== น้ำแข็งเหล็ก กับ น้ำแข็ง ปกติ อะไร แช่น้ำเย็นไวกว่ากัน ==
เค้าโฆษณาขาย ตาม Online ว่าแช่เย็นเครื่องดื่ม ได้ เย็นกว่า น้ำแข็งปกติ ถึงสองเท่า
พวกนี้มีทั้งแบบแท่งเหล็กตัน และ แท่งแก้วใสๆ บางอันมีไฟเพิ่มสีสรรค์ เวลามีปาร์ตี้
ส่วนตัว ไม่เชื่อว่า มันจะเย็นได้กว่า น้ำแข็งปกติ อย่างมากเชื่อว่า มันน่า จะทำให้น้ำเย็นได้ เท่าๆกับกับน้ำแข็ง เท่านั้น
แต่พอดีลูกชาย ลองซื้อมา แล้ว ผมทดลอง แช่น้ำดื่ม พบว่า มันรู้สึกว่า น้ำเย็นช้ากว่าปกติ
เมื่อเช้า มีน้องมาถามก็บอกเค้าไป ว่าไม่จริงๆ
ผม รู้สึกว่ามันเย็นช้ากว่า แต่พูด ด้วยความรู้สึก มัน ไม่ใช่ วิทยาศาสตร์
อยากรู้ต้องทดลอง
ว่าแล้ว เอาน้ำแข็งก้อน สี่เหลี่ยม ทรงใกล้เคียง กับ น้ำแข็งเหล็ก และทั้งสองอัน แช่อยู่ในช่องฟรีส อุณหภูมิ ประมาณ -10 ในตู้เดียวกัน ข้ามคืนมาแล้ว
ออกมา อุณหภูมิตั้งต้น ของน้ำแข็ง ทั้งสอง ก็คือ -10
เติมน้ำอุณหภูมิห้อง 30 C ลงไป รอ ประมาณ 2 นาที เอา เทอร์โมมิเตอร์ จุ่มลงในแก้ว ที่มีน้ำแข็งด้วย พบ่ว่า แก้ว ที่เป็นน้ำแข็งปกติ ลดลงเหลือ 4.4 และ ของน้ำแข็งเหล็ก ประมาณ 9.2 C
ลองสลับกันไปมา ไม่ให้ได้เปรียบเสียเปรียบ วัดก่อนหลัง ตัวเลขแกว่งใกล้เคียงกับ ค่านี้
รอครบ 5 นาที วัดใหม่ และ รอบนี้ เพื่อไม่ให้ อุณหภูมิของก้อนน้ำแข็งมากวน การวัด จึงเทเอาแต่น้ำ ออกมา ใส่ ภาชนะ แบบเดียว กัน ปริมาณเท่ากัน
วัด ครั้งนี้ ตัวน้ำจากน้ำแข็งปกติ วัดได้ 5.1 C ส่วน น้ำแข็งเหล็กวัดได้ 11.2 C ลองยกดื่ม รู้สึกได้ ชัดว่า น้ำจากน้ำแข็งปกติ เย็นกว่า ชัดเจน
สรุป ถ้าแช่ น้ำดื่ม น้ำแข็งปกติ จะให้น้ำที่เย็นกว่า น้ำแข็งเล็กชัดเจน
เหตุผล ที่คิด คงเป็นเพราะว่า ตอนใส่น้ำลงไป นอกจากการถ่ายเทอุณหภูมิแล้ว น้ำแข็งธรรมดายังมีการละลายตัว ให้น้ำอุณหภูมิ 0 องศา ออกมาผสมกับน้ำ อุณหภูมิปกติ ทำให้ น้ำมันเย็นกว่า น้ำแข็งเหล็กที่ มีแต่การถ่ายเทความร้อน เท่านั้น
สรุปกินน้ำปล่าว อยากได้น้ำเย็นชื่นใจไวๆ ใช้ นำแข็งธรรมดา ที่สะอาดผสมดีกว่า
แต่ถ้าต้องการผสมเครื่องดื่ม เช่น เบียร์ หรือ ไวน์ หรือน้ำอัดลม ที่ต้องการเย็นแต่ไม่มีน้ำละลายลงไปกวนรสชาติ หรือ กลัวน้ำแข็งที่ใช้ ทำจากน้ำไม่สะอาด ละลาย ออกมา แล้ว กินไม่สะอาด ก็จะใช้ น้ำแข็งเหล็กแทนได้ เย็นช้าหน่อย แต่ไม่เสียรสชาติ
9 เมษายน เวลา 13:14 น.
ส่วนตัวผมมถ้าจิบไวน์ ดื่มเบียร์ขอเอาไปแช่เย็นดีกว่า
น้ำอัดลมขอแช่เย็นนานๆ เลย
น้ำแข็งเหล็กคงไม่เหมาะกับผมเท่าไรนัก เพราะผมชอบเคี้ยวน้ำแข็ง
555555
9 เมษายน เวลา 13:33 น.
