่ได้ทำให้ร้อน แต่ทำให้สุก อันนี้เป็นการปรุงมากกว่าไหมคะ
20 มิถุนายน เวลา 16:19 น.
20 มิถุนายน เวลา 17:16 น.
อันนี้ชัดเจน ไม่ต้องตีความอะไรเลยครับ
อีกอย่าง อินเดีย หนาวจนหิมะตกในบางเมืองนะครับ
20 มิถุนายน เวลา 23:41 น.
20 มิถุนายน เวลา 01:36 น.
20 มิถุนายน เวลา 08:17 น.
20 มิถุนายน เวลา 10:09 น.
20 มิถุนายน เวลา 13:32 น.
ว่ากันง่าย ๆ ไม่พร้อมจะทำตามกฎอย่าบวชจะดีกว่า ใช้ชีวิตฆราวาสต่อไปตามเดิมเสียเถอะ
20 มิถุนายน เวลา 17:18 น.
ต่อให้มีคนปรุงสุกมาให้แล้วก็ไม่ควรถวาย เพราะกินหรูเกินความจำเป็น
20 มิถุนายน เวลา 20:27 น.
สิ่งที่ท่านฝึกคือ ฝึกปฏิบัติธรรม ให้เห็นสภาพจริงของสิ่งต่างๆในโลกว่า มันเป็นอย่างนั้นเอง โดยไม่ให้มีอารมณ์ยินดียินร้ายในสิ่งต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความทุกข์ โดยมีการหลุดพ้นจากทุกข์เป็นเป้าสูงสุด
เขาให้อยู่ง่ายกินง่ายเป็นการฝึกตน เป็นการฝึกปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง และเป็นตัวอย่างให้ฆราวาสได้ปฏิบัติตามเท่าที่กำลังและสติปัญญาจะอำนวย
ญาติโยมก็อย่าไปทำให้เขาวอกแวกเลย บาปกรรม
20 มิถุนายน เวลา 21:42 น.
แล้วฉันไปทั้งแบบนั้น้พราะไงก้ลงกะเพาะไปอยู่แล้ว ทั้งคาวหวาน
ถามว่าอร่อยไหม แน่ครับไม่อร่อย แต่ที่ได้ คือการฝึกเคี้ยวช้า เพื่อแยก
รสออกแล้วแค่กำหนดว่านี่ รสหวาน รสเปรี้ยว เค็มหนอ ไม่ปรุงแต่ง
ยึดว่าอร่อยติดใจ แต่ก้นานละจนกิน
ปกติฟาดเยอะก้คิดรสอร่อยไปละ
พอลองกลับไปกินช้าๆ แบบเดิม ก้นึกถึงคำสอนท่านติช ฮัทนัน คือการดื่มชาให้เป็นชา
ที่พระสมัยนี้ได้กินของหรู เพราะสอนว่าทำบุญกะพระดีๆ ก้จะได้กินของดี
เหมือนลงทุนหวังผลนั่นเอง ถวายพระ อะไรได้อย่างนั้น ซึ่งควรเปลี่ยนค่านิยมนี้
พระคือผู้สืบทอดศาสนา โยมจึงควรให้พระสุขภาพดี ไม่ใช่เลี้ยงชาบู
เพราะตัวเองชอบ
21 มิถุนายน เวลา 07:16 น.
21 มิถุนายน เวลา 07:20 น.