คิดถึงหมี่กึงของ “อาแน”
บันทึก 10 มีค. 65
แปลกจังสองวันนี้คิดถึงแต่ “อาแน” หรือแม่นันอยากกิน “หมี่กึง” จึงพาลให้คิดถึงแต่ใบหน้าของอาแน
แปลกจังสองวันนี้คิดถึงแต่ “อาแน” หรือแม่นันอยากกิน “หมี่กึง” จึงพาลให้คิดถึงแต่ใบหน้าของอาแน
ใบหน้าโบราณ ผมขาวดอกเลา เกล้ามวยตลอดเวลา มีที่ครอบผมเป็นตาข่ายทรงกลมเบาๆ (เรียกอะไรไม่ทราบ)
อาแนจะมีรูปร่างเล็กๆ พูดจาเบาๆช้าๆแต่ชัดถ้อยชัดคำ …อาแนของแม่นันทำหมี่กึงอร่อยที่สุดในโลกกกก
ชักสงสัยแล้วใช่มั้ยคะ “อาแน” เกี่ยวพันอะไรกับแม่นัน
อาแน..คือคุณแม่ใหญ่ของแม่นันเองค่ะ อาป๊ะ (คุณพ่อ) มีภริยาสองคน
อาแนคือเด็กน้อยที่ถูกอาม่า (คุณย่าของแม่นัน) ซื้อมาเลี้ยงตั้งแต่เป็นเด็กหญิงตัวเล็กๆ ให้มาทำงานบ้านงานเรือน
อีกนัยหนึ่งเลี้ยงไว้ก็เพื่อให้มาเป็นภรรยา (คลุมถุงชน) ให้กับลูกชายตัวเอง
แต่อาป๊ะไม่ชอบการถูกบังคับให้แต่งงานกับคนที่ตัวเองไม่ได้เลือกแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้
ส่วนอาอึ้ม (คุณแม่แท้ๆของแม่นัน) คือภริยารักแท้ของอาป๊ะ ที่พบรักกันในสิงคโปร์ (ถ้าเล่าคือยาวนะคะ)
แต่วันนี้แม่นันคิดถึง “อาแน” ค่ะ
จังหวะหนึ่งของชีวิตอาแนที่จับพลัดจับผลูถูกลูกชายอาอึ้ม ซึ่งก็คือพี่ชายของแม่นันเอง
ขอร้องให้ “อาแน” มาอยู่ด้วยกันกับพวกเรา ในช่วงระยะเวลานั้นเองทำให้แม่นัน (น่าจะอยู่ในวัยประถม)
ได้ใกล้ชิดกับอาแน ซึ่งตอนเด็กๆแม่นันจะกลัวอาแนมาก ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมแบบคนโบราณ ทำอะไรละเอียดละออ
มาอยู่ที่บ้านก็จะถูที่นอนตัวเองวันละหลายๆรอบ จนพื้นกระดานแทบจะส่องแทนกระจกได้
มาหลงรัก “อาแน” ตอนไหนไม่รู้ค่ะ รู้แต่ว่าทุกๆเย็นหลังเลิกเรียนแม่นันชอบมานั่งคุยถามเรื่องเก่าๆจากอาแน
(แม่นันชอบขอให้คนแก่เล่าเรื่องราวเก่าๆให้ฟังค่ะ) อาจจะเป็นเพราะได้ใกล้ชิดได้พูดคุยด้วยแล้ว
อาแนไม่ได้ดุเหมือนใบหน้าเลย ที่สำคัญอาแนทำอาหารอร่อยมาก แม่นันได้ทานอาหารฝีมืออาแนอยู่หลายเมนู
(ห้ามเล่าให้อาอึ้มฟังนะว่าลูกสาวแอบชมฝีมืออาแน)
เมนูที่ถูกปากแม่นันมากที่สุด เห็นจะเป็นเมนูนี้ค่ะ “พะโล้หมี่กึง”
อาแนทำหมี่กึงอร่อย อร่อยจนแม่นันอยากจะเสกให้หมี่กึงในหม้อกินเท่าไหร่ก็ไม่พร่อง (เป็นไปได้ยังไงเด็กน้อย) ….
