ทำไมในเมืองไทย.. การเปิดร้านข้างๆคู่แข่งถึงดูโหดร้ายครับ??
ดูข่าวและฟังแนวคิดของพ่อค้าแม่ค้าหลายคนเขาคิดประมาณว่า เปิดข้างๆจะโดนกลั่นแกล้ง บางคนถึงขั้นยิงกัน ทะเลาะกันเลยเยอะแยะในไทย บางคนบอกมันผิดศีลธรรม(แต่มันไม่ผิดกฎหมายนี่)…
มันเป็นอะไรครับกับการเปิดร้านตรงข้ามกันหรือข้างๆคนที่ทำธุรกิจเดียวกับเรา…
ผมมีมุมมองว่าในโลกของธุรกิจมันก็ต้องแข่งขันกัน สินค้า/บริการใครดีกว่าคนนั่นก็ชนะไปถ้าอีกคนไม่คิดจะพัฒนา มันเป็นสิทธิของลูกค้านี่ครับ บางทีคนใหม่อาจจะนำสิ่งที่ดีกว่าคนเดิมมาให้ลูกค้า ราคา รสชาติ ความสะอาด การบริการ…
มันน่าจะอยู่ที่คุณจะเจ๋งจริงรึเปล่าละ คุณเจ๋งพอจะดึงลูกค้าให้อยู่กับคุณมากแค่ไหน ใช่รึเปล่าครับ…
ยังงี้ถ้าเจ้าใหญ่ๆยักษ์ใหญ่ทุนหนาในไทยมาเปิดแข่งข้างๆ คุณเขาจะไม่ไปไล่บี้ไล่ยิงเขาตายเลยรึครับ…
สมาชิกหมายเลข 6528481
10 กรกฎาคม เวลา 22:29 น.
10 กรกฎาคม เวลา 22:29 น.
แหล่งที่มา pantip.com
เมืองไทยก็เห็นมีตั้งนานแล้ว อย่างร้านสังฆภัณฑ์แถวเสาชิงช้า ร้านขายผ้าแถวพาหุรัด กิ๊ฟชอปสำเพ็ง อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์คลองถม ร้านกระเพาะปลาแห้ง หูฉลามเยาวราช ร้านปืน ร้านเพชร ร้านทอง ฯลฯ ก็มีย่านกัน ไม่เห็นแปลกเลย
10 กรกฎาคม เวลา 22:56 น.
แต่เมื่อไรที่เขาเป็นคนที่ถูกตาม เขาจะเข้าใจถึงแก่นเลยเทียว
11 กรกฎาคม เวลา 00:01 น.
11 กรกฎาคม เวลา 01:10 น.
ถ้าแข่งไม่ได้ก็ลองปรับเป็นคู่ค้า เขาขายก๋วยเตี๋ยวเราขายข้าว เขาขายข้าวเราขายน้ำ เขาขายน้ำเราขายน้ำแข็ง เขาขายน้ำแข็งเราขายตู้เย็น ฯลฯ ไม่มีใครหรอกทำได้ทุกอย่างขายได้หมดทุกอย่าง
ย่านต่างๆที่มีร้านขายของประเภทเดียวกันอยู่เป็นกลุ่ม หลายร้านเป็นเจ้าของเดียวกันหรือญาติพี่น้องหรือพวกเดียวกัน เขาช่วยเหลือกันอยู่ เพราะไม่มีร้านไหนจะมีของได้ครบทุกอย่าง พอมีลูกค้าเข้าร้านไหนของขาดก็ไปเอาของร้านใกล้ๆมาก่อน เงินมันก็หมุนเวียนอยู่ในกลุ่มพวกเดียวกัน
11 กรกฎาคม เวลา 08:06 น.
ห้างอื่นๆก็เห็นได้ชัด ยิ่งมีร้านน้อย คนยิ่งไม่ไป ยิ่งจะขายไม่ออก
11 กรกฎาคม เวลา 09:03 น.