12 เมษายน เวลา 10:40 น.
13 เมษายน เวลา 08:02 น.
อาจจะลองเทียบดูอีกวิธี คือหาอะไรบาง ๆ มาหุ้มน้ำแข็งไว้แล้วแช่ลงไปในน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำจากน้ำแข็งละลายมาแชร์อุณหภูมิ
เอาจริงผมชอบน้ำอัดลมแบบน้ำแข็งละลายปนหน่อยนึง มันอร่อยกว่าน้ำอัดลมแช่เย็นเพียว
9 เมษายน เวลา 13:40 น.
ตัดตัวแปล เรือง น้ำละลายมาผสม ออก
ดูสิ ว่า การที่นำแข็งละลาย ดึงความร้อนแฝง จาก น้ำไป 80Cal ต่อกรัม กับ การถ่ายเทความร้อนไว ของก้อนเหล็ก อันไหน จะดึง ความร้อนจากน้ำ ได้ไว้กว่ากัน
9 เมษายน เวลา 13:41 น.
ทั้งคู่พอใส่ถุงแล้วหน้าสัมผัสน้ำน้อยลง แต่น้ำแข็งปกติพอละลายแล้วหน้าสัมผัสจะมากขึ้น
10 เมษายน เวลา 05:55 น.
ขณะที่น้ำแข็งมีค่าความร้อนจำเพาะ 2.7 KJ/Kg แถมเมื่อน้ำแข็งละลายมันจะมีค่าความร้อนแฝงจากการละลายอีก 335 KJ/Kg
เรียกได้ว่าใช้น้ำแข็งดีกว่าเยอะทีเดียวครับ
9 เมษายน เวลา 13:48 น.
ดูว่า เวลาเท่ากับ การถ่ายเทอุณหภูมิของเหล็กอย่างเดียว กับ การ ดึงความร้อนแฝงไปใช้ ละลาย 80 Cal ต่อกรัม นี่ อันไหน จะชนะกัน
9 เมษายน เวลา 13:56 น.
ความจุความร้อนจำเพาะ ต่างกันมากมาย
เรียกว่าน้ำแข็งจริงๆ เครื่องแรงกว่าเยอะ
10 เมษายน เวลา 00:45 น.
ถ้าผมเป็นคนผลิตคงไม่ทำแบบนั้น เพราะแพง
น่าจะทำแบบกลวงๆมีแค่เปลือกข้างในทำจากเจลที่มีค่าความร้อนจำเพาะสูงๆ
11 เมษายน เวลา 07:15 น.
ชอบดื่มเหล้า เบียร์ แล้วไม่ชอบให้ น้ำแข็งมันละลาย
แล้วเสียรสชาติ ไป..แล้วทำให้มันจืด
แต่คงต้องการแค่เย็นเฉยๆ มากกว่า..
9 เมษายน เวลา 14:01 น.
9 เมษายน เวลา 14:02 น.
9 เมษายน เวลา 14:29 น.
แต่ผมว่าน้ำแช่เย็นปกติแล้วรินใส่แก้วเก็บความเย็น(พวกแก้วเยติ) แค่นี้ก็เพียงพอแล้วครับ
9 เมษายน เวลา 14:39 น.
ปอลิง. ผมไม่ใช่คอเบียร์ที่รู้รสชาติแบบลึกซึ้ง เลยชอบใช้หลอดไข่มุกดูดกิน แป๊บเดียวหมดไวกว่ายกแก้วอีก ..
9 เมษายน เวลา 19:47 น.
9 เมษายน เวลา 14:40 น.
แต่โดยส่วนตัวผมดื่มแต่น้ำเปล่าเลยไม่คิดจะเอามาใช้เลย
9 เมษายน เวลา 14:45 น.
ตอนผมเสนอเครื่องตัด cube
มันดูดีเฉยๆ ครับ น้ำแข็งมันแปลงได้เยอะมาก ถ้าชอบแบบไม่ละลายเค้าเอาแก้ว 2 ขนาดไปเติมน้ำคล้ายแก้วเลสดังๆ แล้วแช่ในห้องเย็น -10 เอาครับ
มันจะเย็นเจี๊ยบ ไม่มีน้ำปน แต่จะถือยากหน่อย เคยเห็นลูกค้าให้ดูนานมากแล้ว
ถ้าละลายช้าเค้าจะใช้ ice ball 65mm. ตัวนี้บางทีใช้ทำแก้วน้ำแข็งก็ได้ครับ ตัดด้วยเครื่อง
75-100 แล้วเจาะ 65mm จะได้รูเท่าแก้วช๊อต บางที่เราทำน้ำแข็งกลม 75-100mm. แล้วเจาะ หรือตัด cube 50×50 กัอนเดียว มันจะละลายช้ากว่าน้ำแข็งหลอดมากครับ
9 เมษายน เวลา 14:46 น.
https://www.facebook.com/Dr.JfkPantip/posts/2620634757979835
อีกอันเป็นเหยือกสองชั้น ชั้นใน ใส่น้ำแข็งก็เท่ห์
9 เมษายน เวลา 15:30 น.
