ขอถามท่านที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ และเข้าใจวัฒนธรรมของฝรั่ง
สองคำถามครับ หากรายการนี้เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่การแสดง
1. คือคนฝรั่งเค้าจะไม่โกรธกันมาก ถึงโกรธก็ไม่รุนแรง และเปิดใจรับฟังคำติชม ใช่ไหมครับ? ถ้าผมไปรีวิวร้านอาหาร แล้วเจ้าของร้านถามว่าอร่อยไหม? ซึ่งจริงๆมันโ ค ต ร ห่วย ผมก็จะบอกว่าอืมม อร่อยครับ แต่ถ้าเพิ่มซอสอีกนิด ลดหวานอีกหน่อยก็จะดีเลย คือจะไม่ตรงมากไป
2. อันนี้สงสัย คือคุณก็รู้อยู่แล้วว่าใครมา ทำไมไม่เตรียมการให้เกินร้อย และทำอาหารให้สุดฝีมือครับ? งง หรือนี่คือสุดๆแล้ว
แก้ไขข้อความเมื่อ 29 มีนาคม เวลา 08:40 น.
สมาชิกหมายเลข 6271610
29 มีนาคม เวลา 08:07 น.
29 มีนาคม เวลา 08:07 น.
แหล่งที่มา pantip.com
วัฒนธรรมการทำงานกับฝรั่งประมาณหนึ่งนะคะ
ตอบรวมกันทั้งข้อ 1-2
จากธงที่ว่าหลายอย่างในรายการดังของต่างชาติ
ตั้งแต่ hell kitchen มาถึง kitchen nightmares
รวมให้หลายๆ รายการไม่ต้องจำกัดแค่ทำอาหาร
รายการมีการเซ็ทจัดฉากประมาณหนึ่ง รวมถึงคิด
ว่าอยากจะให้คนดูเห็นอะไรจากธีมรายการค่ะ
ส่วนใหญ่ในการทำงานเป็นทีม เวลาเขาว่าเรียกว่า
ไม่รักษาน้ำใจกันแบบคนไทยเป็นค่ะ ดึงจุดบกพร่อง
มาว่ากันตรงๆ ให้เกิดการคุยกันไปจนถึงการแก้ไข
จบกันแค่ตรงนั้นเมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้ว ที่สำคัญ
เมื่อมาเจอกันครั้งต่อไปจุดที่ว่ากันไว้ ต้องแก้ไข
ให้ได้ ถ้าทำไม่ได้การถูกให้ออกจากทีมหาคนมา
ทำใหม่เป็นเรื่องใกล้ตัวค่ะ
29 มีนาคม เวลา 08:36 น.
2. reality show ทุกรายการมีสคริปหมด (ผมเชื่ออย่างนั้นนะ) คงไม่มีใครอยากโชว์ว่าร้านตัวเองห่วยขนาดไหนออกทีวีหรอก ประเด็นของ Kitchen Nightmare หรือ Ramsey 24 hours to hell and back อันนี้น่าจะต้องการเน้นความเทพของ Ramsey มากกว่า บางร้านนี่เละเทะซะขนาดนั้น ไม่มีทางเลยที่จะกลับมาได้ภายในวันเดียว หรือไม่กี่วัน และอย่าลืมทัศนคติของคนไม่มีทางเปลี่ยนได้ภายในชั่วข้ามคืน ต้องเตรียมตัวพร้อมจะเปลี่ยนมาแล้ว ถึงจะเรียก Ramsey มาช่วยเปลี่ยน และอันนี้ผมเชื่อว่าทางร้าน (น่าจะ) ต้องมีการจ่ายตังค์ให้รายการด้วย เพราะมาถึงก็เปลี่ยนนู่นทำนี่เยอะแยะไปหมด Ramsey คงไม่ใช่องค์กรการกุศลนะ
สรุปก็คือ ดูหนุก ๆ อย่าไปจริงจังกับมันมาก ผมก็ชอบดูนะ หลังจาก make over เสร็จแล้วเมนูต่าง ๆ อะไรดูน่ากินดี ก็ดูเพลิน ๆ ไป
29 มีนาคม เวลา 09:04 น.
เพียงแต่มันมีระบบบางอย่างที่ทำให้สังคมโดยรวมพัฒนาไปได้
มันก็มีพวกรับความจริงได้ ไม่ได้ เหมือนชาติอื่นๆ แล้วแต่ว่าเราจะมองมุมไหน หรือเราจะมีโอกาสเห็นด้านแย่ๆ หรือเปล่าแค่นั้น
29 มีนาคม เวลา 09:41 น.
อย่าไปจริงจังกับรายการทีวีมาก เพราะเขาทำเพื่อเรทติ้งและความบันเทิง จบรายการเค้าอาจจะจูบปากกันเองก็ได้ คุณจะรู้ไหม?
29 มีนาคม เวลา 10:04 น.
29 มีนาคม เวลา 12:49 น.
29 มีนาคม เวลา 14:24 น.
– เค็มโคตรฯโยนทิ้งไปเลย
– คุณก็บไก่สุกไว้กับไก่ดิบได้ไงวะ ?