นี่อยู่ในวงการบริหารและธุรกิจมาจะยี่สิบปียังไม่เคยเห็นเหตุการณ์แบบนั้นในภาค SME ขึ้นไป ใครมาทำแข่งก็แข่งขันกันไปตามปกติ เช่น ตอนบริหารร้านเฟอร์นิเจอร์ ก็มีช็อปในห้างฯ เขาแบ่งโซนอยู่แล้ว โซนขายเฟอร์นิเจอร์ก็ต้องขายเฟอร์นิเจอร์ทั้งฟลอร์ ร้านคู่แข่งก็เปิดขนาบซ้ายขวา หน้าหลัง ไปทั้งฟลอร์ ก็ไม่มีใครยุ่งกับใครครับ ต่างคนต่างขาย เพราะผู้ประกอบการแต่ละรายเขามีแผนการตลาดของเขาอยู่แล้ว ก็โฟกัสที่ทำหน้าที่ตัวเองไปครับ
11 กรกฎาคม เวลา 09:15 น.
หลายประเทศเลยมีกฎหมายเพื่อให้มีการแข่งขันที่เท่าเทียมกันนะครับ
11 กรกฎาคม เวลา 09:48 น.
ตัวอย่างเช่นการค้า “คนที่ทำการค้า” ชอบการผูกขาด เพราะทำกำไรมหาศาล ตัวเองได้ประโยชน์
ส่วนคนที่เป็น “ลูกค้า” ชอบเสรี มีร้านเยอะๆ แข่งราคาและคุณภาพกัน ตัวเองได้ประโยชน์
11 กรกฎาคม เวลา 10:09 น.
11 กรกฎาคม เวลา 11:19 น.
11 กรกฎาคม เวลา 17:49 น.
ถ้าเจ้าเก่าเขาเจ๋งจริงเขาต้องคิดไว้แล้วล่ะว่าสินค้าตัวเองควรพัฒนาไปทางไหน สามารถแตกอะไรเสริม
11 กรกฎาคม เวลา 22:20 น.
11 กรกฎาคม เวลา 22:27 น.
11 กรกฎาคม เวลา 22:34 น.
11 กรกฎาคม เวลา 22:36 น.
11 กรกฎาคม เวลา 11:25 น.
11 กรกฎาคม เวลา 17:50 น.
รายเล็กสู้กัน ก็ต้อง ตัดราคา ชิงลูกค้า เป็นปกติ แต่ ต้องไม่ทำลายธุรกิจโดยรวม หลอกลูกค้า ของ copy, ไร้คุณภาพ นั่น ตัวทำ เจ๊งทั้งระบบ
11 กรกฎาคม เวลา 11:47 น.
อย่าโกหกนะ ตอบมาตามตรงว่าเคยไหม แล้วมีทัศนคติอย่างไร แก้ปัญหาอย่างไรกับเรื่องนี้
11 กรกฎาคม เวลา 12:00 น.
11 กรกฎาคม เวลา 19:21 น.
คนที่มองว่ามีคนแข่งไม่เห็นเป็นไร พูดแบบนี้แสดงว่าไม่เคยทำการค้ามาก่อน นึกถึงคุณมาเปิดร้านเจ้าแรก บุกเบิกซอยที่ไม่มีคนเดินผ่าน รอจนตรอกร้างค่อยๆ เจริญเป็นชุมชนด้วยความอดทน ใช้เวลาขายปรับปรุงร้านดึงลูกค้าสร้างชื่อเสียงเป็นสิบๆ ปี จนได้ออกทีวีมีคนรู้จักไปทั่วประเทศ วันดีคืนดีมีหมาที่ไหนไม่รู้มาเปิดร้านประกบข้าง ขายเหมือนกันตั้งชื่อร้านคล้ายกัน แถมตัดราคากันอีก ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้เวลาแรงงานหยาดเหงื่อสมองหลายสิบปี แลกกับลูกค้าที่ได้มาด้วยความเหนื่อยยาก อยู่ๆ มีหมามานั่งข้างๆ แล้วคาบลูกค้าที่คุณเรียกมาด้วยความลำบากไปแด่กเองง่ายๆ ไม่ทราบคุณจะยิ้มออกหรือไม่ แล้วถ้าคู่แข่งมันดันเป็นเจ้าใหญ่เข้ามาดั๊มราคา แบบนี้ไอ้คนที่บุกเบิกรายแรกมันเหมือนไปเปิดตลาดให้นายทุนใช้หาลูกค้าฟรีๆ หรือเปล่าฟะ? นึกถึง 8-12 เปิดร้านแรกขายดี วันดีคืนดีมันมาเปิดแข่งกับคุณอีกร้าน ไม่ทราบว่าเป็นธรรมหรือเปล่าครับพี่น้อง?