ไม่ใช้ Hole saw ก็ต้องพิมพ์
ตอนที่ทดลองทำมันมีทดลองสร้างเครื่อง Super Claer ด้วยนะครับ
ตัวนั้นใสทั้งก้อน แต่ต้องแช่ 48-72 ชั่วโมงให้มันเย็นช้าๆ
ตอนนี้กะว่าพอดีกว่านี้ จะลอง Flavor Ice ซึ่งเป็นการเอาน้ำหวานโซดา
จางๆ 10-20% +WATER พวกนี้เป็นน้ำแข็ง Cocktel ชนิดนึงเหมือนกัน
13 เมษายน เวลา 10:35 น.
มันเป็นโลหะมีจะผลด้านสุขอนามัยใหมครับ
9 เมษายน เวลา 15:00 น.
10 เมษายน เวลา 10:58 น.
11 เมษายน เวลา 01:04 น.
13 เมษายน เวลา 11:09 น.
9 เมษายน เวลา 15:30 น.
แค่ท่านทดลองเรื่องอุณหภูมิ ก็หักลบออกไปได้แล้ว 1 ข้อ ส่วนข้ออื่นๆ ผมเห็นเช่นนี้ครับ
– เรื่องสะอาด ถ้าใช้แล้วไม่ล้าง หรือใช้ไปนานมีคราบสะสม เกาะตามร่องเล็กๆที่เป็นรอย อันนี้ก็น่ากลัวเช่นกัน
– เรื่องประหยัด เพราะไม่ต้องซื้อน้ำแข็งบ่อยๆนั้น ส่วนตัวคิดว่า ประหยัดเงินแต่เสียเวลาแทนมากกว่า
– รสชาติเครื่องดื่มไม่เปลี่ยนไปเพราะน้ำ อันนี้น่าจะตอบโจทย์น้ำแข็งแบบนี้สุดๆแล้ว เพียงแต่เย็นไม่ถึงใจเท่านั้นเองครับ
9 เมษายน เวลา 17:51 น.
9 เมษายน เวลา 20:14 น.
https://www.sgethai.com/article/%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA304-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0/
https://kitchenwaremarket.com/xn-tra-y-cak-phachna-hng-tm-ni-khrw/a-529.html
10 เมษายน เวลา 10:12 น.
เรียกว่าทุกขั้นตอนเลยดีกว่า ได้ธาตุโครเมี่ยมอ๊อกไซด์ติดมาเพียบแหละครับ อย่างน้ำแข็งหลอดนี่
หลอดที่ใช้ผลิตก็ท่อเลส แบบราวจับบันไดหนาๆนี่แหละ ดีฟรอซออกมาเจอคัตเตอร์ SS-420 ถูกๆหน่อยก็ 304
ตกใส่กระบะเลส แล้วลง Hooper เลสของเครื่องแพค ไม่ก็ลงกระสอบเลย ถ้าละเอียดๆ ผ่านเครื่องโม่เลสอีกที
แร่ธาตุเพียบตลอดทางจนถึงแก้วน้ำของคุณเลยทีเดียว
10 เมษายน เวลา 11:30 น.
ภาชนะโลหะ น้ำอยู่ในภาชนะ
น้ำแข็งโลหะ น้ำอยู่รอบๆน้ำแข็งโลหะ และทั้ง2 อย่างอาจจะอยู่ในภาชนะโลหะอีกด้วย
11 เมษายน เวลา 17:56 น.
สรุปเอาเองว่า น้ำแข็งที่ละลาย กระจายความเย็นไปได้ไกลกว่า น้ำทั้งแก้วจึงเย็นเร็วกว่า
น้ำแข็งลอย ความเย็นตกลง
เหล็กจม ความเย็นก็กองอยู่ตรงนั้น การแลกเปลี่ยนความร้อนเลยช้า
9 เมษายน เวลา 22:25 น.
9 เมษายน เวลา 22:55 น.
10 เมษายน เวลา 00:08 น.
10 เมษายน เวลา 00:26 น.
10 เมษายน เวลา 08:21 น.
10 เมษายน เวลา 09:09 น.
10 เมษายน เวลา 09:46 น.
