ทำไมคนเกาหลีถึงมักจะเรียก ไก่ แบบทับศัพท์อินเตอร์ ในขณะที่เนื้ออื่นก็เรียกปกติครับ
ไก่ เรียก ทัก (닭)
แต่คนส่วนใหญ่ใช้ ชี่ คิ่น (치킨)
ไม่ว่าจะตัวเต็ม 2 พยางค์หรือตัดมาอันเดียว
แต่คนส่วนใหญ่ใช้ ชี่ คิ่น (치킨)
ไม่ว่าจะตัวเต็ม 2 พยางค์หรือตัดมาอันเดียว
แต่เนื้ออื่นก็ยังคงคำเดิม
หมู เป็น ทแว จี (돼지)
วัว เป็น โซ (소)
ปลา เป็น แซง ซอน (생선)
อะไรที่ทำให้ ไก่ มันพิเศษกว่าใครเขาครับ
เพิ่มเติมนิดนึง คือ เนื้ออื่นจริงๆก็ทับศัพท์ได้หมดนะแหละ
หมู เป็น โพ่ ขื่อ (포크)
วัว เป็น พี พื่อ (비프)
ปลา เป็น พี่ ฉี่ (피시)
แต่อันนี้พูดถึงการใช้จริงในสังคมนะครับ
แบบ ทำไมเอามาใช้แค่กับไก่ เป็นหลัก
แก้ไขข้อความเมื่อ 5 เมษายน เวลา 09:31 น.
สมาชิกหมายเลข 3840780
5 เมษายน เวลา 09:23 น.
5 เมษายน เวลา 09:23 น.
แหล่งที่มา pantip.com
5 เมษายน เวลา 09:46 น.
คือไม่ใช่ว่าเรียกทับศัพท์แทนไก่ แต่ใช้ชิคิ่นแทนเมนูอาหารคือไก่ทอดแค่เมนูเดียว
เพราะเห็นเวลาพูดถึงซุปไก่ ไก่ย่าง ก็ใช้ภาษาเกาหลีปกติ
5 เมษายน เวลา 09:51 น.
5 เมษายน เวลา 11:01 น.
치 킨 จะใช้กับ เมนูไก่ทอด และเมนูใหม่ๆจากตะวันตกเท่านั้นครับ ถ้าเป็นอาหารเกาหลีดั้งเดิมเอง จะใช้ 닭 ตามปกติครับ
ภาษาญี่ปุ่นต่างหากครับ ที่ใช้ チキン แพร่หลาย ทับศัพท์ในเมนูไก่ มากกว่าเกาหลีครับ ทั้งในเมนูดั้งเดิม และเมนูต่างประเทศ
ลองมานั่งนึกๆดู เมนูที่นึกออก + เคยกิน เหมือนจะใช้ チキン แทน 鶏 แทบทั้งหมดเลยแหะ
5 เมษายน เวลา 12:22 น.
5 เมษายน เวลา 18:51 น.
แต่เมื่อวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามา โดยเฉพาะอเมริกา คือไก่ทอด
เกาหลีก็เป็นเลยได้เมนูเป็น ไก่ทอด คำว่า ชิคิน น่าจะเริ่มต้นติดปากกันในตอนนี้
ปัจจุบันเกาหลี ใช้วัฒนธรรมไก่ทอดที่ได้รับอิทธิพลมา เป็น Soft Power
ด้วยการเอาไก่ทอดสูตรเกาหลี หรือไม่ก็สูตรเผ็ด กินคู่กันกับเบียร์
จากชิคิน เรียกว่า ชิแม็ก
ถ้าหากเรียกภาษาบ้านเราอ่ะนะ
ดื่มเบียร์ พร้อมจกไก่ทอด เป็นกับแกล้มนั่นแหละ
6 เมษายน เวลา 08:33 น.
ทักคาลบิ จิมดัก ทักกังจอง ซัมเกทัง ฯลฯ แทบไม่มี ชิคเก้น เลยครับ
จริงๆแล้วในภาษาเกาหลี ใช้คำอ่าน ตัวอักษรจีน เยอะกว่าอังกฤษอีกครับ
อย่าง ซัมเกทัง “เก” มาจากอักษรจีนที่แปลว่าไก่ครับ
6 เมษายน เวลา 11:07 น.