11 กรกฎาคม เวลา 12:40 น.
คนใหม่มาแข่งทำให้เหนื่อยขึ้น เลยไม่ชอบใจ และไม่มีอะไรไปสู้ เพราะทำเป็นอย่างเดียวคือลดราคา
โลกเสรี ใครสร้างมูลค่าถึงอยู่ได้ และการแข่งขันทำให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์
อีกพวกก็คือด่านายทุนไว้ก่อน เพราะไม่มีความรู้ และเอาราคาสู้ ทั้งๆ ที่จุดเด่นของร้านเล็กก็มี
11 กรกฎาคม เวลา 14:48 น.
มันต้องไปดูด้วยว่า เราแก้ระบบผูกขาดทางการค้าจริงรึเปล่า
11 กรกฎาคม เวลา 16:08 น.
11 กรกฎาคม เวลา 16:12 น.
คือเพื่อนผมคนนี้กำลังลำบาก จึงรวบรวมเงินที่มีเรียนทำเบเกอรี่ พยายามเรียนอย่างตั้งใจ เพราะมีลูกที่ต้องเลี้ยง(เป็น single mom)
พอเรียนได้ก็ค่อย ๆ ทำขาย พัฒนาสูตร และเก็บกำไรทีละนิด ซื้ออุปกรณ์เบเกอรี่ทีละอย่าง จนครบ
พอเริ่มขายได้ คนข้างบ้านก็มาคุยว่ากำลังลำบากอยู่เช่นกัน ไม่มีเงินแม้แต่จะไปเรียนอะไร ๆ
จึงอยากขอสูตรขนมของเธอ เพื่อนผมก็สอนไปหมดเพราะสงสาร
แล้วสุดท้าย ไม่นาน ก็เปิดขายข้างบ้านเพื่อนผม มีอุปกรณ์ทุกอย่างครบถ้วน มีป้ายร้านรูปขนมที่เหมือนกัน ใหญ่กว่า บังร้านเพื่อน
และขายตัดราคาร้านเพื่อนผม ลงเฟสว่าเป็นสูตรเฉพาะของทางร้าน ทำตัวเป็นคนมีประสบการณ์ทำเบเกอรี่ในเฟส
มันคืออะไรนี่
11 กรกฎาคม เวลา 17:53 น.
11 กรกฎาคม เวลา 20:36 น.
12 กรกฎาคม เวลา 09:03 น.
11 กรกฎาคม เวลา 21:25 น.
เห็นแต่ขายเลียนแบบแล้วตัดราคากันเพื่อเรียกลูกค้ามากกว่า แล้วก็พากันเจ๊ง
หลายปีก่อนยังมีโฆษณาในทีวีเรื่องนี้เลย อยู่ใกล้ๆก็ให้ทำธุรกิจเกื้อหนุนกัน
อย่าขายแบบเดียวกันตัดราคากันเอง จำไม่ได้หละว่าโฆษณาของอะไร
12 กรกฎาคม เวลา 12:30 น.
12 กรกฎาคม เวลา 14:47 น.
12 กรกฎาคม เวลา 15:18 น.
12 กรกฎาคม เวลา 22:13 น.