น้ำแข็งโลหะ จุดประสงค์มีไว้สำหรับใส่ในเครื่องดื่มที่อยากให้เย็น แต่ไม่ต้องการให้น้ำแข็งละลายไปปนกับเครื่องดื่มจนเสียรสชาติ ผมเข้าใจว่าจริงๆแล้วเค้าเอาไว้ใส่ในค็อกเทลหรือพวกเหล้าแพงๆนะ แต่มีคนเริ่มเอามาใส่ในน้ำหรือเครื่องดื่มทั่วไป ก็เริ่มมีคนแห่ตามกัน คงเพราะมันดูเท่ห์ดีด้วยมั้ง
แต่ถ้าถามความรู้สึกส่วนตัว ผมไม่ชอบนะ มีความคิดติดหัวว่ามันไม่สะอาด ถึงจะล้างทำความสะอาดอย่างดีแล้วก็เถอะ คือรู้สึกว่าในแก้วเครื่องดื่มมันควรจะมีแต่ของที่เราเอาเข้าปากกลืนลงคอได้เท่านั้น ความรู้สึกเหมือนเมนูหม้อไฟที่เอาหินร้อนๆใส่ลงไปเพื่อทำให้ซุปเดือด แบบนั้นผมก็ไม่กิน
10 เมษายน เวลา 10:04 น.
ไม่กลัวสกปรกหรือครับ
10 เมษายน เวลา 15:32 น.
แต่น้ำแข็งโลหะในเครื่องดื่มมันมีความรู้สึกส่วนตัวติดในหัวว่ามันไม่สะอาด เรียกว่าคิดไปเองก็ได้ครับ
10 เมษายน เวลา 15:47 น.
10 เมษายน เวลา 22:45 น.
10 เมษายน เวลา 11:06 น.
10 เมษายน เวลา 12:21 น.
รู้สึกแปลก ๆ รสชาติเข้มข้นเกินไป
ทำให้เมาเร็วกว่าปกติ เสียดายเวลาสนุกสนาน
บรรยากาศของการดื่มเหล้าที่สังสรรค์กัน
แม้ว่า เหล้าทุกชนิด ดื่มแล้วต้องเมา
ถ้าไม่เมาเดินมารับเงินคืนในวันนั้นเลย
เจ้าของเหล้าชายแดนรับประกันเหล้าทุกขวด
10 เมษายน เวลา 14:02 น.
10 เมษายน เวลา 14:37 น.
เหล็กไม่ชอบน้ำ เดี๋ยวแห้งเดี๋ยวเปียก สนิมจะขึ้นเอา (สแตนเลสคือเหล็กกล้าไร้สนิมผสมโลหะอื่นเพื่อต้านทานสนิม…เหล็กกล้าก็ยังเป็นสนิมได้อยู่ดีล่ะวะ) เราก็มักเจอเป็นอะลูมิเนียมเนอะ เห็นเป็นก้อนโลหะ เราก็เรียกติดปากว่าน้ำแข็งเหล็ก โดยที่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันคืออะไรกันแน่
***ซึ่งในเม้นต์นี้ ฉันจะเรียกรวมๆ น้ำแข็งเหล็กว่าเป็นเหล็กนะคะ ไม่ได้พูดถึงเหล็กที่เป็นธาตุในตารางธาตุ***
ที่จริง น้ำแข็งเหล็กเกิดมาเพื่อใช้กับเครื่องดื่มที่ไม่ต้องการการละลายผสมค่ะ ก่อนหน้าจะมีน้ำแข็งเหล็ก มีคนคิดว่าเอาเครื่องดื่มนั้นมาแช่เย็นเป็นน้ำแข็งแล้วใช้แทนน้ำแข็งก่อนแล้ว แต่ก็มีปัญหาหากมันคือเครื่องดื่มประเภทอัดก๊าซหรือแอลกอฮอล สุดท้ายจึงได้ออกมาเป็นน้ำแข็งเหล็กนี่แหละ ^^
เพราะงั้น หากพิจารณาในแง่สำหรับน้ำดื่มธรรมดา มันจะไม่สมเหตุสมผลในการใช้งานเท่าไร
ในโลกวิทยาศาสตร์ไม่มีความเย็นเนอะ มีแต่ความร้อนกับสารที่ดูดหรือคายความร้อน ทำให้เรารู้สึกว่ามันร้อนหรือเย็นเมื่อวัดกับอุณหภูมิร่างกายของเราเอง ความร้อนมันคือพลังงานชนิดหนึ่งน่ะค่ะ
ในกรณีน้ำแข็ง น้ำดื่มอุณหภูมิห้องเป็นฝ่ายถ่ายความร้อนใส่น้ำแข็ง ตัวเองจึงมีอุณหภูมิลดลง ส่วนน้ำแข็งโดนความร้อนก็ละลายไป
