ขนมเต่าปังหรือถั่วตัด ขนมให้พลังงานจากธัญพืชของคนสมัยก่อน ส่วนผสมน้อย ทำได้เองไม่ยากค่ะ
ผู้เขียนเป็นป้าแก่ที่มาจากครอบครัวคนจีนแต้จิ๋ว เลยคุ้นเคยอาหารและขนมของคนจีนต่างๆ
หนึ่งในนั้นชอบ เต่าปัง หรือขนมถั่วตัด เป็นขนมที่ใช้ในงานมงคลหรือช่วงไหว้เจ้าตอนตรุษจีน
สมัยก่อนคนจีนทำการเกษตร เมื่อได้ผลผลิตก็จะแปรรูปทำเป็นอาหารหรือขนมเก็บไว้กินได้นานๆและใช้บูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษด้วย
ข้อมูลขนม คัดลอกมาจากวิกีพีเดีย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขนมแต่เหลี่ยว แต้เหลี้ยว หรือที่คนไทยเรียกขนมจันอับ เป็นขนมประเภทหนึ่งที่กินคู่กับน้ำชาของจีน
และก็ใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ เช่นไหว้เจ้า งานแต่งงาน งานมงคล ฯลฯ
จับอับ เป็นชื่อกล่องใส่ขนมชนิดหนึ่ง ไม่ใช่ชื่อขนม หมายถึงกล่องใส่ขนมแห้งของจีน เอาไว้ถวายหรือไหว้เจ้า
จับอับ เพี้ยนมาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว ว่า เจ่งอั๊บ หรือ จิ๊งอับ (敬盒/饌盒/薦盒)[1]
ส่วนขนมเรียกว่า แต่เหลี่ยว หรือ แต้เหลี้ยว (茶料) ซึ่งหมายถึง ขนมแกล้มน้ำชา[2]
บางครั้ง ก็เรียกขนมแต้เหลี้ยวว่า จับกิ้ม (什錦) แปลว่า หลายหลาก หรือรวมกัน ปนกัน
เพราะกล่องขนมหนึ่งกล่องก็มักจะมีขนมแต้เหลี้ยว 4-5 อย่างจากจำนวนทั้งหมดร่วมสิบอย่างปนกัน[3]
ปัจจุบัน ในประเทศไทยสามารถพบจันอับได้ 2 ชนิดคือ จันอับแบบแต้จิ๋วหรือกวางตุ้ง และ จันอับแบบฮกเกี้ยน
จันอับแบบฮกเกี้ยนจะมีเครื่องประกอบทั้งหมด 13 ชนิด
แต่ละชนิดจะเป็นขนมจันอับแบบที่แต้จิ๋วไม่มี ยกเว้นฟักเชื่อม คือ 1 ฉิ่วอิ้ม คือขนมลูกระเบิด
2 บี้ผ้าง คือขนมข้าวพอง
3 อึ้งโรตีเฉียด คือขนมปังกรอบสีเหลือง
4 อั่งโรตีเฉียด คือขนมปังกรอบสีแดง
5 หมั่วถึง คือขนมงาตัด
6 ถ้อต่าวถึง คือขนมถั่วตัด
7 หมั่วเลี๊ยบหรือกิมชิวเปี้ย คือขนมเม็ดงา
8 เส่งหยิน คือขนมลูกกวาด
9 เป่งถึง คือน้ำตาลกรวด
10 ตัวโก๊ยหรือตังกวยแฉะ คือฟักเชื่อม
11 อั่งโจ้ คือพุทราแดงแห้ง
12 เก็ตฮองเตียวหรือเก็ตหลองเตียว คือขนมโก๋อ่อน
13 ฉุ่นโจ้ คือขนมก้านบัว จันอับแบบฮกเกี้ยนหาทานได้ยากมาก พบได้เฉพาะที่ จังหวัดภูเก็ต เท่านั้น
จันอับแบบกวางตุ้งหรือแต้จิ๋ว โดยรวมมีเครื่องประกอบทั้งหมด ประมาณ 5 ชนิดหลัก คือ
1 เต้าปัง(豆方) คือขนมถั่วตัด และอิ่วหมั่วปัง(油麻方) คือขนมงาตัด
2 เหม่งทึ้ง(明糖)หรือหนึงทึ้ง(軟糖) คือขนมงาอ่อน
3 โหงวจั่งปัง(五層方) คือข้าวพอง
4 กวยแฉะ(瓜冊) คือฟักเชื่อม
5 ซกซา(束砂)คือลูกกวาด เป็นที่นิยมมาก
กินมาตั้งแต่เด็กจนแก่ ยังเคี้ยวไหว
ถ้ากลับไทยจะซื้อที่ร้าน แต้เล่าจินเส็ง เยาวราช แต่ไม่ได้กลับมา 2 ปี นึกอยากกิน
ที่ญี่ปุ่นก็มีขายแต่หาซื้อยากสำหรับเรา เลยลองทำเอง
ครั้งแรกที่ทำ ไม่มีแบะแซ น้ำตาลเกาะแต่ไม่มีความหนืดช่วยยึดไว้เลยเปราะ หักง่าย
หาซื้อแบะแซ ของญี่ปุ่น 水あめ Mizu Ame เลยทำอีกครั้ง
ส่วนผสม
1. ถั่วลิสงคั่ว ไม่มีเปลือก 300 กรัม
2. งาขาวคั่ว 80 กรัม **แบ่งไปโรยในถาดนิดหน่อย
3. งาดำคั่ว 20 กรัม ** เป็นความชอบส่วนตัวนะคะ ถ้าใครไม่ใช้งาดำ ก็ใช้งาขาว 100 กรัม
4. น้ำตาลทราย 75 กรัม ใครกลัวหวาน ลดจำนวนลงได้นะคะ
5. เกลือ 1/3 ชช.
