น้ำจับเลี้ยง หรือที่คนจีนแต้จิ๋วเรียก จับเหลี่ยงจุ้ย
ชวนมาต้มน้ำจับเลี้ยงดื่มแก้ร้อนในกันค่ะ
ช่วงเทศกาลบ้ะจ่าง แม่นันทานไปเยอะเลยค่ะ ทานแต่ของร้อน ของทอดทั้งนั้น ทำเอาร้อนในเป็นแผลในปากมาหลายวัน
ช่วงเทศกาลบ้ะจ่าง แม่นันทานไปเยอะเลยค่ะ ทานแต่ของร้อน ของทอดทั้งนั้น ทำเอาร้อนในเป็นแผลในปากมาหลายวัน
พอว่างปุ๊บรีบต้มน้ำจับเลี้ยงขึ้นมา เด็กๆที่บ้านก็ชอบด้วย น้องภามพอเห็นแม่นันกำลังต้มอยู่ ถึงกับเอ่ยปากขอ
พร้อมถาม “อู่ เหลาะ เหน็กโอ้ย บ๊อ” ใส่ลำใยด้วยรึเปล่ามามี้”
น้ำจับเลี้ยง คือน้ำต้มสมุนไพรจีนหลายๆอย่างคละกัน (Chinese mixed herbs drink)
คำว่า จับ/จั๊บ (杂/什) ในจับเลี้ยง หมายถึงของเบ็ดเตล็ดอะไรก็ตามที่เอามาคละรวมกัน ผสมกัน เช่น ผักหลายชนิดต้มรวมกัน
ที่เราเรียกว่า “จับฉ่าย” (杂菜/什菜) ไม่ได้แปลว่า สิบ เพราะจับเลี้ยงหลายตำรับใช้ยาจีนมากถึงสิบกว่ายี่สิบอย่างผสมกันก็มีค่ะ
น้ำจับเลี้ยง หรือจับเหลี่ยงจุ้ย ในหนึ่งห่อใหญ่ที่แม่นันให้ทางร้านยาจีนจัดให้มา น่าจะมีสมุนไพรเกือบครบทุกอย่าง
ที่ยืนพื้นเลยจะมีเก๊กฮวย หล่อฮั้งก้วย ดอกงิ้ว แห่โกวเช่า เหม่ากึง(รากหญ้าคา) โชยเตียจั้ว(ใบเพกา)
ส่วนสมุนไพรจีนที่จัดเพิ่มอาจมี โหล่วเก็ง เทียงฮวยฮุ่ง หง่วงเซียม เง็กเต็ก แบะตัง กิมหงึ่งฮวย(สายน้ำผึ้ง) เป็นต้น
สมุนไพรจีนส่วนหลังนี้ ก็แล้วแต่ว่าทางร้านขายยาจีนเขาจะจัดอะไรให้บ้าง ซึ่งมักจัดเพิ่มให้เพียง 3-4 อย่าง
ไม่จำเป็นต้องจัดให้ครบหมดทุกอย่าง
มาดูสรรพคุณในสมุนไพรกันค่ะ
– แห่โกวเช่าร่วมกับใบเพกา ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ เจ็บคอ เสียงแห้ง เป็นแผลในช่องปาก
– หล่อฮั้งก้วย แก้ไอ ละลายเสมหะ เจ็บคอ คอบวม ท้องผูก
– เก๊กฮวย แก้ร้อนใน ดับร้อนถอนพิษไข้ แก้หวัด แก้ไข้
– ดอกงิ้ว แก้ร้อนใน ขับความชื้นในร่างกาย ถอนพิษ แก้ท้องเสียถ่ายเหลว แก้บิด
– เปะเหม่ากึง(รากหญ้าคา) แก้ร้อนใน แก้ไอ แก้ไข้ เจ็บคอ คอบวม ไล่ความชื้นในร่างกาย ขับน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะมีเข้ม
– กำเช่า ดับร้อนถอนพิษ แก้ไอ หอบ แก้เจ็บคอ คอบวม มีเสมหะมาก แก้ปวดท้องถ่ายเหลว
*ต้องขอบคุณข้อมูลดีๆ จากผู้เขียนใน MGR Onlie ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรจีนในน้ำจับเลี้ยงมามากมายเลยค่ะ
แม่นันไม่ได้รู้จักทุกตัวนะคะ รู้แต่ว่าน้ำจับเลี้ยงอร่อย และมีประโยชน์มาก ดื่มแก้ร้อนใน ป้องกันหวัด แก้กระหายน้ำ
สมัยเด็กๆ อาอึ้มต้มให้ดื่มเป็นประจำเลยค่ะ พวกเราจึงคุ้นชินกับเครื่องดื่มสมุนไพรกัน ใครพอจำกันได้บ้างคะ
ภาพประกอบหยิบยิมมาจากอากู่ค่ะ