พอ “อาแน” ย้ายกลับไปอยู่กับลูกๆตนเองในภายหลัง แม่นันก็ไม่เคยได้ทาน “หมี่กึง” ฝีมืออาแนอีกเลย
กินเจเมื่อหลายปีที่ผ่านมา. แม่นันคิดถึงหมี่กึงอาแนมาก แต่อาแนไม่อยู่แล้วใครจะมาสอนให้ล่ะคะ
แม่นันก็หาอา YOU สิคะ หาจนงง ทำแล้วไม่ได้ดั่งใจสักที ต้องจับสูตรนี้นิดผสมสูตรนั้นหน่อย จนกลายมาเป็นสูตรตัวเองค่ะ
สงสัยแม่นันจะได้ความเรื่องเยอะมาจากอาแน เวลาทำอะไรก็อยากทำให้ออกมาดีๆ
พอทำหมี่กึงก็อยากทดลองว่าจะได้ตัวโปรตีนกลูเตนเพียวๆที่ออกมาจากแป้งสาลี (แป้งขนมปัง)
ว่าจะได้เปอร์เซนต์ตามที่ระบุบนถุงแป้งรึเปล่า
สูตรนี้แม่นันนำมาต้มพะโล้เรียบร้อย คิดถึงอาแนเลย ใช่ค่ะ..หมี่กึง.เวลาต้ม..ตุ๋นนานๆแล้วต้องเห็นเป็นเส้นกลูเตนเหี่ยวๆหยักๆแบบนี้ค่ะ
ถ้าต้มนานเท่าไหร่ผิวหมี่กึงก็ยังเรียบกริ๊บเหมือนเดิม แสดงว่ายังมีแป้งเคลือบอยู่มาก ทำให้ผิวเค้าใส ลื่นเหนียว
ทานแล้วไม่ได้ผิวสัมผัส ไม่ได้รสสัมผัส แต่ถ้าทานแล้ว อยากทานอีก แสดงว่า “มาถูกทางแล้ว” ค่า
มาดูวิธีทำหมี่กึงกันค่ะ (เราใช้แป้งสาลีชนิดที่นำมาทำขนมปังนะคะ)
วิธีผสมแป้ง
– ผสมแป้งขนมปัง 500 ก. และ เกลือ 1 ชช. ตะล่อมเข้าด้วยกัน
– ค่อยๆใส่น้ำในปริมาณ 1 3/4 ถ้วยตวง หรือใส่น้ำพอปริ่มแป้ง
– ค่อยๆ นวดจนส่วนผสมเข้ากันดี- คลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำ พักไว้ 1-2 ชม. (แม่นันพักไว้ 2 ชม.ค่ะ)
– ผสมแป้งขนมปัง 500 ก. และ เกลือ 1 ชช. ตะล่อมเข้าด้วยกัน
– ค่อยๆใส่น้ำในปริมาณ 1 3/4 ถ้วยตวง หรือใส่น้ำพอปริ่มแป้ง
– ค่อยๆ นวดจนส่วนผสมเข้ากันดี- คลุมด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำ พักไว้ 1-2 ชม. (แม่นันพักไว้ 2 ชม.ค่ะ)
วิธีล้างแป้งที่หมักไว้
– นำแป้งที่หมักพักไว้ ล้างในนำสะอาด 1 – 5 ครั้ง หรือจนกว่าน้ำจะใส ดมดูไม่มีกลิ่นแป้ง (ดูการสาธิตในคลิปจะเข้าใจกว่าค่ะ)
– จากนั้นพักแป้งไว้ในตะกร้า หรือตะแกรงให้สะเด็ดน้ำ หาอะไรหนักๆมาทับไว้ ปล่อยให้สะเด็ดน้ำประมาณ 30 นาที
ค่อยนำมาขึ้นรูป
วฺิธีขึ้นรูปหมี่กึง
– ตัดแป้งออกเป็นเส้น ค่อยๆยืดแป้งออก จากนั้นพันกับตะเกียบให้เป็นขด จนครบทุกเส้น
– นำหมี่กึงที่ขึ้นรูปแล้ว มาต้มจนสุก พักในน้ำเย็นไว้ ก่อนนำมาปรุงเป็นเมนูต่างๆค่ะ
เขียนมาซะยาว เชื่อว่าทำไม่ถูกแน่ มาดูคลิปวิธีทำกันค่ะ
ไว้จะนำสูตรพะโล้หมี่กึงมาให้กันค่ะ ลองทำดูนะคะ จะได้หมี่กึงโฮมเมด ที่ภูมิใจสุดๆ
เรื่องราวของอาแนยังมีให้เล่าอีกเยอะค่ะ
good moments
14 มีนาคม เวลา 00:42 น.