6. น้ำดื่ม 1 ถ้วยตวงของแข็ง
7. แบะแซ 1 ชต.พูน
วิธีทำ
ใส่น้ำตาลทรายกับเกลือในน้ำดื่มตั้งไฟแรงจนเดือด ลดไฟเป็นไฟอ่อน เคี่ยวจนเหนียว คอยปาดตรงขอบๆเพื่อไม่ให้น้ำตาลไหม้
ใส่แบะแซ เคี่ยวต่อจนเนื้อเหนียวหนึบ ใส่ถั่ว งา คนให้เข้ากันดี
ตอนนี้ต้องเร่งมือ คนเร็วๆนิดนึง ไม่อย่างนั้นส่วนผสมไม่เข้ากัน
**อาจจะรวมถั่วงา คนให้เข้ากันแล้วค่อยโรยลงกระทะ น่าจะพอช่วยได้
เทใส่ถาดปูด้วยกระดาษรองพิมพ์เค้ก โรยงารองไว้กันติดกระดาษ
ใช้กระดาษอีกแผ่นกดและจัดรูปให้เป็นแผ่น
ใช้ที่รีดแป้งรีดบนกระดาษอีกที ช่วยให้แผ่นเรียบและบางขึ้น
รอให้คลายร้อนลงแล้วตัดเป็นชิ้น ปล่อยให้เย็นลง น้ำตาลจะแข็งตัวขึ้น
เก็บใส่กล่องไว้ได้นาน ❤️😄
เป็นขนมที่เข้ากันดีกับชาต่างๆ “เจี่ยะแต้”กันค่ะ
14 กุมภาพันธ์ เวลา 05:20 น.
14 กุมภาพันธ์ เวลา 08:34 น.
14 กุมภาพันธ์ เวลา 13:48 น.
จากงานแต่งบ่อยๆ เลยค่ะ
14 กุมภาพันธ์ เวลา 09:54 น.
14 กุมภาพันธ์ เวลา 13:48 น.
ดูดีต่อสุขภาพอีกตะหาก
14 กุมภาพันธ์ เวลา 14:39 น.
ถ้าไม่หวานมาก มีประโยชน์มากนะคะ
14 กุมภาพันธ์ เวลา 16:32 น.
14 กุมภาพันธ์ เวลา 16:25 น.
14 กุมภาพันธ์ เวลา 16:32 น.
14 กุมภาพันธ์ เวลา 17:54 น.
15 กุมภาพันธ์ เวลา 06:17 น.
14 กุมภาพันธ์ เวลา 20:17 น.
15 กุมภาพันธ์ เวลา 06:18 น.
เห็นแล้วอยากทานขึ้นมาเลยค่ะ
14 กุมภาพันธ์ เวลา 22:11 น.
15 กุมภาพันธ์ เวลา 06:19 น.
14 กุมภาพันธ์ เวลา 23:39 น.
15 กุมภาพันธ์ เวลา 06:20 น.
15 กุมภาพันธ์ เวลา 10:12 น.
16 กุมภาพันธ์ เวลา 06:51 น.
น่าอร่อยมากค่ะ
15 กุมภาพันธ์ เวลา 13:13 น.
16 กุมภาพันธ์ เวลา 06:52 น.
15 กุมภาพันธ์ เวลา 14:35 น.
16 กุมภาพันธ์ เวลา 06:53 น.
15 กุมภาพันธ์ เวลา 16:28 น.
16 กุมภาพันธ์ เวลา 06:54 น.
16 กุมภาพันธ์ เวลา 19:31 น.
17 กุมภาพันธ์ เวลา 10:26 น.
19 กุมภาพันธ์ เวลา 00:11 น.
22 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11:50 น.