กินปลาแซลมอนบ่อยๆ ติดต่อกันนานจะเป็นไรมั้ยคะ
อย่างปลาทูถ้ากินบ่อย ร่างกายจะได้รับโซเดียมเยอะ อาจส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพ
ถ้าเป็นปลาแซลมอนมีข้อเสียมั้ยคะ
ปล.กินแบบสุกนะคะ ไม่ชอบกินแบบดิบ
ถ้าเป็นปลาแซลมอนมีข้อเสียมั้ยคะ
ปล.กินแบบสุกนะคะ ไม่ชอบกินแบบดิบ
สมาชิกหมายเลข 929572
13 มิถุนายน เวลา 17:59 น.
13 มิถุนายน เวลา 17:59 น.
แหล่งที่มา pantip.com
13 มิถุนายน เวลา 23:39 น.
15 มิถุนายน เวลา 18:08 น.
โซเดียมเยอะ ต่อการกิน 1 มื้อ ควรระวังที่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป , เนื้อสัตว์แปรรูปแบบรสเค็ม , น้ำซุปก๊วยเตี๋ยว , ซอสปรุงรส , เต้าเจี้ยวหรือซุปมิโซะ , ซุปต่างๆ , ส้มตำ , น้ำปลาปกติ , ซีอิ๋วดำ , ซีอิ๋วขาว , น้ำพริกต่างๆโดยเฉพาะพวกแบบแห้ง ฯลฯ เหมาะกว่าหลงระวังปลาทู(ที่ไม่ได้ปรุงเป็นต้มเค็มหรือต้มกะปิ)
ปลาทู ต่อให้กินทั้งวันต่อเนื่องกัน 2 วัน ไม่ว่าจะเมนู ยำปลาทู(ไม่ใส่น้ำปลา,ไม่ใส่ผงชูรส) , ปลาทูทอด(ของทอดไม่ได้แปลว่าจะต้องมีไขมันชนิดไม่ดีเสมอไป ถ้าทำการซับน้ำมันส่วนเกินที่ไม่จำเป็นออกไปจากของทอดนั้นๆ และของทอดมีไขมันชนิดที่ดีก็ได้ ถ้าเลือกน้ำมันมาทอดเป็นและรู้ว่าวัตถุดิบนั้นๆมีไขมันชนิดที่ดีอยู่ภายในอยู่แล้วด้วย) , ข้าวผัดปลาทู , ปลาทูนึ่งมะนาว , ปลาทูนึ่ง , ต้มยำปลาทู ใส่น้ำปลานิดเดียว ฯลฯ ก็ยังโซเดียมน้อยกว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปปกติบางรสจำนวน 1 ซอง หรือ โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปบางรสจำนวน 1 ถ้วย ด้วยซ้ำ
พวกที่เป็นโรคเกี่ยวกับไต ก็ยังต้องพิจารณา พวกอาหารเสริมที่ตกตะกอนได้ ด้วยนะ ต่อให้ตอนกินเข้าไปจะเป็นรูปแบบผงก็เถอะ
รวมถึงพิจารณาเครื่องดื่มที่เติมแต่งสีกลิ่นรสมากไปรึเปล่า , ดื่มน้ำเปล่าน้อยหรือมากไปรึเปล่า ด้วย
16 มิถุนายน เวลา 23:02 น.
อย่างปลาทูนึ่ง เขาจะต้มในน้ำเกลือที่มีความเข้มข้น(ไม่ได้นึ่งตามชื่อนะ) พวกนี้เวลาเอามาทอดทานกับน้ำพริก
หรือเอามาทำยำ แค่ครึ่งตัวก็ทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเกินแล้วครับ
ปลาทูหอม นี่ก็ไม่ต้องสืบ หมักเกลือมาแล้วเรียบร้อย เอามาโรยหอมแดง พริกขี้หนู บีบมะนาว
คลุกข้าวกินอร่อย แต่นั่นแหละโซเดียมสูงปรี๊ดเลย
ปลาทูที่โซเดียมต่ำๆ กินได้สบายใจหน่อย ต้องพวกปลาทูสดครับ
17 มิถุนายน เวลา 09:05 น.