14 มีนาคม เวลา 00:42 น.
แหล่งที่มา pantip.com
14 มีนาคม เวลา 04:21 น.
15 มีนาคม เวลา 08:28 น.
14 มีนาคม เวลา 04:46 น.
15 มีนาคม เวลา 08:29 น.
พูดตรงๆ โปรตีนเกษตรที่มีคนเอามาทำผัดกะเพราเจ จริงๆ แล้ว กินไม่อร่อยเลย สู้หมี่กึงไม่ได้
14 มีนาคม เวลา 04:52 น.
15 มีนาคม เวลา 08:30 น.
14 มีนาคม เวลา 11:16 น.
15 มีนาคม เวลา 08:30 น.
14 มีนาคม เวลา 13:33 น.
15 มีนาคม เวลา 08:32 น.
ตั้งแต่ปี 1978 จนถึงปี 2020 เรากินอาหาร macrobiotic (อาหารชีวจิต) เราเป็น vegan (กินเจ) เพราะหลงผิดคิดว่ามันเป็นอาหารสุขภาพ มันเป็นวิถีการกินแบบ zero sugar high carb low fat
Michio Kushi ชาวญี่ปุ่นที่เผยแพร่อาหาร macrobiotic ที่โม้ว่าไม่กินเนื้อสัตว์แล้วปลอดมะเร็งกลายเป็นตายด้วยมะเร็ง! ดร.สาทิส อินทรกำแหง คนที่ดัดแปลงอาหาร macrobiotic ให้เป็นอาหารชีวจิตแบบไทยๆบอกว่า ไม่กิน cholesterol จะไม่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดตีบตัน แต่ตัวเค้าเองตายเพราะหลอดเลือดในสมองตีบตัน!
ตอนทั้ง 2 คนนี้ตายใหม่ๆเราหลงแก้ตัวแทนพวกเค้าต่างๆนาๆ เช่นอ้างว่าพวกเค้าไปบรรยายเยอะเดินทางเยอะเลยไม่มีเวลาทำอาหาร macrobiotic (อาหารชีวจิต) กินเอง ต้องกินอาหารแบบเลือกไม่ได้ แต่ตอนนี้เราค้นข้อมูลเจอแล้วว่า “ทั้งอาหาร macrobiotic อาหารชีวจิต และอาหารเจ มันทำลายสุขภาพเรา!”
