ข้าวยำเครื่อง

Home » ข้าวยำเครื่อง
ข้าวยำเครื่อง

ข้าวยำ หรือสลัดข้าวที่มีการใช้ข้าวผสมกับเครื่องแกงแบบใต้ๆ ที่เด่นทั้งสรรพคุณทางยา และมีสีเหลืองสวยงาม ผสานกับส่วนประกอบผลไม้ และสมุนไพรมากมายเพื่อเพิ่มมิติ ให้กับรสชาติลงไปในเม็ดข้าว ไม่ว่าจะเป็นรสเปรี้ยว เผ็ด เค็ม หวาน เจือรสขมอ่อนๆจากผักรวม

ส่วนผสม

สำหรับ 1 จาน
  • ข้าวสวย250 กรัม
  • ลูกเดือย (ต้มสุก)50 กรัม
  • น้ำปลา2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำตาลปี๊บ4 ช้อนโต๊ะ
  • เกลือ¼ ช้อนชา
  • ข่าอ่อน (ซอย)2 ช้อนโต๊ะ
  • ใบมะกรูด (ซอย)สำหรับเสิร์ฟ
  • ใบขมิ้น (ซอย)สำหรับเสิร์ฟ
  • ใบชะพลู (ซอย)สำหรับเสิร์ฟ
  • ใบข่า (ซอย)สำหรับเสิร์ฟ
  • ถั่วฝักยาว (ซอย)สำหรับเสิร์ฟ
  • ดอกอัญชันสำหรับเสิร์ฟ
  • ส้มโอสำหรับเสิร์ฟ
  • มะม่วงเปรี้ยว (ซอย)สำหรับเสิร์ฟ
  • มะพร้าวคั่ว2 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแห้งป่น1 ช้อนโต๊ะ
  • พริกป่น1 ช้อนชา
  • ไข่ต้ม2 ฟอง
  • พริกไทยดำเม็ด (พริกแกง (3 ช้อนโต๊ะ)½ ช้อนชา
  • พริกแห้งเม็ดเล็ก (พริกแกง (3 ช้อนโต๊ะ)10 กรัม
  • เกลือ (พริกแกง (3 ช้อนโต๊ะ)½ ช้อนชา
  • ตะไคร้ (ซอย) (พริกแกง (3 ช้อนโต๊ะ)3 ต้น
  • ขมิ้นสด (พริกแกง (3 ช้อนโต๊ะ)5 กรัม
  • หอมแดง (พริกแกง (3 ช้อนโต๊ะ)5 หัว
  • กระเทียมไทย (พริกแกง (3 ช้อนโต๊ะ)15 กลีบ
  • กะปิ (พริกแกง (3 ช้อนโต๊ะ)2 ช้อนชา

วิธีทำ

เวลาเตรียมส่วนผสม: 10 นาที
เวลาปรุงอาหาร: 15 นาที
    1
  1. ทำพริกแกง ล้างเม็ดพริกไทยและคั่วให้พอหอม แช่พริกแห้งจนนุ่ม แล้วนำไปโขลกกับส่วนประกอบที่เหลือทั้งหมดให้เข้ากันดี ใส่ถ้วยพักไว้
  2. วิธีทำ ข้าวยำเครื่อง

    2
  3. นำน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ และเกลือใส่หม้อตั้งไฟ คนให้เข้ากันดี และเคี่ยวให้ข้นขึ้น พักไว้
  4. วิธีทำ ข้าวยำเครื่อง

    3
  5. นำข้าวสวยและลูกเดือยใส่ชามผสม นำพริกแกงที่โลกใส่ลงไป เคล้าให้พริกแกงเคลือบข้าวดี ใส่ขิงอ่อน ใบมะกรูด ใบขมิ้น ใบชะพลูใบข่า และถั่วฝักยาวลงไป เคล้าเบาๆ ให้เข้ากันดี จัดใส่จานเสิร์ฟ เคียงด้วยดอกอัญชันส้มโอมะม่วงเปรี้ยวมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งป่น พริกป่น และไข่ต้ม เสิร์ฟกับน้ำตาลที่เคี่ยวไว้
  6. วิธีทำ ข้าวยำเครื่อง

แหล่งที่มา www.wongnai.com

แท็กที่เกี่ยวข้อง

"เคล็ดไม่ลับคู่ครัว"

น้ำมันทอดดูอย่างไร ว่าพร้อมใช้งาน ? จะรู้ได้อย่างไร ? ว่าน้ำมันที่ตั้งไฟพร้อมลงทอดแล้ว ? อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่สำคัญมากเลยทีเดียว เพราะถ้าน้ำมันร้อนไม่พอ ของที่ทอดก็จะอมน้ำมัน ถ้าร้อนเกินไปของที่ทอดก็จะไหม้ มีวิธีการดูง่าย ๆ เพียงแค่นำตะเกียบไม้ จุ่มลงในน้ำมัน ถ้ามีฟองรอบ ๆ ตะเกียบไม้ ก็ถือว่าใช้ได้ สามารถนำวัตถุดิบลงทอดได้ เหตุผลที่ต้องใช้เป็นตะเกียบไม้ เพราะตะเกียบไม้มีความชื้นและช่องว่าง เมื่อนำลงจุ่มในน้ำมันที่ร้อนแล้ว จะทำให้เกิดปฏิกริยาตอบสนอง แต่ถ้าใช้ตะเกียบที่เป็นสเตนเลส จะไม่สามารถเช็กได้เพราะ เนื้อสเตนเลสมีความหนาแน่นไม่มีรูและช่องว่าง ดังนั้นจึงไม่ทำให้เกิดปฎิกริยาเมื่อนำลงจุ่มในน้ำมันที่เดือด

เรื่องอื่นที่น่าสนใจ