การเปิดร้านใกล้ๆกันหรือติดกันของคนจีน ถือว่าเป็นเรื่องปกติมากๆ
คนจีนเห็นว่าเมื่อค้าขายอะไรแล้วเห็นว่าดี จึงอยากจะจะขยายกิจการ
แล้วอาจจะให้ลูกชายคนโตไปดูแล เพราะถ้าอยู่ใกล้ๆกันหากมีปัญหาอะไร
ผู้เป็นพ่อก็จะได้แนะนำดูแลได้ใกล้ชิด หรือหากยังไม่ปล่อยมือ ยังเป็น
ระบบกงสี ผู้เป็นพ่อก็จะยังดูได้ทั่วถึง จากนั้นหากกิจการดีขึ้นมากก็จะขยาย
เป็นร้านที่3,4,5 เรื่อยไปและอยู่ในละแวกเดียวกัน อาจจะอยู่ในวงเครือญาติ
หรือคนที่รู้จักสนิทกัน เขาไม่กลัวเรื่องแข่งขันขายตัดราคากัน เพราะคำว่า “ฮั้ว”
ก็มาจากคนจีน เขาคุยตกลงราคากันเรียบร้อยแล้วว่าของชิ้นนี้ควรตั้งราคาขาย
และราคาต่อรองต่ำสุดต้องขายเท่าไหร่ ส่วนเรื่องลูกค้าก็จะเป็นลูกค้าใครลูกค้ามัน
เพราะลูกค้าบางคนอาจจะถูกอัธยาศัยกับร้านนี้ ก็จะเป็นลูกค้าประจำ และหากของ
ที่ร้านประจำหมด แต่ลูกค้ายังต้องการ เขาก็จะแนะนำไปอีกร้านนึง หรือวิ่งไป
ขอหยิบยืม(โป๊ว) มาจากร้านอื่นซึ่งอยู่ในเครือข่ายเดียวกันมาให้ก่อน เป็นการบริการ
อำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า เพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ด้วย
ส่วนที่จะมองว่าการที่มีร้านอยู่ใกล้ๆกันจะทำให้ยอดขายตกลงไปหรือเปล่า
หากมองในแง่ของทฤษฎี 4P (Product,Price,Place,Promotion) มันก็ตรงกับ
ทฤษฎีทุกอย่าง เช่น หากเราอยากจะได้อะไหล่รถยนต์เราไปหาที่วรจักร,
อยากได้อะไหล่รถมือสองเราไปเชียงกงสวนหลวง, อยากได้ของจุกจิกเบ็ดเตล็ด
เราไปสำเพ็ง เอาสถานที่เป็นแหล่งจุดขาย เป็นต้น และเมื่อพื้นที่ขายในจุดนั้นๆ
เต็มแล้วและขยายไม่ออก ก็ย้ายไปไปที่อื่น แต่ยังเอาชื่อของสถานที่เดิมติดไปด้วย
เพื่อให้ลูกค้า ดูชื่อก็จะรู้ได้เลยว่าตรงนี้ขายอะไร เช่น เชียงกงบางพลี, เชียงกงรังสิต
คำถาม “ทำไมในเมืองไทย.. การเปิดร้านข้างๆคู่แข่งถึงดูโหดร้ายครับ??”
เช่น ร้านอาหารถ้ามาเปิดใกล้กัน ตรงนั้นอาจจะเป็นทำเลที่มีคนอาศัยอยู่มาก
จึงเป็นช่องทางที่พอจะแชร์ลูกค้ามาได้ ผู้ค้าเดิมต้องใจกว้างพอ มันเป็นการพัฒนา
ตัวเองด้วย เช่น รสชาติความอร่อยดี,คุณภาพวัตถุดิบดี,บรรยากาศร้านดีและการบริการดี
ราคาสูงกว่าร้านอื่นนิดหน่อย ผมก็ว่ามีลูกค้าแน่นอน เพราะฐานลูกค้าเดิมมีอยู่แล้ว
ค้าขายหรือทำอะไร ให้ดูที่ตัวเราเอง คนไทยโทษทุกอย่าง ยกเว้นตัวเราเอง
13 กรกฎาคม เวลา 17:06 น.