ปลาทูแดดเดียว ถ้าไม่หมักเครื่องปรุงรสเค็มหรือเครื่องปรุงที่มีน้ำปลาหรือซีอิ๊วหรือเกลือเป็นส่วนผสม ก็ไม่ได้แปลว่า โซเดียมจะสูงเด้อ
ปลาทูหอม นี่ไม่ทราบจริงๆ เพราะไม่เคยกิน
ส่วนที่เอามายำ มันแล้วแต่แต่ละคนเองจะเอาเนื้อปลาทูนึ่ง(หรือล้างคาวเค็มออกแล้วต้มแล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ำแล้วแพ็ค)แบบใดมายำ หรือ เอาปลาทูที่ไม่สดเท่าใดนักแต่ยังไม่ได้นึ่งมายำ ก็แล้วแต่ว่าใครจะหาแบบใดได้
ยำ ก็อย่างที่บอก ถ้ายัง ใส่น้ำปลาไม่อั้น หรือ ผงปรุงรสไม่อั้น นั่นตะหาก ที่ทำให้ได้รับโซเดียมเกินน่ะเด้อ
The End.ล่ะเด้อ ขี้เกียจจะฮากลิ้งในกระทู้นี้ล่ะเด้อ
17 มิถุนายน เวลา 13:40 น.
ถ้ามัวแต่นึ่งมันต้นทุนสูงแล้วไม่ทันขาย เลยไม่มีใครนึ่งขายกันแล้ว
วิธีนึ่ง (ต้ม) แล้วแต่สูตรของโรงงานนั้น มีตั้งแต่หมักน้ำเกลือครึ่งวันแล้วต้มน้ำเปล่า
หรือ แช่น้ำเกลือไม่นาน แล้วต้มต่อในน้ำเกลือ หรือ ต้มน้ำเกลือดื้อๆเลย
หมักหรือต้มน้ำเกลือขนาดนี้ ทำไมโซเดียมจะไม่สูงครับ บางเจ้านี่เค็มปี๋เลย
มันไม่ได้เค็มโดยกำเนิดนะ
เวลาต้ม เขาจะจับปลาทูหักคอเรียงลงเข่ง เอาเข่งเรียงใส่ซึ้งขนาดใหญ่
แล้วยกซึ้งลงหม้อต้มที่น้ำเกลือกำลังเดือดๆ พอปลาสุกก็ยกขึ้น
ถ้าปลาทูนึ่งแท้ๆ ปัจจุบันเหลือแค่นึ่งกินเองในครัวเรือน ไม่มีนึ่งขาย
ตามสมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กล้ายืนยันว่ามีแต่โรงต้ม
อดีตพี่สะใภ้เคยขายส่งปลาทูนึ่ง ผมเคยไปช่วยรับจากโรงต้มมาหลายที่
ลองเอาไปดูครับ ว่าปลาทูนึ่ง(ต้ม)ที่เขาขายๆกัน เขาทำยังไง
https://www.dailynews.co.th/article/755224
https://m.youtube.com/watch?v=myinJMy-sKk
17 มิถุนายน เวลา 14:09 น.
14 มิถุนายน เวลา 01:04 น.
เพราะที่เรากินมันเป็นปลาเลี้ยง ขังเบียด ๆ กัน
เค้าเลยต้องใช้สารเคมียาปฏิชีวนะฆ่าปรสิตที่ตัวมัน
คุณลองเสริชดูก็ได้ ในกูเกิลอ่ะ
14 มิถุนายน เวลา 06:31 น.
14 มิถุนายน เวลา 07:08 น.
นานๆไป จะทนไม่ได้ต้องว่ายทวนน้ำไปวางไข่ครับ
14 มิถุนายน เวลา 08:13 น.
คอเรสเตอรอลสูง มีโอเมก้า3บำรุงสมอง สายตา
ทานไม่บันยะบันยัง…ได้สารอาหารเยอะเกิน
ร่างกายขับออกไม่ทัน ค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดจะสูง
เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง
เสี่ยงต่อเส้นเลือดในสมองอุดตัน
อาจเป็นอัมพาตชั่วคราว ถ้าเส้นเลือดแตกในส่วนสำคัญ
ดังนั้น ไม่ควรทานทุกวัน เว้นห่างๆไปบ้าง
และไม่ควรทานปริมาณมากในคราวเดียว
ควรเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างทานอาหารทะเล
สำหรับกลุ่มอายุเลยช่วงวัยรุ่น
เพราะอาจไปกระตุ้น..อาการเจ็บป่วยที่แฝงในร่างกาย
เช่นโรคผิวหนังจากเชื้อไวรัส
14 มิถุนายน เวลา 11:38 น.
14 มิถุนายน เวลา 12:45 น.
14 มิถุนายน เวลา 14:32 น.
ปลายเดือนอาจต้องกินแกลบเพื่อแก้อาการด้งกล่าว
14 มิถุนายน เวลา 20:27 น.
15 มิถุนายน เวลา 18:06 น.
16 มิถุนายน เวลา 22:02 น.
24 กรกฎาคม เวลา 09:59 น.
17 มิถุนายน เวลา 10:13 น.