– เออเห็นอยู่ว่าเบคอน
จากมื้อกลางวันนี้
– ไปตายซะ
คำพูดที่แปลมาเป็นไทยแบบนี้ผมว่าเป็นคำพูดที่คนฝรั่งทั่วไปเขาติดปากพูดกันมากกว่าก็คล้ายฯกับคำพูดไทยหลายฯประโยคที่คนไทยติดปากกัน
หากนายกับลูกน้องทำงานกันมานานคงไม่จริงจังและคิดมากกับคำพวกนี้ แต่คนไทนด้วยกันพยายามอย่าใช้เพราะมันมีคำพูดที่ดีกว่านี้ ทำให้คนพูดปลอดภัยกว่าด้วย
ข้อ 1. หากเป็นผมฯจะตอบแบบนี้นะ ผมว่ารสชาติมันโอเคนะแต่ถ้าจะให้มันรสชาดดีกว่านี้ควรเพิ่มซ๊อสให้มากขึ้นและลดหวานลงนิดหน่อย
ข้อ 2. นี่เป็นคำบ่นจากปากเจ้านายที่สุภาพมากแต่ลูกน้องกลับไปบ้านอาจจะนอนไม่หลับ
ปล. เชฟคนนี้น่าจะซื่อ กอร์ดอน แรมเซย์ (รูปที่ 4)หากจำไม่ผิดเมื่อปีที่แล้วหนังสือพิมพ์ตปทรายงานว่าร้านอาหารของเขาที่มีอยู่หลายสาขาในหลายประเทศประสพภาวะขาดทุนมากจนต้องล้มละลาย หากใช่เขาฯมาเมืองไทยบ่อยและเคยมาทำรายการกับคุณหมึกแดงนะ ผมไม่เคยไปทำงานเมืองนอกแต่งานผมมันต้องคลุกคลีอยู่กับฝรั่งมานานเป็นปีฯครับ
29 มีนาคม เวลา 14:31 น.
29 มีนาคม เวลา 15:53 น.
29 มีนาคม เวลา 18:54 น.
รายการที่คุณพูดถึง มันกึ่งๆเรียลลิตี้โชว์ค่ะ ซึ่งแน่นอนแหละว่ามันมีสคริปบทสนทนา มันวางโครงเรื่องไว้แล้วแหละ ก็เหมือนกับรายการมวยปล้ำที่ดูเหมือนผู้เข้าแข่งทันทะเลาะกันด่ากัน หรือรายการตามติดชีวิตครอบครัวคาร์แดเชี่ยนที่มีบทมีสตอรี่ดราม่า คือต้องเข้าใจก่อนว่าเค้าขายคอนเท้นท์ทางทีวี ถ้าทุกอย่างราบเรียบไปหมด ไม่มีอุปสรรคปัญหา คนดูจะไม่รู้สึกลุ้นและไม่ติดตาม
อันนี้ก็เหมือนรายการข่าว หรือรายการร้องเพลงเมืองไทยนี่แหละ ที่ต้องมีดราม่ามีสตอรี่จะได้ขายได้
29 มีนาคม เวลา 19:44 น.
29 มีนาคม เวลา 21:56 น.
ส่วนตัวเราเอง ทำงานกับฝรั่งมาพอควร เจอมาหมดทั้งดี ทั้งไม่ดี ขยัน ขี้เกียจ ส่วนมากก็จะบอกไปตรงๆนะคะแบบไม่ใส่อารมณ์นะ ว่าแบบเออ วางโทรศัพท์ลงบ้าง ทำงานอยู่ หรือทำอะไรผิดพลาดก็บอกกันแต่ก็คุยกันดีๆนะคะ
ส่วนที่เห็นในทีวี สคริปต์ค่ะ 5555
30 มีนาคม เวลา 02:13 น.
ในแง่ของคำวิจารณ์ ปกติจะไม่ค่อยมีใครว่ากันตรง ๆ แรง ๆ ถ้าเจอหน้ากันครั้งแรกครับ ถ้าไม่ชอบจริง ๆ ก็อาจจะใช้คำอ้อม ๆ ให้พอเข้าได้เช่น ถ้าถามว่ารสชาดเป็นยังไง ก็ตอบประมาณ good but it’s not my type of food หรือ not my style
คือยิ่งถ้าบรรดา English as a second language แล้ว ถ้าฟังไม่แตกอาจจะไม่รู้ว่าเขากำลังว่าก็มีครับ
สำหรับสังคมการทำงาน เจอหน้ากันจนคุ้นเคยแล้ว ก็ แรงใส่กันหน้างานได้ครับ พอออกจาก office แล้วก็คุยกันต่อได้
30 มีนาคม เวลา 03:19 น.
ปล ไม่เคยดูรายการแบบนี้นะแต่ดูในรูปมีอันนึ่งที่บอกว่า เก็บไก่สดไว้กับไก่สุก เป็นผมๆก็ด่านะ ๕๕
30 มีนาคม เวลา 03:38 น.
30 มีนาคม เวลา 12:29 น.
เพราะถ้าผิดพลาด ต่างประเทศเค้ามีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่แรง โดนฟ้องทีเสียเป็นแสนเป็นล้านไม่คุ้ม
พูดตรงๆชัดเจน ทนได้ปรับปรุงตัว มันก็ดีต่อตัวคนถูกว่า ร้านก็ได้ประโยชน์
พูดอ้อมๆเบาๆ ทนได้ปรับตัวนิดหน่อย ครั้งหน้าก็ยังผิดอยู่ ร้านเสียหาย
คนเป็นเจ้าของเค้านึกถึงความอยู่รอดของธุรกิจ มากกว่ามาคิดเรื่องน้ำใจคนที่ทำผิดนะครับ
30 มีนาคม เวลา 15:25 น.
ไม่มีเจตนาในเรื่องส่วนตัวนะ
แต่นั่นแหละ ตามวิถีชีวิตของคนไทยเรา มันก็ดูแรงแหละ และคำพูดบางถ้อยคำ ก็ดูพุ่งไปที่ตัวคนด้วยแหละ
อาจเป็นว่า ต้องการคำแนะนำตักเตือนเหล่านั้น จะได้แทรกซึมลงไปในตัวลูกน้อง มากกว่าจะว่าจากความจงเกลียด จงชัง
1 เมษายน เวลา 11:42 น.