เหล็กถ่ายเทความร้อนได้ไว โมเลกุลมันชิดกันตามประสาของแข็ง การเปลี่ยนอุณหภูมิจึงเกิดขึ้นเร็ว ในขณะที่น้ำที่มีโมเลกุลห่างกันจะเปลี่ยนแปลงช้ากว่า
ดังนั้นถ้าพูดแค่เรื่องเหล็กถ่ายความร้อนได้ไวกว่าน้ำ เหล็กก็ควรทำให้น้ำเย็นเร็วกว่าเนอะ เป็นที่มาของการโฆษณาว่าน้ำแข็งเหล็กเย็นไวกว่า
แต่ความจริง ปัจจัยที่ทำให้ถ่ายความร้อนได้ช้าหรือเร็ว กลับเป็นเรื่องพื้นที่ผิวสัมผัส
เพราะส่วนที่สัมผัสกันเท่านั้นจึงจะถ่ายเทความร้อนไปได้
น้ำแข็งปริมาตร 1 มล. เท่ากัน ก้อนหนึ่งทรงลูกบาศก์ กว้างยาวสูงด้านละ 1 ซม. กับอีกก้อนที่แบบ…เรียกเป็นแผ่นดีกว่า เกลี่ยให้บางเฉียบก็จะได้แผ่นใหญ่ๆ หนึ่งแผ่น น้ำแข็งสองก้อนนี้มีปริมาตรเท่ากันแท้ๆ อุณหภูมิก็เท่ากัน มาจากตู้เย็นเดียวกัน แต่อันไหนละลายไวกว่า คุณเองก็รู้ ^^
คุณลองแยกแยะระหว่างน้ำดื่มในแก้วกับน้ำแข็งว่าเป็นคนละชนิดกัน น้ำแข็งนั้นสามารถละลายตัวเองออกมาสัมผัสน้ำดื่มได้ คือน้ำแข็งละลายกลายเป็นน้ำเย็น มันก็ซอกซอนไปลดอุณหภูมิน้ำดื่มในส่วนต่างๆ ของแก้วได้มากขึ้น นี่คือการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสค่ะ ในขณะที่น้ำแข็งเหล็กมีพื้นที่ผิวสัมผัสคงเดิม ต้องทำให้น้ำที่อยู่ชิดตัวเองเย็นก่อน แล้วน้ำเย็นตรงนั้นจึงค่อยไปลดอุณหภูมิน้ำส่วนอื่น เช่นนี้ น้ำแข็งจึงทำให้น้ำดื่มในแก้วเย็นเร็วกว่า
ก็ถ้าน้ำแข็งเหล็กมันละลายมาเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสได้เหมือนน้ำแข็ง ความเร็วในการลดอุณหภูมิจะชนะน้ำแข็งได้ค่ะ มันก็จริงล่ะที่เหล็กดูดความร้อนได้เร็วกว่าน้ำ แต่เรื่องพื้นที่ผิวสัมผัสนี่เทียบไม่ได้เลย ของเหลวชนะเลิศ OwO
หากคุณเทน้ำเย็นลงในน้ำดื่ม จะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่เร็วกว่าการใช้น้ำแข็งซะอีก
เรื่องใครเย็นกว่าใคร โดยหลักการแล้ว ไม่ว่าเหล็กหรือน้ำแข็ง ถ้าตัวเองอุณหภูมิ -10 ํC ก็ควรทำให้น้ำดื่มเย็นได้เท่ากันค่ะ
แต่ดันมีตัวแปรอื่นๆ ที่ทำให้มันเย็นเท่ากันไม่ได้ เช่น พื้นที่ผิวสัมผัส ระยะเวลา ปัจจัยภายนอกที่ช่วยเพิ่มอุณหภูมิ
ผลเลยไม่ชัด อาจต้องทดลองในสภาพสุญญากาศนะคะ OwO”
สิ่งหนึ่งที่การทดลองของคุณไม่ได้ควบคุมคืออุณหภูมิตั้งต้นของน้ำแข็งเหล็กกับก้อนน้ำแข็งค่ะ คุณเอาออกจากช่องเย็นแล้วปล่อยให้ไอน้ำเกาะจนเคลือบด้วยเกล็ดน้ำแข็ง อันนี้เหล็กเสียอุณหภูมิไปแล้ว ในขณะที่น้ำแข็งนั้นแม้จะเสียอุณหภูมิไปกับสภาพแวดล้อมเหมือนกัน แต่เหล็กมันดูดความร้อนเร็วกว่า ในเวลาที่เท่ากัน เหล็กก้อนนั้นจึงเสียอุณหภูมิมากกว่าน้ำแข็ง ตอนที่คุณเริ่มเติมน้ำลงไป น้ำแข็งเหล็กกับน้ำแข็งจะดูดความร้อนได้ไม่เท่ากันแล้ว (ยังมิรวมเรื่องที่ว่า น้ำแข็งมันละลายจนจมลงในน้ำดื่มได้หมด แต่เหล็กยังคาอยู่เหนือน้ำ เสียอุณหภูมิไปกับอากาศเล่นๆ) ฉันก็ไม่รู้ว่าคุณรอถ่ายรูปนานแค่ไหนด้วย แต่เหล็กค่อนข้างเสียเปรียบด้านเวลาค่ะ