หมายเหตุ: คนที่กินอาหาร macrobiotic หรืออาหารชีวจิตบางคน ไม่ได้เป็น vegan แต่เป็น pescatarian ก็มี คือกินแต่ปลา ไม่กินสัตว์ใหญ่ๆ เพราะหลงเชื่อว่าสัตว์ใหญ่ๆกินแล้วเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่จริงๆแล้วทั้งอาหาร macrobiotic กับอาหารชีวจิต และอาหาร ที่ pescatarians กินกัน มันอันตรายเพราะพวกเค้าไม่ได้กิน zero sugar อย่างแท้จริง พวกเค้ายังกินผลไม้ และน้ำตาล fructose ในผลไม้ทำอันตรายต่อพวกเค้า และน้ำมันพืชน้ำมันถั่วน้ำมันงาน้ำมันธัญพืชที่พวกเค้า (คนกินเจ) กินกัน มันเป็นอันตราย เพราะมันก่อให้เกิด inflammations (อาการอักเสบ)
ในช่วง 2 ปีกว่าๆที่โควิดระบาด เราค้นข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษ online เจอ ebooks กับ youtube clips ที่หมอฝรั่งยุคใหม่ทำขึ้นเพื่อ debunk myths (สลายความเชื่อผิดๆ) เรื่องอาหารและโภชนาการ ทำให้เรากลายเป็น vegan turned carnivore คือคนกินเจที่ผันตัวไปกินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก และเปลี่ยนวิถีการกินไปเป็น zero sugar low carb high animal fat
เราเลิกกินอาหาร macrobiotic (อาหารชีวจิต) แล้วเปลี่ยนเป็นกินแบบ zero sugar low carb high animal fat คือกินแบบ carnivore diet หรือ ketogenic diet สลับกันมา ได้เกือบๆ 3 ปีแล้ว ผลก็คือตอนนี้เราอายุ 71 โรคคนแก่หายไปหมด! และมีสุขภาพดีเยี่ยม
นั่นก็หมายความว่าเราเลิกกินทั้ง หมี่กึง ทั้ง seitan ไปแล้ว เพราะว่า มันมี carb สูงเกินไป
เอ้าเอาสูตรการทำ seitan ของญี่ปุ่นมาฝาก ลองไปทำเทียบกับสูตรหมี่กึงของจีนดู จะเห็นได้ว่า seitan ทั้งสีสันและรสชาติใกล้เคียงเนื้อวัว (เทียม) มากกว่า!
นี่คือหนึ่งในบรรดาข้อมูลที่หักล้างคำสอนของ Michio Kushi กับคำสอนของ ดร. สาทิส อินทรกำแหง ที่สอนว่า cholesterol อันตราย
คืออยากจะบอกว่า ใครกลัว cholesterol ก็ตกยุค!
คนยุค baby boomer generation โดนหลอกว่า cholesterol เป็นอันตราย
แต่หมอฝรั่งยุคใหม่บอกว่า cholesterol เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากๆ เช่น สร้าง sex hormones ทำให้คงไว้ซึ่งความอ่อนวัย และทำปฏิกิริยากับแสงแดดเพื่อสร้าง vitamin d ทำให้เพิ่มภูมิคุ้มกัน และมีประโยชน์อื่นๆอีกตั้งมากมาย
เคล็ดลับที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าตัวเองโดน cholesterol ทำร้ายเพราะอะไร (ไม่อยู่ใน clip นี้ที่เราแปะ) นั่นก็คือกินน้ำตาลกับ carb เข้าไป และกินน้ำมันพืช น้ำมันถั่ว น้ำมันงา น้ำมันธัญพืช เข้าไป ทำให้เกิด inflammations (อาการอักเสบ)
เมื่อมี inflammations (อาการอักเสบ) cholesterol ก็จะวิ่งไปแปะตรง inflammations ทำให้เกิด calcium deposits อุดตันที่กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อ ข้อต่อ เส้นประสาท ผนังหลอดเลือด ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆตั้งหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง NCDs (โรคไม่ติดเชื้อ แต่เป็นโรคเรื้อรัง)
นั่นก็คือว่าถ้าไม่กินน้ำตาล และกิน carb ให้ต่ำมากๆ และไม่กินน้ำมันพืช น้ำมันถั่ว น้ำมันงา น้ำมันธัญพืช ร่างกายก็จะไม่เกิด inflammations และ cholesterol ก็จะไม่ทำร้ายเรา แต่จะให้คุณแก่เราตั้งมากมาย!
ลองฟัง Dr. Melina Roberts ซึ่งเป็นหมอฝรั่งยุคใหม่อธิบายเรื่อง
FIVE Benefits of Cholesterol
ประโยชน์ 5 ประการของ cholesterol
15 มีนาคม เวลา 09:36 น.
15 มีนาคม เวลา 12:48 น.