สมัยก่อน (วัยนี้เราพูดกันเป็นสมัยแล้วนะคะ อุอุ) ตามร้านขายยาจะตั้งตู้แช่เครื่องดื่ม
จะมีน้ำเก๊กฮวย น้ำจับเลี้ยง น้ำหล่อฮั้งก้วย ใส่เป็นแก้วๆ ตั้งแช่ในตู้เย็นเจี้ยบ แม่นันมักร้องขอให้อาอึ้มซื้อน้ำเก๊กฮวยให้
เพราะรู้สึกมันอร่อยชื่นใจเป็นที่สุด เอ๊ะ..แล้วไหนบอว่าชอบน้ำจับเลี้ยง ชอบค่ะ แต่ที่ร้องให้ซื้อน้ำเก๊กฮวย เพราะเบื่อจับเลี้ยงมาก
ก็อาอึ้มต้มให้ดื่มอยู่เรื่อยนี่นา
มาดูวิธีต้มกันดีกว่าค่ะ
– ก่อนอื่นเลย นำสมุนไพรทั้งห่อมาล้าง ทำความสะอาด พักสะเด็ดน้ำไว้
– ตั้งน้ำใส่หม้อต้มจนเดือด แม่นันใช้น้ำ 6 ลิตร (สูตรเครื่องดื่มแม่นันจะใช้น้ำ 6 ลิตร ยืนพื้นค่ะ)
– เมื่อน้ำเดือด นำสมุนไพรจับเลี้ยงลงต้ม ปรับไฟอ่อน อย่าลืมบีบเจ้าลูกกลมๆ (หล่อฮั้งก้วย) ให้แตกก่อนนำลงต้มนะคะ ต้มด้วยไฟอ่อน 20-30 นาที ค่ะ
– เมื่อต้มจนได้ที่แล้ว ช้อนสมุนไพรทั้งหมดออก พักใส่ภาชนะไว้ อย่าเพิ่งทิ้งนะคะ เพราะเราอาจจะต้องใช้ต้มเป็นน้ำสอง
หากน้ำแรกที่เราต้มมีความเข้มข้นมากเกินไป ขึ้นอยู่กับปริมาณสมุนไพรด้วยค่ะ
– ปรับไฟแรงให้น้ำเดือดอีกครั้ง ปรุงด้วยเปียทึ้ง (น้ำตาลกรวด) โอวทึ้ง (น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายแดง) หากไม่มีใส่อย่างใดออย่างหนึ่งก็ได้ค่ะ
แต่ไม่แนะนำให้ใช้น้ำตาลทรายขาว เพราะรสเค้าจะแหลมค่ะ ตใส่เกลือเล็กน้อย ชิมดู ถ้ารู้สึกหวานน้อย หวานมากไป ปรับได้ค่ะ
เพราะเราจะได้ความหวานจากลูกหล่อฮั้งก้วยมาส่วนหนึ่งแล้วค่ะ
– จากนั้นพักให้เย็นดี แล้วนำมากรองด้วยผ้าขาวบาง ตักบรรจุใส่ขวด ภาชนะ แช่ตู้เย็นไว้ค่ะ
ที่นี้เราก็จะได้น้ำจับเลี้ยงเป็นเครื่องดื่มประจำตู้เย็นในอาทิตย์นี้ค่ะ ซึ่งคนจีนถือเป็นเครื่องดื่มปรับสมดุลในร่างกายค่ะ
การพักผ่อนไม่เพียงพอ การทานของร้อน ของทอดมากไป หรือร่างกายเจอกับสภาพอกาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยๆก็อาจทำให้ภาวะร้อน
หรือที่คนจีนเรียกว่า คะยัวะ น้ำจับเลี้ยงจึงเหมาะมากค่ะ
ลองทำดูนะคะ ใส่เนื้อลำใยลงไปต้มด้วยอร่อยค่ะ
good moments
19 มิถุนายน เวลา 00:03 น.
19 มิถุนายน เวลา 00:03 น.
แหล่งที่มา pantip.com
(ในตำรายาไทย ใช้ส่วนของฝักแก่ แก้ร้อนในกระหายน้ำ)
เห็นแล้วนึกอยากดื่มเลย
19 มิถุนายน เวลา 07:05 น.
19 มิถุนายน เวลา 11:14 น.
ตอนเด็กจะชอบกินเก๊กฮวยกับหล่อฮั้งก้วย
แต่พอเป็นผู้ใหญ่ ผมกับชอบจับเลี้ยงกับเหล่งเอี๊ยง ส่วนเก๊กฮวยกับหล่อฮั้งก้วยนี่จะไม่ค่อยชอบแล้วเพราะรู้สึกว่ามันหวานเกิน
19 มิถุนายน เวลา 10:42 น.
19 มิถุนายน เวลา 11:15 น.
19 มิถุนายน เวลา 14:49 น.
19 มิถุนายน เวลา 20:04 น.
19 มิถุนายน เวลา 23:01 น.
20 มิถุนายน เวลา 14:18 น.
23 มิถุนายน เวลา 23:18 น.