หากจะลองใหม่ ลองแบบ…สองแก้วมีน้ำดื่มอยู่แล้ว ผู้ทำการทดลองสองคน เปิดตู้เย็นพรึ่บ รีบใส่น้ำแข็งเหล็กกับน้ำแข็งลงในน้ำดื่มพร้อมกัน ปิดฝาเขย่าๆๆๆๆ (ให้พื้นที่สัมผัสน้ำดื่มทั่วถึงพอๆ กัน ในเวลาเท่ากัน เอาให้น้ำแข็งยังไม่ทันละลายมาก) แล้วรีบรินน้ำดื่มออกมาวัดอุณหภูมิทันที น่าสนุกเนอะ ^^ คือเราพยายามลดความได้เปรียบเสียเปรียบด้านพื้นที่สัมผัสพื้นที่ผิวสัมผัสไง
แล้วน้ำแข็งเหล็กต้องตันเท่านั้นด้วยค่ะ พวกกลวงน่ะไม่ต้องทดลองหรอก สู้น้ำแข็งก้อนแน่นๆ ไม่ได้แน่นอน มันเก็บอุณหภูมิในตัวได้ไม่เท่ากัน อากาศเป็นอะไรที่ถ่ายเทอุณหภูมิได้ห่วยที่สุดเพราะโมเลกุลมันอยู่ห่างกัน การมีอากาศในน้ำแข็งเหล็ก ก็มีแต่เนื้อเหล็กเท่านั้นที่ทำหน้าที่ถ่ายเทความร้อนได้
แต่ฉันมาคิดอีกที ทำไมต้องทดลองใหม่ ในเมื่อการทดลองเดิมก็จำลองสภาพใช้งานจริงได้อยู่แล้ว – -” ถึงพิสูจน์ได้ว่าเหล็กเย็นไวกว่า แต่ใครจะมานั่งเขย่า ในเมื่อใช้งานปกติแล้วน้ำแข็งเย็นเร็วกว่า เย็นมากกว่า จะไปใช้น้ำแข็งเหล็กทำไม 55555
ก็นั่นแหละค่ะ น้ำแข็งเหล็กไม่ได้เกิดมาเพื่อน้ำดื่ม เขามาเพื่อเครื่องดื่มที่แช่แข็งลำบาก ใช้น้ำแข็งแล้วเสียรส
ถ้าเป็นน้ำดื่ม ไม่มีอะไรทำให้เย็นเร็วเย็นมากได้เท่าน้ำแข็งแน่ๆ
ด้วยความรู้นี้ สามารถประยุกต์เอาไปสร้างสรรค์เครื่องดื่มได้ค่ะ อย่างนม ก็มีร้านที่เอานมไปทำน้ำแข็งก่อนแล้วค่อยมาปั่นกับนมแช่เย็น ออกมาเป็นนมปั่นที่ผ่านไปนานจนชืดก็ไม่จืดลง หรือไม่ก็น้ำแดงที่ใส่น้ำแข็งทำจากน้ำมะนาว แรกๆ ดูดเป็นน้ำแดง หลังๆ กลายเป็นน้ำแดงมะนาวได้ด้วย
ฉันชอบที่คุณรักการทดลองและใฝ่รู้นะคะ คุณพิเศษในสายตาฉันมากเลย ไม่ค่อยมีใครอยากรู้ถึงขั้นมานั่งทดลองเองหรอก
และคนที่ทำอะไรยุ่งยากเพื่อความรู้ จะเป็นคนที่เจริญไวค่ะ OwO
ขอให้ผลบุญจากการแสวงหาความรู้และเผยแพร่ความรู้ในครั้งนี้ ส่งให้คุณเจ้าของกระทู้มีความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปด้วยนะคะ ^^
10 เมษายน เวลา 17:21 น.
สงสัยไม่รู้จักพี่หมอ
555
ดูพี่หมอเด็กๆ ไปเลยนะครับ
10 เมษายน เวลา 20:32 น.
เป็นเด็กใหม่ในพันทิปน่ะค่ะ ไม่รู้เหนือรู้ใต้ ไม่รู้จักใครเลย เกรงว่าจะไม่รู้จักกาลเทศะไปด้วย OwO”
ถ้าฉันทำอะไรเสียมารยาทไป บอกกันด้วยเถอะนะคะ มีอะไรชี้แนะกันได้
10 เมษายน เวลา 20:49 น.
11 เมษายน เวลา 10:46 น.
11 เมษายน เวลา 22:53 น.
ถ้าจะตอบแบบ อธิบายทุกจุดคำต่อคำ ยาวแน่ วันนี้ งานดูคนไข้ยุ่งนิดนึง เลยแวะ มาขอบคุณ และตอบคร่าวๆ ครับ
เรื่องความเย็น ซึ่งก็คือร้อนน้อย เกิดจาก การถ่ายเทความร้อนจาก สสารที่ อุณหูมิสูงกว่า ไป ยัง อันที่ต่ำกว่า นั้น พวกเราคงเข้าใจกันดี แต่ชาวบ้าน เรามักสื่อกันให้ง่ายๆว่า มันปล่อยความเย็นออกมา เห็นภาพง่ายกว่า เข้าใจภาพได้ง่ายกว่า บอกว่ามันดูดความร้อนเข้าไป)
เรื่อง ตัววัสดุ ไม่ได้ ผ่าข้างใน แต่ที่ เรียกน้ำแข็งเหล็ก คือ เรียกให้คนทั่วไป ที่เห็นซื้อใช้เข้าใจ แต่จากผิวสัมผัส ที่ดูด้วยตา จากคนที่เคย สัมผัสกับโลหะมานาน และ มากพอสมควร พอบอกได้ ว่า ไม่ใช่ อลูมิเนียม ซึ่ง พวกนั้น พอทิ้งไว้ไม่กี่วัน อ๊อกไซด์ ของมัน จะทำให้ผิวมันสีหม่นลง ไม่เงาวาวแบบตัวนี้ ข้างในไม่ได้ผ่าดู แต่ข้างนอก ถ้าดูด้วยตา คงเป็น เหล็กชุบโครเมียม หรือ เสตนเลส เกรดสูงระดับนึง แต่ว่า เรียก แค่ น้ำแข็งเหล็ก คนทั่วไปก็เข้าใจกัน เลยใช้คำนั้น
ส่วนเรื่องผิวสัมผัส คนเรียนวิทย์ ทุกคน คงทราบกันดี ว่าการถ่ายเทอุณหภูมิ พื้นที่ผิวสำคัญแน่ๆ ผมถึงเลือกให้ใกล้เคียงกัน คือน้ำแข็งก้อนตัน กับ น้ำแข็งเหล็กเหลี่ยม และใช้ จำนวนใกล้เคียงกัน ( ซึ่งน้ำที่สัมผัสกับมัน จะสัมผัส ผิวนอกของมัน ซึ่งพื้นที่ผิว ใกล้เคียงกัน)
แต่เรื่อง น้ำเย็นที่ละลายไหล ออกมา นั่นไม่ใช่แค่ไปแลกเปลี่ยน อุณหภูมิกับน้ำ หรือ แทรกพื้นที่ผิว แต่จริงๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ ก็อย่างที่ผมบอก คือ มันไปละลาย หรือแทรกตัว เป็นส่วนนึงของน้ำ ปกติด้วยเลย เหมือนเทน้ำเย็น 0 ซี ลงไปในน้ำ อุณหภูมิ 15 C เลยเป็นเหตุผลที่มันเย็นไว อย่างที่บอกไว้แล้ว
จริงๆ ผมเอง ตอนนี้ในหัว นี่ ถ้าว่าง อยากออกแบบการทดลอง ที่ตัดตัวแปล เรื่อง น้ำแข็งที่ละลาย ละลายลงไปปนกับน้ำออกแล้ว โดยกะว่าจะใช้น้ำแข็งห่อด้วยฟิล์มบางๆ แบบฟิล์ม Wrap อาหาร เพื่อ ป้องกันไม่ให้น้ำแข็งที่ละลาย ออกไปปนกับน้ำ ในแก้ว แม้จะมีข้อเสีย ตรงที่ฟิล์ฺมมันเป็นฉนวนนิดๆ อาจจะทำให้ การถ่ายเทความร้อนช้าลงหน่อย แต่ถ้าใช้บางๆมากๆ ก็น่าจะไม่มีผลมาก และ ผมยังแอบเชื่อว่า การละลายของน้ำแข็งที่ ดึงความร้อนจากน้ำไปใช้ ทำลาย ความร้อนแฝง 80 Cal ต่อกรัม อาจจะชนะอุปสรรคฉนวนบางๆนี้ และเย็นได้ไวกว่า น้ำแข็งเหล็กอีก
ส่วนตัวแปรเรื่องอุณภูมิตั้งต้น อันนี้ ที่ คุณแนะนำ เรื่องไอน้ำไปเกาะเกิดฟิล์มผมเชื่อว่า มีผลน้อยมาก
เพราะว่า ตอนทดลองผมเอาน้ำแข็งทั้งสอง ใส่ ฟรีซ -10 แล้ว เพื่อให้อุณหภูมิทั้งก้อน ของทั้งสองรวมทั้งในแกนในมัน เป็น -10 เท่ากัน
การนำเอาออกมาแปล๊บเดียว แม้จะเกิดไอน้ำควบแน่นไปเกิดฟิล์มน้ำแข็งคลุมก้อน(ก็มีท้งก้อนเหล็กและก้อนน้ำแข็งนั่นแหละ) มันแค่บางๆนิดเดียวเพราะว่า ออกมาแปล๊บเดียว และ พอโดนน้ำพวกนี้ก็วาบหายหมดทันที เหลือแต่ อุณหภูมิหลักจากแกนก้อนทั้งสอง ซึ่งตรงนี้ผมว่า มองข้ามมันได้ ไม่งั้นต้องสร้างห้องทดลองปลอดไอน้ำกัน วุ่นวาย 5555555
สุดท้าย แม้จะยังไม่ได้ถกกันนาน จริงจัง เต็มที่ แต่ยินดี ที่ได้ คุย แลกเปลี่ยน ความรู้กัน ครับ
จริงๆ ผมอยู่ในหว้ากอ กับน้องที่นี่ มานาน คอยทดลองโน่นทดลองนี่เล่นกับเด็กๆเค้าประจำ
ช่วงนี้ มัวแต่เที่ยว เลยไม่ค่อยได้ผ่านมา อันนี้ พอดีน้องในเฟสบุ้ค ผมเค้าถาม เลยทดลองให้ดู แล้วเลย เอามาฝากน้องๆเพื่อนๆ ห้องนี้กัน
12 เมษายน เวลา 13:20 น.
แล้วถ้าออกแบบน้ำแข็งให้เป็นรูปทรงอื่นที่เพิ่มผิวสัมผัสไม่รู้ว่าประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นหรือไม่ เช่นเป็นทรงกลม เป็นแท่ง เป็นรังผึ้ง มันไม่จำเป็นต้องออกแบบเป็นก้อนนี่เนาะ เพราะคงไม่มีใครเคี้ยวเล่น ขอแค่อย่าเล็กจนหลุดเข้าปากก็พอ
10 เมษายน เวลา 18:23 น.
10 เมษายน เวลา 19:53 น.
10 เมษายน เวลา 22:45 น.
น้ำแข็งพวกนี้ เขาทำไว้เพื่อให้ความเย็นแต่ไม่ต้องการให้รสชาติเครื่องดื่มเสียไป เช่น เบียร์ ค็อกเทล
11 เมษายน เวลา 04:32 น.
ร้อนไวกว่า?
11 เมษายน เวลา 07:53 น.
แต่มีปัจจัย อื่น อย่างเช่นการ ละลายของน้ำแข็ง ดึงความร้อนแฝงไปใช้ละลาย ตลอดจน การที่น้ำแข็งที่ละลาย ออกมา และมีอุณหภูมิเย็นจัด ละลายปนกับน้ำ ทำให้ ผลมันออกมา น้ำแข็งปกติเย็นเร็วกว่า ครับ
14 เมษายน เวลา 10:17 น.
11 เมษายน เวลา 15:53 น.
11 เมษายน เวลา 22:10 น.
ส่วนเหตุผล ไม่ว่าจะเป็นเหล็กตัน ก็ทำให้น้ำเย็นขึ้นช้ากว่าน้ำแข็ง เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งสามารถถ่ายอุณหภูมืให้กับน้ำได้อีกต่อนึง
แต่กับน้ำแข็งเหล็ก การถ่ายอุนหภูมิจะต้องรอโมเลกุลของน้ำลอยมาสัมผัสกับพื้นผิวเท่านั้น ดังนั้น จึงถ่ายเทอุณหภูมิให้กับน้ำได้ช้ากว่า จึงทำให้เย็นช้ากว่า
แต่ข้อดีของน้ำแข็งเหล็ก คือ ถ้าก้อนนึงมีมวลเยอะกว่าน้ำแข็ง มันจะทำให้น้ำเย็นนานกว่านั่นเอง
11 เมษายน เวลา 23:00 น.
12 เมษายน เวลา 00:13 น.
12 เมษายน เวลา 02:23 น.
12 เมษายน เวลา 03:50 น.
12 เมษายน เวลา 09:06 น.
12 เมษายน เวลา 12:08 น.
ตอนนี้เลยไม่ได้ใช้อีก ชอบน้ำแข็งปกติ ไม่ก็น้ำเย็นใส่แก้วเก็บอุณหภูมิมากกว่าค่ะ
12 เมษายน เวลา 23:16 น.
เช่นถ้าใส่ใน pepsi ถ้าเป็นน้ำแข็งธรรมดา ก็จะปนละลายไปกับpepsi ด้วย
ทำให้เจือจางนิดๆ อร่อยดี สุดท้ายก็กินหายไปในท้องหมด
แต่ถ้าน้ำแข็งเหล็กก็ยังอยู่เหมือนเดิม
13 เมษายน เวลา 06:47 น.
14 เมษายน เวลา 10:18 น.
ตอนนี้อยู่สินธร ค่ะ
14 เมษายน เวลา 15:13 น.
13 เมษายน เวลา 11:07 น.
13 เมษายน เวลา 11:10 น.
15 เมษายน เวลา 01:44 น.
16 เมษายน เวลา 09:45 น.